‘ทนายตั้ม’ จ่อยื่น ‘ผบช.น.’ สอบอดีตบิ๊กตร. แทรกแซงคดี ‘อดีตรองหนพรรค’
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3301304
‘ทนายตั้ม’ จ่อยื่น ‘ผบช.น.’ สอบอดีตบิ๊กตร. แทรกแซงคดี ‘อดีตรองหนพรรค’ แฉมีความพยายามใช้เหยื่อปลอม ดิสเครดิตเหยื่อจริง
เมื่อวันที่ 21 เมษายน นาย
ษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ หรือ ทนายตั้ม เผยผ่าน รายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ถึงความคืบหน้าในเรื่องคดีความของเหยื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศว่า คดีแรก คือ คดีของเหยื่อราย 18 ปี ที่พาเข้าแจ้งความดำเนินคดี ถือเป็นคดีสำคัญที่สุดเลย ซึ่งตั้งแต่ได้คุยกับแม่น้องคนดังกล่าว ก็มีพล.ต.ต.คนหนึ่งเข้ามาเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ แต่พอหลังๆ เริ่มแปลก เข้าใจว่า แม่ของน้องรับคำปรึกษามาจาก พล.ต.ต.คนนี้ตลอด ซึ่งเท่าที่ทราบพล.ต.ต.คนนี้ มีคอนเนคชั่นกับพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้พอสมควร มีการอ้างว่า รู้จักผู้ใหญ่ในพรรคนี้ค่อนข้างเยอะ สามารถจัดการได้ โดยพล.ต.ต.คนนี้น้องเรียกว่า ลุง ส่วนตัวไม่เคยเจอหน้า ได้ยินแต่เสียงผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น เข้าใจว่าน่าจะเกษียณแล้ว
ทั้งนี้ วันที่ 22 เมษายนนี้ ตนเตรียมยื่นเรื่องถึง พล.ต.ท.
สําราญ นวลมา ผบช.น. ให้ตรวจสอบ พล.ต.ต.ท่านนี้ ได้มีการแทรกแซงคดีหรือไม่ โดยขอให้ตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ทั้งหมด และให้สืบสวนในทางลับด้วย
เมื่อถามว่า จะยื่นร้องก็ทราบว่า พล.ต.ต.ท่านนี้คือใคร นาย
ษิทรา รับว่า ทราบ รู้ชื่อ รู้ตำแหน่ง บอกใบ้ให้ได้ว่า เคยเป็นอดีตผู้บังคับการจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว
“ผมมั่นใจว่า คดีแรกที่ผมพาน้องไปแจ้งความ คิดว่ามีโอกาส 80-90% ที่จะสามารถเอาผิดอดีตรองหัวหน้าพรรคได้ แต่ตอนนี้แม่ของเหยื่อเริ่มไม่คุย ไม่ให้ความร่วมมือกับผม ถามอะไร หรือขออะไรไป ก็จะอ้างว่า ขอถามคุณลุงก่อน สุดท้ายก็ไม่ได้ทำตามคำแนะนำในทางคดี” นาย
ษิทรา กล่าว
นาย
ษิทรา รับด้วยว่า
“วันก่อนมีผู้ใหญ่ที่ตนเองนับถือ และมีความสนิทสนมกับหัวหน้าพรรคพรรคหนึ่งโทรมาเตือนว่า เรื่องนี้อาจเป็นเกมการเมือง ตนเองจึงคิดว่า ถ้าเป็นเกมการเมือง เพื่อดิสเครดิต เอาเหยื่อปลอมที่สร้างขึ้นมา มาทำลายความชอบธรรมของคนอื่น ตนเองจึงต้องพูดกันไว้ก่อนว่า รู้ทันนะ เชื่อว่าเหยื่อ 15 คนแรกที่เป็นคดีเป็นเหยื่อที่ถูกกระทำจริง ไม่ได้มีการสร้างขึ้นมา”
โบรกเกอร์ประเมิน ”เศรษฐกิจไทย” ซึมยาวถึงปี'70 การลงทุนหดตัว อสังหา อ่วมต้นทุนพุ่ง 10-15%
https://www.matichon.co.th/economy/news_3299964
โบรกเกอร์ประเมิน ”เศรษฐกิจไทย” ซึมยาวถึงปี’70 การลงทุนหดตัว อสังหา อ่วมต้นทุนพุ่ง 10-15%
วันที่ 21 เมษายน นาย
โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกแถลงการณ์ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเป็นตัวเลขสรุปล่าสุดในไตรมาสที่ 1/2565 โดย IMF คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 8 คือจะเติบโตเพียง 3.3%
“ประเทศที่เติบโตช้ากว่าไทยมีเพียง 2 ประเทศคือ ลาว เติบโต 3.2% และเมียนมา เติบโต 1.6% เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก และมีการปิดประเทศมาอย่างยาวนาน แม้มีรถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการแล้วก็ตาม ทำให้การลงทุนข้ามชาติเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนเมียนมาตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ก็ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงเป็นอย่างมาก จากก่อนหน้านี้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดประเทศหนึ่งในอาเซียน”
นาย
โสภณกล่าวว่า ส่วนประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดก็คือฟิลิปปินส์ที่ 6.5% ตามมาด้วยเวียดนาม 6.0% เป็นอันดับที่ 2 ส่วนอันดับ 3 คือ บรูไน 5.8% ตามมาด้วย มาเลเซีย 5.6% อินโดนีเซีย 5.4% กัมพูชา 5.1% สิงคโปร์ 4.0% จะเห็นได้ว่าประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าไทย มีอัตราการเติบโตสูงกว่าไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซียและกัมพูชา ยิ่งกว่านั้นประเทศที่ร่ำรวยกว่าไทย เช่น บรูไน มาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทยเช่นกัน การนี้แสดงว่าประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเท่าที่ควร
ปี’65 เศรษฐกิจไทยยังไม่สดใส
สำหรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2566-2570 นั้น IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะเติบโตสูงขึ้นเป็น 4.3% โดยเติบโตสูงขึ้นเป็นอันดับที่ 6 แทนที่จะเป็นอันดับที่ 8 เช่นในปี 2565 อย่างไรก็ตามในปี 2567-2570 เศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวลงในการวิเคราะห์ของ IMF โดยเติบโตลดลงเหลือ 3.8% ในปี 2567 และเป็น 3.3% 3.2% และ 3.1% ในช่วงปี 2568-2570 ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย
นาย
โสภณกล่าวว่า หากเทียบกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะพบว่าในปี 2565 เศรษฐกิจของจีนจะเติบโตถึง 4.4% ส่วนอินเดีย จะเติบโตถึง 8.2% แม้แต่สหรัฐอเมริกา ก็ยังมีอัตราการเติบโตที่ 3.7% สูงกว่าไทยทั้งสิ้น ยกเว้นญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 2.4% เท่านั้น และในช่วงปี 2566-2570 เศรษฐกิจของจีนและโดยเฉพาะอินเดียก็ยังจะเติบโตสูงกว่าไทยอีกรวม 5 ปี ทั้งนี้ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจอาจจะตกต่ำลงในช่วง 5 ปีข้างหน้า
“โดยสรุปแล้วประเทศไทย หลังโควิด-19 ในปี 2565 ก็ยังไม่สดใสเท่าที่ควร เพราะเติบโตเพียง 3.3% เท่านั้น ซึ่งเท่ากับเติบโตเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียน และยังต่ำกว่าจีน อินเดียและสหรัฐอเมริกา ยกเว้นญี่ปุ่นที่ยังซึมยาว เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นบ้างในปี 2566 น่าจะเติบโตที่ 4.3% ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ไทยยังไม่เคยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจถึงระดับนี้เลย แต่ในปี 2567-70 เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ลดลง จาก 3.8% ในปี 2567 เป็น 3.1% ในปี 2570”
คาดลงทุนอสังหาหดตัว
นาย
โสภณกล่าวว่า การที่เศรษฐกิจไทยยังไม่มีวี่แววที่จะ
“รุ่งเรือง” แบบก้าวกระโดด เช่น กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย อาจทำให้ประเทศเหล่านี้แซงไทยไปได้ในด้านรายได้ประชาชาติต่อหัวในอนาคต และยิ่งทำให้การลงทุนจากต่างประเทศถูกแย่งชิงโดยประเทศอื่นมากขึ้น การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็คงไม่เติบโตอย่างมาก ยกเว้นการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ส่วนอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม ก็คงไม่ได้เติบโตในอัตราสูงเช่นเดิม
“แม้ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยจะเติบโตสวนกระแสอสังหาริมทรัพย์อื่น ก็ยังมีปัจจัยลบสำคัญมาก เช่น ค่าก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นมาก 10-15% ในปี 2565 และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยคงจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้โอกาสการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็จะลดลงเช่นกัน ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2566-2570 ก็อาจหดตัวลงเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในประเทศไทย ดังนั้นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องหาทางทำให้สำเร็จ แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้อง “ขายชาติ” เพราะอย่างในสิงคโปร์ ก็เพิ่งขึ้นภาษีซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติเป็น 35%-40% แล้ว” นาย
โสภณกล่าว
กาฬสินธุ์วิกฤติ ชาวนาซื้อปุ๋ยแพง ผลผลิตลด ราคาตกต่ำ ขายข้าวขาดทุนยับ
https://www.matichon.co.th/region/news_3300073
ชาวนาในจังหวัดกาฬสินธุ์โอดครวญ ถือเป็นช่วงวิกฤตชาวนา เหตุปุ๋ยเคมีบำรุงรวงข้าวนาปรังราคาสูงกระสอบละ 1,400 บาท จึงลดการให้ปุ๋ย ส่งผลให้เมล็ดข้าวติดรวงและผลผลิตน้อย น้ำหนักเบา ผลผลิตต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมาครึ่งต่อครึ่ง ขณะที่ตลาดรับซื้อข้าวเปลือกนาปรังให้ราคาต่ำ เพียงกิโลกรัมละ 6.30- 6.50 บาท ขาดทุนยับ อนาคตคงเลิกอาชีพทำนา
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศชาวนานำข้าวเปลือกนาปรังไปขาย ตามลานรับซื้อทั่วไป ซึ่งพื้นที่ทำนาปรังในโซนต้นน้ำเขต ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์, ต.ลำคลอง อ.เมืองกาฬสินธุ์ และ ต.นาเชือก, ต.บัวบาน อ.ยางตลาด ได้เริ่มเก็บเกี่ยวกันแล้ว โดยมีเสียงสะท้อนจากชาวนา ที่พูดเสียงเดียวกันว่าขายข้าวขาดทุนย่อยยับ เนื่องจากผลผลิตตกต่ำ เพราะขาดปุ๋ยเคมีบำรุง ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากราคาปุ๋ยเคมีสูงถึงกระสอบละ 1,450 บาท น้ำหนักกระสอบละ 50 กก.ขณะที่ราคารับซื้อข้าวเปลือก ที่ลานรับซื้อตั้งไว้ต่ำเพียงกิโลกรัมละ 6.30-6.50 บาท ทำให้ประสบปัญหาขายข้าวขาดทุนซ้ำซาก
นาย
วิวัฒน์ ขันธ์แสง อายุ 25 ปี ชาวนาบ้านโคกก่องเหนือขอนช้างใหญ่ ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนมีที่นา 18 ไร่ ในการทำนาทั้งนาปี นาปรัง เคยใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นข้าวเฉลี่ยไร่ละ 2 กระสอบ คือปุ๋ยแตกกอ และปุ๋ยรับรวง จึงใช้ปุ๋ยไปประมาณ 36 ถุง แต่ในช่วงทำนาปรังปีนี้ ราคาปุ๋ยเคมีทุกสูตร ทุกยี่ห้อเพิ่มสูงจากปีที่ผ่านมาถึง 1 เท่าตัว จากเดิมถุงละ 700-800 บาท กลับพุ่งสูงถึงถุงละ 1,450-1,500 บาท จากการสอบถามพ่อค้าขายปุ๋ยกลับอ้างว่า จำเป็นต้องขึ้นราคา เพราะน้ำมันแพง
นาย
วิวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในเมื่อปุ๋ยเคมีราคาสูงดังกล่าว ประกอบกับการทำนามีหลายขั้นตอน ทำให้ต้นทุนการทำนาสูงเป็นเงาตามตัว ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างรถไถนา ค่าแรง ค่ารถเกี่ยวข้าว ค่าขนส่ง รวมต้นทุนทำนาเฉลี่ยไร่ละ 4,000 บาท ที่ผ่านมาได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 250-300 กิโลกรัม แต่ตอนนี้ปุ๋ยแพง จึงต้องลดการใช้ปุ๋ยลงเท่าตัว ทำให้ต้นข้าวไม่โตเต็มที่ ได้เมล็ดข้าวต่อรวงน้อย และน้ำหนักเบา สำหรับข้าวของตนที่เก็บเกี่ยวและนำมาขายวันนี้ ผลผลิตลดลงจากทุกปีที่ผ่านมาครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว เฉลี่ยได้ไร่ละ 100 -150กิโลกรัม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะตนเท่านั้นที่ประสบปัญหานี้ จากการสอบถามเพื่อนชาวนาหลายคน ต่างประสบปัญหาเดียวกัน สรุปคือคือ ขายข้าวขาดทุน คนที่ได้เงินกลับเป็นพ่อค้าขายปุ๋ย ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวและรถขนส่งข้าว
นาย
วิวัฒน์ กล่าวอีกว่า หากสถานการณ์การทำนาเป็นเช่นนี้ ที่ถือว่าเป็นวิกฤติชาวนา โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมีแพง ราคาข้าวตกต่ำ ราคาเพียงกิโลกรัมละ 6.30-6.50 บาท อนาคตคงเลิกทำนา หรือทำแค่พอได้กินในครัวเรือนเท่านั้น เพราะสู้ราคาปุ๋ยเคมีไม่ไหว อย่างไรก็ตาม หากราคาปุ๋ยเคมีตามท้องตลาดลดลงมาที่ถุงละ 700-800 บาท และราคาขายข้าวได้กิโลกรัมละ 8-9 บาท ชาวนาก็พอจะคุ้มทุน อยู่รอดหรือมีกำไรบ้าง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาช่วยชาวนาด้วย
JJNY : 5in1 จ่อยื่นสอบอดีตบิ๊กตร.│ศก.ซึมยาวถึงปี'70│กาฬสินธุ์วิกฤติปุ๋ยแพง│กำลังซื้อลดยอดขายตก│พท.ขึ้นรถไฟฟ้าหาเสียง2เขต
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_3301304
‘ทนายตั้ม’ จ่อยื่น ‘ผบช.น.’ สอบอดีตบิ๊กตร. แทรกแซงคดี ‘อดีตรองหนพรรค’ แฉมีความพยายามใช้เหยื่อปลอม ดิสเครดิตเหยื่อจริง
เมื่อวันที่ 21 เมษายน นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชนฯ หรือ ทนายตั้ม เผยผ่าน รายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ถึงความคืบหน้าในเรื่องคดีความของเหยื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศว่า คดีแรก คือ คดีของเหยื่อราย 18 ปี ที่พาเข้าแจ้งความดำเนินคดี ถือเป็นคดีสำคัญที่สุดเลย ซึ่งตั้งแต่ได้คุยกับแม่น้องคนดังกล่าว ก็มีพล.ต.ต.คนหนึ่งเข้ามาเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ แต่พอหลังๆ เริ่มแปลก เข้าใจว่า แม่ของน้องรับคำปรึกษามาจาก พล.ต.ต.คนนี้ตลอด ซึ่งเท่าที่ทราบพล.ต.ต.คนนี้ มีคอนเนคชั่นกับพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้พอสมควร มีการอ้างว่า รู้จักผู้ใหญ่ในพรรคนี้ค่อนข้างเยอะ สามารถจัดการได้ โดยพล.ต.ต.คนนี้น้องเรียกว่า ลุง ส่วนตัวไม่เคยเจอหน้า ได้ยินแต่เสียงผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น เข้าใจว่าน่าจะเกษียณแล้ว
ทั้งนี้ วันที่ 22 เมษายนนี้ ตนเตรียมยื่นเรื่องถึง พล.ต.ท.สําราญ นวลมา ผบช.น. ให้ตรวจสอบ พล.ต.ต.ท่านนี้ ได้มีการแทรกแซงคดีหรือไม่ โดยขอให้ตรวจสอบการใช้โทรศัพท์ทั้งหมด และให้สืบสวนในทางลับด้วย
เมื่อถามว่า จะยื่นร้องก็ทราบว่า พล.ต.ต.ท่านนี้คือใคร นายษิทรา รับว่า ทราบ รู้ชื่อ รู้ตำแหน่ง บอกใบ้ให้ได้ว่า เคยเป็นอดีตผู้บังคับการจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว
“ผมมั่นใจว่า คดีแรกที่ผมพาน้องไปแจ้งความ คิดว่ามีโอกาส 80-90% ที่จะสามารถเอาผิดอดีตรองหัวหน้าพรรคได้ แต่ตอนนี้แม่ของเหยื่อเริ่มไม่คุย ไม่ให้ความร่วมมือกับผม ถามอะไร หรือขออะไรไป ก็จะอ้างว่า ขอถามคุณลุงก่อน สุดท้ายก็ไม่ได้ทำตามคำแนะนำในทางคดี” นายษิทรา กล่าว
นายษิทรา รับด้วยว่า “วันก่อนมีผู้ใหญ่ที่ตนเองนับถือ และมีความสนิทสนมกับหัวหน้าพรรคพรรคหนึ่งโทรมาเตือนว่า เรื่องนี้อาจเป็นเกมการเมือง ตนเองจึงคิดว่า ถ้าเป็นเกมการเมือง เพื่อดิสเครดิต เอาเหยื่อปลอมที่สร้างขึ้นมา มาทำลายความชอบธรรมของคนอื่น ตนเองจึงต้องพูดกันไว้ก่อนว่า รู้ทันนะ เชื่อว่าเหยื่อ 15 คนแรกที่เป็นคดีเป็นเหยื่อที่ถูกกระทำจริง ไม่ได้มีการสร้างขึ้นมา”
https://www.matichon.co.th/economy/news_3299964
โบรกเกอร์ประเมิน ”เศรษฐกิจไทย” ซึมยาวถึงปี’70 การลงทุนหดตัว อสังหา อ่วมต้นทุนพุ่ง 10-15%
วันที่ 21 เมษายน นายโสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกแถลงการณ์ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ โดยเป็นตัวเลขสรุปล่าสุดในไตรมาสที่ 1/2565 โดย IMF คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 8 คือจะเติบโตเพียง 3.3%
“ประเทศที่เติบโตช้ากว่าไทยมีเพียง 2 ประเทศคือ ลาว เติบโต 3.2% และเมียนมา เติบโต 1.6% เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก และมีการปิดประเทศมาอย่างยาวนาน แม้มีรถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการแล้วก็ตาม ทำให้การลงทุนข้ามชาติเกิดขึ้นน้อยมาก ส่วนเมียนมาตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ก็ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงเป็นอย่างมาก จากก่อนหน้านี้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดประเทศหนึ่งในอาเซียน”
นายโสภณกล่าวว่า ส่วนประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดก็คือฟิลิปปินส์ที่ 6.5% ตามมาด้วยเวียดนาม 6.0% เป็นอันดับที่ 2 ส่วนอันดับ 3 คือ บรูไน 5.8% ตามมาด้วย มาเลเซีย 5.6% อินโดนีเซีย 5.4% กัมพูชา 5.1% สิงคโปร์ 4.0% จะเห็นได้ว่าประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าไทย มีอัตราการเติบโตสูงกว่าไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซียและกัมพูชา ยิ่งกว่านั้นประเทศที่ร่ำรวยกว่าไทย เช่น บรูไน มาเลเซียและสิงคโปร์ ก็มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทยเช่นกัน การนี้แสดงว่าประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเท่าที่ควร
ปี’65 เศรษฐกิจไทยยังไม่สดใส
สำหรับการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2566-2570 นั้น IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปี 2566 จะเติบโตสูงขึ้นเป็น 4.3% โดยเติบโตสูงขึ้นเป็นอันดับที่ 6 แทนที่จะเป็นอันดับที่ 8 เช่นในปี 2565 อย่างไรก็ตามในปี 2567-2570 เศรษฐกิจไทยน่าจะหดตัวลงในการวิเคราะห์ของ IMF โดยเติบโตลดลงเหลือ 3.8% ในปี 2567 และเป็น 3.3% 3.2% และ 3.1% ในช่วงปี 2568-2570 ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย
นายโสภณกล่าวว่า หากเทียบกับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจะพบว่าในปี 2565 เศรษฐกิจของจีนจะเติบโตถึง 4.4% ส่วนอินเดีย จะเติบโตถึง 8.2% แม้แต่สหรัฐอเมริกา ก็ยังมีอัตราการเติบโตที่ 3.7% สูงกว่าไทยทั้งสิ้น ยกเว้นญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจจะเติบโตเพียง 2.4% เท่านั้น และในช่วงปี 2566-2570 เศรษฐกิจของจีนและโดยเฉพาะอินเดียก็ยังจะเติบโตสูงกว่าไทยอีกรวม 5 ปี ทั้งนี้ยกเว้นสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจอาจจะตกต่ำลงในช่วง 5 ปีข้างหน้า
“โดยสรุปแล้วประเทศไทย หลังโควิด-19 ในปี 2565 ก็ยังไม่สดใสเท่าที่ควร เพราะเติบโตเพียง 3.3% เท่านั้น ซึ่งเท่ากับเติบโตเป็นอันดับที่ 8 ของอาเซียน และยังต่ำกว่าจีน อินเดียและสหรัฐอเมริกา ยกเว้นญี่ปุ่นที่ยังซึมยาว เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นบ้างในปี 2566 น่าจะเติบโตที่ 4.3% ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ไทยยังไม่เคยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจถึงระดับนี้เลย แต่ในปี 2567-70 เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ลดลง จาก 3.8% ในปี 2567 เป็น 3.1% ในปี 2570”
คาดลงทุนอสังหาหดตัว
นายโสภณกล่าวว่า การที่เศรษฐกิจไทยยังไม่มีวี่แววที่จะ “รุ่งเรือง” แบบก้าวกระโดด เช่น กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย อาจทำให้ประเทศเหล่านี้แซงไทยไปได้ในด้านรายได้ประชาชาติต่อหัวในอนาคต และยิ่งทำให้การลงทุนจากต่างประเทศถูกแย่งชิงโดยประเทศอื่นมากขึ้น การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็คงไม่เติบโตอย่างมาก ยกเว้นการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ส่วนอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม ก็คงไม่ได้เติบโตในอัตราสูงเช่นเดิม
“แม้ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยจะเติบโตสวนกระแสอสังหาริมทรัพย์อื่น ก็ยังมีปัจจัยลบสำคัญมาก เช่น ค่าก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นมาก 10-15% ในปี 2565 และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยคงจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้โอกาสการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็จะลดลงเช่นกัน ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในปี 2566-2570 ก็อาจหดตัวลงเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ในประเทศไทย ดังนั้นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องหาทางทำให้สำเร็จ แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้อง “ขายชาติ” เพราะอย่างในสิงคโปร์ ก็เพิ่งขึ้นภาษีซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติเป็น 35%-40% แล้ว” นายโสภณกล่าว
https://www.matichon.co.th/region/news_3300073
ชาวนาในจังหวัดกาฬสินธุ์โอดครวญ ถือเป็นช่วงวิกฤตชาวนา เหตุปุ๋ยเคมีบำรุงรวงข้าวนาปรังราคาสูงกระสอบละ 1,400 บาท จึงลดการให้ปุ๋ย ส่งผลให้เมล็ดข้าวติดรวงและผลผลิตน้อย น้ำหนักเบา ผลผลิตต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมาครึ่งต่อครึ่ง ขณะที่ตลาดรับซื้อข้าวเปลือกนาปรังให้ราคาต่ำ เพียงกิโลกรัมละ 6.30- 6.50 บาท ขาดทุนยับ อนาคตคงเลิกอาชีพทำนา
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามบรรยากาศชาวนานำข้าวเปลือกนาปรังไปขาย ตามลานรับซื้อทั่วไป ซึ่งพื้นที่ทำนาปรังในโซนต้นน้ำเขต ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์, ต.ลำคลอง อ.เมืองกาฬสินธุ์ และ ต.นาเชือก, ต.บัวบาน อ.ยางตลาด ได้เริ่มเก็บเกี่ยวกันแล้ว โดยมีเสียงสะท้อนจากชาวนา ที่พูดเสียงเดียวกันว่าขายข้าวขาดทุนย่อยยับ เนื่องจากผลผลิตตกต่ำ เพราะขาดปุ๋ยเคมีบำรุง ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากราคาปุ๋ยเคมีสูงถึงกระสอบละ 1,450 บาท น้ำหนักกระสอบละ 50 กก.ขณะที่ราคารับซื้อข้าวเปลือก ที่ลานรับซื้อตั้งไว้ต่ำเพียงกิโลกรัมละ 6.30-6.50 บาท ทำให้ประสบปัญหาขายข้าวขาดทุนซ้ำซาก
นายวิวัฒน์ ขันธ์แสง อายุ 25 ปี ชาวนาบ้านโคกก่องเหนือขอนช้างใหญ่ ต.โนนศิลา อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนมีที่นา 18 ไร่ ในการทำนาทั้งนาปี นาปรัง เคยใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นข้าวเฉลี่ยไร่ละ 2 กระสอบ คือปุ๋ยแตกกอ และปุ๋ยรับรวง จึงใช้ปุ๋ยไปประมาณ 36 ถุง แต่ในช่วงทำนาปรังปีนี้ ราคาปุ๋ยเคมีทุกสูตร ทุกยี่ห้อเพิ่มสูงจากปีที่ผ่านมาถึง 1 เท่าตัว จากเดิมถุงละ 700-800 บาท กลับพุ่งสูงถึงถุงละ 1,450-1,500 บาท จากการสอบถามพ่อค้าขายปุ๋ยกลับอ้างว่า จำเป็นต้องขึ้นราคา เพราะน้ำมันแพง
นายวิวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในเมื่อปุ๋ยเคมีราคาสูงดังกล่าว ประกอบกับการทำนามีหลายขั้นตอน ทำให้ต้นทุนการทำนาสูงเป็นเงาตามตัว ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างรถไถนา ค่าแรง ค่ารถเกี่ยวข้าว ค่าขนส่ง รวมต้นทุนทำนาเฉลี่ยไร่ละ 4,000 บาท ที่ผ่านมาได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 250-300 กิโลกรัม แต่ตอนนี้ปุ๋ยแพง จึงต้องลดการใช้ปุ๋ยลงเท่าตัว ทำให้ต้นข้าวไม่โตเต็มที่ ได้เมล็ดข้าวต่อรวงน้อย และน้ำหนักเบา สำหรับข้าวของตนที่เก็บเกี่ยวและนำมาขายวันนี้ ผลผลิตลดลงจากทุกปีที่ผ่านมาครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว เฉลี่ยได้ไร่ละ 100 -150กิโลกรัม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะตนเท่านั้นที่ประสบปัญหานี้ จากการสอบถามเพื่อนชาวนาหลายคน ต่างประสบปัญหาเดียวกัน สรุปคือคือ ขายข้าวขาดทุน คนที่ได้เงินกลับเป็นพ่อค้าขายปุ๋ย ผู้ประกอบการรถเกี่ยวข้าวและรถขนส่งข้าว
นายวิวัฒน์ กล่าวอีกว่า หากสถานการณ์การทำนาเป็นเช่นนี้ ที่ถือว่าเป็นวิกฤติชาวนา โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมีแพง ราคาข้าวตกต่ำ ราคาเพียงกิโลกรัมละ 6.30-6.50 บาท อนาคตคงเลิกทำนา หรือทำแค่พอได้กินในครัวเรือนเท่านั้น เพราะสู้ราคาปุ๋ยเคมีไม่ไหว อย่างไรก็ตาม หากราคาปุ๋ยเคมีตามท้องตลาดลดลงมาที่ถุงละ 700-800 บาท และราคาขายข้าวได้กิโลกรัมละ 8-9 บาท ชาวนาก็พอจะคุ้มทุน อยู่รอดหรือมีกำไรบ้าง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาช่วยชาวนาด้วย