.
.
Roopkund จาก Junargali ที่ระดับ 200 เมตร
© Soham Sarkar/Flickr
.
.
.
Roopkund Skeleton Lake A Himalayan Mystery
.
.
.
บนเทือกเขาหิมาลัยที่ระดับความสูง 16,500 ฟุต
ใต้ผืนน้ำที่บริสุทธิ์ของเทือกเขาหิมาลัย
ผืนน้ำจะแข็งตัวจนแข็งแทบหยุดนิ่งเกือบทั้งปี
แม้ว่าในฤดูร้อน หิมะจะละลายไป
แต่ผืนน้ำที่อันตรายจะเผยตัว
ออกจากการล่ามโซ่ตรวนที่เย็นยะเยือก
เพื่อเผยให้เห็นก้นทะเลสาบที่มีกระดูกเกลื่อน
ขนาบข้างด้วยซากโครงกระดูก
ที่อำพรางด้วยเฉดสีก้อนหินของเนินขรุขระ
นี่คือ Roopkund หรือ Skeleton Lake
ในเมือง Uttarakhand อุตตราขัณฑ์ อินเดีย
จากจินตนาการสุดล้ำลีก
จะนำสู่เรื่องราวที่แท้จริงของประวัติศาสตร์
ในปี 1942
H K Madhwal เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของอินเดีย
ได้พบกับโครงกระดูกจำนวนมาก
ที่เกลื่อนไปทั่วทะเลสาบแห่งนี้
ท่านต้องตกตะลึงไปกับการค้นพบของตนเอง
กระดูกและกระโหลกศีรษะหลายร้อยชิ้น
บางชิ้นยังมีเนื้อเยื่อยังไม่บุบสลาย
การตั้งถิ่นฐานที่ใกล้ที่สุดจากที่นี่
คือ การเดินป่าเป็นเวลาห้าวันที่น่าเบื่อจากพื้นที่
ศพเหล่านี้มาจากไหน
พวกมันได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีได้อย่างไร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
มีการค้นพบศพประมาณ 600 ถึง 800 ศพ
แม้ว่าจะมีต้นกำเนิดจากตำนานของธารน้ำแข็ง
แต่การดำรงอยู่ของโครงกระดูกก็เกี่ยวข้องกับ
ทฤษฎีการตายที่มีเหตุผล ตามสมมติฐานต่าง ๆ
ก็มีการคิดวิเคราะห์สาเหตุและความเป็นไปได้
เรื่องนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวรักการผจญภัย
ที่กล้าได้กล้าเสียเสี่ยงตายจำนวนมาก
เพื่อค้นหาความลึกลับของทะเลสาบโครงกระดูกด้วยตนเอง
.
.
.
© vivek shukla / Flickr
.
.
.
เรื่องราวของคนตาย
ในตอนแรก
เชื่อกันว่าศพเหล่านี้เป็นศพของทหารญี่ปุ่น
ที่พยายามจะบุกรุกดินแดนของอินเดีย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผ่านทางพม่า/จีน
หรืออีกทางหนึ่ง ศพอาจเป็นพ่อค้าชาวทิเบต
ที่เดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งเสียชีวิตจากโรคระบาด
บางคนเชื่อว่าสถานที่นี้เป็นสุสาน
ผู้ที่เสียชีวิตระหว่างพายุลูกเห็บที่รุนแรง
ซึ่งคาดว่าเป็นฝีมือเทพธิดานันดาเทวี
Nanda Devi ปรากฏตัวขึ้นมา
อีกทฤษฎีหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้คือตำนาน
กษัตริย์ Jasidhwa กับพระมเหสี
คณะทหารและนักเต้นระบำถวายเทวี
ที่เดินทางมาแสวงบุญเพื่อเฉลิมฉลอง
การประสูติของพระโอรสของกษัตริย์
แต่เมื่อฝ่าฝืนกฎของการจาริกแสวงบุญ
ทำให้เทพธิดานันดาเทวีโกรธเกรี้ยว
แสดงอาการโกรธออกมาในรูปของพายุลูกเห็บ
ซึ่งไม่ใช่เรื่องพิศดารหรือแปลกเลย
เมื่อพิจารณาถึงสถานที่ตั้งทะเลสาบ
มีตำนานเล่ากันว่า
เมื่อพระศิวะและเทพธิดาปาราวตี Parvati
กำลังเดินทางไปยังภูเขาไกรลาส
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู/พราหมณ์
เทพธิดาแสดงความปรารถนาจะอาบน้ำ
แต่ก็ผิดหวังเมื่อไม่มีแหล่งน้ำอยู่รอบ ๆ
ดังนั้น พระศิวะก็ใช้ตรีศูลขุดลงไปในดิน
และแล้วหลุมที่ขุดก็มีน้ำโผล่ออกมาเต็มไปหมด
น้ำใสดุจคริสตัลและสะท้อนรูปลักษณ์
ที่สวยงามของเทพธิดาปาราวตี Parvati
ดังนั้นจึงเป็นที่รู้จักในนาม Roopkund
เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่าองค์ประกอบที่เหนือธรรมชาติ
และความศรัทธาได้เผยแพร่คติชน
ชาวท้องถิ่นในอินเดียมานานหลายศตวรรษ
แต่อีกทฤษฎีหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังพายุลูกเห็บก็คือ
ไม่ใช่กษัตริย์และพวกบริวารที่ตาย
แต่เป็นกลุ่มนักแสวงบุญชาวอินเดีย
Nanda Devi Raj Jat Yatra ในศตวรรษที่ 9
ที่เดินแสวงบุญตามรอยเส้นทางเทพธิดานันดาเทวี
แล้วยอมตายถวายชีวิตให้กับความเชื่อ/ศรัทธา
.
.
.
© sayanaditya bhattacharya / Flickr
.
.
.
แต่ข้อสันนิษฐานทั้งหมดที่กล่าวมา
ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับสระน้ำ/ทะเลสาบ
และความลึกลับของโครงกระดูกเหล่านี้
มีข้อโต้แย้งโดยการค้นพบทางโบราณคดีมานานแล้ว
ผลจากการศึกษานาน 5 ปีได้เปิดเผยว่า
บางซากศพมีอายุย้อนไปถึง 1,200 ปี
จากการหาค่ากระดูกจากคาร์บอน
ชี้ให้เห็นว่าคนตายไม่จำเป็นต้องอยู่ในยุคเดียวกัน
และอาจเสียชีวิตประมาณ 1,000 ปีก่อน
ผลจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมของกระดูกตัวอย่าง
ได้ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายเชื้อชาติในศพเช่นกัน
สามารถเชื่อมโยงกับคนในเอเชียใต้
ซึ่งเสียชีวิตในช่วงเหตุการณ์ต่าง ๆ
ระหว่างศตวรรษที่ 7 ถึง 10
บางส่วนเชื่อมโยงกับยุโรปในปัจจุบัน (กรีซหรือครีต)
ผู้เสียชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
ชายและหญิงล้วนเป็นผู้ใหญ่ และอยู่ในสภาพที่แข็งแรง
ไม่มีโรคระบาดใด ๆ มาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ในสถานที่ที่ไม่มีเครื่องมือหรืออาวุธ
ไม่มีเสื้อผ้าหรือเศษซากของที่พักพิง
ความลึกลับของโครงกระดูกในที่อ้างว้าง
ยังคงเพิ่มระดับของความอยากรู้อยากเห็น
อยากทราบถึงสาเหตุการตายอยู่ตลอดไป
ส่วนเส้นทางแสวงบุญยังอยู่ในการพิจารณา
เพราะไม่พบแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อยืนยันเรื่องนี้
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์
ยังคงครุ่นคิดเกี่ยวกับการปรากฏตัวของโครงกระดูก
ทะเลสาบได้ดึงดูดผู้คนธรรมดา ๆ
ให้เข้ามาดูจุดจบที่น่าสยดสยองในแต่ละปี
เมื่อน้ำในทะเลสาบละลายลง
และโครงเกระดูกถูกเปิดเผยภายใต้เกลียวคลื่น
ความทรงจำเกี่ยวกับอดีตที่ไม่รู้จักก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา
กวักเรียกนักเดินป่าในปัจจุบันให้ค้นพบ
สิ่งที่อยู่เหนือเทือกเขาหิมาลัยที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
พื้นที่ดังกล่าวนี้ยังคงไม่ได้รับการปกป้อง
จากการรุกรานของนักท่องเที่ยว
และศพในที่เย็นยะเยือกของใต้พื้นน้ำ
อาจจะสูญเสียจุดที่พำนักไป
ถ้าถูกคนเยี่ยมชมเหยียบย่ำโดยประมาท
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3MDtNdB
https://go.nature.com/3KwDsBl
https://bbc.in/3OZgA0T
https://bit.ly/3OOJm3W
https://on.natgeo.com/3s2LwDf
.
.
หมายเหตุ
มีความเป็นไปได้ที่ไม่พบเสื้อผ้าบนศพ
เพราะมีคนถอดเอาไปใช้จากสภาพหนาวเย็น
หรือพายุหิมะพัดพาปลิวกระจายไปจากที่เกิดเหตุ
มีบางคนถูกฆ่าตาย/ฆ่าตัวตายเพื่อถวายเทพธิดา
แบบการบูชายัญในอดีตที่ผ่านมาของหลายศาสนา
โยคีบางนิกายของอินเดีย
จะแสดงความสามารถพิเศษทางปราณ
เช่น การไม่รู้ร้อน รู้หนาว ในสถานที่ต่าง ๆ
อาจเป็นไปได้มาทดสอบปราณที่นี้ แต่ไม่ผ่าน
เลยกลายเป็นกระดูกตกค้างที่ทะเลสาบแห่งนี้
Roopkund ทะเลสาบโครงกระดูกคน
.
Roopkund จาก Junargali ที่ระดับ 200 เมตร
© Soham Sarkar/Flickr
.
.
.
Roopkund Skeleton Lake A Himalayan Mystery
.
.
บนเทือกเขาหิมาลัยที่ระดับความสูง 16,500 ฟุต
ใต้ผืนน้ำที่บริสุทธิ์ของเทือกเขาหิมาลัย
ผืนน้ำจะแข็งตัวจนแข็งแทบหยุดนิ่งเกือบทั้งปี
แม้ว่าในฤดูร้อน หิมะจะละลายไป
แต่ผืนน้ำที่อันตรายจะเผยตัว
ออกจากการล่ามโซ่ตรวนที่เย็นยะเยือก
เพื่อเผยให้เห็นก้นทะเลสาบที่มีกระดูกเกลื่อน
ขนาบข้างด้วยซากโครงกระดูก
ที่อำพรางด้วยเฉดสีก้อนหินของเนินขรุขระ
นี่คือ Roopkund หรือ Skeleton Lake
ในเมือง Uttarakhand อุตตราขัณฑ์ อินเดีย
จากจินตนาการสุดล้ำลีก
จะนำสู่เรื่องราวที่แท้จริงของประวัติศาสตร์
ในปี 1942
H K Madhwal เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของอินเดีย
ได้พบกับโครงกระดูกจำนวนมาก
ที่เกลื่อนไปทั่วทะเลสาบแห่งนี้
ท่านต้องตกตะลึงไปกับการค้นพบของตนเอง
กระดูกและกระโหลกศีรษะหลายร้อยชิ้น
บางชิ้นยังมีเนื้อเยื่อยังไม่บุบสลาย
การตั้งถิ่นฐานที่ใกล้ที่สุดจากที่นี่
คือ การเดินป่าเป็นเวลาห้าวันที่น่าเบื่อจากพื้นที่
ศพเหล่านี้มาจากไหน
พวกมันได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีได้อย่างไร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
มีการค้นพบศพประมาณ 600 ถึง 800 ศพ
แม้ว่าจะมีต้นกำเนิดจากตำนานของธารน้ำแข็ง
แต่การดำรงอยู่ของโครงกระดูกก็เกี่ยวข้องกับ
ทฤษฎีการตายที่มีเหตุผล ตามสมมติฐานต่าง ๆ
ก็มีการคิดวิเคราะห์สาเหตุและความเป็นไปได้
เรื่องนี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวรักการผจญภัย
ที่กล้าได้กล้าเสียเสี่ยงตายจำนวนมาก
เพื่อค้นหาความลึกลับของทะเลสาบโครงกระดูกด้วยตนเอง
.
.
© vivek shukla / Flickr
.
.
เรื่องราวของคนตาย
ในตอนแรก
เชื่อกันว่าศพเหล่านี้เป็นศพของทหารญี่ปุ่น
ที่พยายามจะบุกรุกดินแดนของอินเดีย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผ่านทางพม่า/จีน
หรืออีกทางหนึ่ง ศพอาจเป็นพ่อค้าชาวทิเบต
ที่เดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งเสียชีวิตจากโรคระบาด
บางคนเชื่อว่าสถานที่นี้เป็นสุสาน
ผู้ที่เสียชีวิตระหว่างพายุลูกเห็บที่รุนแรง
ซึ่งคาดว่าเป็นฝีมือเทพธิดานันดาเทวี
Nanda Devi ปรากฏตัวขึ้นมา
อีกทฤษฎีหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้คือตำนาน
กษัตริย์ Jasidhwa กับพระมเหสี
คณะทหารและนักเต้นระบำถวายเทวี
ที่เดินทางมาแสวงบุญเพื่อเฉลิมฉลอง
การประสูติของพระโอรสของกษัตริย์
แต่เมื่อฝ่าฝืนกฎของการจาริกแสวงบุญ
ทำให้เทพธิดานันดาเทวีโกรธเกรี้ยว
แสดงอาการโกรธออกมาในรูปของพายุลูกเห็บ
ซึ่งไม่ใช่เรื่องพิศดารหรือแปลกเลย
เมื่อพิจารณาถึงสถานที่ตั้งทะเลสาบ
มีตำนานเล่ากันว่า
เมื่อพระศิวะและเทพธิดาปาราวตี Parvati
กำลังเดินทางไปยังภูเขาไกรลาส
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู/พราหมณ์
เทพธิดาแสดงความปรารถนาจะอาบน้ำ
แต่ก็ผิดหวังเมื่อไม่มีแหล่งน้ำอยู่รอบ ๆ
ดังนั้น พระศิวะก็ใช้ตรีศูลขุดลงไปในดิน
และแล้วหลุมที่ขุดก็มีน้ำโผล่ออกมาเต็มไปหมด
น้ำใสดุจคริสตัลและสะท้อนรูปลักษณ์
ที่สวยงามของเทพธิดาปาราวตี Parvati
ดังนั้นจึงเป็นที่รู้จักในนาม Roopkund
เรื่องนี้เห็นได้ชัดว่าองค์ประกอบที่เหนือธรรมชาติ
และความศรัทธาได้เผยแพร่คติชน
ชาวท้องถิ่นในอินเดียมานานหลายศตวรรษ
แต่อีกทฤษฎีหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังพายุลูกเห็บก็คือ
ไม่ใช่กษัตริย์และพวกบริวารที่ตาย
แต่เป็นกลุ่มนักแสวงบุญชาวอินเดีย
Nanda Devi Raj Jat Yatra ในศตวรรษที่ 9
ที่เดินแสวงบุญตามรอยเส้นทางเทพธิดานันดาเทวี
แล้วยอมตายถวายชีวิตให้กับความเชื่อ/ศรัทธา
.
.
© sayanaditya bhattacharya / Flickr
.
.
แต่ข้อสันนิษฐานทั้งหมดที่กล่าวมา
ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับสระน้ำ/ทะเลสาบ
และความลึกลับของโครงกระดูกเหล่านี้
มีข้อโต้แย้งโดยการค้นพบทางโบราณคดีมานานแล้ว
ผลจากการศึกษานาน 5 ปีได้เปิดเผยว่า
บางซากศพมีอายุย้อนไปถึง 1,200 ปี
จากการหาค่ากระดูกจากคาร์บอน
ชี้ให้เห็นว่าคนตายไม่จำเป็นต้องอยู่ในยุคเดียวกัน
และอาจเสียชีวิตประมาณ 1,000 ปีก่อน
ผลจากการตรวจสอบทางพันธุกรรมของกระดูกตัวอย่าง
ได้ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายเชื้อชาติในศพเช่นกัน
สามารถเชื่อมโยงกับคนในเอเชียใต้
ซึ่งเสียชีวิตในช่วงเหตุการณ์ต่าง ๆ
ระหว่างศตวรรษที่ 7 ถึง 10
บางส่วนเชื่อมโยงกับยุโรปในปัจจุบัน (กรีซหรือครีต)
ผู้เสียชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
ชายและหญิงล้วนเป็นผู้ใหญ่ และอยู่ในสภาพที่แข็งแรง
ไม่มีโรคระบาดใด ๆ มาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ในสถานที่ที่ไม่มีเครื่องมือหรืออาวุธ
ไม่มีเสื้อผ้าหรือเศษซากของที่พักพิง
ความลึกลับของโครงกระดูกในที่อ้างว้าง
ยังคงเพิ่มระดับของความอยากรู้อยากเห็น
อยากทราบถึงสาเหตุการตายอยู่ตลอดไป
ส่วนเส้นทางแสวงบุญยังอยู่ในการพิจารณา
เพราะไม่พบแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อยืนยันเรื่องนี้
ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์
ยังคงครุ่นคิดเกี่ยวกับการปรากฏตัวของโครงกระดูก
ทะเลสาบได้ดึงดูดผู้คนธรรมดา ๆ
ให้เข้ามาดูจุดจบที่น่าสยดสยองในแต่ละปี
เมื่อน้ำในทะเลสาบละลายลง
และโครงเกระดูกถูกเปิดเผยภายใต้เกลียวคลื่น
ความทรงจำเกี่ยวกับอดีตที่ไม่รู้จักก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา
กวักเรียกนักเดินป่าในปัจจุบันให้ค้นพบ
สิ่งที่อยู่เหนือเทือกเขาหิมาลัยที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
พื้นที่ดังกล่าวนี้ยังคงไม่ได้รับการปกป้อง
จากการรุกรานของนักท่องเที่ยว
และศพในที่เย็นยะเยือกของใต้พื้นน้ำ
อาจจะสูญเสียจุดที่พำนักไป
ถ้าถูกคนเยี่ยมชมเหยียบย่ำโดยประมาท
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3MDtNdB
https://go.nature.com/3KwDsBl
https://bbc.in/3OZgA0T
https://bit.ly/3OOJm3W
https://on.natgeo.com/3s2LwDf
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
เรื่องเดิม
.
ทะเลสาบมรณะ
.
.
.
หมายเหตุ
มีความเป็นไปได้ที่ไม่พบเสื้อผ้าบนศพ
เพราะมีคนถอดเอาไปใช้จากสภาพหนาวเย็น
หรือพายุหิมะพัดพาปลิวกระจายไปจากที่เกิดเหตุ
มีบางคนถูกฆ่าตาย/ฆ่าตัวตายเพื่อถวายเทพธิดา
แบบการบูชายัญในอดีตที่ผ่านมาของหลายศาสนา
โยคีบางนิกายของอินเดีย
จะแสดงความสามารถพิเศษทางปราณ
เช่น การไม่รู้ร้อน รู้หนาว ในสถานที่ต่าง ๆ
อาจเป็นไปได้มาทดสอบปราณที่นี้ แต่ไม่ผ่าน
เลยกลายเป็นกระดูกตกค้างที่ทะเลสาบแห่งนี้