สติปัฏฐาน4 เห็นความคิดเกิด-ดับ ไม่อิงตำรา แสดงโดย 555

ต้องขออภัย ที่ต้องระบุลงไปว่าไม่อิงตำรา เพราะถ้าไม่ระบุแบบนี้เดี๋ยวมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ยกตำรามาหักล้างซึ่งจะทำให้ก่อการทะเลาะวิวาท ซึ่งไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์
สติปัฏฐาน4 เห็นความคิดเกิด-ดับ หลักการปฏิบัติที่แท้จริง มี 3ส่วนด้วยกัน
ส่วนที่1 เจริญภาวนาหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ทุกอิริยะบท4 เดิน ยืน นั่ง นอน ภาวนาไปเรื่อยๆ ให้ใจเข้าถึงปฐมฌาณเป็นอย่างต่ำ ข้อดีของการภาวนา พุท โธ ช่วยหยุดการนึกคิดปรุงแต่ง ช่วยให้ใจรวมเป็นสมาธิได้ง่าย
ส่วนที่2 เมื่อใจเป็นสมาธิแล้ว ใจจะมีความสงบ เข้าถึงปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ นิวรณ์5ประการระงับลงไป ควรแก่การงาน ควรต่อการเจริญปัญญาอบรมใจ
ส่วนที่3 เมื่อใจมีความสงบ เข้าถึงปฐมฌาน ใจจะตั้งมั่นเป็นสมาธิ ตรงนี้มีทางแยก
3.1 เมื่อใจมีความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิถึงปฐมฌาน ไม่เกิดปัญญา แช่นิ่งในอารมณ์ฌาน ตรงนี้เป็นสมถะ ถ้าติดตรงนี้ก็จะสงบอยู่แค่สมถะ ทรงอยู่ด้วยอารมณ์สมถะจะไม่เกิดปัญญา กิเลสไม่ถูกถอดถอน
3.2 เมื่อใจมีความสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิถึงปฐมฌาน เมื่อสติแก่กล้า ศิล สมาธิ ปัญญา ประชุมลงพร้อมที่ใจ ใจจะมีปัญญาเป็นไปเองอัตตโนมัติ จะเกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมขึ้นมา ใจจะกลายเป็นภูมิรู้ ความคิดจะกลายเป็นภูมิธรรม ใจก็เป็นภูมิรู้ตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่หวั่นไหว ความคิดก็กลายเป็นภูมิธรรมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
เวลาของจริงมันปรากฏแก่ใจของนักปฏิบัติ ความคิดทั้งหมด จะไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นความคิดกุศล หรือ ความคิดอกุศล จะเห็นความคิด เป็นเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา ใจที่เป็นภูมิรู้ก็สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ เห็นมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เมื่อใจเห็นความจริงเช่นนี้ ใจก็ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นในสังขารปรุงแต่งทั้งปวง กิเลสก็จะถูกถอดถอน  
เมื่อใจยอมรับความจริงว่าสังขารปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่ว่าจะคิดอะไรก็ตาม ใจจะไม่เป็นทุกข์ ไม่ต้องควบคุม ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องระวัง ใจเขาจะเป็นไปเองอัตตโนมัติ เพราะใจเห็นแจ้งในธรรมแล้ว นักปฏิบัติต้องภาวนาให้มันถึงใจจริงๆ มันยากตรงเริ่มต้น ยากตรงภาวนาให้ใจพ้นนิวรณ์5 แต่ก็ไม่เกินความเพียร
อันนี้คือการเจริญภาวนา สติปัฏฐาน4 ใจเห็นความคิด แสดงโดย 555
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่