คนข้างวัด / อุทัย บุญเย็น
ชื่อรายการ ทางทีวีและทางยูทูปหรือทางโซเชียล ที่ว่า “มือปราบสัมภเวสี” นั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ของชาวพุทธหรอกครับ
เพราะคำว่า “สัมภเวสี” เป็น “ความเชื่อ” ที่โยงไปถึงหลักคำสอนเรื่องกรรม เรื่อง อนัตตา (และทุกเรื่อง) ที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
สัมภเวสี ตามความเชื่อของคนไทยและคนทั่วไป เข้าใจกันว่า เป็น(ดวง) วิญญาณที่ล่องลอย หา(ภพ)ที่เกิด แต่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า สัมภเวสีอย่างนั้นไม่มี เพราะ(เชื่อว่า) ทุกวิญญาณหลังจากชีวิตตายลง ล้วนมีภพหรือ “ที่เกิด” แล้วทั้งสิ้น ไม่มีการล่องลอยหาที่เกิดในลักษณะที่เราเรียกว่า “ผี” แต่อย่างใด
แม้แต่พจนานุกรมฉบับแรกของไทย (ฉบับ พ.ศ.2493) ก็ให้ความหมายแก่สัมภเวสีว่า
“น. ผู้แสวงหาที่เกิด ได้แก่ผีที่ตายจากมนุษย์ไปแล้วแต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดอื่น, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก (ป).”
คือความเชื่อของคนทั่วไป (อย่างน้อย เมื่อ พ.ศ.2493) เชื่อว่า สัมภเวสี คือ ผี หรือวิญญาณที่ตายจากมนุษย์ไปแล้วแต่ยังได้เกิดเป็นอะไร
อันเป็นความเชื่อในศาสนา(หรือ ลัทธิ) พราหมณ์ หรือแม้แต่ในศาสนาประเภทเทวนิยม (theism) ทั่วไป
แต่ต่อมา เมื่อการศึกษาทางพุทธศาสนาแผ่กว้างและไกลมากขึ้น จึงมีคำจำกัดความสำหรับ สัมภเวสีใหม่ อย่างในพจนานุกรม ของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (ฉบับล่าสุด) ได้ให้ความหมายแก่ สัมภเวสีใหม่ว่า
“ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคนที่ตายแล้ว วิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง,ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก (ป., ส.สมฺภเวษิน)”
โปรดสังเกตว่า ท่านราชบัณฑิต (เมื่อ พ.ศ.2554) ก็ยังรักษาฟอร์มของพจนานุกรมอยู่ แต่ได้บอกนิดหนึ่งว่า ในคติ (ความเชื่อ) ของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคนที่ตายแล้ว วิญญาณอยู่ระหว่างแสวงหาที่เกิดอันเป็นความเชื่อของคนทั่วไป
คือคนทั่วไป เชื่อว่า วิญญาณกับ ผี มีลักษณะเป็นดวงล่องลอยอยู่ วิญญาณหรือผีในลักษณะนั้นแหละ คือ อัตตา หรือ อาตมันในศาสนาพราหมณ์
แต่พระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนาไม่สอนให้เชื่ออย่างนั้น เรื่องนี้ก็เลยเข้าใจยากอยู่
แม้แต่ในสมัยพุทธกาล ความเชื่ออย่างนั้นก็ยังติดมากับพระภิกษุบางรูปอย่างเหนียวแน่น จนพระพุทธเจ้าเรียกไปตักเตือนว่าเป็นความเข้าใจผิด
วิญญาณอย่างอาตมันนี่แหละ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จิต” ในทางพุทธศาสนาสอนว่า จิตหรือวิญญาณไม่ใช่ “อาตมัน” ที่แยกต่างหากจากขันธ์ 5 (คือรูปหรือร่างกายและจิตหรือนาม)
แม้แต่พระสงฆ์ของไทยเป็นอันมาก ก็มีความเชื่อว่า มีวิญญาณอย่างสัมภเวสี (แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งๆที่ท่านเทศน์เรื่องกรรมและอนัตตา อย่างชัดเจน แต่ในเทศนาเรื่อง “มุตโตทัย” ของท่าน (บันทึกคำเทศน์โดยท่านเจ้าคุณวิริยังค์) ก็ยังบัญญัติคำเรียกว่า จิตว่า “ฐีติภูตํ” เพื่อช่วยอธิบายปฏิจจสมุปบาท แสดงว่า คำอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้า ยังไม่ชัดเจนพอ?)
แต่อย่าลืมว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีคุณลักษณะว่า
“สาตฺถํ สปฺพยญฺชนํ เกวลกปฺปํ...” คือเพียบพร้อมด้วยอรรถะและพยัญชนะ (สมบูรณ์ด้วยเนื้อหาและถ้อยคำ) อย่างสิ้นเชิง
ไม่มีข้อบกพร่องแม้แต่น้อย ว่างั้นเถิด
เฉพาะปฏิจจสมุปบาทนั้น พระพุทธเจ้าทรงสาธยายกลับไปกลับมาหลังจากการตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ด้วย
คงทบทวนดีแล้ว จึงนำมาพร่ำสอน และเห็นว่าเป็นเรื่องลึกซึ้งที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง แม้พระอานนท์จะกราบทูลว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ให้พูดอย่างนั้น
ตรัสว่า เพราะไม่หยั่งรู้ (ไม่ตรัสรู้) ในปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง สัตว์โลกจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ไม่จบสิ้นอย่างที่เป็นกันอยู่
มานึกดู ก็เห็นจริง เพราะคำอธิบายปฏิจจสมุปบาท แนวท่านพุทธทาส (ปฏิจจสมุปบาทภายในชาติเดียว หรือในขณะจิตหนึ่งๆ) ดูเหมือนเข้าใจได้ง่าย แต่เมื่อพิจารณาในแง่ปฏิจจสมุปบาทข้ามภพข้ามชาติ กลับเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะในคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท มีเรื่อง “วิญญาณ” อยู่ 2 ข้อ คือวิญญาณที่เกิดจากสังขาร กับ วิญญาณใน “นามรูป”อันเกิดจาก “วิญญาณ” อีกประเภทหนึ่ง
เชื่อว่าวิญญาณ อันเกิดจากสังขาร เป็นคนละวิญญาณในขันธ์ 5 อย่างแน่นอน แต่ผมก็หยั่งรู้ไม่ได้ จะบอกว่าเป็น “ปฏิสนธิวิญญาณ” ก็ไม่กล้าชี้ขาด เพราะจะมีคำถามว่า วิญญาณนั้นมาจากไหนอีก
ทุกวันนี้ ก็ได้แต่นั่งนึกอยู่
น่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ในคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือในพระไตรปิฎกนั้น ธรรมะแต่ละอย่าง ไม่มีคำขัดแย้งกันเองเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรรม เรื่องอนัตตา หรือเรื่องนิพพาน ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีความยึดโยงกันอย่างกลมกลืน ถ้าอธิบายต่างไปจากแนวธรรมของพุทธเจ้า ก็จะพบทางตันเอง คืออธิบายต่อไปไม่ได้
เช่นเรื่องของวิญญาณ ถ้าอธิบายว่า วิญญาณเป็นอัตตา หรือเป็นอาตมัน หรืออธิบายว่า มีวิญญาณที่เป็นสัมภเวสี ก็จะเห็นว่า มีวิญญาณลอยอยู่ต่างหาก จะอธิบายไม่ได้ว่า วิญญาณกับกรรม เกี่ยวข้องกันอย่างไร หรือวิญญาณเป็นอนัตตาอย่างไร หรือวิญญาณจะดับ (นิพพาน) อย่างไร กรรมหรือทุกข์จะดับลงได้อย่างไรเป็นต้น
ความรู้อย่างการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นความรู้ที่ต่างไปจาก “ศาสนา” ที่มีอยู่ แม้จะเป็นความรู้ที่จะเกิดจากฌาน หรือสมาธิเหมือนลัทธิอื่นๆในสมัยเดียวกัน แต่ก็เป็นฌานหรือสมาธิที่ใช้ปัญญา (หรือวิจารณญาณ) ได้อยู่ ไม่ใช่ฌานหรือสมาธิที่มุ่งไปรวมอยู่กับเทวะ หรือสวรรค์อย่างเดียว อย่างที่วงการศาสนาฝ่ายเทวนิยม ตั้งเป็นเป้าหมาย
ความรู้ของพระพุทธเจ้า อันเกิดจากการตรัสรู้ จึงเป็นความรู้ในแนวอริยสัจจ์ 4 คือรู้ทุกข์เพื่อดับทุกข์ (ชาติ ชราและมรณะ) เป็นสำคัญ ถ้าผิดไปจากนี้ พระพุทธเจ้าก็ไม่นับเป็นความรู้ที่ถูกต้อง คำว่า ปัญญา จึงมีคำว่า “สัมมาปัญญา” (หรือ “สัมมาญาณ”) และไม่ว่าจะเป็นความเห็น ความเชื่อ (ทิฏฐิ) หรือ ความเพียร ตลอดถึงสมาธิก็ต้องมุ่งสู้ “สัมมาปัญญา” หรือ สัมมาญาณ” ถ้าไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า คุยกันคนละภาษา (มีความรู้ชนิดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น “อัพยากตปัญหา” คือเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่คุยด้วย
คำว่า “สัมภเวสี” ของมือปราบสัมภเวสี (หมอปลา) นั้น ถ้าหมายถึงเปรต หรือ อสุรกาย ก็หมายถึงสัตว์โลกประเภทหนึ่ง เพียงแต่เขาอยู่ในโลกของโอปปาติกะ ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็น แล้วเราก็คิดว่า โลกนั้นเป็น “โลกทิพย์” เหมือนโลกของเทวดาหรือสวรรค์ถ้าเข้าใจว่า สัมภาเวสี เป็นสัตว์โลกพวกหนึ่ง ก็ไม่ใช่ความเข้าใจที่ผิด แต่ขอให้เข้าใจด้วยว่า เปรตและอสุรกาย ที่เรียกว่า สัมภเวสีนั้น ก็คือสัตว์โลกจำพวกหนึ่ง ที่มีกระแสวิญญาณไปจากเมื่อเขาเป็นมนุษย์นั่นเอง หมายความว่า กรรมในกระแสวิญญาณนั้นยังเกิดอย่างต่อเนื่องด้วยพลังของกิเลสไม่เคยขาดตอน
ในพระไตรปิฎกหรือในคำสอนของพระพุทธเจ้า ใช้คำว่าไม่มี “อันตราภพ” คือไม่มี (ช่องว่าง) ระหว่างภพ ผีของหมอปลา ก็คือสัตว์โลกจำพวกหนึ่งนั่นเอง
ถ้าชาวพุทธเข้าใจผิดว่า สัมภาเวสี คือวิญญาณที่กำลังแสวงหาที่เกิด แล้วเที่ยวไปอยู่ตามบ้านเรือน หรือตามศาลพระภูมิที่เขาสร้างให้ ก็เท่ากับเห็นวิญญาณเป็นอาตมันแบบลัทธิพราหมณ์ ซึ่งบอกไม่ได้ว่า กรรมไปเชื่อมโยงกับวิญญาณได้อย่างไร และกรรมเป็นอนัตตาอย่างไร
เรื่อง “สัมภเวสี” จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ของชาวพุทธ คือ เป็น “มิจฉาทิฏฐิ “อย่างหนึ่ง เพราะสัมภเวสีที่เข้าใจผิดนั้นเป็นอาตมันอย่างหนึ่งของลัทธิฝ่ายเทวนิยมทั้งหลาย แต่สัมภเวสี ชนิดที่ลอยไปลอยมา อย่างสัมภเวสีใน “มือปราบฯ” ของหมอปลา ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
หากแต่ว่า ไม่มีการท้วงติงและอธิบายเรื่องวิญญาณให้เกิดสัมมาทิฏฐิจากพระสงฆ์ใดๆเลย
เพราะแม้แต่พระสงฆ์ทั่วไป ก็เข้าใจว่ามีสัมภเวสีนั่นเอง
ผมอธิบายไม่ได้ว่า การที่ “สัมภเวสี” (แท้จริง น่าจะเป็น “อสุรกาย” มากกว่า) มาสิงอยู่ในร่างคนนั้นเป็นไปอย่างไร ถ้าเป็นเรื่องจริง น่าจะเกี่ยวกับสภาพจิตใจของผู้ถูกสิงนั่นแหละ
สังเกตว่า หมอปลาเคยบอกว่า ต้องรู้วิชา “จับเส้น” ด้วย แสดงว่า อาการของ “ผีเข้า” อาจจะเกี่ยวกับเรื่องความเครียดของผู้ถูกผีสิงด้วยหรืออย่างไร? การรักษาอาการของคนถูกผีเข้า (สิง) หมอปลามักจะใช้วิธี(ใช้มือ) กดที่ขมับหรือที่ไหปลาร้า หรือที่ลิ้นปี่ ของผู้ป่วย หรือไม่ก็ใช้ฝ่ามือตบที่แผ่นหลังของผู้ป่วย มีบางครั้ง หมอปลาใช้ “มีดหมอ” วางบนศีรษะหรือที่หน้าผากของผู้ป่วยด้วย (หรือบางครั้งก็กดแนบไว้บนแผ่นหลังของผู้ป่วย?)
ส่วนอาการหาวและอาเจียน (อ้วก) ของหมอปลาเมื่ออยู่ในบริเวณที่หมอปลาพบว่ามีพลังงาน(วิญญาณ) นั้น เกิดจากอะไร? ยังไม่ทราบได้
และใน(คนป่วย) บางราย หมอปลากล่าวว่า มีวิญญาณหลายดวง(หรือมีไสยศาสตร์(คุณไสย) หลายอย่างอยู่ในร่างคนคนเดียวกัน) ก็ทำให้นึกไปถึงความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ของคนไทยสมัยโบราณ
ว่ามันคืออะไร?
"สัมภเวสี” ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยของชาวพุทธ คำนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก ใครงอกขึ้นมาไม่ทราบ
ชื่อรายการ ทางทีวีและทางยูทูปหรือทางโซเชียล ที่ว่า “มือปราบสัมภเวสี” นั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ของชาวพุทธหรอกครับ
เพราะคำว่า “สัมภเวสี” เป็น “ความเชื่อ” ที่โยงไปถึงหลักคำสอนเรื่องกรรม เรื่อง อนัตตา (และทุกเรื่อง) ที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
สัมภเวสี ตามความเชื่อของคนไทยและคนทั่วไป เข้าใจกันว่า เป็น(ดวง) วิญญาณที่ล่องลอย หา(ภพ)ที่เกิด แต่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า สัมภเวสีอย่างนั้นไม่มี เพราะ(เชื่อว่า) ทุกวิญญาณหลังจากชีวิตตายลง ล้วนมีภพหรือ “ที่เกิด” แล้วทั้งสิ้น ไม่มีการล่องลอยหาที่เกิดในลักษณะที่เราเรียกว่า “ผี” แต่อย่างใด
แม้แต่พจนานุกรมฉบับแรกของไทย (ฉบับ พ.ศ.2493) ก็ให้ความหมายแก่สัมภเวสีว่า
“น. ผู้แสวงหาที่เกิด ได้แก่ผีที่ตายจากมนุษย์ไปแล้วแต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดอื่น, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก (ป).”
คือความเชื่อของคนทั่วไป (อย่างน้อย เมื่อ พ.ศ.2493) เชื่อว่า สัมภเวสี คือ ผี หรือวิญญาณที่ตายจากมนุษย์ไปแล้วแต่ยังได้เกิดเป็นอะไร
อันเป็นความเชื่อในศาสนา(หรือ ลัทธิ) พราหมณ์ หรือแม้แต่ในศาสนาประเภทเทวนิยม (theism) ทั่วไป
แต่ต่อมา เมื่อการศึกษาทางพุทธศาสนาแผ่กว้างและไกลมากขึ้น จึงมีคำจำกัดความสำหรับ สัมภเวสีใหม่ อย่างในพจนานุกรม ของราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 (ฉบับล่าสุด) ได้ให้ความหมายแก่ สัมภเวสีใหม่ว่า
“ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคนที่ตายแล้ว วิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง,ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก (ป., ส.สมฺภเวษิน)”
โปรดสังเกตว่า ท่านราชบัณฑิต (เมื่อ พ.ศ.2554) ก็ยังรักษาฟอร์มของพจนานุกรมอยู่ แต่ได้บอกนิดหนึ่งว่า ในคติ (ความเชื่อ) ของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคนที่ตายแล้ว วิญญาณอยู่ระหว่างแสวงหาที่เกิดอันเป็นความเชื่อของคนทั่วไป
คือคนทั่วไป เชื่อว่า วิญญาณกับ ผี มีลักษณะเป็นดวงล่องลอยอยู่ วิญญาณหรือผีในลักษณะนั้นแหละ คือ อัตตา หรือ อาตมันในศาสนาพราหมณ์
แต่พระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนาไม่สอนให้เชื่ออย่างนั้น เรื่องนี้ก็เลยเข้าใจยากอยู่
แม้แต่ในสมัยพุทธกาล ความเชื่ออย่างนั้นก็ยังติดมากับพระภิกษุบางรูปอย่างเหนียวแน่น จนพระพุทธเจ้าเรียกไปตักเตือนว่าเป็นความเข้าใจผิด
วิญญาณอย่างอาตมันนี่แหละ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จิต” ในทางพุทธศาสนาสอนว่า จิตหรือวิญญาณไม่ใช่ “อาตมัน” ที่แยกต่างหากจากขันธ์ 5 (คือรูปหรือร่างกายและจิตหรือนาม)
แม้แต่พระสงฆ์ของไทยเป็นอันมาก ก็มีความเชื่อว่า มีวิญญาณอย่างสัมภเวสี (แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งๆที่ท่านเทศน์เรื่องกรรมและอนัตตา อย่างชัดเจน แต่ในเทศนาเรื่อง “มุตโตทัย” ของท่าน (บันทึกคำเทศน์โดยท่านเจ้าคุณวิริยังค์) ก็ยังบัญญัติคำเรียกว่า จิตว่า “ฐีติภูตํ” เพื่อช่วยอธิบายปฏิจจสมุปบาท แสดงว่า คำอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้า ยังไม่ชัดเจนพอ?)
แต่อย่าลืมว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น มีคุณลักษณะว่า
“สาตฺถํ สปฺพยญฺชนํ เกวลกปฺปํ...” คือเพียบพร้อมด้วยอรรถะและพยัญชนะ (สมบูรณ์ด้วยเนื้อหาและถ้อยคำ) อย่างสิ้นเชิง
ไม่มีข้อบกพร่องแม้แต่น้อย ว่างั้นเถิด
เฉพาะปฏิจจสมุปบาทนั้น พระพุทธเจ้าทรงสาธยายกลับไปกลับมาหลังจากการตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ด้วย
คงทบทวนดีแล้ว จึงนำมาพร่ำสอน และเห็นว่าเป็นเรื่องลึกซึ้งที่เข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง แม้พระอานนท์จะกราบทูลว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ให้พูดอย่างนั้น
ตรัสว่า เพราะไม่หยั่งรู้ (ไม่ตรัสรู้) ในปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง สัตว์โลกจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ไม่จบสิ้นอย่างที่เป็นกันอยู่
มานึกดู ก็เห็นจริง เพราะคำอธิบายปฏิจจสมุปบาท แนวท่านพุทธทาส (ปฏิจจสมุปบาทภายในชาติเดียว หรือในขณะจิตหนึ่งๆ) ดูเหมือนเข้าใจได้ง่าย แต่เมื่อพิจารณาในแง่ปฏิจจสมุปบาทข้ามภพข้ามชาติ กลับเข้าใจได้ยากอย่างยิ่ง เพราะในคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาท มีเรื่อง “วิญญาณ” อยู่ 2 ข้อ คือวิญญาณที่เกิดจากสังขาร กับ วิญญาณใน “นามรูป”อันเกิดจาก “วิญญาณ” อีกประเภทหนึ่ง
เชื่อว่าวิญญาณ อันเกิดจากสังขาร เป็นคนละวิญญาณในขันธ์ 5 อย่างแน่นอน แต่ผมก็หยั่งรู้ไม่ได้ จะบอกว่าเป็น “ปฏิสนธิวิญญาณ” ก็ไม่กล้าชี้ขาด เพราะจะมีคำถามว่า วิญญาณนั้นมาจากไหนอีก
ทุกวันนี้ ก็ได้แต่นั่งนึกอยู่
น่าอัศจรรย์อย่างหนึ่ง ในคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือในพระไตรปิฎกนั้น ธรรมะแต่ละอย่าง ไม่มีคำขัดแย้งกันเองเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกรรม เรื่องอนัตตา หรือเรื่องนิพพาน ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีความยึดโยงกันอย่างกลมกลืน ถ้าอธิบายต่างไปจากแนวธรรมของพุทธเจ้า ก็จะพบทางตันเอง คืออธิบายต่อไปไม่ได้
เช่นเรื่องของวิญญาณ ถ้าอธิบายว่า วิญญาณเป็นอัตตา หรือเป็นอาตมัน หรืออธิบายว่า มีวิญญาณที่เป็นสัมภเวสี ก็จะเห็นว่า มีวิญญาณลอยอยู่ต่างหาก จะอธิบายไม่ได้ว่า วิญญาณกับกรรม เกี่ยวข้องกันอย่างไร หรือวิญญาณเป็นอนัตตาอย่างไร หรือวิญญาณจะดับ (นิพพาน) อย่างไร กรรมหรือทุกข์จะดับลงได้อย่างไรเป็นต้น
ความรู้อย่างการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงเป็นความรู้ที่ต่างไปจาก “ศาสนา” ที่มีอยู่ แม้จะเป็นความรู้ที่จะเกิดจากฌาน หรือสมาธิเหมือนลัทธิอื่นๆในสมัยเดียวกัน แต่ก็เป็นฌานหรือสมาธิที่ใช้ปัญญา (หรือวิจารณญาณ) ได้อยู่ ไม่ใช่ฌานหรือสมาธิที่มุ่งไปรวมอยู่กับเทวะ หรือสวรรค์อย่างเดียว อย่างที่วงการศาสนาฝ่ายเทวนิยม ตั้งเป็นเป้าหมาย
ความรู้ของพระพุทธเจ้า อันเกิดจากการตรัสรู้ จึงเป็นความรู้ในแนวอริยสัจจ์ 4 คือรู้ทุกข์เพื่อดับทุกข์ (ชาติ ชราและมรณะ) เป็นสำคัญ ถ้าผิดไปจากนี้ พระพุทธเจ้าก็ไม่นับเป็นความรู้ที่ถูกต้อง คำว่า ปัญญา จึงมีคำว่า “สัมมาปัญญา” (หรือ “สัมมาญาณ”) และไม่ว่าจะเป็นความเห็น ความเชื่อ (ทิฏฐิ) หรือ ความเพียร ตลอดถึงสมาธิก็ต้องมุ่งสู้ “สัมมาปัญญา” หรือ สัมมาญาณ” ถ้าไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า คุยกันคนละภาษา (มีความรู้ชนิดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น “อัพยากตปัญหา” คือเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่คุยด้วย
คำว่า “สัมภเวสี” ของมือปราบสัมภเวสี (หมอปลา) นั้น ถ้าหมายถึงเปรต หรือ อสุรกาย ก็หมายถึงสัตว์โลกประเภทหนึ่ง เพียงแต่เขาอยู่ในโลกของโอปปาติกะ ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็น แล้วเราก็คิดว่า โลกนั้นเป็น “โลกทิพย์” เหมือนโลกของเทวดาหรือสวรรค์ถ้าเข้าใจว่า สัมภาเวสี เป็นสัตว์โลกพวกหนึ่ง ก็ไม่ใช่ความเข้าใจที่ผิด แต่ขอให้เข้าใจด้วยว่า เปรตและอสุรกาย ที่เรียกว่า สัมภเวสีนั้น ก็คือสัตว์โลกจำพวกหนึ่ง ที่มีกระแสวิญญาณไปจากเมื่อเขาเป็นมนุษย์นั่นเอง หมายความว่า กรรมในกระแสวิญญาณนั้นยังเกิดอย่างต่อเนื่องด้วยพลังของกิเลสไม่เคยขาดตอน
ในพระไตรปิฎกหรือในคำสอนของพระพุทธเจ้า ใช้คำว่าไม่มี “อันตราภพ” คือไม่มี (ช่องว่าง) ระหว่างภพ ผีของหมอปลา ก็คือสัตว์โลกจำพวกหนึ่งนั่นเอง
ถ้าชาวพุทธเข้าใจผิดว่า สัมภาเวสี คือวิญญาณที่กำลังแสวงหาที่เกิด แล้วเที่ยวไปอยู่ตามบ้านเรือน หรือตามศาลพระภูมิที่เขาสร้างให้ ก็เท่ากับเห็นวิญญาณเป็นอาตมันแบบลัทธิพราหมณ์ ซึ่งบอกไม่ได้ว่า กรรมไปเชื่อมโยงกับวิญญาณได้อย่างไร และกรรมเป็นอนัตตาอย่างไร
เรื่อง “สัมภเวสี” จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ของชาวพุทธ คือ เป็น “มิจฉาทิฏฐิ “อย่างหนึ่ง เพราะสัมภเวสีที่เข้าใจผิดนั้นเป็นอาตมันอย่างหนึ่งของลัทธิฝ่ายเทวนิยมทั้งหลาย แต่สัมภเวสี ชนิดที่ลอยไปลอยมา อย่างสัมภเวสีใน “มือปราบฯ” ของหมอปลา ไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
หากแต่ว่า ไม่มีการท้วงติงและอธิบายเรื่องวิญญาณให้เกิดสัมมาทิฏฐิจากพระสงฆ์ใดๆเลย
เพราะแม้แต่พระสงฆ์ทั่วไป ก็เข้าใจว่ามีสัมภเวสีนั่นเอง
ผมอธิบายไม่ได้ว่า การที่ “สัมภเวสี” (แท้จริง น่าจะเป็น “อสุรกาย” มากกว่า) มาสิงอยู่ในร่างคนนั้นเป็นไปอย่างไร ถ้าเป็นเรื่องจริง น่าจะเกี่ยวกับสภาพจิตใจของผู้ถูกสิงนั่นแหละ
สังเกตว่า หมอปลาเคยบอกว่า ต้องรู้วิชา “จับเส้น” ด้วย แสดงว่า อาการของ “ผีเข้า” อาจจะเกี่ยวกับเรื่องความเครียดของผู้ถูกผีสิงด้วยหรืออย่างไร? การรักษาอาการของคนถูกผีเข้า (สิง) หมอปลามักจะใช้วิธี(ใช้มือ) กดที่ขมับหรือที่ไหปลาร้า หรือที่ลิ้นปี่ ของผู้ป่วย หรือไม่ก็ใช้ฝ่ามือตบที่แผ่นหลังของผู้ป่วย มีบางครั้ง หมอปลาใช้ “มีดหมอ” วางบนศีรษะหรือที่หน้าผากของผู้ป่วยด้วย (หรือบางครั้งก็กดแนบไว้บนแผ่นหลังของผู้ป่วย?)
ส่วนอาการหาวและอาเจียน (อ้วก) ของหมอปลาเมื่ออยู่ในบริเวณที่หมอปลาพบว่ามีพลังงาน(วิญญาณ) นั้น เกิดจากอะไร? ยังไม่ทราบได้
และใน(คนป่วย) บางราย หมอปลากล่าวว่า มีวิญญาณหลายดวง(หรือมีไสยศาสตร์(คุณไสย) หลายอย่างอยู่ในร่างคนคนเดียวกัน) ก็ทำให้นึกไปถึงความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ของคนไทยสมัยโบราณ
ว่ามันคืออะไร?