สลดดับเพิ่ม 25 ศพ โควิดวันนี้ ป่วยใหม่กว่า 2 พันราย ATK สะสม 7 วัน 1.4 แสนราย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7159935
ศบค. รายงานสถานการณ์ โควิดวันนี้ เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ 2,391 ราย ปอดอักเสบ 776 ราย เผย ติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 25 ราย ATK สะสม 3-9 ก.ค. 149,537 ราย
เมื่อวันที่ 13 ก.ค.65 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 2,391 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 2,391 ราย ไม่พบผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ ผู้ป่วยสะสม 2,327,489 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,901 ราย หายป่วยสะสม 2,327,441 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 24,082 ราย เสียชีวิต 25 ราย เสียชีวิตสะสม 9,209 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 776 ราย
ด้านกรมควบคุมโรค รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (มีผลตรวจ ATK เป็นบวก) พบว่า ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ค.65 มีผู้ติดเชื้อจำนวน 149,537 ราย หรือ เฉลี่ยวันละ 21,362 ราย อีกทั้ง มีผู้ช่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 333 ราย จากจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ 776 ราย
ค่าไฟแพงข้ามปี คนไทยอ่วม ธุรกิจต้นทุนพุ่ง ปรับราคาสินค้ารอบใหม่
https://www.prachachat.net/economy/news-979373
ค่าไฟพุ่งข้ามปี กกพ.ส่งสัญญาณขึ้นเอฟทีงวด “ก.ย.-ธ.ค. 65” อีกระลอกดันค่าไฟทะลุ 5 บาท/หน่วยตามราคาก๊าซธรรมชาติปรับขึ้นทะลุ 30 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เปิดสูตรเก็บเอฟที “ต้นทุนพลังงานสะสม-ค่าเชื้อเพลิง” พุ่งยาวถึงไตรมาส 1/66 กฟผ. อ่วมแบกต้นทุนค่าไฟสะสมกว่า 8.3 หมื่นล้าน ส.อ.ท.เผย 5 อุตฯหลักใช้ไฟสูงสุด ผู้ผลิตหวั่นต้นทุนพุ่งจ่อขยับราคาสินค้าอีกรอบ “เกษตร-อาหาร-ก่อสร้าง” แบกภาระไม่ไหว แห่ใช้พลังงานทางเลือก “โซลาร์รูฟ”ลดต้นทุน
ผู้สื่อข่าว
“ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า หลังจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ออกมาให้ข้อมูลถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) งวดที่ 3 ระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2565 ว่า อาจจะต้องปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นงวดที่ 3 เป็นผลจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤต เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณในอ่าวไทย ที่ประสบปัญหาเข้าพื้นที่ล่าช้าไปถึง 2 ปี ทำให้การสานต่อการผลิตก๊าซไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งแหล่งก๊าซนี้ถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทยที่มีราคาถูกที่สุด ทำให้ต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าจากต่างประเทศ
โดยเป็นการทำสัญญานำเข้า LNG spot มากขึ้น เพื่อนำมาทดแทนก๊าซอ่าวไทย แต่ทว่าราคา LNG ในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนราคาก๊าซในตลาดโลกปรับขึ้นสูงจากระดับ 10 เหรียญสหรัฐ เป็น 20 เหรียญสหรัฐ และปัจจุบันทะลุไปถึง 30-40 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ถือเป็นความโชคร้าย 3 ต่อของประเทศไทย ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น
สุดต้านต้นทุนผลิตไฟฟ้า
แหล่งข่าวจาก กกพ.ระบุว่า ได้รับทราบสัญญาณ “ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า” ตั้งแต่ปลายปี 2564 และเตรียมแผนรับมือปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการเลื่อนปลดโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เพื่อช่วยให้มีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินในประเทศราคาต่ำมาช่วยพยุง การเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทต่าง ๆ ทั้งชีวมวล ขยะ โซลาร์รูฟท็อป และการปรับสูตรการผลิตไฟ ด้วยการใช้ “น้ำมัน” ผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติในบางช่วงที่ราคาก๊าซขยับขึ้นไปสูง ๆ
แต่สุดท้ายไทยไม่สามารถต้านทานภาวะต้นทุน โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับเพิ่มขึ้น จาก 376.46 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 422.36 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 12.19% ทาง กกพ.จึงได้ตัดสินใจขยับขึ้นค่าเอฟที (Ft) เป็นขั้นบันได นับจากงวดที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 65) 1.39 สตางค์ต่อหน่วย งวดที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 65) ปรับเพิ่มเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 3.78 บาทต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย
และล่าสุดมีสัญญาณว่า ในงวดที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565) จะขยับขึ้นอีก 90-100 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจาก กฟผ.ไม่สามารถดูดซับต้นทุนค่าไฟไว้แทนได้แล้ว ซึ่งการปรับขึ้นค่าเอฟทีดังกล่าวจะมีผลให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท เป็นการปรับขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ที่งวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2557 ที่มีการปรับค่าเอฟที 69 สตางค์ต่อหน่วย
กฟผ.แบก 1 แสนล้าน
แหล่งข่าวจาก กกพ.ระบุว่า เหตุผลสำคัญของการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความจริงว่าต้นทุนค่าไฟแพงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการบรรเทาภาระของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยดูดซับค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนจนประสบปัญหา มีภาระต้นทุนค่าไฟสะสมงวดที่ผ่านมา (AF) ที่ กฟผ.รับภาระกว่า 8.3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากไม่มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า กฟผ.หน่วยงานที่เป็นกลไกสำคัญก็อาจจะต้องแบกรับถึง 1 แสนล้านบาท สถานะร่อแร่ไม่ต่างจากกองทุนน้ำมันฯ
ขณะที่รายงานข่าวว่า กกพ.ได้มีมาตรการเปิดรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บ
https://www.erc.or.th ถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า โดยมีสูตรการปรับขึ้นค่าเอฟที 3 สูตร คือ
1) ปรับขึ้นค่าเอฟที 93.43 สตางค์/หน่วย จากต้นทุนค่าเชื้อเพลิง (FAC) ที่เพิ่มขึ้น ในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65
2) ปรับขึ้น 139.13 สต./หน่วย จากต้นทุนค่าไฟฟ้าสะสม (AF) 83,000 ล้านบาท โดยจะทยอยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า 3 งวด งวดละ 45.70 สต./หน่วย ภายใน 1 ปี
และ 3) ปรับขึ้น 116.28 สต./หน่วย จากต้นทุน AFC และ AF โดยจะทยอยเก็บงวดละ 22.85 สต./หน่วย ภายในเวลา 2 ปี ทั้งนี้ เพื่อนำเงินคืนให้กับ กฟผ. โดย กกพ.จะนำผลสรุปการรับฟังความเห็นเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดภายในเดือน ก.ค.นี้
ต้นทุนไฟฟ้าพุ่งไม่หยุด
แหล่งข่าวจากวงการพลังงานเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้จะได้เห็นค่าไฟฟ้า 5 บาทต่อหน่วยแน่นอน และที่สำคัญค่าไฟจะแพงต่อเนื่องไปถึงปี 2566 เพราะขณะนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าปรับสูงขึ้นมาก หากพิจารณาจากสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าจะเห็นว่า ตัวเลข FAC ค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าประจำงวด เดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 อยู่ที่ 60.09 สต./หน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า (พ.ค.-ส.ค. 65) ซึ่งอยู่ที่ 54.40 สต./หน่วย และคาดการณ์ว่าในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จะขยับขึ้นไปถึง 84.71 สต./หน่วย
ขณะที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าสะสม (AF) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 อยู่ที่ 4.74 สต./หน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า (พ.ค.-ส.ค. 65) ซึ่งอยู่ที่ -29.63 สต./หน่วย และคาดการณ์ว่าในงวด เดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จะขยับขึ้นไปถึง 26.11 สต./หน่วย ฉะนั้น ค่าเอฟทีในงวด ก.ย.-ธ.ค. 65 จะเท่ากับ 64.83 สต./หน่วย และคาดการณ์ว่างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จะขยับขึ้นไปถึง 110.82 สต./หน่วย
แม้ว่าจะมีการปรับค่าเอฟที แต่ กฟผ.ก็ยังแบกภาระต้นทุนสะสมแทนประชาชาชนและภาคธุรกิจอยู่ 8.3 หมื่นล้าน ซึ่งรัฐคงไม่ปล่อยให้ กฟผ.ไปเป็นเหมือนกองทุนน้ำมันฯ ดังนั้นก็จะต้องมีการทยอยปรับขึ้นค่าไฟฟ้าไปจนครบใช้หนี้ ชดเชยให้ กฟผ.หมด
5 อุตสาหกรรมหลักแบกต้นทุนค่าไฟ
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการประเมินผลกระทบการปรับขึ้นค่าไฟฟ้างวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมต่างกัน โดยอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเป็นต้นทุนการผลิตในสัดส่วนที่สูง เช่น อุตสาหกรรมผลิตแก้ว ซีเมนต์ อะลูมิเนียม เซรามิก เหล็ก และหล่อโลหะ ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อรักษากำไรในการดำเนินธุรกิจ
“มีความเป็นไปได้ว่า ภาครัฐจะมีการปรับราคาค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) เพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่องถึง 1 บาทต่อหน่วย จากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะอยู่เหนือระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลไปตลอดทั้งปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ทำให้ต้องเร่งปรับใช้พลังงานทางเลือก เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะต้นทุนแพง เช่น ปรับปรุงกระบวนการผลิต การนำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้และปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน รวมถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใช้เอง เช่น โซลาร์รูฟ และโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งจะเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมในการใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม อีกทั้งต้นทุนอุปกรณ์ระบบพลังงานหมุนเวียนถูกลง จะทำให้ความนิยมสูงขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ และทำให้เกิด ecosystem เพื่ออำนวยความสะดวกในการขออนุมัติ อนุญาต
อุตฯอาหารสุดอั้นปรับราคา
นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปไทย เปิดเผยว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ปรับขึ้นจะกระทบต้นทุนการผลิตอาหาร 1-10% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการใช้กำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน โดยช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารต้องแบกรับต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจำเป็นต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้า 5-15% จากนี้ เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนที่ปรับขึ้นจนไม่สามารถตรึงราคาไว้ได้
ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้มีการปรับตัว โดยเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนจำนวนมาก ทั้งการติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ซึ่งหากราคาพลังงานยังมีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้พลังงานหมุนเวียนน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปลดล็อกลงทุนพลังงานทางเลือก
นายวิศิษฐ์กล่าวว่า ภาคเอกชนมองว่า ภาครัฐควรมีมาตรการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนการลงทุนโซลาร์เซลล์ในรูปแบบติดตั้งก่อน และชำระคืนด้วยส่วนต่างของค่าไฟฟ้า การส่งเสริมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2% นาน 5 ปี การเปิดให้ซื้อขายไฟฟ้ากันเองโดยไม่ต้องผ่านการไฟฟ้า-ในราคาที่แข่งขันได้ พร้อมทั้งต้องอำนวยความสะดวกลดอุปสรรคในการติดตั้งให้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะการขยายเกณฑ์การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่ต้องขออนุญาตขอใบ รง.4 จากปัจจุบันที่กำหนด 1 เมกะวัตต์ ให้เป็น 3 เมกะวัตต์ จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น
ผู้ผลิตแบกขาดทุน
ด้านนาย
พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า “ต้นทุนค่าไฟที่จะปรับขึ้น 5 บาทต่อหน่วย แน่นอนว่าเป็นปัจจัยหลักในการผลิตของทุกโรงงาน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสินค้า ในส่วนของธุรกิจประมงแปรรูปที่ผ่านมาไม่เพียงได้รับผลกระทบจากค่าไฟ แต่ยังมีต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มกว่า 10% กรณีมีห้องเย็นด้วยก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจากนี้หากมีการปรับขึ้นค่าแรงซึ่งยังไม่รู้อีกเท่าไหร่ ซึ่งก็ต้องเห็นใจแรงงานที่ต้องเผชิญค่าครองชีพสูงมาก ขณะที่รายได้ไม่ได้ขยับ
“วิกฤตด้านพลังงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่แค่ประเทศไทย และถือว่าไทยยังปรับไม่สูงเหมือนหลายประเทศ โดยขณะนี้ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนอย่างมาก กระทั่งมีผู้ผลิตสินค้าไม่น้อยกว่า 20% ของสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในภาวะยอมขาดทุน ซึ่งต้องยอมรับว่าสภาวะเศรษฐกิจ 2 ปี ที่ทุกคนต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากโควิด-19 ตามด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงาน และกำลังซื้อไม่ดี ต่อไปทุกภาคส่วนต้องมุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน ปรับปรุงด้วยการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น”
ด้านนาย
ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า 5 บาทต่อหน่วย จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมประมาณ 4-6% โดยโรงงานผลิตผ้าทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 3-5% โรงงานฟอกย้อม โรงซักรีด ที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ส่วนฝั่งโรงงานเครื่องนุ่งห่มจะมีต้นทุนขึ้น 1-2% ซึ่งหากจำเป็นเอกชนจะต้องปรับขึ้นราคาสินค้า จากที่ก่อนหน้านี้ได้ปรับขึ้นไปแล้ว 10-15%
JJNY : สลดดับเพิ่ม 25 ป่วยใหม่กว่า 2 พัน│ค่าไฟแพงข้ามปี│กัญชาอัดแท่งวางขายโจ๋งครึ่ม│ชัชชาติชวนทูตจีนเอาหนังมาฉายกลางแปลง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7159935
เมื่อวันที่ 13 ก.ค.65 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 2,391 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 2,391 ราย ไม่พบผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ ผู้ป่วยสะสม 2,327,489 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,901 ราย หายป่วยสะสม 2,327,441 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 24,082 ราย เสียชีวิต 25 ราย เสียชีวิตสะสม 9,209 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 776 ราย
ด้านกรมควบคุมโรค รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (มีผลตรวจ ATK เป็นบวก) พบว่า ระหว่างวันที่ 3-9 ก.ค.65 มีผู้ติดเชื้อจำนวน 149,537 ราย หรือ เฉลี่ยวันละ 21,362 ราย อีกทั้ง มีผู้ช่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 333 ราย จากจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ 776 ราย
ค่าไฟแพงข้ามปี คนไทยอ่วม ธุรกิจต้นทุนพุ่ง ปรับราคาสินค้ารอบใหม่
https://www.prachachat.net/economy/news-979373
ค่าไฟพุ่งข้ามปี กกพ.ส่งสัญญาณขึ้นเอฟทีงวด “ก.ย.-ธ.ค. 65” อีกระลอกดันค่าไฟทะลุ 5 บาท/หน่วยตามราคาก๊าซธรรมชาติปรับขึ้นทะลุ 30 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เปิดสูตรเก็บเอฟที “ต้นทุนพลังงานสะสม-ค่าเชื้อเพลิง” พุ่งยาวถึงไตรมาส 1/66 กฟผ. อ่วมแบกต้นทุนค่าไฟสะสมกว่า 8.3 หมื่นล้าน ส.อ.ท.เผย 5 อุตฯหลักใช้ไฟสูงสุด ผู้ผลิตหวั่นต้นทุนพุ่งจ่อขยับราคาสินค้าอีกรอบ “เกษตร-อาหาร-ก่อสร้าง” แบกภาระไม่ไหว แห่ใช้พลังงานทางเลือก “โซลาร์รูฟ”ลดต้นทุน
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า หลังจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ออกมาให้ข้อมูลถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) งวดที่ 3 ระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2565 ว่า อาจจะต้องปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นงวดที่ 3 เป็นผลจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤต เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านของผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณในอ่าวไทย ที่ประสบปัญหาเข้าพื้นที่ล่าช้าไปถึง 2 ปี ทำให้การสานต่อการผลิตก๊าซไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งแหล่งก๊าซนี้ถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทยที่มีราคาถูกที่สุด ทำให้ต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นำเข้าจากต่างประเทศ
โดยเป็นการทำสัญญานำเข้า LNG spot มากขึ้น เพื่อนำมาทดแทนก๊าซอ่าวไทย แต่ทว่าราคา LNG ในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนราคาก๊าซในตลาดโลกปรับขึ้นสูงจากระดับ 10 เหรียญสหรัฐ เป็น 20 เหรียญสหรัฐ และปัจจุบันทะลุไปถึง 30-40 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู ถือเป็นความโชคร้าย 3 ต่อของประเทศไทย ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น
สุดต้านต้นทุนผลิตไฟฟ้า
แหล่งข่าวจาก กกพ.ระบุว่า ได้รับทราบสัญญาณ “ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า” ตั้งแต่ปลายปี 2564 และเตรียมแผนรับมือปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยการเลื่อนปลดโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ เพื่อช่วยให้มีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินในประเทศราคาต่ำมาช่วยพยุง การเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทต่าง ๆ ทั้งชีวมวล ขยะ โซลาร์รูฟท็อป และการปรับสูตรการผลิตไฟ ด้วยการใช้ “น้ำมัน” ผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติในบางช่วงที่ราคาก๊าซขยับขึ้นไปสูง ๆ
แต่สุดท้ายไทยไม่สามารถต้านทานภาวะต้นทุน โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติที่ปรับเพิ่มขึ้น จาก 376.46 บาทต่อล้านบีทียู เป็น 422.36 บาทต่อล้านบีทียู หรือเพิ่มขึ้น 12.19% ทาง กกพ.จึงได้ตัดสินใจขยับขึ้นค่าเอฟที (Ft) เป็นขั้นบันได นับจากงวดที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 65) 1.39 สตางค์ต่อหน่วย งวดที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 65) ปรับเพิ่มเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 3.78 บาทต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย
และล่าสุดมีสัญญาณว่า ในงวดที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565) จะขยับขึ้นอีก 90-100 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจาก กฟผ.ไม่สามารถดูดซับต้นทุนค่าไฟไว้แทนได้แล้ว ซึ่งการปรับขึ้นค่าเอฟทีดังกล่าวจะมีผลให้ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นเป็นหน่วยละ 5 บาท เป็นการปรับขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ที่งวดเดือน พ.ค.-ส.ค. 2557 ที่มีการปรับค่าเอฟที 69 สตางค์ต่อหน่วย
กฟผ.แบก 1 แสนล้าน
แหล่งข่าวจาก กกพ.ระบุว่า เหตุผลสำคัญของการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความจริงว่าต้นทุนค่าไฟแพงขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการบรรเทาภาระของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยดูดซับค่าไฟฟ้าให้กับประชาชนจนประสบปัญหา มีภาระต้นทุนค่าไฟสะสมงวดที่ผ่านมา (AF) ที่ กฟผ.รับภาระกว่า 8.3 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหากไม่มีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า กฟผ.หน่วยงานที่เป็นกลไกสำคัญก็อาจจะต้องแบกรับถึง 1 แสนล้านบาท สถานะร่อแร่ไม่ต่างจากกองทุนน้ำมันฯ
ขณะที่รายงานข่าวว่า กกพ.ได้มีมาตรการเปิดรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บ https://www.erc.or.th ถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า โดยมีสูตรการปรับขึ้นค่าเอฟที 3 สูตร คือ
1) ปรับขึ้นค่าเอฟที 93.43 สตางค์/หน่วย จากต้นทุนค่าเชื้อเพลิง (FAC) ที่เพิ่มขึ้น ในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65
2) ปรับขึ้น 139.13 สต./หน่วย จากต้นทุนค่าไฟฟ้าสะสม (AF) 83,000 ล้านบาท โดยจะทยอยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า 3 งวด งวดละ 45.70 สต./หน่วย ภายใน 1 ปี
และ 3) ปรับขึ้น 116.28 สต./หน่วย จากต้นทุน AFC และ AF โดยจะทยอยเก็บงวดละ 22.85 สต./หน่วย ภายในเวลา 2 ปี ทั้งนี้ เพื่อนำเงินคืนให้กับ กฟผ. โดย กกพ.จะนำผลสรุปการรับฟังความเห็นเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดภายในเดือน ก.ค.นี้
ต้นทุนไฟฟ้าพุ่งไม่หยุด
แหล่งข่าวจากวงการพลังงานเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้จะได้เห็นค่าไฟฟ้า 5 บาทต่อหน่วยแน่นอน และที่สำคัญค่าไฟจะแพงต่อเนื่องไปถึงปี 2566 เพราะขณะนี้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าปรับสูงขึ้นมาก หากพิจารณาจากสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าจะเห็นว่า ตัวเลข FAC ค่าเชื้อเพลิง และค่าซื้อไฟฟ้าประจำงวด เดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 อยู่ที่ 60.09 สต./หน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า (พ.ค.-ส.ค. 65) ซึ่งอยู่ที่ 54.40 สต./หน่วย และคาดการณ์ว่าในงวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จะขยับขึ้นไปถึง 84.71 สต./หน่วย
ขณะที่ต้นทุนค่าไฟฟ้าสะสม (AF) งวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 อยู่ที่ 4.74 สต./หน่วย เพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า (พ.ค.-ส.ค. 65) ซึ่งอยู่ที่ -29.63 สต./หน่วย และคาดการณ์ว่าในงวด เดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จะขยับขึ้นไปถึง 26.11 สต./หน่วย ฉะนั้น ค่าเอฟทีในงวด ก.ย.-ธ.ค. 65 จะเท่ากับ 64.83 สต./หน่วย และคาดการณ์ว่างวดเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 จะขยับขึ้นไปถึง 110.82 สต./หน่วย
แม้ว่าจะมีการปรับค่าเอฟที แต่ กฟผ.ก็ยังแบกภาระต้นทุนสะสมแทนประชาชาชนและภาคธุรกิจอยู่ 8.3 หมื่นล้าน ซึ่งรัฐคงไม่ปล่อยให้ กฟผ.ไปเป็นเหมือนกองทุนน้ำมันฯ ดังนั้นก็จะต้องมีการทยอยปรับขึ้นค่าไฟฟ้าไปจนครบใช้หนี้ ชดเชยให้ กฟผ.หมด
5 อุตสาหกรรมหลักแบกต้นทุนค่าไฟ
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการประเมินผลกระทบการปรับขึ้นค่าไฟฟ้างวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมต่างกัน โดยอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานเป็นต้นทุนการผลิตในสัดส่วนที่สูง เช่น อุตสาหกรรมผลิตแก้ว ซีเมนต์ อะลูมิเนียม เซรามิก เหล็ก และหล่อโลหะ ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าเพื่อรักษากำไรในการดำเนินธุรกิจ
“มีความเป็นไปได้ว่า ภาครัฐจะมีการปรับราคาค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) เพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่องถึง 1 บาทต่อหน่วย จากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะอยู่เหนือระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลไปตลอดทั้งปีนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ทำให้ต้องเร่งปรับใช้พลังงานทางเลือก เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะต้นทุนแพง เช่น ปรับปรุงกระบวนการผลิต การนำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้และปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน รวมถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใช้เอง เช่น โซลาร์รูฟ และโซลาร์ฟาร์ม ซึ่งจะเป็นเทรนด์ของอุตสาหกรรมในการใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม อีกทั้งต้นทุนอุปกรณ์ระบบพลังงานหมุนเวียนถูกลง จะทำให้ความนิยมสูงขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ และทำให้เกิด ecosystem เพื่ออำนวยความสะดวกในการขออนุมัติ อนุญาต
อุตฯอาหารสุดอั้นปรับราคา
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปไทย เปิดเผยว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ปรับขึ้นจะกระทบต้นทุนการผลิตอาหาร 1-10% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการใช้กำลังการผลิตของแต่ละโรงงาน โดยช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารต้องแบกรับต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจำเป็นต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้า 5-15% จากนี้ เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนที่ปรับขึ้นจนไม่สามารถตรึงราคาไว้ได้
ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้มีการปรับตัว โดยเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนจำนวนมาก ทั้งการติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ซึ่งหากราคาพลังงานยังมีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้พลังงานหมุนเวียนน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ปลดล็อกลงทุนพลังงานทางเลือก
นายวิศิษฐ์กล่าวว่า ภาคเอกชนมองว่า ภาครัฐควรมีมาตรการส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ อาทิ การสนับสนุนการลงทุนโซลาร์เซลล์ในรูปแบบติดตั้งก่อน และชำระคืนด้วยส่วนต่างของค่าไฟฟ้า การส่งเสริมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2% นาน 5 ปี การเปิดให้ซื้อขายไฟฟ้ากันเองโดยไม่ต้องผ่านการไฟฟ้า-ในราคาที่แข่งขันได้ พร้อมทั้งต้องอำนวยความสะดวกลดอุปสรรคในการติดตั้งให้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะการขยายเกณฑ์การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่ต้องขออนุญาตขอใบ รง.4 จากปัจจุบันที่กำหนด 1 เมกะวัตต์ ให้เป็น 3 เมกะวัตต์ จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น
ผู้ผลิตแบกขาดทุน
ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า “ต้นทุนค่าไฟที่จะปรับขึ้น 5 บาทต่อหน่วย แน่นอนว่าเป็นปัจจัยหลักในการผลิตของทุกโรงงาน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสินค้า ในส่วนของธุรกิจประมงแปรรูปที่ผ่านมาไม่เพียงได้รับผลกระทบจากค่าไฟ แต่ยังมีต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มกว่า 10% กรณีมีห้องเย็นด้วยก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจากนี้หากมีการปรับขึ้นค่าแรงซึ่งยังไม่รู้อีกเท่าไหร่ ซึ่งก็ต้องเห็นใจแรงงานที่ต้องเผชิญค่าครองชีพสูงมาก ขณะที่รายได้ไม่ได้ขยับ
“วิกฤตด้านพลังงานเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่แค่ประเทศไทย และถือว่าไทยยังปรับไม่สูงเหมือนหลายประเทศ โดยขณะนี้ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนอย่างมาก กระทั่งมีผู้ผลิตสินค้าไม่น้อยกว่า 20% ของสินค้าส่วนใหญ่อยู่ในภาวะยอมขาดทุน ซึ่งต้องยอมรับว่าสภาวะเศรษฐกิจ 2 ปี ที่ทุกคนต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากโควิด-19 ตามด้วยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงาน และกำลังซื้อไม่ดี ต่อไปทุกภาคส่วนต้องมุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน ปรับปรุงด้วยการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น”
ด้านนายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ ที่ปรึกษาสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า 5 บาทต่อหน่วย จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรมประมาณ 4-6% โดยโรงงานผลิตผ้าทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 3-5% โรงงานฟอกย้อม โรงซักรีด ที่ใช้ไฟฟ้ามากที่สุด ส่วนฝั่งโรงงานเครื่องนุ่งห่มจะมีต้นทุนขึ้น 1-2% ซึ่งหากจำเป็นเอกชนจะต้องปรับขึ้นราคาสินค้า จากที่ก่อนหน้านี้ได้ปรับขึ้นไปแล้ว 10-15%