คงต้องเริ่มต้นจาก
https://ppantip.com/topic/39799978
หลังจากตรวจบ้านและหมู่บ้าน และฟ้องร้องเรียบร้อยแล้ว ความคืบหน้ามีดังนี้
1. ร้องผู้จัดสรรว่าสร้างบ้านไม่ได้คุณภาพ ต่อ สคบ
ผลที่ออกมา สคบ มีคำสั่งฟ้องผู้จัดสรรแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินคดี
2. ร้องผู้จัดสรรต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
ผลที่ออกมา คณะกรรมการส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบหลายครั้ง พบความเสียหายตามร้อง แต่ไม่มีคำสั่งใดๆในระยะเวลาหลายปี
3. ฟ้องคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง, คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด, การไฟฟ้า, การประปา, กรมที่ดิน, อธิบดีกรมที่ดิน ต่อศาลปกครองหลายคดี
ผลที่ออกมา ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด หลายคดี
วันนี้เอาคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมาเผยแพร่ เพราะคำสั่งศาลปกครองถึงที่สุด เผยแพร่ได้
ในคำสั่งศาลปกครองนี้ ได้มีการบรรยายคำฟ้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องบรรยายซ้ำ
สรุปสั้นๆ มีคำขอ 3 ข้อ และขอคุ้มครอง 2 ข้อ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง รับคำขอ 1 ข้อ (ข้อ 2)
ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับ รับคำขอ ข้อ 3
ยังไม่รับคำขอข้อ 1 ด้วยเหตุผลพอจะสรุปได้ว่า
อธิบดีกรมที่ดิน และกรมที่ดิน มิใช่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดดำเนินการตามหนังสือเวียน มท0517.2/ว20707 ได้
หนังสือเวียน มท0517.2/ว20707 มีเนื้อหา เปลี่ยนค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ให้เป็นค่าบริการสาธารณะ
ใน พรบ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อบ้านต้องจ่ายสองรายการ
1 "ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสสธารณูปโภค" (เพราะสาธารณูปโภคเป็นของลูกบ้านจึงไม่สามารถขายได้อีกรอบ จึงเป็นการบำรุงรักษาและจัดการให้สาธารณูปโภคใช้งานได้ดี เท่านั้น) เป็นไปตามมาตรา 44(2) และ มาตรา 49
ค่าใช้จ่ายนี้ก่อนส่งมอบผู้จัดสรรรับผิดชอบค่าใช้จ่าย หลังส่งมอบผู้ซื้อบ้านจ่าย
2 "ค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะ" ซึ่งเป็นบริการหรือสินค้าที่ขาย เช่น อาหารเครื่องดื่มในสโมสรหมู่บ้าน ค่าเลี้ยงเด็ก ค่าบริการสระว่ายน้ำหรือฟิตเนต ฯลฯ ค่าใช้จ่ายนี้ลูกบ้านที่ใช้บริการจ่าย เป็นไปตามมาตรา 53
ขอให้สังเกตุว่า ชื่อเอกสารที่เรียกเก็บ ค่าบริการชื่อตรงตามนี้หรือไม่ หากไม่ใช่ ก็ให้ตรวจสอบด้วย
สาธารณูปโภค คืออะไร มีนิยามที่มาตรา 4 แต่โดยสรุปคือ สิ่งก่อสร้างหรือบริการ ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมีจำเป็นต้องใช้ ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เช่น ถนน สวน สนามหญ้า ในกรณีที่เป็นที่ดิน ก็จะลงว่าพื้นที่สาธารณูปโภคในโฉนด (มาตรฐานของสาธารณูปโภค จะถูกกำหนดอยู่ในข้อกำหนดการจัดสรรดที่ดินของแต่ละจังหวัด)
บริการสาธารณะ คือ บริการใดๆ ที่ผู้จัดสรรประสงค์จะให้มี ผู้ซื้อบ้าน "สามารถเลือกได้ว่าจะใช้หรือไม่" เช่น กรณีที่ผู้จัดสรรสร้างสระว่ายน้ำและสโมสรโดยไม่ได้มอบให้เป็นสาธารณูปโภค สามารถเก็บค่าว่ายน้ำเป็นครั้ง เป็นเดือน เป็นปี กับผู้ใช้บริการได้ ผู้จัดสรรสามารถขายอาหารเครื่องดื่ม เป็นค่าบริการสาธารณะได้ ในกรณีที่หมู่บ้านมีขนาดเกิน 500 หลัง จะต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนหรือโรงเรียน บ้านใดประสงค์จะใช้บริการก็ส่งลูกหลานไปเรียนและจ่ายเป็นค่าบริการสาธารณะได้
ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องว่า อธิบดีกรมที่ดิน กรมที่ดิน ออกคำสั่ง มท0517.2/ว20707 ประสงค์ให้คณะกรรมการจัดสรรจังหวัด ดำเนินการเปลี่ยนค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นค่าบริการสาธารณะ ให้ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนผู้จัดสรรโดยมิชอบด้วยกฏหมาย ในคดี 970/62 ศาลปกครองกลาง
แม้คดี 970/62 ยังไม่สิ้นสุด แค่คำสั่งศาลปกครองสูงสุดนี้ ก็ชี้ชัดว่า หนังสือ มท0517.2/ว20707 ไม่มีอำนาจสั่งการ ไม่มีผลบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดดำเนินการใดๆ ได้
คาดว่าผู้จัดสรรต้องคืนเงิน ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคช่วงเวลาก่อนส่งมอบ ในนาม"ค่าบริการสาธารณะ" ให้ผู้ซื้อบ้านทุกคน
คำสั่งศาลปกครองสูงสุด ชี้ว่า หนังสือเวียน มท0517.2/ว20707 ไม่มีอำนาจ มิได้มีผลบังคับคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
หลังจากตรวจบ้านและหมู่บ้าน และฟ้องร้องเรียบร้อยแล้ว ความคืบหน้ามีดังนี้
1. ร้องผู้จัดสรรว่าสร้างบ้านไม่ได้คุณภาพ ต่อ สคบ
ผลที่ออกมา สคบ มีคำสั่งฟ้องผู้จัดสรรแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินคดี
2. ร้องผู้จัดสรรต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด
ผลที่ออกมา คณะกรรมการส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบหลายครั้ง พบความเสียหายตามร้อง แต่ไม่มีคำสั่งใดๆในระยะเวลาหลายปี
3. ฟ้องคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง, คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัด, การไฟฟ้า, การประปา, กรมที่ดิน, อธิบดีกรมที่ดิน ต่อศาลปกครองหลายคดี
ผลที่ออกมา ยังอยู่ในการพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด หลายคดี
วันนี้เอาคำสั่งศาลปกครองสูงสุดมาเผยแพร่ เพราะคำสั่งศาลปกครองถึงที่สุด เผยแพร่ได้
ในคำสั่งศาลปกครองนี้ ได้มีการบรรยายคำฟ้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องบรรยายซ้ำ
สรุปสั้นๆ มีคำขอ 3 ข้อ และขอคุ้มครอง 2 ข้อ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง รับคำขอ 1 ข้อ (ข้อ 2)
ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับ รับคำขอ ข้อ 3
ยังไม่รับคำขอข้อ 1 ด้วยเหตุผลพอจะสรุปได้ว่า
อธิบดีกรมที่ดิน และกรมที่ดิน มิใช่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดดำเนินการตามหนังสือเวียน มท0517.2/ว20707 ได้
หนังสือเวียน มท0517.2/ว20707 มีเนื้อหา เปลี่ยนค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ให้เป็นค่าบริการสาธารณะ
ใน พรบ การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อบ้านต้องจ่ายสองรายการ
1 "ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสสธารณูปโภค" (เพราะสาธารณูปโภคเป็นของลูกบ้านจึงไม่สามารถขายได้อีกรอบ จึงเป็นการบำรุงรักษาและจัดการให้สาธารณูปโภคใช้งานได้ดี เท่านั้น) เป็นไปตามมาตรา 44(2) และ มาตรา 49
ค่าใช้จ่ายนี้ก่อนส่งมอบผู้จัดสรรรับผิดชอบค่าใช้จ่าย หลังส่งมอบผู้ซื้อบ้านจ่าย
2 "ค่าใช้บริการและค่าบำรุงรักษาบริการสาธารณะ" ซึ่งเป็นบริการหรือสินค้าที่ขาย เช่น อาหารเครื่องดื่มในสโมสรหมู่บ้าน ค่าเลี้ยงเด็ก ค่าบริการสระว่ายน้ำหรือฟิตเนต ฯลฯ ค่าใช้จ่ายนี้ลูกบ้านที่ใช้บริการจ่าย เป็นไปตามมาตรา 53
ขอให้สังเกตุว่า ชื่อเอกสารที่เรียกเก็บ ค่าบริการชื่อตรงตามนี้หรือไม่ หากไม่ใช่ ก็ให้ตรวจสอบด้วย
สาธารณูปโภค คืออะไร มีนิยามที่มาตรา 4 แต่โดยสรุปคือ สิ่งก่อสร้างหรือบริการ ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมีจำเป็นต้องใช้ ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เช่น ถนน สวน สนามหญ้า ในกรณีที่เป็นที่ดิน ก็จะลงว่าพื้นที่สาธารณูปโภคในโฉนด (มาตรฐานของสาธารณูปโภค จะถูกกำหนดอยู่ในข้อกำหนดการจัดสรรดที่ดินของแต่ละจังหวัด)
บริการสาธารณะ คือ บริการใดๆ ที่ผู้จัดสรรประสงค์จะให้มี ผู้ซื้อบ้าน "สามารถเลือกได้ว่าจะใช้หรือไม่" เช่น กรณีที่ผู้จัดสรรสร้างสระว่ายน้ำและสโมสรโดยไม่ได้มอบให้เป็นสาธารณูปโภค สามารถเก็บค่าว่ายน้ำเป็นครั้ง เป็นเดือน เป็นปี กับผู้ใช้บริการได้ ผู้จัดสรรสามารถขายอาหารเครื่องดื่ม เป็นค่าบริการสาธารณะได้ ในกรณีที่หมู่บ้านมีขนาดเกิน 500 หลัง จะต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนหรือโรงเรียน บ้านใดประสงค์จะใช้บริการก็ส่งลูกหลานไปเรียนและจ่ายเป็นค่าบริการสาธารณะได้
ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องว่า อธิบดีกรมที่ดิน กรมที่ดิน ออกคำสั่ง มท0517.2/ว20707 ประสงค์ให้คณะกรรมการจัดสรรจังหวัด ดำเนินการเปลี่ยนค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคเป็นค่าบริการสาธารณะ ให้ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนผู้จัดสรรโดยมิชอบด้วยกฏหมาย ในคดี 970/62 ศาลปกครองกลาง
แม้คดี 970/62 ยังไม่สิ้นสุด แค่คำสั่งศาลปกครองสูงสุดนี้ ก็ชี้ชัดว่า หนังสือ มท0517.2/ว20707 ไม่มีอำนาจสั่งการ ไม่มีผลบังคับให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดดำเนินการใดๆ ได้
คาดว่าผู้จัดสรรต้องคืนเงิน ค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคช่วงเวลาก่อนส่งมอบ ในนาม"ค่าบริการสาธารณะ" ให้ผู้ซื้อบ้านทุกคน