เหตุที่ไปลงความเห็นว่า " นิพพาน-อสังขต...ก็เป็นอนัตตา " <---- ซึ่งมันผิดธรรม...

กระทู้สนทนา
1. การแปลในพระสูตรไทย... มีการเติมคำว่า " ธรรม "...เกินมาจากบาลี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้
   ไปเข้าใจผิดว่า..  สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมทั้งหลายทั้งปวง..เป็นอัตตา) แล้วไปเหมารวมว่า
   " นิพพาน-อสังขต...ก็เป็นอนัตตา " ....ไปด้วย   
   ที่ผมพูดนี่..ก็ไม่ได้หมายว่า..นิพพาน-อสังขต..เป็นอัตตา..หรอกนะ

2. การที่ไม่เข้าใจคำว่า " ธรรม "...คืออะไร  ก็ทำให้เข้าใจผิด... โดยหลายๆคนถูกสอนให้
ไปเข้าใจว่าทุกๆสิ่งทุกอย่างคือธรรม..อันนี้ผิดนะ   
คำว่าธรรมในหลักคำสอนของพุทธศาสนา...คือ " คำสอนของพระศาสดา " <---นี่คำความหมายที่แท้จริง..

ถ้าความหมายตามนี้...
" คำสอนเรื่อง..สังขตะ....อสังขตะและนิพพาน..ล้วนเป็นอนัตตา "  <---อันนี้จึงจะถูกต้อง..
 (...........  สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา .........)

3. การที่ไม่ใคร่ครวญธรรม(ธรรม=คำสอนของพระศาสดา)...เอาแต่ฟังอาจารย์ - ท่องจำ
ไม่พิจารณาในคำสอนของพระศาสดา... เมื่อเห็นในวินัยปิฏกเล่มที่8 มีข้อความว่า 
" พระนิพพานและบัญญัติ ท่านวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา "<---ก็ว่าไปตามคัมภีร์...ผิดหลักกาลามสูตรที่ว่า 
" มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์

ผิดหลักมหาปเทส4...

สรุปว่า    ธรรม = คำสอนของพระศาสดา


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
 
สังขตสูตร
[๔๘๖]   ตีณีมานิ  ภิกฺขเว  สงฺขตสฺส  สงฺขตลกฺขณานิ  กตมานิ
ตีณิ    อุปฺปาโท    ปญฺญายติ    วโย    ปญฺญายติ   ฐิตสฺส   อญฺญถตฺตํ
ปญฺญายติ อิมานิ โข ภิกฺขเว ตีณิ สงฺขตสฺส สงฺขตลกฺขณานีติ ฯ
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม <------------------อันนี้ใส่คำว่า " ธรรม "...เกินมา
           ๓ ประการ
๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ<--------อันนี้ใส่คำว่า " ธรรม "...เกินมา

อสังขตสูตร
    [๔๘๗]   ตีณีมานิ   ภิกฺขเว   อสงฺขตสฺส   อสงฺขตลกฺขณานิ
กตมานิ   ตีณิ   น  อุปฺปาโท  ปญฺญายติ  น  วโย  ปญฺญายติ  น  ฐิตสฺส
อญฺญถตฺตํ    ปญฺญายติ    อิมานิ    โข    ภิกฺขเว    ตีณิ   อสงฺขตสฺส  อสงฺขตลกฺขณานีติ ฯ
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม  <------------------อันนี้ใส่คำว่า " ธรรม "...เกินมา
             ๓ ประการนี้
๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความ
เสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ <--------อันนี้ใส่คำว่า " ธรรม "...เกินมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่