โควิดวันนี้ นิวไฮ 27,560 ราย เสียชีวิต 85 ราย ป่วยสะสมระลอกปีใหม่ 1,404,912 ราย
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3262716
โควิดวันนี้ นิวไฮ 27,560 ราย เสียชีวิต 85 ราย ป่วยสะสมระลอกปีใหม่ 1,404,912 ราย
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 27,560 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 27,499 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 61 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,404,912 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 25,077 ราย หายป่วยสะสม 1,187,953 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 246,770 ราย เสียชีวิต 85 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,808 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 23 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 29.5
ขณะที่ ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากผลแอนติเจน เทสต์ คิท (เอทีเค) อีก 16,079 ราย อาการหนักใช้ท่อช่วยหายใจ 713 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,808 ราย โดยจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี นครศรีธรรมราช สมุทรสาคร สมุทรปราการ สงขลา ขอนแก่น ราชบุรี ฉะเชิงเทรา นนทบุรี และนนทุบรี
กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% หั่นคาดการณ์จีดีพีปี 65 เหลือ 3.2%
https://www.prachachat.net/finance/news-898749
กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์คงดอกเบี้ย 0.50% ประเมินเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่องคาดปี’65 ขยายตัว 3.2% จาก 3.4% เงินเฟ้อคาดเร่งตัวสูงในไตรมาสที่ 2 แตะ 5% คาดกรอบเงินทั่วไปทั้งปีอยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ในปี’66
วันที่ 30 มีนาคม 2565 นาย
ปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 และ 2566 จะขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการปรับขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2565 จะปรับสูงขึ้นเกินกรอบเป้าหมาย ก่อนจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (cost-push inflation) เป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2565 และ 2566 ที่ร้อยละ 3.2 และ 4.4 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า
ทั้งนี้ แม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.9 และ 1.7 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 5 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปี 2565 จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ก่อนที่จะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 ส่วนหนึ่งจากราคาพลังงานที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีโอกาสสูงกว่าที่ประเมินไว้ และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจมากกว่าคาด คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทาน (cost-push inflation) ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำจากรายได้ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังสอดคล้องกับเป้าหมายนโยบายการเงิน
ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย โดยสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง แต่การกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันบ้างในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ ปรับอ่อนค่าลงจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด
รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด โดยเน้นการสร้างรายได้และการบรรเทาภาระค่าครองชีพในกลุ่มเปราะบาง ขณะที่นโยบายการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อช่วยกระจายสภาพคล่องและช่วยลดภาระหนี้โดยเฉพาะในกลุ่มที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
อาทิ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนให้เห็นผลในวงกว้างและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว
ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจขยายวงกว้างและสร้างความไม่แน่นอนในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมหากจำเป็น
EU เตรียมคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ หลังเจรจาล้มเหลว ดันราคาน้ำมันโลกพุ่งทันที 3%
https://ch3plus.com/news/economy/morning/284929
วานนี้ (30 มี.ค. 65) มีการประกาศลดราคาน้ำมันเบนซิน 60 สตางค์/ลิตร โดยราคาน้ำมันเช้านี้ ตั้งแต่ 05.00 น. ที่ผ่านมา มีดังนี้
ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน ลดลง 0.60 บาท ทำให้ราคาน้ำมัน มีดังนี้
• เบนซิน : 46.86 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 95 : 39.45 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 : 39.18 บาท/ลิตร
• E 20 : 38.34 บาท/ลิตร
• E 85 : 3.64 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมันกลุ่มดีเซล ไม่เพิ่มราคา เพราะมีการตรึงราคาไว้ ไม่ให้เกิน 30.00 บาท/ลิตร
• ดีเซลพรีเมียม : 35.96 บาท/ลิตร
• ดีเซล B 7 : 29.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล : 29.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล B 20 : 29.94 บาท/ลิตร
ด้านราคาน้ำมันโลกพุ่งขึ้นทันที 3% หลังจากที่ 2 วันที่ผ่านมาราคาน้ำมันลดลงเพราะการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียเหมือนจะมีความคืบหน้า แต่สาเหตุที่ตอนนี้ราคาปรับขึ้นอีก สาเหตุมาจาก โฆษกรัฐบาลรัสเซียออกมาบอกว่า ที่คุยกันนั้นยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ นอกจากนี้ EU เตรียมจะคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ ซึ่ง EU ไม่ยอมจ่ายราคาน้ำมันเป็นสกุลรูเบิล ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
• ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 3.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 107.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
• ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 3.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 113.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
• น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ ลดลง 0.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 141.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
ด้านราคาทองคำ โกลด์ฟิวเจอร์ ปรับขึ้น 1% ปิดที่ 1,937.80 ดอลลาร์/ออนซ์
JJNY : นิวไฮ 27,560 เสียชีวิต 85│กนง.หั่นคาดการณ์จีดีพีเหลือ3.2%│EUเตรียมคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่│พท.มั่นใจส.ก.พรรคสอบผ่าน
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3262716
โควิดวันนี้ นิวไฮ 27,560 ราย เสียชีวิต 85 ราย ป่วยสะสมระลอกปีใหม่ 1,404,912 ราย
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวม 27,560 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 27,499 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 61 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,404,912 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 25,077 ราย หายป่วยสะสม 1,187,953 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 246,770 ราย เสียชีวิต 85 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,808 ราย เฉลี่ยจังหวัดละ 23 ราย อัตราครองเตียง ร้อยละ 29.5
ขณะที่ ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากผลแอนติเจน เทสต์ คิท (เอทีเค) อีก 16,079 ราย อาการหนักใช้ท่อช่วยหายใจ 713 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,808 ราย โดยจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี นครศรีธรรมราช สมุทรสาคร สมุทรปราการ สงขลา ขอนแก่น ราชบุรี ฉะเชิงเทรา นนทบุรี และนนทุบรี
กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% หั่นคาดการณ์จีดีพีปี 65 เหลือ 3.2%
https://www.prachachat.net/finance/news-898749
กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์คงดอกเบี้ย 0.50% ประเมินเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่องคาดปี’65 ขยายตัว 3.2% จาก 3.4% เงินเฟ้อคาดเร่งตัวสูงในไตรมาสที่ 2 แตะ 5% คาดกรอบเงินทั่วไปทั้งปีอยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ในปี’66
วันที่ 30 มีนาคม 2565 นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ว่า คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 และ 2566 จะขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านการปรับขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ และอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอลง
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2565 จะปรับสูงขึ้นเกินกรอบเป้าหมาย ก่อนจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 จากราคาพลังงานและอาหารที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน (cost-push inflation) เป็นหลัก ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวในปี 2565 และ 2566 ที่ร้อยละ 3.2 และ 4.4 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว โดยผลของการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่มากเท่าระลอกก่อนหน้า
ทั้งนี้ แม้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียส่งผลให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่จะไม่กระทบแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในบางอุตสาหกรรมที่อาจยืดเยื้อ และผลกระทบจากค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในกลุ่มเปราะบาง คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.9 และ 1.7 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 5 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปี 2565 จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ก่อนที่จะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 ส่วนหนึ่งจากราคาพลังงานที่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่มีโอกาสสูงกว่าที่ประเมินไว้ และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจมากกว่าคาด คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทาน (cost-push inflation) ในขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ (demand-pull inflation) ยังอยู่ในระดับต่ำจากรายได้ที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังสอดคล้องกับเป้าหมายนโยบายการเงิน
ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย โดยสภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง แต่การกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันบ้างในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ ปรับอ่อนค่าลงจากความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด
รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด โดยเน้นการสร้างรายได้และการบรรเทาภาระค่าครองชีพในกลุ่มเปราะบาง ขณะที่นโยบายการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายต่อเนื่อง รวมทั้งมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อช่วยกระจายสภาพคล่องและช่วยลดภาระหนี้โดยเฉพาะในกลุ่มที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่
อาทิ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนให้เห็นผลในวงกว้างและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว
ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น และปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจขยายวงกว้างและสร้างความไม่แน่นอนในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมหากจำเป็น
EU เตรียมคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ หลังเจรจาล้มเหลว ดันราคาน้ำมันโลกพุ่งทันที 3%
https://ch3plus.com/news/economy/morning/284929
วานนี้ (30 มี.ค. 65) มีการประกาศลดราคาน้ำมันเบนซิน 60 สตางค์/ลิตร โดยราคาน้ำมันเช้านี้ ตั้งแต่ 05.00 น. ที่ผ่านมา มีดังนี้
ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน ลดลง 0.60 บาท ทำให้ราคาน้ำมัน มีดังนี้
• เบนซิน : 46.86 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 95 : 39.45 บาท/ลิตร
• แก๊สโซฮอล์ 91 : 39.18 บาท/ลิตร
• E 20 : 38.34 บาท/ลิตร
• E 85 : 3.64 บาท/ลิตร
ราคาน้ำมันกลุ่มดีเซล ไม่เพิ่มราคา เพราะมีการตรึงราคาไว้ ไม่ให้เกิน 30.00 บาท/ลิตร
• ดีเซลพรีเมียม : 35.96 บาท/ลิตร
• ดีเซล B 7 : 29.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล : 29.94 บาท/ลิตร
• ดีเซล B 20 : 29.94 บาท/ลิตร
ด้านราคาน้ำมันโลกพุ่งขึ้นทันที 3% หลังจากที่ 2 วันที่ผ่านมาราคาน้ำมันลดลงเพราะการเจรจาระหว่างยูเครนและรัสเซียเหมือนจะมีความคืบหน้า แต่สาเหตุที่ตอนนี้ราคาปรับขึ้นอีก สาเหตุมาจาก โฆษกรัฐบาลรัสเซียออกมาบอกว่า ที่คุยกันนั้นยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ นอกจากนี้ EU เตรียมจะคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ ซึ่ง EU ไม่ยอมจ่ายราคาน้ำมันเป็นสกุลรูเบิล ส่งผลให้ราคาน้ำมันโลก มีดังนี้
• ตลาดไนเม็กซ์ นิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 3.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 107.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
• ตลาดเบรนท์ ลอนดอน เพิ่มขึ้น 3.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 113.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
• น้ำมันกลั่นสำเร็จรูป สิงคโปร์ ลดลง 0.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ปิดที่ 141.83 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล
ด้านราคาทองคำ โกลด์ฟิวเจอร์ ปรับขึ้น 1% ปิดที่ 1,937.80 ดอลลาร์/ออนซ์