ถึงคิว ”สบู่ก้อน” ขึ้นราคาพรวดเดียวอีก 5 บาท “อสังหาภูธร” ผวาต้นทุนแพงหวั่นสร้างไม่เสร็จ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3237402
ถึงคิว ”สบู่ก้อน” ขึ้นราคาพรวดเดียวอีก 5 บาท “อสังหาภูธร” ผวาต้นทุนแพงหวั่นสร้างไม่เสร็จ
นาย
สมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ยังได้รับการแจ้งจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในการปรับราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้รับแจ้งจากผู้ผลิตก้อนยี่ห้อหนึ่งขอปรับราคาขาย 5 บาทต่อก้อน เป็นผลมาจากต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น อาทิ น้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สำคัญ ปัจจุบันสต๊อกน้ำมันปาล์มตึงตัว ทำให้น้ำมันปาล์มขวดในร้านค้าปลีกบางแห่งไม่มีจำหน่าย
ขณะเดียวกันได้มีสินค้าประเภทน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่งแบบบรรจุขวดและกระป๋อง ใช้การลดน้ำหนักหรือปริมาณตัวสินค้าลดลง โดยยังคงราคาขายเท่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการทำให้สินค้าขึ้นราคาทางอ้อม ทั้งนี้จากก่อนหน้านี้ที่ได้รับแจ้งของการขึ้นราคาแล้ว เช่น นมสดและนมข้นหวานกระป๋องยี่ห้อหนึ่งที่แจ้งปรับราคา 2 บาทต่อกระป๋อง เครื่องดื่มเกลือแร่เจ้าดัง จะปรับราคาขาย 2 บาทต่อขวด จากเดิม 10 บาท เป็น 12 บาทในเดือนเมษายนนี้ เป็นต้น
บินไทยคิดราคาตั๋วตามต้นทุน
นาย
ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ในฐานะคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุน เป็นสิ่งไม่สามารถควบคุมได้ ต้องปรับธุรกิจให้บินอย่างประหยัด และมีการกำหนดราคาให้เหมาะสมสะท้อนต้นทุน ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอยู่แล้วทั้งบุคลากร นำทรัพย์สินไม่เกิดประโยชน์ไปขาย เปิดเส้นทางใหม่ที่มีโอกาสมากขึ้น เช่น ประเทศอินเดีย ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
“ตอนนี้ยังบินทุกเส้นทาง และเปิดเส้นทางใหม่เพิ่ม เพราะเดิมเราบินแค่ 10-20% ปัจจุบันผู้โดยสารเริ่มมากขึ้น หลังยุโรปเปิดประเทศ ซึ่งเราไม่มีการตรึ่งราคาตั๋วโดยสาร ปรับราคาขึ้นลงตามการแข่งขันของตลาด” นายชาญศิลป์กล่าว
อสังหาภูธรผวาวัสดุพุ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(REIC) จัดสัมมนาสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคเหนือและภาคกลาง โดยเชิญนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ 3 จังหวัดร่วมเสวนาด้วย โดยมีตอนหนึ่งที่มีพูดถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสุงขึ้น โดยนายสรนันท์ เศรษฐี นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจัยส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือต้นทุนการพัฒนาจากราคาที่ดินที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นหลังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กราคาเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ยาก
นาย
มงคล เหลี่ยมวัฒนกุล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จ.พิษณุโลก กล่าวว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบถึงไทย ทำให้ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจากราคาน้ำมันที่ผันผวนหนัก แม้ว่าผู้ประกอบการจะเซ็นสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาโครงการแล้วก็อย่าเพิ่งโล่งใจ ถ้าวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาสูงขนาดนี้ อาจจะทำให้โครงการก่อสร้างไม่เสร็จได้ เพราะผู้รับเหมาอาจจะแบกรับต้นทุนไม่ไหว และกระทบไปถึงการปล่อยสินเชื่อแบงก์ ท้ายที่สุดโครงการจะสร้างไม่เสร็จตามเป้า สำหรับสถานการณ์ตลาดอสังหาฯจ.พิษณุโลกลูกค้าเริ่มรับรู้แล้วว่าราคาบ้านกำลังจะปรับขึ้นตามต้นทุนใหม่ ส่วนบ้านสต๊อกราคาเดิม ยังสามารถดันยอดขายได้ดี
คนไทยอ่วม! พิษสงคราม กกพ.ขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาท/หน่วย งวด พ.ค.- ส.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/economy/news_3237456
คนไทยอ่วม! พิษสงคราม กกพ.ขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาท/หน่วย งวด พ.ค.- ส.ค.นี้
นาย
คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ที่ประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 มีมติปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย
ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อค่าเอฟทีมาจากผลกระทบสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตราคาพลังงานโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ กกพ. ต้องปรับสมมุติฐานการประมาณการ ค่าเอฟทีใหม่ให้สะท้อนราคาเชื้อเพลิงในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานการณ์ที่ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ในอ่าวไทยลดลงในช่วงปลายสัมปทาน
โดยประมาณการค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นส่งผลให้ประมาณการค่าเอฟที ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2565 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 129.91 สตางค์ต่อหน่วย และหากพิจารณาภายใต้หลักการการปรับขึ้นแบบขั้นบันได อาจทำให้ต้องขึ้นค่าเอฟที งวดละ 47.3 สตางค์ต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการการบริหารจัดการต้นทุนเชื้อเพลิงให้ต่ำที่สุด ได้แก่ การรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป. ลาว โครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทินก่อนวันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมจากกลุ่มโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้า การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพื่อทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าอยู่ในราคาที่เหมาะสมและมาตรการการบริหารการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ร่วมกับมาตรการการนำ “Energy Pool Price” มาใช้ เพื่อเฉลี่ยต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เกิดความเป็นธรรมสามารถทำให้ค่าเอฟทีลดลง เป็นผลให้ปรับขึ้นค่าเอฟที ในงวดนี้เพียง 23.38 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ ตามแนวทางจากภาคนโยบาย กฟผ. จะแบกรับค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงในงวดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดไว้ก่อน และจะทยอยเรียกคืนค่าเอฟทีเมื่อราคาเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง
สำหรับปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟทีในรอบเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 ตามข้อเสนอของ กฟผ. ประกอบด้วย
1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 เท่ากับประมาณ 68,731 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน ม.ค. – เม.ย. 2565) ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 65,325 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21
2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.11 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวมร้อยละ 19.46 และ ลิกไนต์ของ กฟผ. ร้อยละ 8.32 เชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน ร้อยละ 8.08 พลังน้ำของ กฟผ. ร้อยละ 2.58 น้ำมันเตา (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.01% น้ำมันดีเซล (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.19% และอื่นๆ อีก ร้อยละ 6.25
3. ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการในเดือน ม.ค.– เม.ย. 2565 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นมากจากประมาณในรอบเดือน ม.ค.–เม.ย. 2565 โดยที่เชื้อเพลิงอื่นๆ มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยและคงที่
4. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (1 – 31 มกราคม 2565) เท่ากับ 33.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าเล็กน้อยจากประมาณการในงวดเดือนมกราคม – เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นาย
คมกฤช กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตราคาพลังงานขาขึ้น สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวน พี่น้องประชาชนผู้ใช้ไฟ ร่วมกันประหยัดการใช้พลังงาน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า 4 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ , ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน , ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา และ เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะสามารถช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพง ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าครองชีพสำหรับตัวท่านเอง และยังจะเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันลดภาระโดยรวมให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย
ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 17 – 27 มีนาคม 2565 ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
อาเซียนอ่วม! โควิดทำ 4.7 ล้านคนยากจน การจ้างงานหายกว่า 9 ล้านตำแหน่ง
https://ch3plus.com/news/international/frontpagenews/283144
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) เผยแพร่รายงานเรื่อง
“การฟื้นตัวจากโรคระบาดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในที่ประชุมเชิงสัมนาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEADS) เมื่อวานนี้ ระบุว่า
ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 4.7 ล้านคน ตกอยู่ในความยากจนสุดขีดในปี 2564 ขณะที่การจ้างงานในปีดังกล่าวได้หายไปมากถึง 9.3 ล้านอัตรา เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้าการระบาด
เอดีบีระบุว่า การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอน ยังอาจส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ในปี 2565 ปรับลดลง 0.8% ขณะที่คาดว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในปีนี้ จะยังคงมีต่ำกว่าสถานการณ์ปกติที่ไม่มีโควิดมากกว่า 10%
โดยในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มแรงงานที่ไร้ทักษะ และแรงงานในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบบ ตลอดจนธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีตัวตนในโลกดิจิทัล
นาย
มาซาสึกุ อาซากาวา ประธานเอดีบี กล่าวว่า โรคระบาดใหญ่ได้นำไปสู่การว่างงานในวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่แย่ลง และ ความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิง แรงงานอายุน้อยและกลุ่มผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอดีบียังเรียกร้องให้รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดสรรทรัพยากรเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนระบบสาธารณสุข ปรับปรุงการเฝ้าระวังโรคและตอบสนองต่อโรคระบาดใหญ่ในอนาคต นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ประเทศต่างๆ ทำการปฏิรูป
โครงสร้างเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการผลิต ที่รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้า การสนับสนุนภาคธุรกิจรายย่อยในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และฝึกอบรมทักษะความชำนาญให้กับแรงงาน เป็นต้น
JJNY : ”สบู่ก้อน”ขึ้น5บ. “อสังหาภูธร”ผวาต้นทุนแพง│ขึ้นค่าไฟงวดพ.ค.- ส.ค.│อาเซียน โควิดทำ4.7ล.คนยากจน│พท.จี้เร่งแก้ ศก.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3237402
ถึงคิว ”สบู่ก้อน” ขึ้นราคาพรวดเดียวอีก 5 บาท “อสังหาภูธร” ผวาต้นทุนแพงหวั่นสร้างไม่เสร็จ
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ยังได้รับการแจ้งจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในการปรับราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้รับแจ้งจากผู้ผลิตก้อนยี่ห้อหนึ่งขอปรับราคาขาย 5 บาทต่อก้อน เป็นผลมาจากต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น อาทิ น้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นส่วนผสมที่สำคัญ ปัจจุบันสต๊อกน้ำมันปาล์มตึงตัว ทำให้น้ำมันปาล์มขวดในร้านค้าปลีกบางแห่งไม่มีจำหน่าย
ขณะเดียวกันได้มีสินค้าประเภทน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่งแบบบรรจุขวดและกระป๋อง ใช้การลดน้ำหนักหรือปริมาณตัวสินค้าลดลง โดยยังคงราคาขายเท่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการทำให้สินค้าขึ้นราคาทางอ้อม ทั้งนี้จากก่อนหน้านี้ที่ได้รับแจ้งของการขึ้นราคาแล้ว เช่น นมสดและนมข้นหวานกระป๋องยี่ห้อหนึ่งที่แจ้งปรับราคา 2 บาทต่อกระป๋อง เครื่องดื่มเกลือแร่เจ้าดัง จะปรับราคาขาย 2 บาทต่อขวด จากเดิม 10 บาท เป็น 12 บาทในเดือนเมษายนนี้ เป็นต้น
บินไทยคิดราคาตั๋วตามต้นทุน
นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ในฐานะคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุน เป็นสิ่งไม่สามารถควบคุมได้ ต้องปรับธุรกิจให้บินอย่างประหยัด และมีการกำหนดราคาให้เหมาะสมสะท้อนต้นทุน ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายอยู่แล้วทั้งบุคลากร นำทรัพย์สินไม่เกิดประโยชน์ไปขาย เปิดเส้นทางใหม่ที่มีโอกาสมากขึ้น เช่น ประเทศอินเดีย ซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น
“ตอนนี้ยังบินทุกเส้นทาง และเปิดเส้นทางใหม่เพิ่ม เพราะเดิมเราบินแค่ 10-20% ปัจจุบันผู้โดยสารเริ่มมากขึ้น หลังยุโรปเปิดประเทศ ซึ่งเราไม่มีการตรึ่งราคาตั๋วโดยสาร ปรับราคาขึ้นลงตามการแข่งขันของตลาด” นายชาญศิลป์กล่าว
อสังหาภูธรผวาวัสดุพุ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(REIC) จัดสัมมนาสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคเหนือและภาคกลาง โดยเชิญนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ 3 จังหวัดร่วมเสวนาด้วย โดยมีตอนหนึ่งที่มีพูดถึงต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสุงขึ้น โดยนายสรนันท์ เศรษฐี นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจัยส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือต้นทุนการพัฒนาจากราคาที่ดินที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นหลังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กราคาเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทำให้คุมค่าใช้จ่ายได้ยาก
นายมงคล เหลี่ยมวัฒนกุล นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จ.พิษณุโลก กล่าวว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบถึงไทย ทำให้ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจากราคาน้ำมันที่ผันผวนหนัก แม้ว่าผู้ประกอบการจะเซ็นสัญญาก่อสร้างกับผู้รับเหมาโครงการแล้วก็อย่าเพิ่งโล่งใจ ถ้าวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาสูงขนาดนี้ อาจจะทำให้โครงการก่อสร้างไม่เสร็จได้ เพราะผู้รับเหมาอาจจะแบกรับต้นทุนไม่ไหว และกระทบไปถึงการปล่อยสินเชื่อแบงก์ ท้ายที่สุดโครงการจะสร้างไม่เสร็จตามเป้า สำหรับสถานการณ์ตลาดอสังหาฯจ.พิษณุโลกลูกค้าเริ่มรับรู้แล้วว่าราคาบ้านกำลังจะปรับขึ้นตามต้นทุนใหม่ ส่วนบ้านสต๊อกราคาเดิม ยังสามารถดันยอดขายได้ดี
คนไทยอ่วม! พิษสงคราม กกพ.ขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาท/หน่วย งวด พ.ค.- ส.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/economy/news_3237456
คนไทยอ่วม! พิษสงคราม กกพ.ขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาท/หน่วย งวด พ.ค.- ส.ค.นี้
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ที่ประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 มีมติปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย
ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อค่าเอฟทีมาจากผลกระทบสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตราคาพลังงานโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ กกพ. ต้องปรับสมมุติฐานการประมาณการ ค่าเอฟทีใหม่ให้สะท้อนราคาเชื้อเพลิงในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานการณ์ที่ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ในอ่าวไทยลดลงในช่วงปลายสัมปทาน
โดยประมาณการค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นส่งผลให้ประมาณการค่าเอฟที ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2565 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 129.91 สตางค์ต่อหน่วย และหากพิจารณาภายใต้หลักการการปรับขึ้นแบบขั้นบันได อาจทำให้ต้องขึ้นค่าเอฟที งวดละ 47.3 สตางค์ต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการการบริหารจัดการต้นทุนเชื้อเพลิงให้ต่ำที่สุด ได้แก่ การรับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป. ลาว โครงการโรงไฟฟ้าน้ำเทินก่อนวันเริ่มจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพิ่มเติมจากกลุ่มโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้า การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาเพื่อทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าอยู่ในราคาที่เหมาะสมและมาตรการการบริหารการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา ร่วมกับมาตรการการนำ “Energy Pool Price” มาใช้ เพื่อเฉลี่ยต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เกิดความเป็นธรรมสามารถทำให้ค่าเอฟทีลดลง เป็นผลให้ปรับขึ้นค่าเอฟที ในงวดนี้เพียง 23.38 สตางค์ต่อหน่วย
ทั้งนี้ ตามแนวทางจากภาคนโยบาย กฟผ. จะแบกรับค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงในงวดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดไว้ก่อน และจะทยอยเรียกคืนค่าเอฟทีเมื่อราคาเชื้อเพลิงปรับตัวลดลง
สำหรับปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟทีในรอบเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 ตามข้อเสนอของ กฟผ. ประกอบด้วย
1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 เท่ากับประมาณ 68,731 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน ม.ค. – เม.ย. 2565) ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 65,325 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.21
2. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 55.11 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวมร้อยละ 19.46 และ ลิกไนต์ของ กฟผ. ร้อยละ 8.32 เชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน ร้อยละ 8.08 พลังน้ำของ กฟผ. ร้อยละ 2.58 น้ำมันเตา (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.01% น้ำมันดีเซล (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.19% และอื่นๆ อีก ร้อยละ 6.25
3. ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีเดือน พ.ค. – ส.ค. 2565 เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการในเดือน ม.ค.– เม.ย. 2565 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า และราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นมากจากประมาณในรอบเดือน ม.ค.–เม.ย. 2565 โดยที่เชื้อเพลิงอื่นๆ มีการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยและคงที่
4. อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (1 – 31 มกราคม 2565) เท่ากับ 33.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าเล็กน้อยจากประมาณการในงวดเดือนมกราคม – เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายคมกฤช กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตราคาพลังงานขาขึ้น สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวน พี่น้องประชาชนผู้ใช้ไฟ ร่วมกันประหยัดการใช้พลังงาน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า 4 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ , ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน , ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา และ เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จะสามารถช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงราคาแพง ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าครองชีพสำหรับตัวท่านเอง และยังจะเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันลดภาระโดยรวมให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย
ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟทีสำหรับการเรียกเก็บในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 17 – 27 มีนาคม 2565 ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
อาเซียนอ่วม! โควิดทำ 4.7 ล้านคนยากจน การจ้างงานหายกว่า 9 ล้านตำแหน่ง
https://ch3plus.com/news/international/frontpagenews/283144
ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) เผยแพร่รายงานเรื่อง “การฟื้นตัวจากโรคระบาดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในที่ประชุมเชิงสัมนาการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEADS) เมื่อวานนี้ ระบุว่า
ผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 4.7 ล้านคน ตกอยู่ในความยากจนสุดขีดในปี 2564 ขณะที่การจ้างงานในปีดังกล่าวได้หายไปมากถึง 9.3 ล้านอัตรา เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้าการระบาด
เอดีบีระบุว่า การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์โอมิครอน ยังอาจส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ในปี 2565 ปรับลดลง 0.8% ขณะที่คาดว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในปีนี้ จะยังคงมีต่ำกว่าสถานการณ์ปกติที่ไม่มีโควิดมากกว่า 10%
โดยในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มแรงงานที่ไร้ทักษะ และแรงงานในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจนอกระบบ ตลอดจนธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีตัวตนในโลกดิจิทัล
นายมาซาสึกุ อาซากาวา ประธานเอดีบี กล่าวว่า โรคระบาดใหญ่ได้นำไปสู่การว่างงานในวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำที่แย่ลง และ ความยากจนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิง แรงงานอายุน้อยและกลุ่มผู้สูงอายุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เอดีบียังเรียกร้องให้รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดสรรทรัพยากรเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนระบบสาธารณสุข ปรับปรุงการเฝ้าระวังโรคและตอบสนองต่อโรคระบาดใหญ่ในอนาคต นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ประเทศต่างๆ ทำการปฏิรูป
โครงสร้างเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการผลิต ที่รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้า การสนับสนุนภาคธุรกิจรายย่อยในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และฝึกอบรมทักษะความชำนาญให้กับแรงงาน เป็นต้น