เครดิตบูโร เปิด‘หนี้เน่า’ รายย่อย 2ปี จากพิษโควิด-19 ทะลัก2.3ล้านบัญชี
https://www.bangkokbiznews.com/business/997298
เปิดข้อมูล “เครดิตบูโร” ชี้ “โควิด” ระบาด 2 ปี ดันเอ็นพีแอลพุ่ง พบรายย่อยเป็นหนี้ 2.3 ล้านบัญช่ี มูลค่า 2 แสนล้านบาท จากยอดหนี้เสียสะสม 4.3 ล้านบัญชี ขณะที่ “เอสเอ็มอี” ที่เป็นนิติบุคคล หนี้เสียท่วม 2.8 แสนธุรกิจ มูลค่า 3.2 แสนล้านบาท ประเมิน 5 กลุ่มธุรกิจ สุดเสี่ยงไม่รอด
วิกฤติจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธ์ุใหม่ “โอมิครอน” ยังไม่จบ และกำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเร็วๆ นี้ แต่ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจยังคงหนัก ขณะที่ไทยมีการฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพราะมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก พิจารณาได้จากสัดส่วนรายได้ประชาชาติ ที่มาจากการท่องเที่ยวสูงถึง 20% หากโควิด-19 ยิ่งลากยาว หรือมีการกลายพันธ์ุอีก ยิ่งกระทบต่อเศรษฐกิจฐานราก ที่มีภาระหนี้ในระดับสูงมากอยู่แล้วให้มีความลำบากมากยิ่งขึ้น
แหล่งข่าวในวงสัมมนาระหว่าง “
เครดิตบูโรกับสมาชิก” เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2565 เปิดเผยว่า มีข้อมูลชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่า ภายใต้ผลกระทบจากโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อประชาชนต่อเนื่อง โดยรายได้แรงงานยังต่ำ โอทีไม่มี หรือมีโอทีน้อย บวกกับแรงงานที่อยู่ในภาวะเสมือนว่างงานยังสูง แม้จะลดจากระดับพีคในปี 2563 ผลกระทบเหล่านี้ ส่งผ่านไปสู่ “ภาระหนี้” ของธุรกิจ และประชาชนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับข้อมูลลูกหนี้จากฐานข้อมูลของเครดิตบูโรในกลุ่ม ลูกหนี้ที่เป็น “บุคคลธรรมดา” ภายใต้ “รหัสบัญชี” ที่สะท้อนประเภทหนี้ของแต่ละกลุ่ม หากเป็นรหัส 10 หรือ 010 ถือเป็นลูกหนี้ปกติ ไม่มีการค้างชำระ ขณะที่ รหัส 20 หรือ 020 เป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ซึ่งสถาบันการเงินจะถือว่า เป็นหนี้เสีย (NPL) และรหัสสถานะบัญชี 21 หรือ 021 คือเป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วันโดยระบุต่อไปว่าเป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่ปกติ ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตประกาศกำหนด
ซึ่งรหัส “21” หรือ 021 ถูกออกแบบมา เพื่อให้สถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ สามารถแยกบัญชีสินเชื่อที่ให้กับลูกหนี้ว่า บัญชีใดมีหนี้คงค้างเกินกว่า 90 วัน ซึ่งมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ หากย้อนไปดูในปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาด พบว่า ลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของบัญชีที่เป็นหนี้เสียนั้น ในปัจจุบัน ไม่มีการค้างชำระใดๆ ในทุกบัญชีที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเมื่อในปีอดีตถึง ปี2562 ดังนั้นสรุปได้ว่าลูกหนี้กลุ่มนี้ ได้รับผลกระทบโควิด-19 จนเป็นหนี้เสียในปัจจุบัน
2.3ล้านบัญชีหนี้เสียจากโควิดตามรหัส 21
โดยหากดูสถานะลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียทั้งหมด บนฐานข้อมูลของ “เครดิตบูโร” ณ สิ้นปี 2564 มีลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียสะสม ทั้งหมด 4.3 ล้านบัญชี ที่เป็นรหัส 20 ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ซึ่งเดือนม.ค. 2565 พบว่า เป็นลูกหนี้ รหัส 21 มีถึง 2.3 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นมูลค่าหนี้เสียที่ 2 แสนล้านบาท
สะท้อนว่าคนที่เคยจ่ายหนี้เป็นปกติทุกบัญชีกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ในปี 2562 (จ่ายดี 12 เดือน) วันนี้กลายเป็นหนี้เสีย เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถึง 2.3 ล้านบัญชี หรือ คิดเป็นหนี้เสีย 2 แสนล้านบาท เฉลี่ยเป็นหนี้เสียคงค้างต่อบัญชีที่ราว 8 หมื่นบาท
“คำถาม คือ คนกลุ่มนี้ไม่ได้ทำผิด 100% จนเป็นหนี้เสียแต่เป็นเพราะสถานการณ์โควิด-19 การทำตามมาตรการสาธารณสุข การหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้ได้รับผลกระทบ จนเป็นหนี้เสีย ดังนั้นมาตรการที่จะออกแบบมาช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ที่ชัดเจน คือ อะไร เพราะไม่ได้เป็นหนี้เสียจากธุรกิจล้มเหลว ก่อนเกิดการระบาด ดูได้จากการจ่ายหนี้ดีมาตลอดในปี 2562 ดังนั้น มาตรการที่ทำได้ คือ ต้องแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนหรือไม่ว่า ลูกหนี้กลุ่มไหนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ชัดเจน ที่ควรเข้าไปช่วยเหลือ มากกว่าลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียมาก่อนด้วยมาตรการที่ชัดเจน การจะทำอะไรแบบเดิมๆ เพื่อให้ได้ผลที่แตกต่างจากเดิม มันเป็นไปไม่ได้”
เจนวาย หนี้เสียพุ่ง 3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากดูหนี้เสียโดยรวมของ“รายย่อย” บนฐานข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า มียอดหนี้เสียสะสมที่ 9.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือคิดเป็นหนี้เสีย 7.5%
ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากเทียบกับ สิ้นปี 2563 ที่มียอดหนี้เสียสะสมเพียง 8.8 แสนล้านบาท ขณะที่การขอรับการเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ปัจจุบันสูงถึง 7.8 แสนล้านบาท
ขณะที่ หากดูยอดสินเชื่อสะสมของรายย่อย แต่ละกลุ่ม ณ สิ้นปี 2564 ที่ผ่านมา แบ่งเป็นกลุ่ม Gen Z มียอดหนี้สะสม 9.7 หมื่นล้านบาท Gen Y ยอดหนี้ 4.5 ล้านล้านบาท Gen X 3.8 ล้านล้านบาท Baby Boomer 1.1 ล้านบาท และกลุ่ม Silent 2.6 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้หากดูอัตราการเป็นหนี้เสียแต่ละกลุ่มจากยอดสินเชื่อรวมในข้างต้น พบว่า Gen Z เป็นหนี้เสียสะสม 5.2 พันล้านบาท Gen Y 3 แสนล้านบาท กลุ่ม Gen X 2.6 แสนล้านบาท กลุ่ม Baby boomer 7.1 หมื่นล้านบาท และ Silent 1.2 พันล้านบาท
ขณะเดียวกัน บนข้อมูลของเครดิตบูโรจากงานสัมนา ชี้ให้เห็นถึงอัตราการเป็นหนี้เสียของคนช่วงอายุ 31 ปี พบว่า กลุ่มนี้มีหนี้เสียอย่างน้อย 1 บัญชี และถือเป็นหนี้เสียราว 24.4 คน จาก 100 คน ที่มีหนี้อายุ 31ปี
เอสเอ็มอีนิติบุคคลหนี้เสียพุ่ง3.2แสนล.
เช่นเดียวกันกับ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย ในกลุ่มเอสเอ็มอีนิติบุคคล ภายใต้นิยามของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. คือเอสเอ็มอีรายย่อย (Micro) ที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และเอสเอ็มอีขนาดย่อมที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และเอสเอ็มอีขนาดกลางที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท พบว่า กลุ่มนี้มีสินเชื่อทั้งระบบอยู่ที่ 3.93 ล้านล้านบาท
โดยหากแยกเฉพาะเอสเอ็มอีนิติบุคคล ที่เป็นหนี้เสียสะสมแล้ว มีถึง 286,300 ราย/ธุรกิจ โดยคิดเป็นยอดหนี้เป็นหนี้เสียอยู่ที่ 3.2 แสนล้านบาท หรือเอ็นพีแอลที่ 7.9% ทั้งนี้พบว่ามีลูกหนี้กลุ่มนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาถึง 2.9 แสนล้านบาท
หากเจาะลึกไปดูเอสเอ็มอีนิติบุคคล ที่เป็นหนี้เสียทั้งหมด พบว่าหลักๆ มาจาก 5 อุตสาหกรรมมากที่สุด คือ ที่พักแรม บริการด้านอาหาร กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง การผลิต และการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์
ธุรกิจ 5 กลุ่มเสี่ยง ‘ไปไม่รอด’
โดย 5 อุตสาหกรรมนี้มียอดหนี้เสียคงค้างสะสมสูงถึง 2.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็น หนี้เสียที่มาจาก ธุรกิจขายส่งและขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานต์ สูงถึง 1.15 แสนล้านบาท ถัดมา คือ ภาคการผลิต 9.58 หมื่นล้านบาท กลุ่มก่อสร้าง 2.48 หมื่นล้านบาท กิจกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ 2.68 หมื่นล้านบาท ที่พักแรม และ บริการด้านอาหาร 1.42 หมื่นล้านบาท
เช่นเดียวกัน พบว่า 5 อุตสาหกรรมข้างต้น ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้สูงสุด รวม 2.5 แสนล้านบาท จากยอดปรับโครงสร้างหนี้ของ เอสเอ็มอีทั้งหมดที่ 2.9 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ หากดูอุตสาหกรรมที่ค้างชำระตั้งแต่ 1-90 วัน ภายใต้ นิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. สินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ SM มาจากภาคอุตสาหกรรมข้างต้นถึง 9 หมื่นล้านบาท จากยอด SM ทั้งหมดที่ 1.1แสนล้านบาท
โดยแบ่งเป็น การขายส่งและการขายปลีก ซ่อมรถยนต์และจักรยานยนต์ มีการปรับโครงสร้างหนี้สูงสุดถึง 3.1 หมื่นล้านบาท ถัดมา คือภาคการผลิต 2.1 หมื่นล้านบาท และกิจกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ มีการปรับโครงสร้างหนี้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท และที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 8.9 พันล้านบาท และก่อสร้าง 1.29 หมื่นล้านบาท
คำถามสำคัญ คือ อุตสหากรรมจะฟื้นตัวได้หรือไม่ จะฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหนภายใต้สถานการณ์น้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ยกตัวอย่าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หากเงินเฟ้อสูงขึ้น คนมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เงินจะเหลือพอผ่อนบ้านได้หรือไม่ และบ้าน คอนโด จะขายดีเหมือนเดิมได้หรือไม่ ยังไม่ต้องพูดถึงคนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวด้านรายได้
ดังนั้น มองว่ามาตรการที่ทำ จะวิ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องอย่าลืมว่า แก้หนี้เสียปกติ กับแก้หนี้ที่เป็นปัญหาจากโควิดนั้นต่างกัน ดังนั้น คำตอบที่ทุกฝ่ายรออยู่คือ ต้องให้ความช่วยเหลือกลุ่มนี้แบบไหน และมีความต่อเนื่องจนถึงเมื่อเวลาที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวเท่ากับปี 2562 ด้วยวิธีการที่ได้ผลโดยเร็วอย่างไรในความเป็นจริง
“วันนี้นิติบุคคล ภาคเอสเอ็มอี นายจ้างกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจโตช้า การจ้างงานน้อยลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบไปสู่ลูกจ้างและบุคคลธรรมดาแน่นอน ทำให้รายได้ และเงินเดือนลดลง คำถามคือ เมื่อรายได้ไม่ได้สูง หรืออาจลดลงบางกิจการ เขาเหล่านั้น จะมีกำลังในการชำระหนี้หรือไม่
เหล่านี้ คือ ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกัน ทำให้วันนี้เราเห็นผลกระทบลูกหนี้ ทั้งสองกลุ่ม ทั้งเอสเอ็มอีที่เป็นบุคคล และรายย่อยเป็นหนี้เสียจากโควิด-19 ค่อนข้างมาก เฉพาะที่เห็นชัดเจน คือ ภายใต้ลูกหนี้กลุ่ม 21 ที่เป็นหนี้เสียถึง 2 แสนล้านบาท จะออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มนี้อย่างไร หากให้โอกาส กลุ่มนี้ก็จะรอด ถ้าไม่รอดบางรายอาจคิดสั้นจบชีวิตตัวเองหนีหนี้ ซึ่งไม่มีใครอยากเห็น"
หนี้ครัวเรือนไตรมาส4พุ่งต่อ
สำหรับหนี้ครัวเรือนปัจจุบัน จากข้อมูลของ ธปท. พบว่า หนี้ครัวเรือนล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 89.6% หรือคิดเป็นหนี้ครัวเรือนรวมที่ 14.58ล้านล้านบาท จากไตรมาส 3ที่หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 89.8% หรือยอดหนี้สะสม 14.34 ล้านล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการช่วยเหลือผ่านมาตรการต่างๆ ของ ธปท. เช่น การแก้หนี้เดิม โดยให้ความช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ณ 31 ม.ค. 2565 ล่าสุดมีลูกหนี้ ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 4.83 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 3.19 ล้านล้านบาท
ด้านการให้สินเชื่อใหม่ โดยการให้ความช่วยเหลือผ่านสินเชื่อฟื้นฟู และโครงการ Soft loan ของ ธปท. ล่าสุด มีจำนวนผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 126,996 ราย คิดเป็นยอดหนี้ที่ได้รับการอนุมัติ 299,593 ล้านบาท
ขณะที่ โครงการพักทรัพย์พักหนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 309 ราย รวมเป็นเงิน 41,211 ล้านบาท ณ 21 มี.ค. 2565 โครงการสินเชื่อฟื้นฟู ช่วยเหลือไปแล้ว 49,209 ราย รวมเป็นเงินที่ช่วยเหลือแล้วทั้งหมด 161,393 ล้านบาท ขณะที่ คลินิกแก้หนี้ ปัจจุบัน มีการช่วยเหลือ 72,151 บัญชี ส่วน Soft loan ธปท.ที่ปิดรับคำขอไปแล้ว มียอดขอสินเชื่อทั้งสิ้น 77,787 ราย รวม 138,200 ล้านบาท
สำหรับการใช้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ปัจจุบันมีบัญชีได้รับการช่วยเหลือแล้ว ทั้งจากสถาบันการเงิน นอนแบงก์ รวมอยู่ที่ 1.69 ล้านบัญชี แบงก์รัฐ 3.14 ล้านบัญชี รวมมีบัญชีที่ได้รับการปรับโครงสร้างแล้ว 4.83 ล้านบัญชี
ขณะที่ หากคิดเป็นภาระหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว รวม 3.19 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินและนอนแบงก์ 1.99 ล้านล้านบาท และแบงก์รัฐ 1.20 ล้านล้านบาท
JJNY : ‘หนี้เน่า’2ปีทะลัก2.3ล.บัญชี│ร้องถูกนอกเครื่องแบบบุกห้องพัก│สุขุมเจาะสนามผู้ว่าฯกทม.│UNร้องตั้งกก.อิสระสอบรัสเซีย
https://www.bangkokbiznews.com/business/997298
เปิดข้อมูล “เครดิตบูโร” ชี้ “โควิด” ระบาด 2 ปี ดันเอ็นพีแอลพุ่ง พบรายย่อยเป็นหนี้ 2.3 ล้านบัญช่ี มูลค่า 2 แสนล้านบาท จากยอดหนี้เสียสะสม 4.3 ล้านบัญชี ขณะที่ “เอสเอ็มอี” ที่เป็นนิติบุคคล หนี้เสียท่วม 2.8 แสนธุรกิจ มูลค่า 3.2 แสนล้านบาท ประเมิน 5 กลุ่มธุรกิจ สุดเสี่ยงไม่รอด
วิกฤติจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธ์ุใหม่ “โอมิครอน” ยังไม่จบ และกำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเร็วๆ นี้ แต่ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจยังคงหนัก ขณะที่ไทยมีการฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เพราะมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก พิจารณาได้จากสัดส่วนรายได้ประชาชาติ ที่มาจากการท่องเที่ยวสูงถึง 20% หากโควิด-19 ยิ่งลากยาว หรือมีการกลายพันธ์ุอีก ยิ่งกระทบต่อเศรษฐกิจฐานราก ที่มีภาระหนี้ในระดับสูงมากอยู่แล้วให้มีความลำบากมากยิ่งขึ้น
แหล่งข่าวในวงสัมมนาระหว่าง “เครดิตบูโรกับสมาชิก” เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2565 เปิดเผยว่า มีข้อมูลชัดเจนที่ชี้ให้เห็นว่า ภายใต้ผลกระทบจากโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อประชาชนต่อเนื่อง โดยรายได้แรงงานยังต่ำ โอทีไม่มี หรือมีโอทีน้อย บวกกับแรงงานที่อยู่ในภาวะเสมือนว่างงานยังสูง แม้จะลดจากระดับพีคในปี 2563 ผลกระทบเหล่านี้ ส่งผ่านไปสู่ “ภาระหนี้” ของธุรกิจ และประชาชนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับข้อมูลลูกหนี้จากฐานข้อมูลของเครดิตบูโรในกลุ่ม ลูกหนี้ที่เป็น “บุคคลธรรมดา” ภายใต้ “รหัสบัญชี” ที่สะท้อนประเภทหนี้ของแต่ละกลุ่ม หากเป็นรหัส 10 หรือ 010 ถือเป็นลูกหนี้ปกติ ไม่มีการค้างชำระ ขณะที่ รหัส 20 หรือ 020 เป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ซึ่งสถาบันการเงินจะถือว่า เป็นหนี้เสีย (NPL) และรหัสสถานะบัญชี 21 หรือ 021 คือเป็นหนี้ค้างชำระเกิน 90 วันโดยระบุต่อไปว่าเป็นลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่ปกติ ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตประกาศกำหนด
ซึ่งรหัส “21” หรือ 021 ถูกออกแบบมา เพื่อให้สถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ สามารถแยกบัญชีสินเชื่อที่ให้กับลูกหนี้ว่า บัญชีใดมีหนี้คงค้างเกินกว่า 90 วัน ซึ่งมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ หากย้อนไปดูในปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาด พบว่า ลูกหนี้ที่เป็นเจ้าของบัญชีที่เป็นหนี้เสียนั้น ในปัจจุบัน ไม่มีการค้างชำระใดๆ ในทุกบัญชีที่มีอยู่กับสถาบันการเงินเมื่อในปีอดีตถึง ปี2562 ดังนั้นสรุปได้ว่าลูกหนี้กลุ่มนี้ ได้รับผลกระทบโควิด-19 จนเป็นหนี้เสียในปัจจุบัน
2.3ล้านบัญชีหนี้เสียจากโควิดตามรหัส 21
โดยหากดูสถานะลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียทั้งหมด บนฐานข้อมูลของ “เครดิตบูโร” ณ สิ้นปี 2564 มีลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียสะสม ทั้งหมด 4.3 ล้านบัญชี ที่เป็นรหัส 20 ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ซึ่งเดือนม.ค. 2565 พบว่า เป็นลูกหนี้ รหัส 21 มีถึง 2.3 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นมูลค่าหนี้เสียที่ 2 แสนล้านบาท
สะท้อนว่าคนที่เคยจ่ายหนี้เป็นปกติทุกบัญชีกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ในปี 2562 (จ่ายดี 12 เดือน) วันนี้กลายเป็นหนี้เสีย เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถึง 2.3 ล้านบัญชี หรือ คิดเป็นหนี้เสีย 2 แสนล้านบาท เฉลี่ยเป็นหนี้เสียคงค้างต่อบัญชีที่ราว 8 หมื่นบาท
“คำถาม คือ คนกลุ่มนี้ไม่ได้ทำผิด 100% จนเป็นหนี้เสียแต่เป็นเพราะสถานการณ์โควิด-19 การทำตามมาตรการสาธารณสุข การหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้ได้รับผลกระทบ จนเป็นหนี้เสีย ดังนั้นมาตรการที่จะออกแบบมาช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ที่ชัดเจน คือ อะไร เพราะไม่ได้เป็นหนี้เสียจากธุรกิจล้มเหลว ก่อนเกิดการระบาด ดูได้จากการจ่ายหนี้ดีมาตลอดในปี 2562 ดังนั้น มาตรการที่ทำได้ คือ ต้องแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนหรือไม่ว่า ลูกหนี้กลุ่มไหนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ชัดเจน ที่ควรเข้าไปช่วยเหลือ มากกว่าลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียมาก่อนด้วยมาตรการที่ชัดเจน การจะทำอะไรแบบเดิมๆ เพื่อให้ได้ผลที่แตกต่างจากเดิม มันเป็นไปไม่ได้”
เจนวาย หนี้เสียพุ่ง 3 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากดูหนี้เสียโดยรวมของ“รายย่อย” บนฐานข้อมูลเครดิตบูโร พบว่า มียอดหนี้เสียสะสมที่ 9.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือคิดเป็นหนี้เสีย 7.5%
ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หากเทียบกับ สิ้นปี 2563 ที่มียอดหนี้เสียสะสมเพียง 8.8 แสนล้านบาท ขณะที่การขอรับการเข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ปัจจุบันสูงถึง 7.8 แสนล้านบาท
ขณะที่ หากดูยอดสินเชื่อสะสมของรายย่อย แต่ละกลุ่ม ณ สิ้นปี 2564 ที่ผ่านมา แบ่งเป็นกลุ่ม Gen Z มียอดหนี้สะสม 9.7 หมื่นล้านบาท Gen Y ยอดหนี้ 4.5 ล้านล้านบาท Gen X 3.8 ล้านล้านบาท Baby Boomer 1.1 ล้านบาท และกลุ่ม Silent 2.6 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้หากดูอัตราการเป็นหนี้เสียแต่ละกลุ่มจากยอดสินเชื่อรวมในข้างต้น พบว่า Gen Z เป็นหนี้เสียสะสม 5.2 พันล้านบาท Gen Y 3 แสนล้านบาท กลุ่ม Gen X 2.6 แสนล้านบาท กลุ่ม Baby boomer 7.1 หมื่นล้านบาท และ Silent 1.2 พันล้านบาท
ขณะเดียวกัน บนข้อมูลของเครดิตบูโรจากงานสัมนา ชี้ให้เห็นถึงอัตราการเป็นหนี้เสียของคนช่วงอายุ 31 ปี พบว่า กลุ่มนี้มีหนี้เสียอย่างน้อย 1 บัญชี และถือเป็นหนี้เสียราว 24.4 คน จาก 100 คน ที่มีหนี้อายุ 31ปี
เอสเอ็มอีนิติบุคคลหนี้เสียพุ่ง3.2แสนล.
เช่นเดียวกันกับ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย ในกลุ่มเอสเอ็มอีนิติบุคคล ภายใต้นิยามของ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. คือเอสเอ็มอีรายย่อย (Micro) ที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และเอสเอ็มอีขนาดย่อมที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี และเอสเอ็มอีขนาดกลางที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท พบว่า กลุ่มนี้มีสินเชื่อทั้งระบบอยู่ที่ 3.93 ล้านล้านบาท
โดยหากแยกเฉพาะเอสเอ็มอีนิติบุคคล ที่เป็นหนี้เสียสะสมแล้ว มีถึง 286,300 ราย/ธุรกิจ โดยคิดเป็นยอดหนี้เป็นหนี้เสียอยู่ที่ 3.2 แสนล้านบาท หรือเอ็นพีแอลที่ 7.9% ทั้งนี้พบว่ามีลูกหนี้กลุ่มนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมาถึง 2.9 แสนล้านบาท
หากเจาะลึกไปดูเอสเอ็มอีนิติบุคคล ที่เป็นหนี้เสียทั้งหมด พบว่าหลักๆ มาจาก 5 อุตสาหกรรมมากที่สุด คือ ที่พักแรม บริการด้านอาหาร กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง การผลิต และการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์
ธุรกิจ 5 กลุ่มเสี่ยง ‘ไปไม่รอด’
โดย 5 อุตสาหกรรมนี้มียอดหนี้เสียคงค้างสะสมสูงถึง 2.7 แสนล้านบาท แบ่งเป็น หนี้เสียที่มาจาก ธุรกิจขายส่งและขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานต์ สูงถึง 1.15 แสนล้านบาท ถัดมา คือ ภาคการผลิต 9.58 หมื่นล้านบาท กลุ่มก่อสร้าง 2.48 หมื่นล้านบาท กิจกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ 2.68 หมื่นล้านบาท ที่พักแรม และ บริการด้านอาหาร 1.42 หมื่นล้านบาท
เช่นเดียวกัน พบว่า 5 อุตสาหกรรมข้างต้น ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้สูงสุด รวม 2.5 แสนล้านบาท จากยอดปรับโครงสร้างหนี้ของ เอสเอ็มอีทั้งหมดที่ 2.9 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ หากดูอุตสาหกรรมที่ค้างชำระตั้งแต่ 1-90 วัน ภายใต้ นิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. สินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ SM มาจากภาคอุตสาหกรรมข้างต้นถึง 9 หมื่นล้านบาท จากยอด SM ทั้งหมดที่ 1.1แสนล้านบาท
โดยแบ่งเป็น การขายส่งและการขายปลีก ซ่อมรถยนต์และจักรยานยนต์ มีการปรับโครงสร้างหนี้สูงสุดถึง 3.1 หมื่นล้านบาท ถัดมา คือภาคการผลิต 2.1 หมื่นล้านบาท และกิจกรรมที่เกี่ยวกับอสังหาฯ มีการปรับโครงสร้างหนี้อยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท และที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 8.9 พันล้านบาท และก่อสร้าง 1.29 หมื่นล้านบาท
คำถามสำคัญ คือ อุตสหากรรมจะฟื้นตัวได้หรือไม่ จะฟื้นตัวได้เร็วแค่ไหนภายใต้สถานการณ์น้ำมันแพง เงินเฟ้อสูง ยกตัวอย่าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หากเงินเฟ้อสูงขึ้น คนมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เงินจะเหลือพอผ่อนบ้านได้หรือไม่ และบ้าน คอนโด จะขายดีเหมือนเดิมได้หรือไม่ ยังไม่ต้องพูดถึงคนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวด้านรายได้
ดังนั้น มองว่ามาตรการที่ทำ จะวิ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องอย่าลืมว่า แก้หนี้เสียปกติ กับแก้หนี้ที่เป็นปัญหาจากโควิดนั้นต่างกัน ดังนั้น คำตอบที่ทุกฝ่ายรออยู่คือ ต้องให้ความช่วยเหลือกลุ่มนี้แบบไหน และมีความต่อเนื่องจนถึงเมื่อเวลาที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวเท่ากับปี 2562 ด้วยวิธีการที่ได้ผลโดยเร็วอย่างไรในความเป็นจริง
“วันนี้นิติบุคคล ภาคเอสเอ็มอี นายจ้างกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจโตช้า การจ้างงานน้อยลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบไปสู่ลูกจ้างและบุคคลธรรมดาแน่นอน ทำให้รายได้ และเงินเดือนลดลง คำถามคือ เมื่อรายได้ไม่ได้สูง หรืออาจลดลงบางกิจการ เขาเหล่านั้น จะมีกำลังในการชำระหนี้หรือไม่
เหล่านี้ คือ ความเสี่ยงที่เชื่อมโยงกัน ทำให้วันนี้เราเห็นผลกระทบลูกหนี้ ทั้งสองกลุ่ม ทั้งเอสเอ็มอีที่เป็นบุคคล และรายย่อยเป็นหนี้เสียจากโควิด-19 ค่อนข้างมาก เฉพาะที่เห็นชัดเจน คือ ภายใต้ลูกหนี้กลุ่ม 21 ที่เป็นหนี้เสียถึง 2 แสนล้านบาท จะออกมาตรการช่วยเหลือกลุ่มนี้อย่างไร หากให้โอกาส กลุ่มนี้ก็จะรอด ถ้าไม่รอดบางรายอาจคิดสั้นจบชีวิตตัวเองหนีหนี้ ซึ่งไม่มีใครอยากเห็น"
หนี้ครัวเรือนไตรมาส4พุ่งต่อ
สำหรับหนี้ครัวเรือนปัจจุบัน จากข้อมูลของ ธปท. พบว่า หนี้ครัวเรือนล่าสุด ณ สิ้นไตรมาส 4 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 89.6% หรือคิดเป็นหนี้ครัวเรือนรวมที่ 14.58ล้านล้านบาท จากไตรมาส 3ที่หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 89.8% หรือยอดหนี้สะสม 14.34 ล้านล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการช่วยเหลือผ่านมาตรการต่างๆ ของ ธปท. เช่น การแก้หนี้เดิม โดยให้ความช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ณ 31 ม.ค. 2565 ล่าสุดมีลูกหนี้ ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 4.83 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 3.19 ล้านล้านบาท
ด้านการให้สินเชื่อใหม่ โดยการให้ความช่วยเหลือผ่านสินเชื่อฟื้นฟู และโครงการ Soft loan ของ ธปท. ล่าสุด มีจำนวนผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้ว 126,996 ราย คิดเป็นยอดหนี้ที่ได้รับการอนุมัติ 299,593 ล้านบาท
ขณะที่ โครงการพักทรัพย์พักหนี้ ปัจจุบันมีธุรกิจที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 309 ราย รวมเป็นเงิน 41,211 ล้านบาท ณ 21 มี.ค. 2565 โครงการสินเชื่อฟื้นฟู ช่วยเหลือไปแล้ว 49,209 ราย รวมเป็นเงินที่ช่วยเหลือแล้วทั้งหมด 161,393 ล้านบาท ขณะที่ คลินิกแก้หนี้ ปัจจุบัน มีการช่วยเหลือ 72,151 บัญชี ส่วน Soft loan ธปท.ที่ปิดรับคำขอไปแล้ว มียอดขอสินเชื่อทั้งสิ้น 77,787 ราย รวม 138,200 ล้านบาท
สำหรับการใช้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ปัจจุบันมีบัญชีได้รับการช่วยเหลือแล้ว ทั้งจากสถาบันการเงิน นอนแบงก์ รวมอยู่ที่ 1.69 ล้านบัญชี แบงก์รัฐ 3.14 ล้านบัญชี รวมมีบัญชีที่ได้รับการปรับโครงสร้างแล้ว 4.83 ล้านบัญชี
ขณะที่ หากคิดเป็นภาระหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว รวม 3.19 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินและนอนแบงก์ 1.99 ล้านล้านบาท และแบงก์รัฐ 1.20 ล้านล้านบาท