.
.
Biertan’s Matrimonial Prison
© Alessio Damato/Wikimedia
.
.
กระท่อมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เรือนจำคู่วิวาห์
จะซ่อนตัวอยู่ในบริเวณโบสถ์ของหมู่บ้าน
อันแสนเงียบสงบของประเทศโรมาเนีย
ที่นี่คือ สถานที่กักขังสามีภริยาให้อยุ่ร่วมกัน
เพื่อแก้ไขปัญหาครอบครัวที่ทะเลาะวิวาทกัน
โดยจะถูกกักขังราว 2 สัปดาห์
วิธีการแบบนี่ได้รับการกล่าวขานว่า
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีมาก
จนบันทึกที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า
มีการหย่าร้างเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
ในช่วงเวลา 300 ปีที่ผ่านมา
Biertan คือ หนึ่งในหมู่บ้านมากกว่า 150 แห่ง
ใน Transylvania ที่ยังคงมีโบสถ์ที่มีป้อมปราการ
โบสถ์เหล่านี้สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13 - 16
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Transylvania
เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี
ขณะที่จักรวรรดิออตโตมันกำลังเติบโต
ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจมตี
ของพวกออตโตมันและพวก Tartar
เมืองสำคัญที่สุดในภูมิภาคต่าง ๆ
จึงได้รับการเสริมกำลังป้องกันอย่างเต็มที่
ชุมชนขนาดเล็กต่างได้สร้างป้อมปราการ
ที่มีศูนย์กลางบริหารจัดการอยู่ที่โบสถ์
มีการเพิ่มหอคอยป้องกัน/โกดังเก็บข้าวของมีค่า
ข้าวปลาอาหารเพียงพอที่อยู่ได้ยาวนาน
ท่ามกลางการปิดล้อมของพวกศัตรูที่รุกราน
.
.
.
ภายในเรือนจำคู่วิวาห์
© Draculina & kid/Flickr
.
.
ที่ Biertan โครงสร้างที่สำคัญที่สุดคือ โบสถ์
ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาอย่างแข็งแรงมั่นคง
มีกำแพงล้อมรอบบริเวณโบสถ์เด่นชัดในชนบท
ภายในพื้นที่มีอาคารขนาดเล็กใหญ่กว่าห้องครัว
ตั้งอยู่ภายในบริเวณโบสถ์แยกออกไปต่างหาก
คู่สามีภรรยาจะมาติดต่อขอหย่าร้างกับ
อธิการ/เจ้าอาวาสในท้องที่โดยตรงแล้ว
ก็จะถูกส่งตัวไปยังเรือนจำคู่วิวาห์
เพื่อทบทวนตนเองก่อนเกี่ยวกับชีวิต
ก่อนแต่งงานระหว่างการแต่งงานว่าเป็นอย่างไร
โดยอยู่กันนานสุด 2 สัปดาห์
แต่บางรายนานถึง 6 สัปดาห์
ห้องพักมีข้าวของภายในเพียงไม่กี่อย่าง เช่น
โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บข้าวของ เตียงแซกซอนดั้งเดิม
ทั้งคู่ต่างต้องพยายามจะซ่อมแซมชีวิตแต่งงาน
ด้วยการแบ่งปันทุกอย่างภายในบ้านหลังเล็ก ๆ
ตั้งแต่หมอน ผ้าห่ม จาน ช้อน อย่างละหนึ่งชิ้น
ตามศาสนาคริสต์เตียนนิกาย
Lutheranism
นิกายที่ใหญ่ที่สุดในศาสนาคริสต์ตะวันตก
ฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้ง
เพื่อปฏิรูปหลักเทววิทยา/การปฏิบัติที่แตกต่าง
จากศาสนาคริสต์ตังนิกายโรมันคาทอลิก
ที่มีพระสันตปาปาเป็นผู้นำนิกายนี้
นิกายนี้เป็นที่นิยมนับถือโดย
ชาว
Transylvanian Saxons
ชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันยุคกลาง
ทุกวันนี้มีบางส่วนอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส
เบลเยี่ยม ลักเซมเบริก เยอรมัน โรมาเนีย
Géza II กษัตริย์ฮังการีที่ครอบครองดินแดนในยุคนั้น
ได้เชิญชวนชนกลุ่มนี้ให้มาตั้งถิ่นฐาน
ในเขตทุรกันดารของ Transylvania
เพื่อป้องกันดินแดนจากพวก
Ottoman
และพวกชนเผ่าเร่ร่อนเตริก
Tatars
การหย่าร้างที่นี่ทำได้โดยได้รับอนุญาต
ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง
เช่น การล่วงประเวณี การคบชู้
แต่คนส่วนใหญ่มักจะรักษาสถานะภาพสมรสไว้
เพราะหากเกิดการหย่าร้างขึ้นแล้ว
สามีต้องจ่ายเงิน 1/2 ของรายได้ให้กับภรรยาเก่า
แต่ถ้าสามีแต่งงานใหม่และหย่าร้างกันอีกครั้ง
ภรรยาคนที่สองจะไม่มีสิทธิ์ได้รับอะไรเลย
.
.
.
Biertan fortified church
© Himbeerdoni/Flickr
.
.
“ เหตุผลที่อยู่ด้วยกันคงไม่ใช่ความรัก
เหตุผลคือ ต้องทำงานและอยู่รอด
ถ้าคู่รักถูกขังอยู่ข้างในเป็นเวลา 6 สัปดาห์
มันก็ยากมากสำหรับคนทั้งคู่
ที่จะหาอาหารเพียงพอในปีต่อไป
ดังนั้นเรื่องนี้จึงกดดันคนทั้งคู่
ต้องรีบออกไปจากเรือนจำ
และเริ่มทำมาหากินร่วมกันต่อไป ”
Ulf Ziegler นักบวชของ Biertan
ที่ทำหน้าที่ในปัจุจุบันอธิบาย
ปัจจุบันคุกขนาดเล็กนี้เป็นพิพิธภัณฑ์
แต่ Ulf Ziegler เปิดเผยว่า
ในทุกวันนี้ ท่านมักจะได้รับคำขอ
จากคู่รักที่รอคอยที่จะใช้คุกแห่งนี้
เพื่อซ่อมแซมชีวิตแต่งงานที่ดิ้นรนของคนทั้งคู่
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3ikPup6
https://bbc.in/3u4Mcsy
.
.
.
.
Biertan fortified church
.
.
.
ป้อมปราการ โบสถ์ Ensemble of the Evangelical
.
.
.
ป้อมปราการชั้นใน มี หอคอย
ยอดปราการแหลม และประตูหอคอย
.
.
.
ป้อมปราการโบสถ์ Biertan
.
.
.
ป้อมปราการโบสถ์ Biertan
.
.
.
บ้านยุคแรกของ Sara Römischer
ในเขตพื้นที่เก่าแก่ Kirchgasse ของ Biertan
.
.
.
ป้อมปราการยุคกลางของโบสถ์
Evangelical Lutheran ใน Richiș
.
.
.
ภาพ Biertan ในปี จาก British Library
.
.
.
แสตมป์ Biertan ในปี 2011 ของ Romania
.
.
.
Biertan Donarium
.
.
.
กุญแจปิดเปิดประตูไม้โบสถ์ที่ Biertan
มีระบบปิดเปิด 19 ชุดในกุญแจดอกเดียวกัน
ได้รับรางวัลที่ 1 ใน Paris World Expo ปี 1900
.
.
.
เขตท้องถิ่น Sibiu County[
.
.
เรื่องเดิม
.
สู้กันจนตายถ้าจะหย่าร้างในยุคกลางยุโรป
.
.
Divorce by Combat :
The medieval Way of Ending a Marriage
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
โรมาเนียมีชื่อเสียงโด่งดังจากเรื่อง Dracula
ที่นำตำนานของ
Vlad III, Vlad the Impaler
จอมเสียบข้าศึก หรือ Vlad Dracula
ที่เคยสู้รบกับพวกชนเผ่าเร่ร่อน Tatars
และสุลต่านจักรวรรดิ์ Ottoman Sultan
ที่มี
Mehmed II เป็นแกนนำ
เพราะไม่ยอมส่งส่วยเป็นเมืองขึ้นของศัตรู
จึงเกิดการรบพุ่งอย่างดุเดือดเลือดท่วม
หลังจากท่านมีชัยชนะในสงครามแล้ว
ท่านจะจับกุมพวกศัตรูเสียบประจาน
เป็นธงทิวแถวยาวจนเป็นที่หวาดกลัว
จึงได้ฉายาว่า จอมโหดจอมเสียบ
แต่ในโรมาเนียยกย่องท่านเป็น วีรบุรุษของชาติ
.
.
.
.
ทางอาณาจักรออตโตมันบันทึกไว้ว่า
มีคนทรยศตัดหัว Vlad แช่น้ำผึ้งกันเน่า
ส่งมอบให้สุลต่านดูเพื่อยืนยันว่าตายจริง
แต่ทางโรมาเนียระบุว่า Vlad ตายจริง
มีการฝังศพในสุสานนิรนาม
ป้องกันคนขุดศพขายให้ฝ่ายศัตรู
ในอดีต ชาวจีนใช้น้ำผึ้งรักษาบาดแผลเน่าเปื่อย
กับใช้แช่เฉพาะหัวศัตรูส่งทางไกลให้เมืองหลวง
เพื่อนำเสนอให้ฮ่องเต๊ดูว่าศัตรูตายแล้วจริงจริง
กองทัพญี่ปุ่นใช้เกลือดองใบหู/จมูกคนเกาหลี
ส่งกลับญี่ปุ่นเพื่อรับรางวัลค่าหัวที่ฆ่าได้
เพราะน้ำผึ้งหายากมากในช่วงเวลานั้น
Mimizuka: สุสานจมูกชาวเกาหลี 38,000 รายที่ญี่ปุ่น
.
.
ปัญหาจริง ๆ ของยุโรปในอดีต คือ
ผลผลิตเสบียงอาหารปลูกไม่ค่อยพอกิน
ส่วนมากการศึกสงครามจึงต้องสังหารเชลยทิ้ง
เพราะเลี้ยงไปก็เสียขนมปังกับซุปฟรี ๆ
ไม่เกิดผลผลิตและมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
แต่หลังจากที่ชาวสเปนนำมันฝรั่ง
ที่นำมาจากละตินอเมริกาเข้ามาปลูกในยุโรป
ทำให้ภาวะขาดแคลนอาหารลดน้อยลงไป
คนยุโรปจึงรอดตายและขยายพันธุ์ได้ต่อเนื่อง
เพราะผลผลิตจากดินแดนอาณานิคมสเปน
.
.
ตอนญี่ปุ่นบุกนานกิงที่จีน
มีติ่งญี่ปุ่น (อวัยวะไร้สมอง ไร้ประโยชน์)
พยายามแก้ต่างว่า เรื่องนี้ไม่จริง จีนโกหก
หรือญี่ปุ่นไม่มีอาหารไม่เพียงพอกับเชลยศึก
เพราะทหารญี่ปุ่นกวาดต้อนมาหลายแสนคน
คนจีนบางคนก็ยอมมอบตัวมาเป็นเชลยศึก
เผื่อจะได้มีอาหารกินไม่อดตาย
ทหารญี่ปุ่นเลยต้องฆ่าทิ้งจำนวนมาก
เพื่อประหยัดเสบียงอาหารในกองทัพ
แต่เป็นการกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในสังคมชาวโลก
และเรื่องนี้จุดไฟรักชาติคนจีนติดทุกครั้ง
เวลามีปัญหาพิพาทกับญี่ปุ่นแบบไม่เคยลืมเลือน
.
.
.
.
Vlad the Impaler
.
.
.
Vlad the Impaler
.
.
.
Sultan Mehmed Il
.
.
.
สงครามกับพวก Torches วาดโดย Theodor Aman
ในการรบตอนกลางคืนของ Vlad ที่ Târgoviște
.
.
.
การเสื่อมโทรมของคฤหาสถ์ Princely Court ใน Târgoviște
.
.
.
ปราสาท Poenari Castle ที่ชำรุดเสื่อมโทรม
มักจะเป็นฉากสำคัญในเรื่องของ Vlad
.
.
.
บ้านในจตุรัสหลัก Sighișoara
ที่ซึ่งพ่อของ Vlad พักช่วงปี 1431 - 1435
.
.
.
Bela Lugosi ในบทบาท Count Dracula
ในปี 1931 ภาพยนตร์ Dracula
.
.
.
Bela Lugosi
.
.
เรือนจำคู่วิวาห์ในโรมาเนีย
.
Biertan’s Matrimonial Prison
© Alessio Damato/Wikimedia
.
กระท่อมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เรือนจำคู่วิวาห์
จะซ่อนตัวอยู่ในบริเวณโบสถ์ของหมู่บ้าน
อันแสนเงียบสงบของประเทศโรมาเนีย
ที่นี่คือ สถานที่กักขังสามีภริยาให้อยุ่ร่วมกัน
เพื่อแก้ไขปัญหาครอบครัวที่ทะเลาะวิวาทกัน
โดยจะถูกกักขังราว 2 สัปดาห์
วิธีการแบบนี่ได้รับการกล่าวขานว่า
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีมาก
จนบันทึกที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า
มีการหย่าร้างเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว
ในช่วงเวลา 300 ปีที่ผ่านมา
Biertan คือ หนึ่งในหมู่บ้านมากกว่า 150 แห่ง
ใน Transylvania ที่ยังคงมีโบสถ์ที่มีป้อมปราการ
โบสถ์เหล่านี้สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13 - 16
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Transylvania
เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี
ขณะที่จักรวรรดิออตโตมันกำลังเติบโต
ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโจมตี
ของพวกออตโตมันและพวก Tartar
เมืองสำคัญที่สุดในภูมิภาคต่าง ๆ
จึงได้รับการเสริมกำลังป้องกันอย่างเต็มที่
ชุมชนขนาดเล็กต่างได้สร้างป้อมปราการ
ที่มีศูนย์กลางบริหารจัดการอยู่ที่โบสถ์
มีการเพิ่มหอคอยป้องกัน/โกดังเก็บข้าวของมีค่า
ข้าวปลาอาหารเพียงพอที่อยู่ได้ยาวนาน
ท่ามกลางการปิดล้อมของพวกศัตรูที่รุกราน
.
.
ภายในเรือนจำคู่วิวาห์
© Draculina & kid/Flickr
.
ที่ Biertan โครงสร้างที่สำคัญที่สุดคือ โบสถ์
ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาอย่างแข็งแรงมั่นคง
มีกำแพงล้อมรอบบริเวณโบสถ์เด่นชัดในชนบท
ภายในพื้นที่มีอาคารขนาดเล็กใหญ่กว่าห้องครัว
ตั้งอยู่ภายในบริเวณโบสถ์แยกออกไปต่างหาก
คู่สามีภรรยาจะมาติดต่อขอหย่าร้างกับ
อธิการ/เจ้าอาวาสในท้องที่โดยตรงแล้ว
ก็จะถูกส่งตัวไปยังเรือนจำคู่วิวาห์
เพื่อทบทวนตนเองก่อนเกี่ยวกับชีวิต
ก่อนแต่งงานระหว่างการแต่งงานว่าเป็นอย่างไร
โดยอยู่กันนานสุด 2 สัปดาห์
แต่บางรายนานถึง 6 สัปดาห์
ห้องพักมีข้าวของภายในเพียงไม่กี่อย่าง เช่น
โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บข้าวของ เตียงแซกซอนดั้งเดิม
ทั้งคู่ต่างต้องพยายามจะซ่อมแซมชีวิตแต่งงาน
ด้วยการแบ่งปันทุกอย่างภายในบ้านหลังเล็ก ๆ
ตั้งแต่หมอน ผ้าห่ม จาน ช้อน อย่างละหนึ่งชิ้น
ตามศาสนาคริสต์เตียนนิกาย Lutheranism
นิกายที่ใหญ่ที่สุดในศาสนาคริสต์ตะวันตก
ฝ่ายโปรเตสแตนต์ มาร์ติน ลูเทอร์ เป็นผู้ก่อตั้ง
เพื่อปฏิรูปหลักเทววิทยา/การปฏิบัติที่แตกต่าง
จากศาสนาคริสต์ตังนิกายโรมันคาทอลิก
ที่มีพระสันตปาปาเป็นผู้นำนิกายนี้
นิกายนี้เป็นที่นิยมนับถือโดย
ชาว Transylvanian Saxons
ชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันยุคกลาง
ทุกวันนี้มีบางส่วนอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส
เบลเยี่ยม ลักเซมเบริก เยอรมัน โรมาเนีย
Géza II กษัตริย์ฮังการีที่ครอบครองดินแดนในยุคนั้น
ได้เชิญชวนชนกลุ่มนี้ให้มาตั้งถิ่นฐาน
ในเขตทุรกันดารของ Transylvania
เพื่อป้องกันดินแดนจากพวก Ottoman
และพวกชนเผ่าเร่ร่อนเตริก Tatars
การหย่าร้างที่นี่ทำได้โดยได้รับอนุญาต
ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง
เช่น การล่วงประเวณี การคบชู้
แต่คนส่วนใหญ่มักจะรักษาสถานะภาพสมรสไว้
เพราะหากเกิดการหย่าร้างขึ้นแล้ว
สามีต้องจ่ายเงิน 1/2 ของรายได้ให้กับภรรยาเก่า
แต่ถ้าสามีแต่งงานใหม่และหย่าร้างกันอีกครั้ง
ภรรยาคนที่สองจะไม่มีสิทธิ์ได้รับอะไรเลย
.
.
Biertan fortified church
© Himbeerdoni/Flickr
.
“ เหตุผลที่อยู่ด้วยกันคงไม่ใช่ความรัก
เหตุผลคือ ต้องทำงานและอยู่รอด
ถ้าคู่รักถูกขังอยู่ข้างในเป็นเวลา 6 สัปดาห์
มันก็ยากมากสำหรับคนทั้งคู่
ที่จะหาอาหารเพียงพอในปีต่อไป
ดังนั้นเรื่องนี้จึงกดดันคนทั้งคู่
ต้องรีบออกไปจากเรือนจำ
และเริ่มทำมาหากินร่วมกันต่อไป ”
Ulf Ziegler นักบวชของ Biertan
ที่ทำหน้าที่ในปัจุจุบันอธิบาย
ปัจจุบันคุกขนาดเล็กนี้เป็นพิพิธภัณฑ์
แต่ Ulf Ziegler เปิดเผยว่า
ในทุกวันนี้ ท่านมักจะได้รับคำขอ
จากคู่รักที่รอคอยที่จะใช้คุกแห่งนี้
เพื่อซ่อมแซมชีวิตแต่งงานที่ดิ้นรนของคนทั้งคู่
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3ikPup6
https://bbc.in/3u4Mcsy
.
.
.
Biertan fortified church
.
.
.
ป้อมปราการ โบสถ์ Ensemble of the Evangelical
.
.
.
ป้อมปราการชั้นใน มี หอคอย
ยอดปราการแหลม และประตูหอคอย
.
.
.
ป้อมปราการโบสถ์ Biertan
.
.
.
ป้อมปราการโบสถ์ Biertan
.
.
.
บ้านยุคแรกของ Sara Römischer
ในเขตพื้นที่เก่าแก่ Kirchgasse ของ Biertan
.
.
.
ป้อมปราการยุคกลางของโบสถ์
Evangelical Lutheran ใน Richiș
.
.
.
ภาพ Biertan ในปี จาก British Library
.
.
.
แสตมป์ Biertan ในปี 2011 ของ Romania
.
.
.
Biertan Donarium
.
.
.
กุญแจปิดเปิดประตูไม้โบสถ์ที่ Biertan
มีระบบปิดเปิด 19 ชุดในกุญแจดอกเดียวกัน
ได้รับรางวัลที่ 1 ใน Paris World Expo ปี 1900
.
.
.
เขตท้องถิ่น Sibiu County[
.
.
เรื่องเดิม
.
สู้กันจนตายถ้าจะหย่าร้างในยุคกลางยุโรป
.
.
Divorce by Combat :
The medieval Way of Ending a Marriage
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
โรมาเนียมีชื่อเสียงโด่งดังจากเรื่อง Dracula
ที่นำตำนานของ Vlad III, Vlad the Impaler
จอมเสียบข้าศึก หรือ Vlad Dracula
ที่เคยสู้รบกับพวกชนเผ่าเร่ร่อน Tatars
และสุลต่านจักรวรรดิ์ Ottoman Sultan
ที่มี Mehmed II เป็นแกนนำ
เพราะไม่ยอมส่งส่วยเป็นเมืองขึ้นของศัตรู
จึงเกิดการรบพุ่งอย่างดุเดือดเลือดท่วม
หลังจากท่านมีชัยชนะในสงครามแล้ว
ท่านจะจับกุมพวกศัตรูเสียบประจาน
เป็นธงทิวแถวยาวจนเป็นที่หวาดกลัว
จึงได้ฉายาว่า จอมโหดจอมเสียบ
แต่ในโรมาเนียยกย่องท่านเป็น วีรบุรุษของชาติ
.
.
ทางอาณาจักรออตโตมันบันทึกไว้ว่า
มีคนทรยศตัดหัว Vlad แช่น้ำผึ้งกันเน่า
ส่งมอบให้สุลต่านดูเพื่อยืนยันว่าตายจริง
แต่ทางโรมาเนียระบุว่า Vlad ตายจริง
มีการฝังศพในสุสานนิรนาม
ป้องกันคนขุดศพขายให้ฝ่ายศัตรู
ในอดีต ชาวจีนใช้น้ำผึ้งรักษาบาดแผลเน่าเปื่อย
กับใช้แช่เฉพาะหัวศัตรูส่งทางไกลให้เมืองหลวง
เพื่อนำเสนอให้ฮ่องเต๊ดูว่าศัตรูตายแล้วจริงจริง
กองทัพญี่ปุ่นใช้เกลือดองใบหู/จมูกคนเกาหลี
ส่งกลับญี่ปุ่นเพื่อรับรางวัลค่าหัวที่ฆ่าได้
เพราะน้ำผึ้งหายากมากในช่วงเวลานั้น
Mimizuka: สุสานจมูกชาวเกาหลี 38,000 รายที่ญี่ปุ่น
.
.
ปัญหาจริง ๆ ของยุโรปในอดีต คือ
ผลผลิตเสบียงอาหารปลูกไม่ค่อยพอกิน
ส่วนมากการศึกสงครามจึงต้องสังหารเชลยทิ้ง
เพราะเลี้ยงไปก็เสียขนมปังกับซุปฟรี ๆ
ไม่เกิดผลผลิตและมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
แต่หลังจากที่ชาวสเปนนำมันฝรั่ง
ที่นำมาจากละตินอเมริกาเข้ามาปลูกในยุโรป
ทำให้ภาวะขาดแคลนอาหารลดน้อยลงไป
คนยุโรปจึงรอดตายและขยายพันธุ์ได้ต่อเนื่อง
เพราะผลผลิตจากดินแดนอาณานิคมสเปน
.
.
ตอนญี่ปุ่นบุกนานกิงที่จีน
มีติ่งญี่ปุ่น (อวัยวะไร้สมอง ไร้ประโยชน์)
พยายามแก้ต่างว่า เรื่องนี้ไม่จริง จีนโกหก
หรือญี่ปุ่นไม่มีอาหารไม่เพียงพอกับเชลยศึก
เพราะทหารญี่ปุ่นกวาดต้อนมาหลายแสนคน
คนจีนบางคนก็ยอมมอบตัวมาเป็นเชลยศึก
เผื่อจะได้มีอาหารกินไม่อดตาย
ทหารญี่ปุ่นเลยต้องฆ่าทิ้งจำนวนมาก
เพื่อประหยัดเสบียงอาหารในกองทัพ
แต่เป็นการกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในสังคมชาวโลก
และเรื่องนี้จุดไฟรักชาติคนจีนติดทุกครั้ง
เวลามีปัญหาพิพาทกับญี่ปุ่นแบบไม่เคยลืมเลือน
.
.
.
Vlad the Impaler
.
.
.
Vlad the Impaler
.
.
.
Sultan Mehmed Il
.
.
.
สงครามกับพวก Torches วาดโดย Theodor Aman
ในการรบตอนกลางคืนของ Vlad ที่ Târgoviște
.
.
.
การเสื่อมโทรมของคฤหาสถ์ Princely Court ใน Târgoviște
.
.
.
ปราสาท Poenari Castle ที่ชำรุดเสื่อมโทรม
มักจะเป็นฉากสำคัญในเรื่องของ Vlad
.
.
.
บ้านในจตุรัสหลัก Sighișoara
ที่ซึ่งพ่อของ Vlad พักช่วงปี 1431 - 1435
.
.
.
Bela Lugosi ในบทบาท Count Dracula
ในปี 1931 ภาพยนตร์ Dracula
.
.
.
Bela Lugosi
.