โฆษก พท. วอนให้ความยุติธรรมเหยื่อถูกละเมิดทางเพศ
https://voicetv.co.th/read/VtU3eRbpN
โฆษกเพื่อไทย วอนทุกฝ่ายให้ความยุติธรรมเหยื่อถูกละเมิดทางเพศ ชี้สถาบันการเมืองควรเป็นแบบอย่างประชาชน ไม่ใช่ทำผิดเอง
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่มีผู้เสียหายจำนวนมากร้องเรียนพฤติกรรมนักการเมืองรายหนึ่งที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมนั้น เรื่องนี้ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนสอบสวนทุกฝ่ายอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ความยุติธรรมกับเหยื่อที่ถูกกระทำไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องรู้สึกหมดหวังกับกระบวนการยุติธรรมไทยเหมือนในหลายกรณีที่ผ่านมา ขณะที่พรรคการเมืองเองซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เป็นสถาบันที่มีผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของพี่น้องประชาชน ซึ่งต้องยึดหลักนิติธรรม 3 ประการคือ หลักความสูงสุดของกฎหมาย หลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย รวมทั้งหลักการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง หากพรรคการเมืองใดขาดตกบกพร่องในหลักนิติธรรมแม้เพียงข้อเดียว คงยากที่จะเป็นสถาบันทางการเมืองที่จะเป็นที่พึ่งที่หวังให้กับพี่น้องประชาชนได้
ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าวมองว่า พรรคการเมืองทุกพรรคต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคและผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคอย่างละเอียดรอบคอบ รัดกุม เพราะแม้แต่ในใบสมัครสมาชิกพรรคการเมืองดังกล่าว ได้มีการระบุชัดเจนว่าจะต้องไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม
มาตรา 24 แห่ง พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งมีข้อบังคับมากมายหลายด้าน ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญภายในพรรค ก็ควรจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติจากกระบวนการที่เข้มงวดมากขึ้น เพราะหมายถึงอนาคตทางการเมืองของนักการเมืองผู้นั้น รวมถึงพรรคการเมืองนั้นด้วย
ธีรรัตน์ กล่าวว่า ในฐานะของมนุษย์คนหนึ่งมองว่า การล่วงละเมิดทางเพศไม่ควรเกิดขึ้นกับทุกคนไม่ว่าจะด้วยคำพูดและการกระทำ ที่ส่อไปในทางที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการข่มเหงรังแกจากอีกฝ่าย ยิ่งหากผู้นั้นมีสิทธิพิเศษ มีสถานะทางสังคมที่พร้อมใช้อำนาจข่มขู่รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งเกิดขึ้นในหลายวงการและเกิดขึ้นทั่วโลก เมื่อเกิดการล่วงละเมิดผู้ที่ถูกกระทำไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะเรียกร้อง หรือหาทางขอความช่วยเหลือ เพราะเมื่อพูด จะถูกมองจากสังคมและถูกตีตราว่าเป็นบุคคลที่น่าละอาย ซึ่งในประเทศไทยและเวทีโลกกำลังร่วมมือกันเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ให้เกิดขึ้น ไม่ควรมีใครทำให้ประเด็นนี้ตกต่ำไปมากกว่านี้ จึงขอฝากความหวังไว้ที่กระบวนการตรวจสอบการกระทำผิด ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม โปร่งใส สร้างหลักประกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในสังคมซ้ำอีก
“ในนามของผู้หญิงคนหนึ่ง นักการเมืองที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศต้องได้รับโทษสูงสุดตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น การเป็นนักการเมือง ไม่ใช่เพียงเป็นตัวแทนของประชาชนเท่านั้น แต่ท่านมีภาระหน้าที่ในการเป็นที่พึ่งที่หวังของประชาชน เพราะประชาชนเอาเราเป็นแบบอย่าง เป็นความหวัง และยิ่งเป็นนักการเมืองที่มีครอบครัว การล่วงละเมิดผู้อื่นก็ถือว่าท่านได้ทำร้ายครอบครัวท่านเองด้วย ขอให้เรื่องนี้กระจ่างโดยเร็ว ขอให้กำลังใจเหยื่อทุกท่านที่กล้าหาญออกมาเปิดเผยความจริง เหยื่อทุกคนต้องได้รับความยุติธรรม” ธีรรัตน์ กล่าว
กทม.ค้างจ่ายหนี้ BTS พุ่ง 3.8 หมื่นล้าน ลุยฟ้องศาลทวงหนี้เพิ่ม
https://www.bangkokbiznews.com/business/999327
BTS เผย กทม.ค้างจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย ค่าวางระบบรถไฟฟ้า พุ่ง 3.8 หมื่นล้านบาท เดินหน้าฟ้องศาลปกครอง
นาย
สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เปิดเผยว่า ภาระหนี้สะสมที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีต่อ BTS ตั้งแต่เดือน เม.ย.2560 ถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 38,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 18,000 ล้านบาท
2. ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) จำนวน 20,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้ที่กรุงเทพมหานครต้องจ่ายให้ BTS เพิ่มขึ้นมาเป็น 38,000 ล้านบาท เพราะที่ผ่านมากรุงเทพมหานครไม่ได้มีการชำระหนี้ในส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้าและช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง มาตั้งแต่เดือน พ.ค.2562 และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มาตั้งแต่เปิดให้บริการ
สำหรับคืบหน้าการทวงหนี้จ้างเดินรถกับกรุงเทพมหานคร และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด นั้น ปัจจุบันศาลปกครองได้รับเรื่องไว้พิจารณา โดยกำหนดให้กรุงเทพมหานคร และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ยื่นเอกสารทำคำชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาทั้ง 2 ฝ่ายต่อศาลปกครอง ภายในสัปดาห์นี้ แต่กรุงเทพมหานครและบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ขอเลื่อนส่งเอกสาร โดยในช่วงที่ BTS ฟ้องต่อศาลปกครองทวงหนี้ค่าจ้างเดินรถได้ระบุข้อมูลหนี้ ณ วันที่ 15 ก.ค.2564 วงเงิน 12,000 ล้านบาท
นาย
สุรพงษ์ กล่าวว่า การฟ้องร้องระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) จำนวน 20,000 ล้านบาท ต่อศาลปกครองเพิ่มเติม อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสาร โดยต้องหารือทีมทนายความถึงแนวทางการฟ้องร้อง ซึ่งยืนยันจะมีการฟ้องร้อง โดยขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาเรื่องการชำระหนี้กับบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด
รายงานข่าวระบุว่า กรุงเทพมหานครได้มีการสรุปภาระหนี้ของกรุงเทพมหานคร และ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ที่มีต่อบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากการจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งนำมาสู่การร้องศาลเพื่อให้กรุงเทพมหานครชำระหนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรุงเทพมหานครส่งให้กระทรวงคมนาคมตามที่มีการหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ช่วงที่ผ่านมา
สำหรับภารหนี้ระหว่างกรุงเทพมหานครและ BTS ถึงเดือน ม.ค.2565 รวมทั้งสิ้น 37,140 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) ส่วนต่อขยายที่ 1 รวม 3,710 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 รวม 13,343 ล้านบาท
2. ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) 20,088 ล้านบาท
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครมีภาระเงินต้นงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่- คูคต ที่กรุงเทพมหานครรับโอนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปี 2561 จำนวน 55,000 ล้านบาท
ภาระดอกเบี้ยงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ปี 2564-2572 ประมาณ 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้ของการเดินรถส่วนต่อขยายเริ่มจากการเปิดรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถ ส่วนต่อขยายที่ 1 สายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า , ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งกรุงเทพมหานครเก็บค่าโดยสาร 15 บาท แบ่งเป็น ดังนี้
ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า เปิดในวันที่ 14 ก.พ.2556 เปิดบริการส่วนต่อขยายสายสีลมอย่างเป็นทางการจากสถานีวงเวียนใหญ่-สถานีตลาดพลู ส่วนวันที่ 5 ธ.ค.2556 เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลมจากสถานีตลาดพลู-สถานีบางหว้า
ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง เปิดเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2554 ได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากสถานีอ่อนนุชถึงสถานีแบริ่ง
ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดวันที่ 3 เม.ย.2560 โดยกรุงเทพมหานครเก็บค่าโดยสารปกติ 15 บาท ต่อมาวันที่ 6 ธ.ค.2561 ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานีสำโรง-งสถานีเคหะสมุทรปราการ โดยยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน รวมแล้วกว่า 4 ปี
ในขณะที่การเปิดบริการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ทยอยเปิดในวันที่ 9 ส.ค.2562 เปิดให้บริการจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ส่วนวันที่ 5 มิ.ย.2563 เปิดให้บริการจากสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และวันที่ 16 ธ.ค.2563 เปิดให้บริการจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-สถานีคูคต โดยยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบันรวม 3 ปี
เอกชนย้ำเต็มที่แล้วตรึงราคาสินค้าห่วงแบกไม่ไหว
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_323413/
เอกชน ย้ำเต็มที่แล้วตรึงราคาสินค้าห่วงสุดท้ายแบกไม่ไหว กระทบการผลิตรัฐต้องช่วยลดต้นทุน
นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า เวลานี้ยังไม่มีสัญญาณจากภาครัฐให้ผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการผลิตอาหารกระป๋องสามารถปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นได้ โดยให้เหตุผลในเรื่องของการดูแลลดผลกระทบค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อให้กับผู้บริโภค ซึ่งทางภาคเอกชนเองเข้าใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือตรึงราคาสินค้าจนถึงที่สุด
โดยเวลานี้อาจยังสามารถทำได้เพราะสินค้ายังคงเป็นสต๊อกเดิมที่ต้นทุนยังไม่ได้สะท้อนผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งหลังจากนี้จะมีผลในเรื่องของการแย่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้ามากขึ้นและอาจทำให้การผลิตสินค้าของไทยได้รับผลกระทบ หากยังไม่ วางแผนรับมือล่วงหน้า และยิ่งมาตรการคว่ำบาตรยืดเยื้อ จะเป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวเพราะจะเกิดการแย่งซื้อสินค้ามีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกได้
อย่างไรก็ตามหากไม่อนุญาตให้ปรับราคาสินค้าในภาวะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รัฐบาลจะต้องช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนในการผลิต ด้วยการลดอากรนำเข้าสินค้า ดูแลค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าไม่ให้ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยยังสามารถอยู่ได้ โดยไม่ต้องปิดกิจการ
JJNY : พท.วอนให้ความยุติธรรมเหยื่อ│กทม.ค้างจ่ายหนี้ BTS พุ่ง│เอกชนห่วงแบกไม่ไหว│หมอธีระเผยผลวิจัย mRNA เทียบ เชื้อตาย
https://voicetv.co.th/read/VtU3eRbpN
โฆษกเพื่อไทย วอนทุกฝ่ายให้ความยุติธรรมเหยื่อถูกละเมิดทางเพศ ชี้สถาบันการเมืองควรเป็นแบบอย่างประชาชน ไม่ใช่ทำผิดเอง
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า กรณีที่มีผู้เสียหายจำนวนมากร้องเรียนพฤติกรรมนักการเมืองรายหนึ่งที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมนั้น เรื่องนี้ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนสอบสวนทุกฝ่ายอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ความยุติธรรมกับเหยื่อที่ถูกกระทำไม่ว่าจะด้วยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องรู้สึกหมดหวังกับกระบวนการยุติธรรมไทยเหมือนในหลายกรณีที่ผ่านมา ขณะที่พรรคการเมืองเองซึ่งเป็นสถาบันทางการเมืองที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เป็นสถาบันที่มีผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของพี่น้องประชาชน ซึ่งต้องยึดหลักนิติธรรม 3 ประการคือ หลักความสูงสุดของกฎหมาย หลักความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย รวมทั้งหลักการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพลเมือง หากพรรคการเมืองใดขาดตกบกพร่องในหลักนิติธรรมแม้เพียงข้อเดียว คงยากที่จะเป็นสถาบันทางการเมืองที่จะเป็นที่พึ่งที่หวังให้กับพี่น้องประชาชนได้
ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าวมองว่า พรรคการเมืองทุกพรรคต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคและผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคอย่างละเอียดรอบคอบ รัดกุม เพราะแม้แต่ในใบสมัครสมาชิกพรรคการเมืองดังกล่าว ได้มีการระบุชัดเจนว่าจะต้องไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม
มาตรา 24 แห่ง พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งมีข้อบังคับมากมายหลายด้าน ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญภายในพรรค ก็ควรจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติจากกระบวนการที่เข้มงวดมากขึ้น เพราะหมายถึงอนาคตทางการเมืองของนักการเมืองผู้นั้น รวมถึงพรรคการเมืองนั้นด้วย
ธีรรัตน์ กล่าวว่า ในฐานะของมนุษย์คนหนึ่งมองว่า การล่วงละเมิดทางเพศไม่ควรเกิดขึ้นกับทุกคนไม่ว่าจะด้วยคำพูดและการกระทำ ที่ส่อไปในทางที่จะเปิดโอกาสให้เกิดการข่มเหงรังแกจากอีกฝ่าย ยิ่งหากผู้นั้นมีสิทธิพิเศษ มีสถานะทางสังคมที่พร้อมใช้อำนาจข่มขู่รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า ซึ่งเกิดขึ้นในหลายวงการและเกิดขึ้นทั่วโลก เมื่อเกิดการล่วงละเมิดผู้ที่ถูกกระทำไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะเรียกร้อง หรือหาทางขอความช่วยเหลือ เพราะเมื่อพูด จะถูกมองจากสังคมและถูกตีตราว่าเป็นบุคคลที่น่าละอาย ซึ่งในประเทศไทยและเวทีโลกกำลังร่วมมือกันเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจใหม่ให้เกิดขึ้น ไม่ควรมีใครทำให้ประเด็นนี้ตกต่ำไปมากกว่านี้ จึงขอฝากความหวังไว้ที่กระบวนการตรวจสอบการกระทำผิด ต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรม โปร่งใส สร้างหลักประกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นในสังคมซ้ำอีก
“ในนามของผู้หญิงคนหนึ่ง นักการเมืองที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศต้องได้รับโทษสูงสุดตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น การเป็นนักการเมือง ไม่ใช่เพียงเป็นตัวแทนของประชาชนเท่านั้น แต่ท่านมีภาระหน้าที่ในการเป็นที่พึ่งที่หวังของประชาชน เพราะประชาชนเอาเราเป็นแบบอย่าง เป็นความหวัง และยิ่งเป็นนักการเมืองที่มีครอบครัว การล่วงละเมิดผู้อื่นก็ถือว่าท่านได้ทำร้ายครอบครัวท่านเองด้วย ขอให้เรื่องนี้กระจ่างโดยเร็ว ขอให้กำลังใจเหยื่อทุกท่านที่กล้าหาญออกมาเปิดเผยความจริง เหยื่อทุกคนต้องได้รับความยุติธรรม” ธีรรัตน์ กล่าว
กทม.ค้างจ่ายหนี้ BTS พุ่ง 3.8 หมื่นล้าน ลุยฟ้องศาลทวงหนี้เพิ่ม
https://www.bangkokbiznews.com/business/999327
BTS เผย กทม.ค้างจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย ค่าวางระบบรถไฟฟ้า พุ่ง 3.8 หมื่นล้านบาท เดินหน้าฟ้องศาลปกครอง
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เปิดเผยว่า ภาระหนี้สะสมที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีต่อ BTS ตั้งแต่เดือน เม.ย.2560 ถึงปัจจุบัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 38,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
1. ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 18,000 ล้านบาท
2. ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) จำนวน 20,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้ที่กรุงเทพมหานครต้องจ่ายให้ BTS เพิ่มขึ้นมาเป็น 38,000 ล้านบาท เพราะที่ผ่านมากรุงเทพมหานครไม่ได้มีการชำระหนี้ในส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้าและช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง มาตั้งแต่เดือน พ.ค.2562 และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มาตั้งแต่เปิดให้บริการ
สำหรับคืบหน้าการทวงหนี้จ้างเดินรถกับกรุงเทพมหานคร และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด นั้น ปัจจุบันศาลปกครองได้รับเรื่องไว้พิจารณา โดยกำหนดให้กรุงเทพมหานคร และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ยื่นเอกสารทำคำชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาทั้ง 2 ฝ่ายต่อศาลปกครอง ภายในสัปดาห์นี้ แต่กรุงเทพมหานครและบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ขอเลื่อนส่งเอกสาร โดยในช่วงที่ BTS ฟ้องต่อศาลปกครองทวงหนี้ค่าจ้างเดินรถได้ระบุข้อมูลหนี้ ณ วันที่ 15 ก.ค.2564 วงเงิน 12,000 ล้านบาท
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การฟ้องร้องระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) จำนวน 20,000 ล้านบาท ต่อศาลปกครองเพิ่มเติม อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสาร โดยต้องหารือทีมทนายความถึงแนวทางการฟ้องร้อง ซึ่งยืนยันจะมีการฟ้องร้อง โดยขณะนี้ยังไม่มีการเจรจาเรื่องการชำระหนี้กับบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด
รายงานข่าวระบุว่า กรุงเทพมหานครได้มีการสรุปภาระหนี้ของกรุงเทพมหานคร และ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ที่มีต่อบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จากการจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งนำมาสู่การร้องศาลเพื่อให้กรุงเทพมหานครชำระหนี้ ซึ่งเป็นข้อมูลที่กรุงเทพมหานครส่งให้กระทรวงคมนาคมตามที่มีการหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ช่วงที่ผ่านมา
สำหรับภารหนี้ระหว่างกรุงเทพมหานครและ BTS ถึงเดือน ม.ค.2565 รวมทั้งสิ้น 37,140 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. ค่าจ้างเดินรถและบำรุงรักษา (O&M) ส่วนต่อขยายที่ 1 รวม 3,710 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 รวม 13,343 ล้านบาท
2. ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) 20,088 ล้านบาท
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครมีภาระเงินต้นงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่- คูคต ที่กรุงเทพมหานครรับโอนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ในปี 2561 จำนวน 55,000 ล้านบาท
ภาระดอกเบี้ยงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ปี 2564-2572 ประมาณ 10,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้ของการเดินรถส่วนต่อขยายเริ่มจากการเปิดรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งกรุงเทพมหานครได้จ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถ ส่วนต่อขยายที่ 1 สายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า , ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งกรุงเทพมหานครเก็บค่าโดยสาร 15 บาท แบ่งเป็น ดังนี้
ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า เปิดในวันที่ 14 ก.พ.2556 เปิดบริการส่วนต่อขยายสายสีลมอย่างเป็นทางการจากสถานีวงเวียนใหญ่-สถานีตลาดพลู ส่วนวันที่ 5 ธ.ค.2556 เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลมจากสถานีตลาดพลู-สถานีบางหว้า
ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง เปิดเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2554 ได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทจากสถานีอ่อนนุชถึงสถานีแบริ่ง
ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เปิดวันที่ 3 เม.ย.2560 โดยกรุงเทพมหานครเก็บค่าโดยสารปกติ 15 บาท ต่อมาวันที่ 6 ธ.ค.2561 ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานีสำโรง-งสถานีเคหะสมุทรปราการ โดยยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน รวมแล้วกว่า 4 ปี
ในขณะที่การเปิดบริการช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ทยอยเปิดในวันที่ 9 ส.ค.2562 เปิดให้บริการจากสถานีหมอชิต-สถานีห้าแยกลาดพร้าว ส่วนวันที่ 5 มิ.ย.2563 เปิดให้บริการจากสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และวันที่ 16 ธ.ค.2563 เปิดให้บริการจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ-สถานีคูคต โดยยังไม่มีการเก็บค่าโดยสารตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบันรวม 3 ปี
เอกชนย้ำเต็มที่แล้วตรึงราคาสินค้าห่วงแบกไม่ไหว
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_323413/
เอกชน ย้ำเต็มที่แล้วตรึงราคาสินค้าห่วงสุดท้ายแบกไม่ไหว กระทบการผลิตรัฐต้องช่วยลดต้นทุน
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า เวลานี้ยังไม่มีสัญญาณจากภาครัฐให้ผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการผลิตอาหารกระป๋องสามารถปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นได้ โดยให้เหตุผลในเรื่องของการดูแลลดผลกระทบค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อให้กับผู้บริโภค ซึ่งทางภาคเอกชนเองเข้าใจและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือตรึงราคาสินค้าจนถึงที่สุด
โดยเวลานี้อาจยังสามารถทำได้เพราะสินค้ายังคงเป็นสต๊อกเดิมที่ต้นทุนยังไม่ได้สะท้อนผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งหลังจากนี้จะมีผลในเรื่องของการแย่งซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้ามากขึ้นและอาจทำให้การผลิตสินค้าของไทยได้รับผลกระทบ หากยังไม่ วางแผนรับมือล่วงหน้า และยิ่งมาตรการคว่ำบาตรยืดเยื้อ จะเป็นสถานการณ์ที่น่ากลัวเพราะจะเกิดการแย่งซื้อสินค้ามีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของโลกได้
อย่างไรก็ตามหากไม่อนุญาตให้ปรับราคาสินค้าในภาวะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รัฐบาลจะต้องช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนในการผลิต ด้วยการลดอากรนำเข้าสินค้า ดูแลค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าไม่ให้ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อยยังสามารถอยู่ได้ โดยไม่ต้องปิดกิจการ