คำตอบ คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรี ต่อ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ขอเริ่มใหม่แบบนี้นะ พรบ จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อที่ดินต้องจ่าย สองรายการดังนี้
1. ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค เป็นค่าบริการตามมาตรา 49
2. ค่าใช้บริการและบำรุงรักษาบริการสาธารณะ เป็นค่าบริการตามมาตรา 53 (ก็ต้องยอมรับผิดว่า ผมเองก็เข้าใจผิดอยู่นานหลายปีเลย ว่าคือ "ค่าบริการสาธารณะ" บรรยายฟ้องไปเพียบ 555+" (เหตุที่เชื่อว่า “ค่าบริการสาธารณะ” เป็นคำที่ถูกต้องเพราะ เขียนในหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ต้องผ่านการพิจารณาของกรมที่ดิน ทำให้สงสัยว่า กรมที่ดินใช้คำมีากฏหมายไม่ได้กำหนด ถูกต้องหรือไม่)

คราวนี้มาดูหนังสือฉบับนี้นะ (จริงๆ ผมก้ไม่รู้จะไปปิดอะไรทำไม เพราะผ่านการพิจารณาตาม พรบ ข้อมูลข้าวสารทางราชการแล้ว ก็น่าจะเปิดเผยได้ เป็นเอกสารจากหน่วยงานรัฐและหน่วยงานรัฐ)

ขอสรุปแบบนี้นะ
1. ในเอกสารนี้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีไม่มีการพูดถึง "ค่าใช้บริการและบำรุงรักษาบริการสาธารณะ" เลย ทั้งในส่วนได้ให้ความเห็นชอบหรือไม่ ผู้ซื้อที่ดินต้องจ่ายเท่าไหร่ สรุปว่า ไอ้ค่าบริการต่างๆ ตั้งแต่ผู้จัดสรรขอ คณะกรรมการเห็นชอบ เนี่ย ใช่ค่าบริการตามที่กฏหมายกำหนดไหม
คือ https://ppantip.com/topic/41379602  ผมว่ามันจะออกมาซ้ำกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดแน่เลยว่า เมื่อ หนังสือเวียนไม่ใช่คำสั่ง  มติเห็นชอบให้จัดเก็บค่าบริการสาธารณธ ก็ไม่ใช่เห็นชอบให้จัดเก็บ "ค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะ" แน่ๆเลย

2. คณะกรรมการจัดสรรที่ดินมีอำนาจเห็นชอบได้สองเรื่องคือ การจัดสรรตามแผนผังและวิธีการ ตามมาตรา 26 และ ค่าใช้บริการและบำรุงรักษาบริการสาธารณะ ตามมาตรา 53 ซึ่งจัดเก็บได้ทันทีที่ผู้ซื้อที่ดินโอนแล้ว  แต่เอกสารเนี้ยดันบอกว่า "อนุมัติ" ให้เก็บ "ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค" ได้ด้วย ทั้งๆ ที่ค่าบริการเนี้ยจะพิจารณากันหลังส่งมอบหมู่บ้านแล้วเท่านั้น

3. "ดังนั้นบริษัท.......ผู้จัดสรรที่ดินจึงสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคได้ตามมาตรา 49 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 จากผู้ซื้อที่ดินโครงการ......  ได้  และผู้ซื้อที่ดินมีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคสำหรับที่ดินจัดสรรที่ตนซื้อ ตามมาตรา 49 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543"

คือคำพูดเนี้ยในเอกสารลองมาตรงๆ เลยนะ มันมีตรงไหนให้เก็บอะไรเกี่ยวกับ "บริการสาธารณะ" ไหมเนี่ย แล้วไอ้ที่เก็บๆ ทั่วจังหวัดนนทบุรีและทั่วประเทศก่อส่งมอบเนี่ย มันใช่ "ค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะ" ตามกฏหมายหรือเปล่า แล้วจะไปจ่ายกันทำไมถ้ามันไม่มีอำนาจเก็บ

4. "สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ได้ตรวจสอบบันทึกข้อตกลงเรื่อง การอยู่อาศัยร่วมกัน ฉบับลงวันที่ 24 กุมภาพันธุ์ 2561 ระหว่าง .......  ผู้จะซื้อ กับ บริษัท ..........  ผู้จะขายแล้ว พบว่า ในส่วนของค่าบริการสาธารณะ ในอัตรา 50 บาท ต่อตารางวาต่อเดือน ซึ่งปรากฏในข้อ 3 แห่งสัญญาดังกล่าวนั้น ไม่ขัดกับโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน โครงการ......... ซึ่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดนนทบุรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่อย่างใด"

คุณคณะกรรมการครับ ผมถามว่า "ค่าบริการสาธารณะ" ใช่มาตรา 53 ไหม ขัดมาตรา 53 ไหม ที่เขียนในบันทึกข้อตกลงการอยู่ร่วมกันเนี่ย มันชอบด้วยกฏหมายไหม

การที่ตอบว่า "ไม่ขัดกับโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน โครงการ ......" เนี่ย มันมาตรา 26 ชัดๆ  คือตอบไม่ตรงคำถามนะ

สรุปนะครับ
1. สัญญาจะซื้อจะขาย ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินทุกจังหวัด ผู้จัดสรรจะทำเองไม่ได้
2. ไอ้สัญญาต่างๆ หรือ บันทึกอะไรต่างๆ ที่ทำวันเดียวกันเนี่ย มันสุจริตไหม มันทำผิดกฏหมายไหม
3. ไอ้เงินที่เก็บๆ เนี่ย มันเก็บไม่ชอบใช่ไหม (ชอบไหมไม่รู้ ผมไม่จ่ายหลายปี แสนกว่า มันยังไม่ฟ้อง ไม่ฟ้องปีหนึ่งหายไปสามหมื่นแหละ) (อยากให้ฟ้องนะ รีบๆฟ้องมานะ)
4. ตรงไหนที่เห็นชอบให้จัดเก็บ "ค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาสาธารณะ" ที่เก็บได้ทันทีเมื่อโอนที่ดิน
5. "ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค" ที่จะเก็บได้หลังส่งมอบหมู่บ้าน มาอนุมัติอะไรวันที่โครงการยังไม่สร้างและยังไม่ได้ส่งมอบเลย
6. แปลว่า ไอ้ 52 บาทต่อตารางวาเนี่ย คือค่า บำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค  แต่ผู้จัดสรรมาเก็บในค่าบริการสาธารณะ เนี่ยนะ 
7. แล้วมาตอบว่า ค่าบริการสาธารณะ ไม่ขัดกับแผนผังและวิธีการจัดสรร (วิธีการก่อสร้างหมู่บ้าน) ตามมาตรา 26 บ้าไปไหม
8. สรุปกรมที่ดิน ร่วมผู้จัดสรร โกงเงินผู้ซื้อที่ดินทั่วประเทศรึเปล่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่