วัดหย่าร้าง Matsugaoka Tōkei-ji

.

.
Gate of Main Hall of Tokeiji Temple Kamakura
© Toshihiro Gamo/Flickr
.
.


นับเป็นเวลายาวนานกว่าหกร้อยปีแล้ว
ที่ Matsugaoka Tōkei-ji ในเมือง Kamakura
ในจังหวัด Kanagawa ประเทศญี่ปุ่น
ทำหน้าที่เป็นสถานที่ลี้ภัยให้กับสตรี
ที่แสวงหาที่พักพิง/หลบซ่อน
จากสามีที่ทำร้ายร่างกาย/จิตใจ
ในสมัยที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์หย่ากับสามี
ผู้หญิงที่ถูกทารุณกรรมมักจะหนีไปยัง
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัดพุทธนิกายเซน ที่นี่

หลังจากที่รับใช้ในวัดและสำนักแม่ชี
ตามจำนวนปีที่กำหนดไว้แล้ว
ทาง Tōkei-ji จะจัดให้มีการหย่าร้าง
กับสามีของสตรีเหล่านั้น
ในช่วงเวลานี้เองจึงมีชื่อเล่น/ฉายา
ที่โด่งดังและยอดนิยมของวัดนี้ว่า
Enkiri-dera (วัดตัดขาดความสัมพันธ์)
และ Kakekomi-dera (วัดของผู้อพยพลี้ภัย)
บางครั้งก็เรียกว่า วัดหย่าร้าง 

วัดนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1285 
โดยท่านหญิง Horiuchi 
ภรรยาของ Hōjō Tokimune 
ผู้สำเร็จราชการคนที่ 8
โชกุนแห่ง  Kamakura
หลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิต
 
ท่านหญิง Horiuchi เกิดในปี 1252
จากตระกูล Adachi ที่ทรงอำนาจ
และเป็นพันธมิตรของตระกูล Hōjō
หลังจากที่พ่อของเธอเสียชีวิต
ตอนที่เธออายุได้หนึ่งขวบ
Horiuchi ได้รับการเลี้ยงดู
โดย Adachi Yasumori พี่ชายของเธอ
ซึ่งรับช่วงอำนาจต่อจาก Yoshikage
ในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มและผู้ปกครองเธอ

Tokimune คู่หมั้นของ Horiuchi
เกิดก่อนเธอราวหนึ่งปี
และเติบโตในจวน Adachi จังหวัด Kamakura
เด็กทั้งสองน่าจะคุ้นเคยกันตั้งแต่อายุยังน้อย
Horiuchi แต่งงานกับ Tokimune
เมื่อเธออายุได้เก้าขวบแลสามีอายุได้สิบขวบ
หลังแต่งงาน ทั้งคู่ย้ายจากจวน Adachi
มาอยู่ที่จวนของ Tokimune ด้วยกัน

เจ็ดปีต่อมา
Tokimune กลายเป็นผู้สำเร็จราชการ/โชกุน
และโดยพฤตินัยแล้วกลายเป็นคน
ที่มีอำนาจมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

ทั้งท่านหญิง Horiuchi และ Hōjō Tokimune 
เป็นสาวกที่กระตือรือร้นพุทธศาสนานิกายเซน 
และมีส่วนร่วมในการฝึกสมาธิอย่างจริงจัง 

ในปี ค.ศ. 1284
เมื่อ Hōjō Tokimune  ล้มป่วยกะทันหัน
ทั้งคู่ได้ผนวชและสวมชุดพระภิกษุและแม่ชี
Hōjō Tokimune ใช้ชื่อทางพุทธศาสนาว่า
Hokoji-dono Doko
และท่านผู้หญิง Horiuchi
ใช้ชื่อทางพุทธศาสนาว่า Kakusan Shidō
แต่หลังจากนั้นเพียงไม่นาน
Tokimune  ก็เสียชีวิต
และท่านหญิง Horiuchi  สาบานว่า
จะสร้างวัดเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน
.
.

.
Main hall of Tokeiji Temple Kamakura
© Toshihiro Gamo/Flickr
.
.
.

ท่านผู้หญิง Horiuchi ไม่ได้ตั้งใจแต่แรก
ให้วัด Tōkei-ji  เป็นที่หลบภัยสำหรับ
ผู้หญิงที่หนีจากสามีโดยเฉพาะ
แต่ชื่อเสียงนั้นส่วนใหญ่มาจาก
กิจกรรมในช่วงสองศตวรรษสุดท้าย
ในยุคสมัยโชกุน Tokugawa

แม้ว่าวัด Tōkei-ji จะได้จัดเตรียม
วิธีปฏิบัติให้ผู้หญิงหย่าร้างกับสามี
ตั้งแต่ในสมัยของท่านผู้หญิง Horiuchi 
(น่าจะให้เวลาสตรีปรับตัวปรับใจครุ่นคิด
หรือรอให้ครอบครัวมางอนง้อขอคืนดี)

แต่บทบาทของวัดได้รับการยอมรับ
และอธิบายอย่างเหมาะสมมากขึ้น
ในช่วงสี่ร้อยปีแรกเมื่อเป็นที่รู้จักกัน
ในชื่อ Kakekomi-dera วัดที่มีผู้ลี้ภัยเข้ามา
บรรดาศิษยาภิบาลที่โดดเด่นของสำนักชีแห่งนี้
บางคนเดินทางมาที่นี่เพื่อแสวงหาที่หลบภัย
ลี้ภัย และสถานที่หลบภัย จากสามีของพวกตน
.
.
.

.
Hōjō Sadatoki 北条 貞時
.
.


ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่ง
วันเดือนปี/ผู้เขียนไม่แน่ชัด
ท่านผู้หญิง Horiuchi ขอให้ Hōjō  Sadatoki
ลูกชายของเธอออกกฎหมายให้วัดTōk ei-ji
เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ต้องการหย่ากับสามี
Hōjō Sadatoki ได้เสนอให้จักรพรรดิญี่ปุ่นอนุมัติ
(ยุคนั้นโชกุนมีอำนาจเหนือกว่าจักรพรรดิ์
แบบโจโฉมีอำนาจเหนือฮ่องเต๊เหี้ยนเต๊)
 
ในขั้นต้นกำหนดระยะเวลา
การตัองอยู่ที่วัดสามปี
ต่อมาลดลงเหลือสองปี
วัดTōkei-ji อนุญาตให้หย่าร้าง
ได้มากถึง 2,000 ราย
ในช่วงยุคสมัยโชกุน Tokugawa 

ในปี 1873 
มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่
วัด Tōkei-ji จึงเสียสิทธิ์นี้ไป
เพราะหลังจากกฎหมายฉบับใหม่มีผลบังคับ
คดีหย่าร้างทั้งหมดจะถูกโอนไปพิจารณา
โดยศาลยุติธรรมแทน วัด Tōkei-ji

หลังการปฏิรูปยุคเมจิ Meiji Restoration
(ชื่อเดียวกับนมเมจิ ที่ขายดีตามห้าง)
วัด Tōkei-ji  เริ่มสูญเสียท่อน้ำเลี้ยง/เงิน
รวมทั้งนโยบายต่อต้านศาสนาพุทธของรัฐบาล
มีส่วนทำให้ วัด Tōkei-ji  ต้องค่อย ๆ ล่มสลาย

แต่วัด Tōkei-ji ยังรับเฉพาะแม่ชีกับผู้หญิงเท่านั้น
ผู้ชายห้ามเข้าในวัดจนกระทั่งในปี 1902
เมื่อผู้ชายคนหนึ่งเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส
และวัด Tōkei-ji ได้กลายเป็นวัดสาขา
ภายใต้การกำกับดูแลของวัดเซ็น Engaku-ji

ในปี 1923
เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ใน Kantō
อาคารภายในวัดทั้งหมด ยกเว้นหอระฆัง
ถูกแผ่นดินไหวทำลายลงเกือบทั้งหมด
และวัด Tōkei-ji  ก็ค่อย ๆ
บูรณะ/สร้างขึ้นมาใหม่ในทศวรรษต่อมา
.



.


.


.


.

.
© Toshihiro Gamo/Flickr
.
.



เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3HYKQGq
https://bit.ly/3xmkSHW
https://bit.ly/40Y5rDw
https://tokeiji.com/
https://bit.ly/3S1vFkb
.

.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.


.
เรื่องเดิม
.
สู้กันจนตายถ้าจะหย่าร้างในยุคกลางยุโรป
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Divorce by COMBAT :
The Medieval Way of Ending a Marriage...

.

เรือนจำคู่วิวาห์ในโรมาเนีย
.


.

เธอคงเป็นนางสาวแล้วนะ
.

.

.
โทริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ
สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต
.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ


ชินโต 神道 shintō คือ ศาสนาเทพเทวดาดั้งเดิม
ตามลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น
เป็นศาสตร์แห่งเทพเจ้า วิถีแห่งเทพเจ้า
มีความเป็นมาที่ยาวนาน มีตำนานความเชื่อว่า
เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า
บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม
แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นา
ในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์
ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น
เทพแปดล้านองค์ มีทวยเทพอยู่มากมาย

ทุกวันนี้ ศาสนาชินโต
คือ ลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำญี่ปุ่น
พิธีกรรมของศาสนาชินโตมาจาก
วัฒนธรรมท้องถิ่น/ธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
แต่ไม่ได้จัดระเบียบแบบแผนมาตรฐาน
หรือมีการทำพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ
ที่ใช้กันตามแบบแผนทั่วทุกท้องถิ่น

(ชาวจีนก็มีปัญหามากในเรื่องพิธีกรรม
ประเพณีวัฒนธรรมธรรมเนียมปฏิบัติ
ยิ่งพูดภาษาจีนแต๊จิ๋ว ไหหลำ ฮากกา ฮกเกี๊ยน
มาจากคนละที่คนละถิ่นตำบล/อำเภอ
ได้โต้เถียงกันวุ่นวายกันไปหมด
พอ ๆ กับของคนไทยในแต่ละภูมิภาค)


ในยุคปฏิรูปเมจิ
ทำให้จักรพรรดิ์ญี่ปุ่น Back to the Future
มีอำนาจเหนือกว่าโชกุนและซามูไร
เพราะใช้กองทัพชาวนาฝึกยึงปืนปีสองปี
ไล่ยิงพวกซามูไรฝึกฟันดาบมานานสิบปียี่สิบปี
บาดเจ็บและล้มตายลงไปจำนวนมาก
จนพวกซามูไรต้องค่อย ๆ ล่มสลายไป
เหลือแต่สัญลักษณ์ดาบซามูไร
ปั้มโรงงานแทนการตีดาบแบบยุคก่อน
มอบให้ทหารญี่ปุ่นพกติดตัว
ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2

จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นต้องการสร้างอำนาจ
และชี้นำชาวบ้านให้เชื่อฟัง
จึงมุ่งเน้นที่ศาสนาชินโตเป็นแกนนำ
ผสานกับพุทธ (เวียนว่ายตายเกิด)
เต๋า ธรรมชาติธรรมดา แบบ 3 in 1
จนนำไปสู่การเน้นย้ำผนวก ลัทธิบูชิโด
จรรยาบรรณแบบญี่ปุ่น วิถีชีวิตซามูไร
กำเนิดขึ้นจากประมวลศีลธรรมซามูไร
เน้นความมัธยัสถ์ ความภักดี
ความชำนาญในศิลปะป้องกันตัว
และรักษาไว้ซึ่งเกียรติกระทั่งตาย
ช่วงสันติภาพยุคโชกุนโทกูงาวะ
จัดทำให้เป็นระเบียบแบบแผน/มาตรฐาน
เป็นกฎหมายศักดินาญี่ปุ่น
พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิทหาร
การเป็นอสูรสงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2

การค่อย ๆ ลดทอนอำนาจวัด/ศาลเจ้า
ศาสนาพุทธนิกายต่าง ๆ ลัทธิเต๋า/ศาลเจ้า
ด้วยการตัดท่อน้ำเลี้ยง เงินทอง คนงาน
ทำให้วัดก็เริ่มร่วงโรย พระชีเณรก็หาย/อดอยาก
ทำให้พระภิกษุ แม่ชี เณร มีน้อยมาก ๆ
ต้องออกไปทำมาหากินแบบชาวบ้าน
วัด ศาลเจ้า จึงจะอยู่รอดได้
เลยต้องปฏิรูปศาสนาพุทธ/แก้ความเชื่อ
ให้พระภิกษุมีลูกเมียได้
จะได้ช่วยทำงานและดูแลวัด/ศาลเจ้า
วัด/ศาลเจ้าจึงกลายเป็นสมบัติของตระกูลไป

(วัดจีน/ศาลเจ้าจีน ในมาเลย์เป็นของครอบครัว
ที่สืบทอดมรดกกันได้ แต่ต้องเสียภาษี
วัดคนสยามในมาเลย์ มีมากทางภาคเหนือนายู
พระภิกษุกับวัดต้องเสียภาษี
เพราะอิสลามคือศาสนาประจำชาตินายู(มลายู)
ด้วยดาบและภาษี คือ การปกครองรัฐ
และการชักจูงให้คนเปลี่ยนศาสนา
สืบทอดมาจากกาหลิบออตโตมัน
สันตปาปา/กษัตริย์คริสตศาสนา
ตอนแย่งชิงกันในสงครามครูเสด

สมัยพระนเรศมีการสอบไล่
ใครไม่รู้ทางอรัญวาสี/คามวาสี
มีพระเถระเป็นกรรมการ จะถูกจับสึกเป็นไพร่
ห้ามฉันหลังเที่ยงวัน มหายานฉันได้
โกนหนวด/คิ้ว ไม่มีในพระวินัย)


พระ/แม่ชีญี่ป่นเลยต้องมาทำพิธีกรรม
สวดมนตร์อวยพรต่าง ๆ ทำพิธีกงเต๊ก
หาเงิน/ของทำบุณย์เพื่อความอยู่รอด

แต่พระภิกษุไทย แล้วแต่ศรัทธาแล้วแต่จะให้

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2
ชินโตถูกยกเลิกเป็นศาสนาประจำชาติ
ชินโตจึงเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น
เหลือการดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต
และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น
ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่