คนไทยส่วนใหญ่ที่เริ่มต้นวางแผนไปลงทุนเปิดธุรกิจในอเมริกา โดยเฉพาะร้านอาหารไทย จะรู้จักวีซ่านักลงทุน E-2 ซึ่งเปิดโอกาสให้นักลงุทนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนธุรกิจในอเมริกา พร้อมทำงานและบริหารธุรกิจที่ลงทุนได้ถูกต้องตามกฏหมาย อีกทั้งผู้ติดตามคู่สมรส และลูกอายุไม่เกิน 21 ปี เข้ามาใช้ชีวิตในอเมริกาได้ โดยที่คู่สมรสสามารถขอ Work permit (EAD) ทำงานในอเมริกาได้ ส่วนลูกสามารถเรียนฟรีจนจบ high school ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์หลักที่คนไทยตัดสินใจยื่นขอวีซ่า E-2 บทความนี้ผมจะเล่าถึงวีซ่าประเภทนี้ให้ท่านผู้อ่านใช้เป็นข้อมูลก่อนดำเนินการ ผมขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ส่งข้อความมาส่วนตัว ติดตามอ่านบทความ และแนะนำบทความที่อยากอ่าน แล้วผมจะมาเขียนตอบผ่านบทความแทนกับตอบข้อความส่วนตัว
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องคือ E-2 เป็นวีซ่านักลงทุนชั่วคราว ขอได้ 2 แบบ คือ นักลงทุนและลูกจ้าง หลายคนมักเข้าใจผิด วีซ่า E-2 ไม่ใช่กรีนการ์ด และต้องต่อวีซ่า E-2 ทุก 2 ปี การถือวีซ่า E-2 นานหลายสิบปี ไม่ทำให้เปลี่ยนเป็นกรีนการ์ดได้อัตโนมัติ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นกรีนการ์ดจะมีเส้นทางการขอกรีนการ์ด ผมเคยเล่าไว้ในหลายบทความก่อนหน้า
นักลงทุน วีซ่า E-2 สามารถเลือก ยื่นมาจากไทย หรือ เปลี่ยนสถานะวีซ่า (change status) ในอเมริกาได้ โดยมีข้อจำกัด คือ ถ้าเปลี่ยนสถานะในอเมริกา หากเดินทางออกนอกอเมริกาวีซ่า E-2 จะสิ้นสุดทันที ต้องดำเนินการยื่นขอใหม่ ส่วนหากยื่นมาจากสถานทูต จะได้วีซ่า E-2 อายุ 6 เดือน สามารถเดินทางเข้าออกอเมริกาได้ และครั้งสุดท้ายที่เข้าอเมริกาก่อนวีซ่าหมดจะอยู่ในอเมริกาได้อีก 2 ปี ก่อนจะต้องต่อวีซ่าอีกรอบ
การเลือกธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุน E-2 ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนในร้านอาหาร สิ่งที่ต้องระวังเสมอในการเลือกธุรกิจร้านอาหาร หรือ ธุรกิจอื่นๆ คือ เราต้องวิเคราะห์ธุรกิจให้ชัดเจน การลงทุนของ E-2 ผมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแนวทางการยื่น E-2 คือ เปิดธุรกิจใหม่ และซื้อธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งมีข้อแตกต่างชัดเจน ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อกิจการที่เปิดดำเนินการอยู่ เพราะจะง่ายกว่าการไปเริ่มต้นใหม่ แต่ผมกลับมองว่าไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการของแต่ละคน และทีมงานที่ดำเนินการ หากมองหาธุรกิจ หรือ ร้านอาหารที่จะซื้อ สิ่งแรกผมแนะนำหาที่ปรึกษาด้านธุรกิจและวิเคราะห์ธุรกิจให้เข้ามาช่วยดูและประเมินธุรกิจจะมีความเชี่ยวชาญมากกว่า แต่ถ้าอยากประหยัดก็ทำเอง ขึ้นอยู่กับการวางแผน สิ่งที่ต้องขอจากเจ้าของธุรกิจที่เราจะไปซื้อ คือ เอกสารยื่นเสียภาษีธุรกิจ เช่น 1120 หรือ 1120-S หรือ Schedule C เป็นต้น ซึ่งทุกธุรกิจในอเมริกาต้องเสียภาษี ดังนั้นการเสียภาษีจะบ่งบอกข้อมูลของธุรกิจได้ชัดเจน แล้วเริ่มวิเคราะห์ธุรกิจว่าเหมาะกับเงินที่จะลงทุนหรือไม่ ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนที่จะซื้อธุรกิจ ควรทำสัญญาซื้อขายและระบุการจ่ายเงินผ่าน escrow agent (ตัวกลางในการชำระเงิน) โดยระบุว่า ถ้าวีซ่า E-2 ผ่าน เงินถึงจะจ่ายไปที่ผู้ขาย แต่หากวีซ่า E-2 ไม่ผ่านเงินจะส่งกลับมาที่ผู้ซื้อ จะทำให้ไม่ต้องปวดหัวหากวีซ่าไม่ผ่านแล้วต้องไปบริหารธุรกิจในอเมริกา
หากต้องการลงทุนในธุรกิจเปิดใหม่ ต้องเริ่มลงทุน ใช้เงิน ยื่นขอใบอนุญาตธุรกิจ และอยู่ในระหว่างดำเนินการที่กำลังจะเปิดให้บริการลูกค้า ก่อนจะไปยื่นขอวีซ่า E-2 ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเลือกเส้นทางนี้เพราะยุ่งยาก และไม่มีความชำนาญ ผมมองว่าโอกาสเส้นทางนี้อาจดีกว่าซื้อธุรกิจเปิดอยู่ โดยเฉพาะลงทุนในกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบบริหารจัดการอย่างดี ทำให้ขอวีซ่า E-2 ผ่านได้ง่าย และอีกสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ธุรกิจที่จ้างใครทำงานก็ได้ดีที่สุด ไม่ต้องง้อคน จากประสบการณ์ทำร้านอาหารไทย สิ่งที่หายากสุด คือ คนทำงานในครัว ถ้าคุณไม่ทำในครัวเอง ทำครัวไม่เป็น ต้องใช้คนอื่นทำ ส่วนตัวผมแนะนำหาธุรกิจอื่นดีกว่าครับ
หลายคนสงสัยว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ถึงจะยื่นขอวีซ่านักลงทุนได้ ตามกฏหมายไม่ได้ระบุจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับวีซ่า E-2 แต่โดยเฉลี่ยที่ยื่นขอแล้วโอกาสผ่าน 70% จะลงทุนที่ประมาณ $50,000 ขึ้นไป ถ้ามีเงินลงทุน $150,000 ขึ้นไป ก็มีโอกาสผ่านถึง 95% จุดสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่ Business plan และเส้นทางการเงินที่นำมาลงทุน ต้องตรวจสอบได้ชัดเจน นักลงทุนสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินมาใช้ลงทุนได้
ข้อสังเกตที่เราต้องระวังระหว่างหาธุรกิจที่จะลงทุน คือ มีร้านอาหารไทยหลายร้าน ชักชวนนักลงทุน ให้ไปร่วมลงทุน และสัญญาว่าจะยื่นวีซ่า E-2 คุณต้องระวังการจ่ายเงินให้เจ้าของธุรกิจโดยตรงมีความเสี่ยงสูง หากไม่มีการเซ็นต์สัญญาซื้อขายหุ้นชัดเจน ที่สำคัญผู้ลงทุนต้องลงทุนอย่างน้อย 50% ของหุ้นในธุรกิจ ถึงจะสามารถยื่นขอวีซ่า E-2 ได้ ดังนั้นหากจะดำเนินการใดๆ ต้องมั่นใจว่า เราไม่ถูกเอาเปรียบ และยุติธรรมต่อทุกฝ่าย การที่คิดว่าคนไทยเหมือนกัน หรือคนกันเอง อาจทำให้เราพลาดในการตัดสินใจได้ง่าย เป็นเหตุผลว่า การที่เราให้ที่ปรึกษามาช่วยดูแลจะเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า เพราะที่ปรึกษาจะมาพร้อมทั้งความรู้ และข้อกฏหมายธุรกิจในอเมริกา ที่จะทำให้เราไม่เสียเปรียบ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย การที่เรามาเริ่มต้นใหม่ในอเมริกา เราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง แต่เราควรที่จะฉลาดให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเรา
หลายคนที่ได้ E-2 และถือ E-2 อยู่ในปัจจุบัน ได้รับจดหมายจาก IRS (สรรพากร) ว่าคุณยื่นภาษีธุรกิจผิดประเภท ซึ่งมักจะพบเจอบ่อยสำหรับธุรกิจที่มีนักลงทุน E-2 เพราะผู้สอบบัญชี (CPA หรือ EA) บางคนไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย immigration จะมีความรู้เฉพาะด้านภาษี ทำให้คิดว่ายื่นถูกประเภท ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกเก็บภาษีย้อนหลังและเสียค่าปรับ ที่สำคัญเป็นอีกเหตุผลหลักที่นักลงทุน E-2 ต่อวีซ่าไม่ผ่าน ซึ่งทนาย immigration ก็ไม่ชำนาญในกฏหมายภาษี จะสังเกตเห็นว่า คนอเมริกันจะเน้นงานเฉพาะทางที่ทำงาน ทำให้ค่อนข้างหาผู้เชี่ยวชาญที่เฉพาะทางหลายอย่างรวมกันยาก ดังนั้นการหาทีมงานที่มีประสิทธิภาพคอยดำเนินการสนับสนุนให้กับธุรกิจเป็นอีกส่วนที่สำคัญมาก ฝากสุภาษิตไทยเตือนใจไว้ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังตัดสินใจอยากมาลงทุนธุรกิจในอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหน หรือ กำลังจะเริ่มต้นใหม่ สิ่งที่สำคัญ คือ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ใช่ฟัง เล่าต่อกันมา โดยไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ คุณสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ของรัฐบาลอเมริกา ซึ่งมีให้ทุกคนทั่วโลกเข้าไปศึกษาได้ ใครให้ข้อมูลอะไรมา คุณควรไปเช็คข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่ ก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ
ผมเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่วางแผนมาลงทุนในอเมริกา ที่นี่มีโอกาสเปิดกว้างและเหลือเฟือสำหรับทุกคน “อยู่ที่ว่าคุณจะมองเห็นมันหรือไม่” ผมเป็นอีกคนที่สนุก มีความสุขกับการทำงานและใช้ชีวิตในอเมริกา หวังว่าเราคงมีโอกาสได้เจอกันที่อเมริกา
“เส้นทางที่เราเลือกเอง”
K.S
วีซ่า E-2 ลงทุนธุรกิจในอเมริกา
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องคือ E-2 เป็นวีซ่านักลงทุนชั่วคราว ขอได้ 2 แบบ คือ นักลงทุนและลูกจ้าง หลายคนมักเข้าใจผิด วีซ่า E-2 ไม่ใช่กรีนการ์ด และต้องต่อวีซ่า E-2 ทุก 2 ปี การถือวีซ่า E-2 นานหลายสิบปี ไม่ทำให้เปลี่ยนเป็นกรีนการ์ดได้อัตโนมัติ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นกรีนการ์ดจะมีเส้นทางการขอกรีนการ์ด ผมเคยเล่าไว้ในหลายบทความก่อนหน้า
นักลงทุน วีซ่า E-2 สามารถเลือก ยื่นมาจากไทย หรือ เปลี่ยนสถานะวีซ่า (change status) ในอเมริกาได้ โดยมีข้อจำกัด คือ ถ้าเปลี่ยนสถานะในอเมริกา หากเดินทางออกนอกอเมริกาวีซ่า E-2 จะสิ้นสุดทันที ต้องดำเนินการยื่นขอใหม่ ส่วนหากยื่นมาจากสถานทูต จะได้วีซ่า E-2 อายุ 6 เดือน สามารถเดินทางเข้าออกอเมริกาได้ และครั้งสุดท้ายที่เข้าอเมริกาก่อนวีซ่าหมดจะอยู่ในอเมริกาได้อีก 2 ปี ก่อนจะต้องต่อวีซ่าอีกรอบ
การเลือกธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุน E-2 ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนในร้านอาหาร สิ่งที่ต้องระวังเสมอในการเลือกธุรกิจร้านอาหาร หรือ ธุรกิจอื่นๆ คือ เราต้องวิเคราะห์ธุรกิจให้ชัดเจน การลงทุนของ E-2 ผมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแนวทางการยื่น E-2 คือ เปิดธุรกิจใหม่ และซื้อธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งมีข้อแตกต่างชัดเจน ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อกิจการที่เปิดดำเนินการอยู่ เพราะจะง่ายกว่าการไปเริ่มต้นใหม่ แต่ผมกลับมองว่าไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารจัดการของแต่ละคน และทีมงานที่ดำเนินการ หากมองหาธุรกิจ หรือ ร้านอาหารที่จะซื้อ สิ่งแรกผมแนะนำหาที่ปรึกษาด้านธุรกิจและวิเคราะห์ธุรกิจให้เข้ามาช่วยดูและประเมินธุรกิจจะมีความเชี่ยวชาญมากกว่า แต่ถ้าอยากประหยัดก็ทำเอง ขึ้นอยู่กับการวางแผน สิ่งที่ต้องขอจากเจ้าของธุรกิจที่เราจะไปซื้อ คือ เอกสารยื่นเสียภาษีธุรกิจ เช่น 1120 หรือ 1120-S หรือ Schedule C เป็นต้น ซึ่งทุกธุรกิจในอเมริกาต้องเสียภาษี ดังนั้นการเสียภาษีจะบ่งบอกข้อมูลของธุรกิจได้ชัดเจน แล้วเริ่มวิเคราะห์ธุรกิจว่าเหมาะกับเงินที่จะลงทุนหรือไม่ ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนที่จะซื้อธุรกิจ ควรทำสัญญาซื้อขายและระบุการจ่ายเงินผ่าน escrow agent (ตัวกลางในการชำระเงิน) โดยระบุว่า ถ้าวีซ่า E-2 ผ่าน เงินถึงจะจ่ายไปที่ผู้ขาย แต่หากวีซ่า E-2 ไม่ผ่านเงินจะส่งกลับมาที่ผู้ซื้อ จะทำให้ไม่ต้องปวดหัวหากวีซ่าไม่ผ่านแล้วต้องไปบริหารธุรกิจในอเมริกา
หากต้องการลงทุนในธุรกิจเปิดใหม่ ต้องเริ่มลงทุน ใช้เงิน ยื่นขอใบอนุญาตธุรกิจ และอยู่ในระหว่างดำเนินการที่กำลังจะเปิดให้บริการลูกค้า ก่อนจะไปยื่นขอวีซ่า E-2 ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเลือกเส้นทางนี้เพราะยุ่งยาก และไม่มีความชำนาญ ผมมองว่าโอกาสเส้นทางนี้อาจดีกว่าซื้อธุรกิจเปิดอยู่ โดยเฉพาะลงทุนในกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบบริหารจัดการอย่างดี ทำให้ขอวีซ่า E-2 ผ่านได้ง่าย และอีกสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ธุรกิจที่จ้างใครทำงานก็ได้ดีที่สุด ไม่ต้องง้อคน จากประสบการณ์ทำร้านอาหารไทย สิ่งที่หายากสุด คือ คนทำงานในครัว ถ้าคุณไม่ทำในครัวเอง ทำครัวไม่เป็น ต้องใช้คนอื่นทำ ส่วนตัวผมแนะนำหาธุรกิจอื่นดีกว่าครับ
หลายคนสงสัยว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่ ถึงจะยื่นขอวีซ่านักลงทุนได้ ตามกฏหมายไม่ได้ระบุจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำสำหรับวีซ่า E-2 แต่โดยเฉลี่ยที่ยื่นขอแล้วโอกาสผ่าน 70% จะลงทุนที่ประมาณ $50,000 ขึ้นไป ถ้ามีเงินลงทุน $150,000 ขึ้นไป ก็มีโอกาสผ่านถึง 95% จุดสำคัญในการพิจารณาอยู่ที่ Business plan และเส้นทางการเงินที่นำมาลงทุน ต้องตรวจสอบได้ชัดเจน นักลงทุนสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินมาใช้ลงทุนได้
ข้อสังเกตที่เราต้องระวังระหว่างหาธุรกิจที่จะลงทุน คือ มีร้านอาหารไทยหลายร้าน ชักชวนนักลงทุน ให้ไปร่วมลงทุน และสัญญาว่าจะยื่นวีซ่า E-2 คุณต้องระวังการจ่ายเงินให้เจ้าของธุรกิจโดยตรงมีความเสี่ยงสูง หากไม่มีการเซ็นต์สัญญาซื้อขายหุ้นชัดเจน ที่สำคัญผู้ลงทุนต้องลงทุนอย่างน้อย 50% ของหุ้นในธุรกิจ ถึงจะสามารถยื่นขอวีซ่า E-2 ได้ ดังนั้นหากจะดำเนินการใดๆ ต้องมั่นใจว่า เราไม่ถูกเอาเปรียบ และยุติธรรมต่อทุกฝ่าย การที่คิดว่าคนไทยเหมือนกัน หรือคนกันเอง อาจทำให้เราพลาดในการตัดสินใจได้ง่าย เป็นเหตุผลว่า การที่เราให้ที่ปรึกษามาช่วยดูแลจะเป็นการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า เพราะที่ปรึกษาจะมาพร้อมทั้งความรู้ และข้อกฏหมายธุรกิจในอเมริกา ที่จะทำให้เราไม่เสียเปรียบ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย การที่เรามาเริ่มต้นใหม่ในอเมริกา เราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง แต่เราควรที่จะฉลาดให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเรา
หลายคนที่ได้ E-2 และถือ E-2 อยู่ในปัจจุบัน ได้รับจดหมายจาก IRS (สรรพากร) ว่าคุณยื่นภาษีธุรกิจผิดประเภท ซึ่งมักจะพบเจอบ่อยสำหรับธุรกิจที่มีนักลงทุน E-2 เพราะผู้สอบบัญชี (CPA หรือ EA) บางคนไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย immigration จะมีความรู้เฉพาะด้านภาษี ทำให้คิดว่ายื่นถูกประเภท ซึ่งเป็นเหตุให้ถูกเก็บภาษีย้อนหลังและเสียค่าปรับ ที่สำคัญเป็นอีกเหตุผลหลักที่นักลงทุน E-2 ต่อวีซ่าไม่ผ่าน ซึ่งทนาย immigration ก็ไม่ชำนาญในกฏหมายภาษี จะสังเกตเห็นว่า คนอเมริกันจะเน้นงานเฉพาะทางที่ทำงาน ทำให้ค่อนข้างหาผู้เชี่ยวชาญที่เฉพาะทางหลายอย่างรวมกันยาก ดังนั้นการหาทีมงานที่มีประสิทธิภาพคอยดำเนินการสนับสนุนให้กับธุรกิจเป็นอีกส่วนที่สำคัญมาก ฝากสุภาษิตไทยเตือนใจไว้ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังตัดสินใจอยากมาลงทุนธุรกิจในอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหน หรือ กำลังจะเริ่มต้นใหม่ สิ่งที่สำคัญ คือ การได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ใช่ฟัง เล่าต่อกันมา โดยไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ คุณสามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ของรัฐบาลอเมริกา ซึ่งมีให้ทุกคนทั่วโลกเข้าไปศึกษาได้ ใครให้ข้อมูลอะไรมา คุณควรไปเช็คข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่ ก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือ ไม่เชื่อ
ผมเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่วางแผนมาลงทุนในอเมริกา ที่นี่มีโอกาสเปิดกว้างและเหลือเฟือสำหรับทุกคน “อยู่ที่ว่าคุณจะมองเห็นมันหรือไม่” ผมเป็นอีกคนที่สนุก มีความสุขกับการทำงานและใช้ชีวิตในอเมริกา หวังว่าเราคงมีโอกาสได้เจอกันที่อเมริกา
“เส้นทางที่เราเลือกเอง”
K.S