พวกเราเกิดมาเพื่อมีทุกข์หรือ

กระทู้สนทนา
พุทธศาสนาสอนอะไร และชาวพุทธทำอะไรกัน
โดย  ประภาส ชลศรานนท์ อธิบายครบถ้วนกระบวนความ สั้นๆ กระทัดรัด ชัดเจน ดีมาก
        เคยมีครูสอนภาษาชาวฝรั่งท่านหนึ่งถามว่า พุทธศาสนาสอนอะไร และชาวพุทธทำอะไรกันบ้าง
        ผมบอกว่า ศาสนาพุทธนั้นสอนว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์
ฝรั่งท่านนั้นก็งงว่า พุทธสอนอย่างนี้จริงๆหรือ
        ผมจึงบอกว่าจริง คำแรกของความจริงสี่ประการแห่งชีวิตคือคำว่า ”ทุกข์”
          เกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์
          แล้วศาสนาพุทธก็ให้หาเหตุแห่งทุกข์(สมุทัย)
หาจุดหมายหนทางที่ ดับทุกข์ได้นั่นคือนิโรธ
แล้วก็สอน มรรค คือสอนให้ปฏิบัติในหนทางนั้น
          ศาสนาพุทธสอนอีกว่า ทุกข์ทั้งหมดล้วนมาจาก
”กิเลส” กิเลสนั้นมีสามชนิด กิเลสของมนุษย์ล้วนอยู่ในสามชนิดนี้คือ 
          ความอยากได้(โลภะ) 
          ความไม่อยากได้(โทสะ) และ
          ความหลง ไม่รู้จริง ไม่รู้เนื้อรู้ตัว(โมหะ)
             ในทางศาสนาพุทธนั้น เรามีเครื่องมือที่ทรงพลานุภาพมาก เอาไว้ใช้สู้กับกิเลส สามอย่าง คือ “ทาน ศีล ภาวนา”
          ทาน ทำหน้าที่ให้กิเลส จางลงบ้าง 
          ศีล เป็นปราการกั้นกิเลสไม่ให้เข้ามาถูกเรา
          ภาวนานั้น เป็นอาวุธสำคัญที่จะใช้ตัดรากถอนโคนกิเลสได้
          ชาวพุทธย่อมรู้ดีว่า ลำพังสองอาวุธแค่”ทาน กับศีล”  นั้น ยังไม่ทำให้กิเลสสิ้นไป ถึงจะทำให้มันเจือจางลงหรือกั้นมันไว้แค่ไหน แต่มันก็ยังคงอยู่ และเมื่อใดก็ตามที่ศีลของเราอ่อนแรงลง ”กิเลส” ก็จะจู่โจมเข้าสู่เราทันที
           การภาวนา การทำสมาธิ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ต่อสู้กับกิเลสอย่างแท้จริง  โดยอาศัยกำลังเสริมจากอาวุธสองอย่างแรก ทั้ง ”ทานและศีล”
            การภาวนาในพุทธศาสนามีสองวิถีคือ
สมถะสมาธิและวิปัสนาสมาธิ
วิถีสมถะสมาธิคือทำให้จิตสงบ ทำให้จิตใจมีกำลัง
วิถีวิปัสนาสมาธิคือทำให้เกิดปัญญา ให้รู้ถึงไตร
ลักษณ์ของจักรวาลทั้งหมด
            เมื่อนั้นตัวตนจึงมลายไป และเมื่อตัวตนมลายไปกิเสลจึงมลายไปด้วย
             สมถะสมาธินั้น ก่อนมีศาสนาพุทธ ก็มีแล้วในศาสนาอื่นก่อนที่พระพุทธศาสนาจะถือกำเนิด เหล่าพราหมณ์ทั้งหลายก็ทำสมถะสมาธิกัน วิชาสมถะสมาธินี้เจ้าชายสิทธัตถะได้ร่ำเรียนจาก อาฬารดาบสและอุทกดาบส แล้วพระองค์ก็พบว่าแม้จะเข้าฌานไปลึกเพียงใด เมื่อออกจากฌานก็ยังมีทุกข์อยู่ พระองค์จึงออกศึกษาด้วยตัวเองต่อไป สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบไปไกลกว่านั้นคือ “การทำวิปัสนาสมาธิ” จนเกิดเป็นตัวผู้รู้ขึ้น เพื่อรู้แจ้งในความรู้สูงสุดของชีวิตและสรรพสิ่งอย่างแท้จริง นั่นคือ ทุกสรรพสิ่ง”ไม่เที่ยงแท้” 
           ทุกสรรพสิ่งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่มีสิ่งใดเป็นของเราจึงควบคุมไม่ได้ เป็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ที่เรียกว่าไตรลักษณ์นั่นเอง
     ผู้เขียน เขียนดี จนท่านคมสรณ์ อยากให้ส่งต่อดังนี้
1. ในแต่ละปี... จงทำชีวิตให้ " ดีขึ้น "
    เพราะในแต่ละวัน... ชีวิตกำลัง " สั้นลง "
2. การ " อยู่กับปัจจุบัน "
    ไม่ใช่การ " หยุดทำ " ในเรื่องสำคัญ
    แต่มันคือการ " หยุดทุกข์ " ไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ
3. อารมณ์ " ลบ " ทุกชนิด จะทำร้ายเรา
    ก่อนที่จะทำร้ายคนอื่นเสมอ...
    ส่วนอารมณ์ " บวก " ทุกชนิด จะให้พรเรา
    ก่อนที่จะให้พรคนอื่นเสมอ เช่นกัน...
4. วิจารณ์คนอื่นทุกวัน... ใจต่ำลงทุกวัน
    วิจัยตัวเองทุกวัน... ใจสูงขึ้นทุกวัน
5. ถ้าไม่มีคนมาทำให้คุณโกรธ
    ... คุณจะไม่รู้เลยว่าระดับจิตคุณอยู่ตรงไหน
    ถ้าไม่มีใครมาทำให้คุณทุกข์ใจ
    ... คุณจะไม่รู้เลยว่าตัวเองยังมีอะไรต้องพัฒนา
6. ไม่ว่า " ภายนอก " เราจะอยู่กับคนมากแค่ไหน
    แต่ " ภายใน " เรายังอยู่ตัวคนเดียวเสมอ
    จงหาวิธี " รักตัวเอง " ให้เจอ
    เพราะไม่มีใครในโลกนี้ที่จะอยู่กับเธอ
    สม่ำเสมอเท่ากับ " ตัวเธอเอง "
7. การฝึกจิตและพัฒนาตัวเอง
    อาจไม่ทำให้เรา " พ้นทุกข์ตลอดกาล "
    แต่มันทำให้เรา " เป็นทุกข์นานน้อยลง "
8. การ " แก้กรรม " ที่ดีที่สุด
    คือการแก้ไข " ความคิด " " คำพูด " 
    และ " การกระทำ " ของตัวเอง
9. ความดีเล็ก ๆ ที่ทำไปนาน ๆ
    สุดท้ายอาจสร้าง " ปาฏิหารย์ " ให้ชีวิต
10." ไป " ได้เร็วแค่ไหน ก็ถึงเร็วเท่านั้น...
    " ปล่อย " ได้เร็วแค่ไหน ก็สุขเร็วเท่านั้น
11. จำไว้ว่า " ความทุกข์ "
    และ" ความเจ็บปวด " ทั้งมวล
    ไม่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตเรา... เพื่อมอบ " คำสาป "
    แต่มันผ่านเข้ามาในชีวิตเรา... เพื่อมอบ " คำสอน "
12. ก้าวแรกของการใช้ชีวิตอย่าง " ผู้ตื่น "
    คือการหยุดยุ่งวุ่นวายเรื่อง " คนอื่น"
    แล้วหันกลับมาวิเคราะห์ใจ " ตัวเอง "
13. ความทุกข์ทั้งหมดในชีวิต ไม่ได้เกิดจาก
    " สิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ "
    แต่มันเกิดจาก
    " สิ่งที่คุณคิด ว่าคนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ "
14. ต้องขอบคุณคนที่ทำ " ไม่ดี "
    ที่ช่วยเป็นตัวอย่างที่ " ดี "
    ว่าอะไร " ไม่ควรทำ "
15. ไม่ว่าจะทุกข์หนักหนาสาหัสสักแค่ไหน
    ทางออกก็ไม่เคยอยู่ไกลไปกว่า " ใจ " ของเราเอง.  
16. เกลียดเขา " เราทุกข์ "
    เมตตาเขา " เราสุขเอง "
17. คนเราฝึกเดินจนเก่งได้ ฉันใด
    ก็สามารถฝึกใจจนเป็นสุขได้ ฉันนั้น.
18. " ความตาย " เป็นเรื่องธรรมดา
    แต่การได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า
    เป็นเรื่อง" อัศจรรย์ "
19. โปรดสังเกตดูให้ดี...  ว่าสิ่งที่ทำให้เราทุกข์
    บ่อยที่สุดในแต่ละวัน
    ไม่ใช่ " พฤติกรรม " ของคนอื่น
    แต่คือ " ความคิด" ของเราเอง
20. อย่าถือโทษ โกรธคน ไม่คู่ควร
    อย่าตีตรวน ตนไว้ กับอดีต
    ชะตาเรา อย่าให้ใคร มาเขียนขีด
    อย่าเอาคำ ที่เหมือนมีด มากรีดใจ    
    ( แถมให้อีกหนึ่งอัน ! )
21. หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะมี " เงิน "
    วันไหนเงินหมด คุณค่าคุณก็หมด หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะ " หน้าตา " ดี วันไหนคุณแก่ลง จนหน้าตาไม่ดี คุณค่าคุณก็หมด  แต่ตราบใดที่คุณรู้ว่าตัวเองมีค่า เพราะเป็น "่ คนดี "
    ตราบใดที่คุณมีความดี 
    คุณก็จะ " มีคุณค่า "ได้ตลอดไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่