กระทู้ที่แล้วเราพาไปดูว่าก่อนจะเรียกเงินเดือน ต้องมีการคำนวณต้นทุนอะไรบ้าง ก่อนกลับมาคิดว่าเงินเดือนที่จะขอคุ้มค่าไหม? โดยเราก็ต้องเอาต้นทุนต่าง ๆ ที่เรามักจะชอบลืมไปมาคิดคำนวณด้วยว่าหากเรารับงานนี้ด้วยจำนวนเงินเดือนเท่านี้ เราจะเสียโอกาส หรือได้โอกาสอะไรเพิ่มมา
ส่วนกระทู้นี้ JobThai Tips ก็ขอเอาแนวทางการเรียกเงินเดือนสำหรับนักศึกษาจบใหม่มาฝาก
เรียกเงินเดือนตามโครงสร้างเงินเดือนในตลาดงาน หรือตามโครงสร้างบริษัท
กลุ่มนักศึกษาจบใหม่เป็นกลุ่มคนทำงานที่ใหม่มากกับการเรียกเงินเดือน เพราะถ้าเรียกมากไปบริษัทก็ไม่เลือก หรือเรียกน้อยไป เขาก็อาจจะข้องใจเรื่องความสามารถ ดังนั้นอย่างแรกที่เด็กจบใหม่ต้องดู คือ เรทโครงสร้างเงินเดือนในตลาดงานสำหรับเด็กจบใหม่ อาจเสิร์ชหาข้อมูลตำแหน่งที่เราสนใจในเว็บไซต์หางานต่าง ๆ เช็กดูว่าตำแหน่งนี้สำหรับเด็กจบใหม่ บริษัทต่าง ๆ เขามีช่วงเงินเดือนที่ประมาณเท่าไหร่ ลองดูหลาย ๆ บริษัทแล้วเอามาอ้างอิงเงินเดือนที่จะขอ รวมถึงอาจจะลองหาข้อมูลและขอคำแนะนำจากคนในสายงานนั้นทาง Community ต่าง ๆ แต่แนะนำว่าต้องเช็กให้ดีว่าข้อมูลนั้นอัปเดตไหม เพราะหลังจากเกิดโควิด-19 หลายสาขาอาชีพมีเรทโครงสร้างเงินเดือนที่เปลี่ยนไป บางที่อาจจะลดลงหรือบางที่อาจจะเพิ่มขึ้น อย่างเช่นงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นก็อาจจะมีเรทที่สูงขึ้นกว่าเดิม
เด็กจบใหม่น้อยคนที่จะได้เงินเดือนตามที่คาดหวัง เพราะอำนาจการต่อรองเงินเดือนเราน้อย เราไม่มีประสบการณ์ที่เป็นตัวการันตีว่าเราจะสร้างคุณค่าอะไรให้บริษัทได้บ้าง ดังนั้นถ้าเป็นเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ อย่าเพิ่งเอาปัจจัยเงินเดือนเป็นที่ตั้ง ถ้าเราไม่รู้จะใส่เงินเดือนเท่าไหร่ ก็ให้เขียนไปว่า “ตามโครงสร้างบริษัท” ก็ได้ อย่าไปกลัวว่าเขาจะให้เงินเดือนเราน้อย เพราะส่วนใหญ่แต่ละบริษัทก็จะมีรูปแบบการคิดคำนวณที่เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งอยู่แล้ว และให้มองว่าเป้าหมายหลัก ๆ ของเราในการทำงานนี้คือการเข้าไปกอบโกยประสบการณ์และความรู้ในการทำงาน ไม่แน่ถ้าได้เข้าไปทำแล้วเราทำงานออกมาได้ดี เขาอาจจะขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษให้ก็ได้
ประเมินจากข้อมูลของบริษัท และผลประกอบการ
เราต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ก่อนว่าเขาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือ บริษัทสตาร์ทอัพ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เราสามารถเรียกเงินเดือนตามเรทโครงสร้างเงินเดือนในตลาด หรือบอกว่าตามโครงสร้างบริษัทก็ได้ เพราะบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งมักจะมีโครงสร้างเงินเดือนที่ชัดเจน ถ้าเป็นบริษัทไซส์กลาง ๆ ที่ยืดหยุ่นกว่า เราอาจจะต่อรองเงินเดือนได้สะดวกกว่า หรือถ้าเป็นบริษัทสตาร์อัพหรือบริษัทขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะต้องศึกษาบริษัทนั้นให้ละเอียดหน่อย บางแห่งที่ดูเหมือนจะมีพนักงานน้อย ดูเป็นบริษัทขนาดเล็ก ก็ไม่หมายความว่าเขาจะไม่มีศักยภาพในการจ่ายเงินเดือนพนักงานสูง ๆ บางครั้งบริษัทเองก็อาจจะใช้เงินเดือนมาเป็นสิ่งสร้างแรงจูงใจและดึงดูดคนมาร่วมงาน เพราะเขายังไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเหมือนบริษัทขนาดใหญ่
รวมถึงหลายคนไม่รู้ว่าเราสามารถดูผลประกอบการของบริษัทได้โดยเข้าไปเช็กที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถไปเช็กถึงผลประกอบการของบริษัทนั้น ๆ ว่าดีไหม เพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซน แล้วนำมาเป็นตัวคำนวณคิดเงินเดือนที่จะขอได้
อยากเรียกได้สูงก็ต้องเอาความสามารถเข้าช่วย
การที่เราไม่มีประสบการณ์ไปการันตีความสามารถ เราก็ต้องเอาทักษะที่มีไปการันตีกับเขาแทน เราต้องเป็นเด็กจบใหม่ที่มีความโดดเด่น และมีทักษะที่สามารถไปต่อรองตัวเลขเงินเดือนได้ เช่น ทักษะภาษาที่สาม หรือความรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน การรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์เป็นเรื่องที่อาจจะค่อนข้างเสี่ยงต่อบริษัท เพราะเขาไม่มีตัวการันตีอะไรเลยว่าเราจะสามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ไหม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องพยายามขายความสามารถให้เขาตัดสินใจให้เงินเดือนตามที่เราขอ
สำหรับการทำงานแล้วแน่นอนว่าเงินเดือนเป็นเรื่องสำคัญเพราะเราเองต้องมีค่าใช้จ่ายมากมายที่ต้องรับผิดชอบ สำหรับเด็กจบใหม่แล้วอาจจะยังคาดหวังกับเงินเดือนปีแรกได้ไม่มาก แต่เรายังมีชีวิตการทำงานอีกหลายปี ซึ่งทุกการทำงานจะทำให้เราได้ประสบการณ์ สำหรับการทำงานในช่วงปีแรก ๆ อยากให้เราโฟกัสไปที่เราจะได้ประสบการณ์อะไรจากบริษัทและสามารถนำไปต่อยอดอะไรได้บ้างในอนาคตดีกว่า
นักศึกษาจบใหม่เรียกเงินเดือนยังไง?
ส่วนกระทู้นี้ JobThai Tips ก็ขอเอาแนวทางการเรียกเงินเดือนสำหรับนักศึกษาจบใหม่มาฝาก
เรียกเงินเดือนตามโครงสร้างเงินเดือนในตลาดงาน หรือตามโครงสร้างบริษัท
กลุ่มนักศึกษาจบใหม่เป็นกลุ่มคนทำงานที่ใหม่มากกับการเรียกเงินเดือน เพราะถ้าเรียกมากไปบริษัทก็ไม่เลือก หรือเรียกน้อยไป เขาก็อาจจะข้องใจเรื่องความสามารถ ดังนั้นอย่างแรกที่เด็กจบใหม่ต้องดู คือ เรทโครงสร้างเงินเดือนในตลาดงานสำหรับเด็กจบใหม่ อาจเสิร์ชหาข้อมูลตำแหน่งที่เราสนใจในเว็บไซต์หางานต่าง ๆ เช็กดูว่าตำแหน่งนี้สำหรับเด็กจบใหม่ บริษัทต่าง ๆ เขามีช่วงเงินเดือนที่ประมาณเท่าไหร่ ลองดูหลาย ๆ บริษัทแล้วเอามาอ้างอิงเงินเดือนที่จะขอ รวมถึงอาจจะลองหาข้อมูลและขอคำแนะนำจากคนในสายงานนั้นทาง Community ต่าง ๆ แต่แนะนำว่าต้องเช็กให้ดีว่าข้อมูลนั้นอัปเดตไหม เพราะหลังจากเกิดโควิด-19 หลายสาขาอาชีพมีเรทโครงสร้างเงินเดือนที่เปลี่ยนไป บางที่อาจจะลดลงหรือบางที่อาจจะเพิ่มขึ้น อย่างเช่นงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เป็นที่ต้องการมากขึ้นก็อาจจะมีเรทที่สูงขึ้นกว่าเดิม
เด็กจบใหม่น้อยคนที่จะได้เงินเดือนตามที่คาดหวัง เพราะอำนาจการต่อรองเงินเดือนเราน้อย เราไม่มีประสบการณ์ที่เป็นตัวการันตีว่าเราจะสร้างคุณค่าอะไรให้บริษัทได้บ้าง ดังนั้นถ้าเป็นเด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ อย่าเพิ่งเอาปัจจัยเงินเดือนเป็นที่ตั้ง ถ้าเราไม่รู้จะใส่เงินเดือนเท่าไหร่ ก็ให้เขียนไปว่า “ตามโครงสร้างบริษัท” ก็ได้ อย่าไปกลัวว่าเขาจะให้เงินเดือนเราน้อย เพราะส่วนใหญ่แต่ละบริษัทก็จะมีรูปแบบการคิดคำนวณที่เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งอยู่แล้ว และให้มองว่าเป้าหมายหลัก ๆ ของเราในการทำงานนี้คือการเข้าไปกอบโกยประสบการณ์และความรู้ในการทำงาน ไม่แน่ถ้าได้เข้าไปทำแล้วเราทำงานออกมาได้ดี เขาอาจจะขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษให้ก็ได้
ประเมินจากข้อมูลของบริษัท และผลประกอบการ
เราต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ ก่อนว่าเขาเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือ บริษัทสตาร์ทอัพ ซึ่งถ้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เราสามารถเรียกเงินเดือนตามเรทโครงสร้างเงินเดือนในตลาด หรือบอกว่าตามโครงสร้างบริษัทก็ได้ เพราะบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งมักจะมีโครงสร้างเงินเดือนที่ชัดเจน ถ้าเป็นบริษัทไซส์กลาง ๆ ที่ยืดหยุ่นกว่า เราอาจจะต่อรองเงินเดือนได้สะดวกกว่า หรือถ้าเป็นบริษัทสตาร์อัพหรือบริษัทขนาดที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะต้องศึกษาบริษัทนั้นให้ละเอียดหน่อย บางแห่งที่ดูเหมือนจะมีพนักงานน้อย ดูเป็นบริษัทขนาดเล็ก ก็ไม่หมายความว่าเขาจะไม่มีศักยภาพในการจ่ายเงินเดือนพนักงานสูง ๆ บางครั้งบริษัทเองก็อาจจะใช้เงินเดือนมาเป็นสิ่งสร้างแรงจูงใจและดึงดูดคนมาร่วมงาน เพราะเขายังไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเหมือนบริษัทขนาดใหญ่
รวมถึงหลายคนไม่รู้ว่าเราสามารถดูผลประกอบการของบริษัทได้โดยเข้าไปเช็กที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถไปเช็กถึงผลประกอบการของบริษัทนั้น ๆ ว่าดีไหม เพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซน แล้วนำมาเป็นตัวคำนวณคิดเงินเดือนที่จะขอได้
อยากเรียกได้สูงก็ต้องเอาความสามารถเข้าช่วย
การที่เราไม่มีประสบการณ์ไปการันตีความสามารถ เราก็ต้องเอาทักษะที่มีไปการันตีกับเขาแทน เราต้องเป็นเด็กจบใหม่ที่มีความโดดเด่น และมีทักษะที่สามารถไปต่อรองตัวเลขเงินเดือนได้ เช่น ทักษะภาษาที่สาม หรือความรู้ด้านเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการทำงาน การรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์เป็นเรื่องที่อาจจะค่อนข้างเสี่ยงต่อบริษัท เพราะเขาไม่มีตัวการันตีอะไรเลยว่าเราจะสามารถทำงานตามที่ได้รับมอบหมายได้ไหม ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องพยายามขายความสามารถให้เขาตัดสินใจให้เงินเดือนตามที่เราขอ
สำหรับการทำงานแล้วแน่นอนว่าเงินเดือนเป็นเรื่องสำคัญเพราะเราเองต้องมีค่าใช้จ่ายมากมายที่ต้องรับผิดชอบ สำหรับเด็กจบใหม่แล้วอาจจะยังคาดหวังกับเงินเดือนปีแรกได้ไม่มาก แต่เรายังมีชีวิตการทำงานอีกหลายปี ซึ่งทุกการทำงานจะทำให้เราได้ประสบการณ์ สำหรับการทำงานในช่วงปีแรก ๆ อยากให้เราโฟกัสไปที่เราจะได้ประสบการณ์อะไรจากบริษัทและสามารถนำไปต่อยอดอะไรได้บ้างในอนาคตดีกว่า