แท็กไม่ผิดค่ะ แอดมินอย่าลบแท็ก ศาลาคนโสดออกนะคะ อ่านให้จบแล้วจะรู้ว่า ทำไมดิฉันถึงแท็กแบบนี้
สองสามอาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งไปเจาะชิ้นเนื้อตรงเต้านมเพื่อตรวจมะเร็งน่ะค่ะ
โชคดีที่ผลออกมาปกติ
มูลเหตุของการไปตรวจคือ ปกติ ครอบครัวดิฉันจะตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี พออายุมากขึ้น รายการตรวจก็ยาวขึ้นเรื่อย ๆ
หนึ่งในสิ่งที่ต้องทำทุกปีคือ การตรวจเมมโมแกรม ซึ่งที่ผ่านมา ก็เจอซีสต์เล็ก ๆ เจอหินปูนเกาะเล็ก ๆ คุณหมอที่ทำอัลตราซาวด์และอ่านผลเมมโมแกรม ก็แจ้งว่า ไม่มีอะไรน่ากังวลเท่าไร และขนาดก็ไม่ได้โตขึ้นจากปีที่ผ่าน ๆ มาจนต้องกังวล
มาปีนี้ เจออยู่ก้อนหนึ่ง ที่ดูว่ามันไม่ค่อยดีเท่าไร คุณหมอที่สรุปผลการตรวจร่างกายประจำปีเลยแนะนำให้ไปพบคุณหมอเฉพาะทางด้านนี้ซึ่งดิฉันก็ทำนัดในอีกอาทิตย์ต่อมา
คุณหมอดูภาพจากในจอคอมพิวเตอร์ ท่านก็บอกว่า มีซีสต์และหินปูนอยู่บ้าง แต่ขนาดและหน้าตาดูไม่น่ากลัว
คุณหมอก็ไล่ไฟล์เก่า ๆ ย้อนไปหลายปีดู เพราะดิฉันทำเมมโมแกรมมาทุกปี เพื่อเปรียบเทียบขนาด ความเปลี่ยนแปลง จนมาเจอซีสต์ก้อนหนึ่งที่คุณหมอใช้คำว่า “ดูไม่ค่อยน่ารัก” คือ ขอบมันไม่เรียบ และมุมของรูปที่เห็นเหมือนจะเป็นในแนวลึกที่มองเห็นได้ไม่ชัด ขนาดประมาณ 4 มม.
มีสองทางเลือกที่คุณหมอแนะนำคือ
1. รออีกสัก 6 เดือน มาตรวจใหม่ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่
2. เจาะชิ้นเนื้อเพื่อตรวจเลย เจาะวันนี้ พรุ่งนี้รู้ผล
ดิฉันเลือกทางที่ 2 ค่ะ ขี้เกียจรอให้กังวล ถ้าเป็นการเจาะชิ้นเนื้อในส่วนอื่น ๆ เช่น ไต ดิฉันคงลังเล แต่ตรงเต้านม เจาะไปเลย รู้ไปเลยดีกว่า จะได้วางแผนการดูแลรักษาได้ หากพบข่าวไม่ดี
นอกจากเมมโมแกรมแล้ว ดิฉันยังตรวจมะเร็งปากมดลูกและอัลตราซาวด์ช่องท้องช่วงล่าง เพื่อตรวจหาความผิดปกติทุกปี
ในวัยจะเต็ม 4 รอบกลางปีนี้ ดิฉันพบว่าคนรู้จักหลายคน มีปัญหาฮอร์โมนบ้าง เป็นซีสต์ที่ช่องท้องบ้าง ตัดมดลูกทิ้งแล้วบ้าง บางคน ก็มีซีสต์ที่เต้านมที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้ตัวเองไม่กล้าประมาท
หลังจากตรวจอะไรเสร็จเรียบร้อย เลยแนะนำทั้งเพื่อนรุ่นน้อง และลูกน้องที่อายุเริ่มเข้าเลข 3 เลข 4 ให้ไปหมั่นตรวจอะไรพวกนี้บ้าง พบทัศนคติท่าทีที่ดิฉันฟังแล้วขำและอุทานในใจว่า “จะบ้าเหรอ ... คิดอะไรตลกอ่ะ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบรรดาสาวโสดทั้งหลายที่หลีกเลี่ยงการไปตรวจสุขภาพภายในและตรวจหน้าอก
เช่น
เพื่อนสาวคนหนึ่ง สมัยเธอยังโสด เธอคลำ ๆ เหมือนจะเจอก้อนบางอย่างที่หน้าอก ก็เลยกัดฟันกลั้นใจไปให้หมอตรวจ เคราะห์ดีที่ไม่เจออะไรน่าเป็นห่วง เธอมาเล่าให้ดิฉันฟังว่า “นี่ชั้นยังคิด ๆ กับตัวเองเลยว่า บ้าหรือเปล่าวะ จ่ายเงินมาให้หมอจับนม”
ดิฉันขำก๊าก บอกเธอไปว่า “เต้าแกนี่น่าจะเป็นเต้าที่ 30,786 แล้วล่ะมั้ง หมอเค้าคงอยากจับอยู่หรอก”
รุ่นน้องคนหนึ่งไปฉีดวัคซีนโควิด-19มา สักพักเริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว แล้วผื่นนั้นลามไปถึงบริเวณน้องสาวของเธอด้วย เธอบอกว่า เครียดมาก ๆ ๆ โชคดีที่มันยุบไปเองในภายหลัง ดิฉันบอกเธอว่า ทำไมไม่ไปหาหมอ แล้วก็ควรเริ่มตรวจพวกมะเร็งปากมดลูกได้แล้วนะ เธอหัวเราะก๊าก โบกมือปฏิเสธลั่นแล้วบอกว่า “พี่ (เสียงสูง) จะให้หนูไปแหกแข้งอ้าขา ให้หมอตรวจได้ไง” (น้องใช้คำพูดประมาณนี้จริง ๆ นะคะ)
เอิ่ม... ดิฉันได้แต่คิดว่า มันก็เหมือนไปหาหมอฟันอ่ะ ถ้าไม่อ้าปาก แล้วจะตรวจฟันได้ยังไง ก็ตรรกะเดียวกันแหละ
อีกคน ก็ไม่เคยคิดเรื่องตรวจภายในอะไรเลย ปล่อยให้ตัวเองมีเนื้องอกตรงช่องท้องช่วงล่าง ราว ๆ มดลูกหรือแถว ๆ นั้นโตถึงเกือบ 2 กิโล
ดิฉันถามว่า อ้าว...แล้ว find out ตอนไหนว่า ท้องตัวเองผิดปกติ
น้องบอกว่า “เพื่อนหนูท้องพี่ แล้วหนูชอบไปจับ ๆ ท้องเพื่อน คุยกับเด็ก หนูกด ๆ ท้องเพื่อน ท้องเค้าแข็ง ๆ เอ๊ะ... ทำไมท้องตัวเองก็ป่อง ๆ แข็ง ๆ เหมือนกัน ทั้งที่เราไม่ได้ท้องสักหน่อย”
นั่นแหละค่ะ ถึงไปหาหมอ น้องบอกเจอก้อนเนื้อในมดลูกเกือบ 2 กิโล (นี่ฟังแล้วอยากจะช็อคตาย 2 กิโลนี่มันใหญ่จริง ๆ นะเนี่ย)
เอาเป็นว่า พอไปผ่าออก ถึงเพิ่งมารู้ว่า นักศึกษามาเม้าธ์มอยลับหลังตัวเองว่า “อาจารย์เค้าแต่ก่อนท้องป่อง ๆ ตอนนี้ยุบไปแล้วเนอะ”
พวกที่ไม่ไปตรวจ ลังเลที่จะไปตรวจ หรืออึดอัดใจที่จะไปตรวจ ส่วนใหญ่มักเป็นคนโสด แล้วรู้สึกประดัดประเดิดหรือแปลก ๆ ที่จะต้องไปหาหมอตรวจอะไรพวกนี้อย่างสม่ำเสมอ บางที ก็มาเล่าให้ดิฉันฟังว่า พยาบาลบางที่ดูเย็นชา ไม่น่ารักเลยตอนตรวจเมมโมแกรม
“เค้าไม่ได้พลิกดูประวัติชั้นเลยเหรอว่า ...ชั้นโสดนะ”
เฮ้อ...แต่โรคพวกนี้ มันไม่ได้เลือกว่าจะเกิดกับคนโสดหรือไม่โสด ซิงหรือไม่ซิง ก็มีโอกาสจะเป็นกันได้หมด แล้วคนที่ไม่ไปตรวจที่ดิฉันยกตัวอย่างมาข้างบนนี้ ไม่ใช่ว่า เป็นคนไม่มีการศึกษา หรือไม่มีเงินอะไรนะคะ ที่เล่า ๆ มาข้างบนนี้ บางคนเป็นนักเรียนนอก บางคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย บางคนเคยเป็นเด็กแลกเปลี่ยนไปเรียนต่างประเทศ และฐานะก็พอให้ไปหาหมอได้อย่างไม่ต้องกังวลอะไร ... แต่ก็ยังลังเลและไม่กล้าไปถ้าไม่เจออะไรที่ผิดปกติจริง ๆ ซึ่งสำหรับบางคน การมีอะไรผิดปกติที่ “สังเกตได้เด่นชัด” แล้วนั้น อาการมักจะค่อนข้างแรงพอสมควรแล้วค่ะ
คำถามคือ เราต้องรอจนมันผิดปกติจนแสดงอาการออกมาอย่างมากแล้วค่อยไปหาหรือ ? มันจะสายเกินการณ์รึเปล่า ?
แต่เอาเป็นว่า ดิฉันเข้าใจอาการประดักประเดิดพวกนี้นะคะ ถึงตัวเองจะไม่โสดก็ไม่ได้แปลว่า จะไม่เขินหรือกลัวในคราวแรก ๆ ที่ไปพบคุณหมอ
จะมารีวิวให้ฟังคร่าว ๆ สั้น ๆ จะได้ไม่กลัวหรือกังวลกันนะคะ
1. ตรวจเมมโมแกรม มักอยู่ในแพ็กเกจตรวจสุขภาพของผู้หญิงอายุสัก 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ห้องเอ็กซเรย์ที่ทำเมมโมแกรมให้มักเป็นผู้หญิง วิธีตรวจคือ ยืนและถอดเสื้อข้างหนึ่งออก ช้อนหน้าอกของเสื้อด้านที่ถอดออกวางบนแผ่นอะครีลิค จะมีแผ่นอะครีลิคอีกแผ่นค่อย ๆ เลื่อนกดทับลงมา จากนั้น เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพในมุมต่าง ๆ เปลี่ยนท่าประมาณ 2 ครั้งก็จบ ตอนทำอึดอัดนิดหน่อย บางคนบ่นว่าเจ็บ แต่ดิฉันคิดว่าไม่เจ็บ อย่าไปทำช่วงประจำเดือนใกล้จะมาเพราะช่วงนั้น อาจจะคัดหน้าอกเป็นพิเศษ ทำให้รู้สึกเจ็บเพิ่มขึ้นจากการทำเมมโมแกรม ตอนทำเมมโมแกรม ทำทีละข้าง ข้างที่ไม่ได้ทำมีเสื้อคลุมสวมไว้อยู่ ไม่ต้องกังวลนะคะ
บางคนที่อาจจะวิตกกังวลว่า “จอแบน” จะทำเมมโมแกรมได้หรือไม่ ?
คุณหมอยืนยันว่า ทำได้นะคะ กระทั่งผู้ชายก็ยังทำเมมโมแกรมได้
2. อัลตราซาวนด์ช่วงอก สิบกว่าปีที่ทำมา เจอหมอผู้หญิงเกือบทุกปี อันนี้ จะนอนบนเตียง เปิดหน้าอกทีละข้าง คุณหมอจะใช้เจลอุ่นทาบนหน้าอก และใช้ลูกกลิ้งอัลตราซาวนด์กลิ้งไปบนหน้าอกเพื่อดูถุงน้ำ และซีสต์ รวมถึงหินปูนหรือสิ่งผิดปกติอื่น ๆ (ถ้ามี) จะมีการบันทึกขนาดเอาไว้ ถ้าตรวจทั้งสองอย่างคือเมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์แล้ว ดูไม่มีอะไรน่ากังวล ก็ไม่ต้องไปต่อ
3. แต่ถ้าตรวจแล้ว พบถุงน้ำ ซีสต์ ก้อนเนื้อ หินปูน มีขนาดเพิ่มขึ้นหรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ คุณหมอจะแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางต่ออีกครั้งหนึ่ง คุณหมอเฉพาะทางแนะนำดิฉันว่า คนที่ไม่มีประวัติญาติพี่น้องใกล้ชิดป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ถ้าดูแลสุขภาพ อาจจะรอเกือบถึงสักสี่สิบ ค่อยเริ่มทำเมมโมแกรมก็ได้ แต่หากมีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว ควรเริ่มทำเมมโมแกรมให้เร็วขึ้นอีก เรื่องนี้ดิฉันเห็นตัวอย่างจากเพื่อนลูกสาวคนรองที่คุณแม่เป็นมะเร็งเต้านม เพื่อนลูกคนนี้อายุประมาณ 17-18 เพิ่งตรวจพบเนื้องอกตรงหน้าอกและผ่าตัดออกไปประมาณตรุษจีนนี้เองค่ะ
แต่ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป คุณหมอบอกว่าเป็น a must เลยว่า ควรเริ่มทำเมมโมแกรมได้แล้ว
4. คุณหมอยังเล่าต่อว่า ส่วนใหญ่จะตรวจพบมะเร็งเต้านมตอนที่ผู้หญิงมาทำเมมโมแกรมประจำปี ส่วนพวกที่ walk in เข้ามาตรวจเพราะคลำเจอก้อนปีหนึ่งคุณหมอพบได้ไม่ถึง 5 คน ซึ่งบางทีเวลารอให้มันเป็นก้อนขนาดคลำได้ชัดเจนแล้วจึงมาหาหมอ มันก็อาจจะเข้าขั้น 2 ขั้น 3 ซึ่งรักษายากขึ้นแล้ว
5. ก่อนไปเจาะชิ้นเนื้อตรวจ ดิฉันถามคุณหมอว่า ถ้าหากเจาะแล้วพบว่า ก้อนนี้เป็นเนื้อไม่ดี ต้องทำอย่างไรต่อ ? ที่ถาม เพราะจะได้วางแผนถูกทั้งเรื่องการบริหารจัดการงาน ครอบครัว และเงิน คุณหมอตอบว่า ขนาดของดิฉันอยู่ประมาณ 4 มม. ดูขนาดกับประเมินเบื้องต้นแล้ว ถ้าเป็นจริง จะอยู่ประมาณขั้นที่ 1 ซึ่งขั้นนี้ การรักษาสามารถหายขาดได้ 100%
6. การเจาะชิ้นเนื้อน่ากลัวไหม ? เจ็บไหม ?
ตอบตรง ๆ ว่า(ฟัง)ดูน่ากลัว แต่ไม่เจ็บค่ะ เจาะชิ้นเนื้อใช้เวลาประมาณ 15 นาที ไม่มีการวางยาสลบใด ๆ ทั้งสิ้น ดิฉันไปโรงพยาบาลคนเดียวแล้วขับรถกลับบ้านได้เลย สบาย ๆ
คุณพยาบาลอธิบายอย่างละเอียดทุกขั้นตอนให้ทราบก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ฟังแล้วก็ทั้งสบายใจที่รู้ข้อมูล และเสียวไส้ไปพร้อม ๆ กัน ตอนพยาบาลอีกท่านบอกว่า เอาผ้าปิดตานะคะ
ดิฉันรีบตอบรับไปเลยค่ะว่า “ได้โปรดค่ะ”
คุณหมอจะค่อยๆ ฉีดยาชาบนส่วนที่จะเจาะชิ้นเนื้อ ฉีดสักพักจะถามว่า “ชารึยึงครับ” ดิฉันตอบว่า ยังรู้สึกถึงเข็มแหลมๆอยู่หน่อย ๆ คุณหมอจึงรออีกสักพัก จึงใช้เข็มยาวจิ้มเข้าไป ดึงตัวอย่างชิ้นเนื้อประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งไม่เจ็บเลย แต่ด้วยความที่นึกถึงขั้นตอนที่คุณพยาบาลบรรยายไว้และนึกภาพตามมันเลยจะกลัว ๆ นิดหน่อย
เจาะชิ้นเนื้อเสร็จ คุณพยาบาลเอาขวดเล็ก ๆ ใส่ชิ้นเนื้อมาให้ดู (เล็กมาก ขนาดประมาณเศษอาหารเวลาคุณใช้ไหมขัดฟันรูดตามร่องเหงือก) เอาพลาสเตอร์กันน้ำปิดแผล เอา cold pack ประคบให้ และบอกว่า ให้ประคบแบบนี้ไปประมาณสักวันสองวัน งดออกกำลังกายหนัก ๆ วันสองวัน
ตรงบริเวณที่เจาะมีรอยช้ำนิดหน่อยหลังจากนั้น และรู้สึกตึง ๆ อยู่บ้าง แต่ไม่เจ็บ เอาจริง ๆ ดิฉันบอกคุณพยาบาลด้วยซ้ำว่า ความเจ็บยังน้อยกว่าตอน “โดนแมวที่บ้านกัด” ซะอีก
แต่กระนั้น แม้แผลจะเล็กมาก (ผ่านไปวันสองวันก็ไม่เห็นปากแผลแล้ว) แต่มันเป็นแผลลึก อาจจะรู้สึกหน่วง ๆ ตรงหน้าอกอีกสักประมาณอาทิตย์กว่า ๆ ก็ค่อย ๆ คืนสู่สภาพปกติ บริเวณที่เจาะอาจจะรู้สึกว่าเป็นตุ่มไตเล็ก ๆ แบบเดียวกับแผลเจาะหูแต่ไม่เป็นอันตราย
7. คุณหมอบอกว่า มะเร็งเต้านมหากเกิดขึ้นในวัยใกล้ ๆ จะหมดประจำเดือน มักไม่ดุเท่าแบบที่เกิดตอนที่คุณยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์สมบูรณ์ มันเหมือน “ม็อบคนแก่” (นี่คำพูดของหมอเลยนะคะ) แต่กระนั้นก็อย่าประมาท เพราะงั้น อยากให้สาว ๆ เริ่มไปตรวจเมมโมแกรมเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ผลเป็นปกติ อย่างน้อยก็เป็น baseline ให้ใช้อ้างอิงถึงได้ว่า ตอนคุณอายุเท่านี้ เท่านี้ สภาพทั่วไปเคยเป็นอย่างไร
8. ส่วนมะเร็งปากมดลูก หรือสุขภาวะของช่องท้องส่วนล่าง ก็แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรไปตรวจทุกปี คนรอบตัวที่ดิฉันรู้จักเป็นอะไรเกี่ยวกับพวกนี้เยอะมาก มากบ้างน้อยบ้างตามอาการ บางคนเป็นซีสต์ บางคนเป็นเนื้องอก บางคนมีภาวะแทรกซ้อนจนต้องตัดมดลูกออก ดิฉันเอง ก็มีภาวะมดลูกโต คุณหมอทีแรกแนะนำให้ตัดออก ดิฉันยังอยากรอไปอีกพักหนึ่งแต่ก็ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จากภาวะมดลูกที่ขนาดปริมาตรประมาณ 200 มล. (ขนาดปกติ จะอยู่ประมาณ 30-40 มล. หรือขนาดเท่าลูกชมพู่) ตอนนี้ลดเหลือ 120 มล. ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่เลว ก็ยังคงไม่ต้องตัดแต่เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน
ชวนสาว ๆ ไปตรวจมะเร็งเต้านมกับมะเร็งปากมดลูกกันให้สม่ำเสมอ
สองสามอาทิตย์ที่แล้ว เพิ่งไปเจาะชิ้นเนื้อตรงเต้านมเพื่อตรวจมะเร็งน่ะค่ะ
โชคดีที่ผลออกมาปกติ
มูลเหตุของการไปตรวจคือ ปกติ ครอบครัวดิฉันจะตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี พออายุมากขึ้น รายการตรวจก็ยาวขึ้นเรื่อย ๆ
หนึ่งในสิ่งที่ต้องทำทุกปีคือ การตรวจเมมโมแกรม ซึ่งที่ผ่านมา ก็เจอซีสต์เล็ก ๆ เจอหินปูนเกาะเล็ก ๆ คุณหมอที่ทำอัลตราซาวด์และอ่านผลเมมโมแกรม ก็แจ้งว่า ไม่มีอะไรน่ากังวลเท่าไร และขนาดก็ไม่ได้โตขึ้นจากปีที่ผ่าน ๆ มาจนต้องกังวล
มาปีนี้ เจออยู่ก้อนหนึ่ง ที่ดูว่ามันไม่ค่อยดีเท่าไร คุณหมอที่สรุปผลการตรวจร่างกายประจำปีเลยแนะนำให้ไปพบคุณหมอเฉพาะทางด้านนี้ซึ่งดิฉันก็ทำนัดในอีกอาทิตย์ต่อมา
คุณหมอดูภาพจากในจอคอมพิวเตอร์ ท่านก็บอกว่า มีซีสต์และหินปูนอยู่บ้าง แต่ขนาดและหน้าตาดูไม่น่ากลัว
คุณหมอก็ไล่ไฟล์เก่า ๆ ย้อนไปหลายปีดู เพราะดิฉันทำเมมโมแกรมมาทุกปี เพื่อเปรียบเทียบขนาด ความเปลี่ยนแปลง จนมาเจอซีสต์ก้อนหนึ่งที่คุณหมอใช้คำว่า “ดูไม่ค่อยน่ารัก” คือ ขอบมันไม่เรียบ และมุมของรูปที่เห็นเหมือนจะเป็นในแนวลึกที่มองเห็นได้ไม่ชัด ขนาดประมาณ 4 มม.
มีสองทางเลือกที่คุณหมอแนะนำคือ
1. รออีกสัก 6 เดือน มาตรวจใหม่ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่
2. เจาะชิ้นเนื้อเพื่อตรวจเลย เจาะวันนี้ พรุ่งนี้รู้ผล
ดิฉันเลือกทางที่ 2 ค่ะ ขี้เกียจรอให้กังวล ถ้าเป็นการเจาะชิ้นเนื้อในส่วนอื่น ๆ เช่น ไต ดิฉันคงลังเล แต่ตรงเต้านม เจาะไปเลย รู้ไปเลยดีกว่า จะได้วางแผนการดูแลรักษาได้ หากพบข่าวไม่ดี
นอกจากเมมโมแกรมแล้ว ดิฉันยังตรวจมะเร็งปากมดลูกและอัลตราซาวด์ช่องท้องช่วงล่าง เพื่อตรวจหาความผิดปกติทุกปี
ในวัยจะเต็ม 4 รอบกลางปีนี้ ดิฉันพบว่าคนรู้จักหลายคน มีปัญหาฮอร์โมนบ้าง เป็นซีสต์ที่ช่องท้องบ้าง ตัดมดลูกทิ้งแล้วบ้าง บางคน ก็มีซีสต์ที่เต้านมที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้ตัวเองไม่กล้าประมาท
หลังจากตรวจอะไรเสร็จเรียบร้อย เลยแนะนำทั้งเพื่อนรุ่นน้อง และลูกน้องที่อายุเริ่มเข้าเลข 3 เลข 4 ให้ไปหมั่นตรวจอะไรพวกนี้บ้าง พบทัศนคติท่าทีที่ดิฉันฟังแล้วขำและอุทานในใจว่า “จะบ้าเหรอ ... คิดอะไรตลกอ่ะ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบรรดาสาวโสดทั้งหลายที่หลีกเลี่ยงการไปตรวจสุขภาพภายในและตรวจหน้าอก
เช่น
เพื่อนสาวคนหนึ่ง สมัยเธอยังโสด เธอคลำ ๆ เหมือนจะเจอก้อนบางอย่างที่หน้าอก ก็เลยกัดฟันกลั้นใจไปให้หมอตรวจ เคราะห์ดีที่ไม่เจออะไรน่าเป็นห่วง เธอมาเล่าให้ดิฉันฟังว่า “นี่ชั้นยังคิด ๆ กับตัวเองเลยว่า บ้าหรือเปล่าวะ จ่ายเงินมาให้หมอจับนม”
ดิฉันขำก๊าก บอกเธอไปว่า “เต้าแกนี่น่าจะเป็นเต้าที่ 30,786 แล้วล่ะมั้ง หมอเค้าคงอยากจับอยู่หรอก”
รุ่นน้องคนหนึ่งไปฉีดวัคซีนโควิด-19มา สักพักเริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว แล้วผื่นนั้นลามไปถึงบริเวณน้องสาวของเธอด้วย เธอบอกว่า เครียดมาก ๆ ๆ โชคดีที่มันยุบไปเองในภายหลัง ดิฉันบอกเธอว่า ทำไมไม่ไปหาหมอ แล้วก็ควรเริ่มตรวจพวกมะเร็งปากมดลูกได้แล้วนะ เธอหัวเราะก๊าก โบกมือปฏิเสธลั่นแล้วบอกว่า “พี่ (เสียงสูง) จะให้หนูไปแหกแข้งอ้าขา ให้หมอตรวจได้ไง” (น้องใช้คำพูดประมาณนี้จริง ๆ นะคะ)
เอิ่ม... ดิฉันได้แต่คิดว่า มันก็เหมือนไปหาหมอฟันอ่ะ ถ้าไม่อ้าปาก แล้วจะตรวจฟันได้ยังไง ก็ตรรกะเดียวกันแหละ
อีกคน ก็ไม่เคยคิดเรื่องตรวจภายในอะไรเลย ปล่อยให้ตัวเองมีเนื้องอกตรงช่องท้องช่วงล่าง ราว ๆ มดลูกหรือแถว ๆ นั้นโตถึงเกือบ 2 กิโล
ดิฉันถามว่า อ้าว...แล้ว find out ตอนไหนว่า ท้องตัวเองผิดปกติ
น้องบอกว่า “เพื่อนหนูท้องพี่ แล้วหนูชอบไปจับ ๆ ท้องเพื่อน คุยกับเด็ก หนูกด ๆ ท้องเพื่อน ท้องเค้าแข็ง ๆ เอ๊ะ... ทำไมท้องตัวเองก็ป่อง ๆ แข็ง ๆ เหมือนกัน ทั้งที่เราไม่ได้ท้องสักหน่อย”
นั่นแหละค่ะ ถึงไปหาหมอ น้องบอกเจอก้อนเนื้อในมดลูกเกือบ 2 กิโล (นี่ฟังแล้วอยากจะช็อคตาย 2 กิโลนี่มันใหญ่จริง ๆ นะเนี่ย)
เอาเป็นว่า พอไปผ่าออก ถึงเพิ่งมารู้ว่า นักศึกษามาเม้าธ์มอยลับหลังตัวเองว่า “อาจารย์เค้าแต่ก่อนท้องป่อง ๆ ตอนนี้ยุบไปแล้วเนอะ”
พวกที่ไม่ไปตรวจ ลังเลที่จะไปตรวจ หรืออึดอัดใจที่จะไปตรวจ ส่วนใหญ่มักเป็นคนโสด แล้วรู้สึกประดัดประเดิดหรือแปลก ๆ ที่จะต้องไปหาหมอตรวจอะไรพวกนี้อย่างสม่ำเสมอ บางที ก็มาเล่าให้ดิฉันฟังว่า พยาบาลบางที่ดูเย็นชา ไม่น่ารักเลยตอนตรวจเมมโมแกรม
“เค้าไม่ได้พลิกดูประวัติชั้นเลยเหรอว่า ...ชั้นโสดนะ”
เฮ้อ...แต่โรคพวกนี้ มันไม่ได้เลือกว่าจะเกิดกับคนโสดหรือไม่โสด ซิงหรือไม่ซิง ก็มีโอกาสจะเป็นกันได้หมด แล้วคนที่ไม่ไปตรวจที่ดิฉันยกตัวอย่างมาข้างบนนี้ ไม่ใช่ว่า เป็นคนไม่มีการศึกษา หรือไม่มีเงินอะไรนะคะ ที่เล่า ๆ มาข้างบนนี้ บางคนเป็นนักเรียนนอก บางคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย บางคนเคยเป็นเด็กแลกเปลี่ยนไปเรียนต่างประเทศ และฐานะก็พอให้ไปหาหมอได้อย่างไม่ต้องกังวลอะไร ... แต่ก็ยังลังเลและไม่กล้าไปถ้าไม่เจออะไรที่ผิดปกติจริง ๆ ซึ่งสำหรับบางคน การมีอะไรผิดปกติที่ “สังเกตได้เด่นชัด” แล้วนั้น อาการมักจะค่อนข้างแรงพอสมควรแล้วค่ะ
คำถามคือ เราต้องรอจนมันผิดปกติจนแสดงอาการออกมาอย่างมากแล้วค่อยไปหาหรือ ? มันจะสายเกินการณ์รึเปล่า ?
แต่เอาเป็นว่า ดิฉันเข้าใจอาการประดักประเดิดพวกนี้นะคะ ถึงตัวเองจะไม่โสดก็ไม่ได้แปลว่า จะไม่เขินหรือกลัวในคราวแรก ๆ ที่ไปพบคุณหมอ
จะมารีวิวให้ฟังคร่าว ๆ สั้น ๆ จะได้ไม่กลัวหรือกังวลกันนะคะ
1. ตรวจเมมโมแกรม มักอยู่ในแพ็กเกจตรวจสุขภาพของผู้หญิงอายุสัก 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ห้องเอ็กซเรย์ที่ทำเมมโมแกรมให้มักเป็นผู้หญิง วิธีตรวจคือ ยืนและถอดเสื้อข้างหนึ่งออก ช้อนหน้าอกของเสื้อด้านที่ถอดออกวางบนแผ่นอะครีลิค จะมีแผ่นอะครีลิคอีกแผ่นค่อย ๆ เลื่อนกดทับลงมา จากนั้น เจ้าหน้าที่จะถ่ายภาพในมุมต่าง ๆ เปลี่ยนท่าประมาณ 2 ครั้งก็จบ ตอนทำอึดอัดนิดหน่อย บางคนบ่นว่าเจ็บ แต่ดิฉันคิดว่าไม่เจ็บ อย่าไปทำช่วงประจำเดือนใกล้จะมาเพราะช่วงนั้น อาจจะคัดหน้าอกเป็นพิเศษ ทำให้รู้สึกเจ็บเพิ่มขึ้นจากการทำเมมโมแกรม ตอนทำเมมโมแกรม ทำทีละข้าง ข้างที่ไม่ได้ทำมีเสื้อคลุมสวมไว้อยู่ ไม่ต้องกังวลนะคะ
บางคนที่อาจจะวิตกกังวลว่า “จอแบน” จะทำเมมโมแกรมได้หรือไม่ ?
คุณหมอยืนยันว่า ทำได้นะคะ กระทั่งผู้ชายก็ยังทำเมมโมแกรมได้
2. อัลตราซาวนด์ช่วงอก สิบกว่าปีที่ทำมา เจอหมอผู้หญิงเกือบทุกปี อันนี้ จะนอนบนเตียง เปิดหน้าอกทีละข้าง คุณหมอจะใช้เจลอุ่นทาบนหน้าอก และใช้ลูกกลิ้งอัลตราซาวนด์กลิ้งไปบนหน้าอกเพื่อดูถุงน้ำ และซีสต์ รวมถึงหินปูนหรือสิ่งผิดปกติอื่น ๆ (ถ้ามี) จะมีการบันทึกขนาดเอาไว้ ถ้าตรวจทั้งสองอย่างคือเมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์แล้ว ดูไม่มีอะไรน่ากังวล ก็ไม่ต้องไปต่อ
3. แต่ถ้าตรวจแล้ว พบถุงน้ำ ซีสต์ ก้อนเนื้อ หินปูน มีขนาดเพิ่มขึ้นหรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ คุณหมอจะแนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางต่ออีกครั้งหนึ่ง คุณหมอเฉพาะทางแนะนำดิฉันว่า คนที่ไม่มีประวัติญาติพี่น้องใกล้ชิดป่วยเป็นมะเร็งเต้านม ถ้าดูแลสุขภาพ อาจจะรอเกือบถึงสักสี่สิบ ค่อยเริ่มทำเมมโมแกรมก็ได้ แต่หากมีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว ควรเริ่มทำเมมโมแกรมให้เร็วขึ้นอีก เรื่องนี้ดิฉันเห็นตัวอย่างจากเพื่อนลูกสาวคนรองที่คุณแม่เป็นมะเร็งเต้านม เพื่อนลูกคนนี้อายุประมาณ 17-18 เพิ่งตรวจพบเนื้องอกตรงหน้าอกและผ่าตัดออกไปประมาณตรุษจีนนี้เองค่ะ
แต่ผู้หญิงที่อายุ 40 ปีขึ้นไป คุณหมอบอกว่าเป็น a must เลยว่า ควรเริ่มทำเมมโมแกรมได้แล้ว
4. คุณหมอยังเล่าต่อว่า ส่วนใหญ่จะตรวจพบมะเร็งเต้านมตอนที่ผู้หญิงมาทำเมมโมแกรมประจำปี ส่วนพวกที่ walk in เข้ามาตรวจเพราะคลำเจอก้อนปีหนึ่งคุณหมอพบได้ไม่ถึง 5 คน ซึ่งบางทีเวลารอให้มันเป็นก้อนขนาดคลำได้ชัดเจนแล้วจึงมาหาหมอ มันก็อาจจะเข้าขั้น 2 ขั้น 3 ซึ่งรักษายากขึ้นแล้ว
5. ก่อนไปเจาะชิ้นเนื้อตรวจ ดิฉันถามคุณหมอว่า ถ้าหากเจาะแล้วพบว่า ก้อนนี้เป็นเนื้อไม่ดี ต้องทำอย่างไรต่อ ? ที่ถาม เพราะจะได้วางแผนถูกทั้งเรื่องการบริหารจัดการงาน ครอบครัว และเงิน คุณหมอตอบว่า ขนาดของดิฉันอยู่ประมาณ 4 มม. ดูขนาดกับประเมินเบื้องต้นแล้ว ถ้าเป็นจริง จะอยู่ประมาณขั้นที่ 1 ซึ่งขั้นนี้ การรักษาสามารถหายขาดได้ 100%
6. การเจาะชิ้นเนื้อน่ากลัวไหม ? เจ็บไหม ?
ตอบตรง ๆ ว่า(ฟัง)ดูน่ากลัว แต่ไม่เจ็บค่ะ เจาะชิ้นเนื้อใช้เวลาประมาณ 15 นาที ไม่มีการวางยาสลบใด ๆ ทั้งสิ้น ดิฉันไปโรงพยาบาลคนเดียวแล้วขับรถกลับบ้านได้เลย สบาย ๆ
คุณพยาบาลอธิบายอย่างละเอียดทุกขั้นตอนให้ทราบก่อนว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ฟังแล้วก็ทั้งสบายใจที่รู้ข้อมูล และเสียวไส้ไปพร้อม ๆ กัน ตอนพยาบาลอีกท่านบอกว่า เอาผ้าปิดตานะคะ
ดิฉันรีบตอบรับไปเลยค่ะว่า “ได้โปรดค่ะ”
คุณหมอจะค่อยๆ ฉีดยาชาบนส่วนที่จะเจาะชิ้นเนื้อ ฉีดสักพักจะถามว่า “ชารึยึงครับ” ดิฉันตอบว่า ยังรู้สึกถึงเข็มแหลมๆอยู่หน่อย ๆ คุณหมอจึงรออีกสักพัก จึงใช้เข็มยาวจิ้มเข้าไป ดึงตัวอย่างชิ้นเนื้อประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งไม่เจ็บเลย แต่ด้วยความที่นึกถึงขั้นตอนที่คุณพยาบาลบรรยายไว้และนึกภาพตามมันเลยจะกลัว ๆ นิดหน่อย
เจาะชิ้นเนื้อเสร็จ คุณพยาบาลเอาขวดเล็ก ๆ ใส่ชิ้นเนื้อมาให้ดู (เล็กมาก ขนาดประมาณเศษอาหารเวลาคุณใช้ไหมขัดฟันรูดตามร่องเหงือก) เอาพลาสเตอร์กันน้ำปิดแผล เอา cold pack ประคบให้ และบอกว่า ให้ประคบแบบนี้ไปประมาณสักวันสองวัน งดออกกำลังกายหนัก ๆ วันสองวัน
ตรงบริเวณที่เจาะมีรอยช้ำนิดหน่อยหลังจากนั้น และรู้สึกตึง ๆ อยู่บ้าง แต่ไม่เจ็บ เอาจริง ๆ ดิฉันบอกคุณพยาบาลด้วยซ้ำว่า ความเจ็บยังน้อยกว่าตอน “โดนแมวที่บ้านกัด” ซะอีก
แต่กระนั้น แม้แผลจะเล็กมาก (ผ่านไปวันสองวันก็ไม่เห็นปากแผลแล้ว) แต่มันเป็นแผลลึก อาจจะรู้สึกหน่วง ๆ ตรงหน้าอกอีกสักประมาณอาทิตย์กว่า ๆ ก็ค่อย ๆ คืนสู่สภาพปกติ บริเวณที่เจาะอาจจะรู้สึกว่าเป็นตุ่มไตเล็ก ๆ แบบเดียวกับแผลเจาะหูแต่ไม่เป็นอันตราย
7. คุณหมอบอกว่า มะเร็งเต้านมหากเกิดขึ้นในวัยใกล้ ๆ จะหมดประจำเดือน มักไม่ดุเท่าแบบที่เกิดตอนที่คุณยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์สมบูรณ์ มันเหมือน “ม็อบคนแก่” (นี่คำพูดของหมอเลยนะคะ) แต่กระนั้นก็อย่าประมาท เพราะงั้น อยากให้สาว ๆ เริ่มไปตรวจเมมโมแกรมเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้ผลเป็นปกติ อย่างน้อยก็เป็น baseline ให้ใช้อ้างอิงถึงได้ว่า ตอนคุณอายุเท่านี้ เท่านี้ สภาพทั่วไปเคยเป็นอย่างไร
8. ส่วนมะเร็งปากมดลูก หรือสุขภาวะของช่องท้องส่วนล่าง ก็แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรไปตรวจทุกปี คนรอบตัวที่ดิฉันรู้จักเป็นอะไรเกี่ยวกับพวกนี้เยอะมาก มากบ้างน้อยบ้างตามอาการ บางคนเป็นซีสต์ บางคนเป็นเนื้องอก บางคนมีภาวะแทรกซ้อนจนต้องตัดมดลูกออก ดิฉันเอง ก็มีภาวะมดลูกโต คุณหมอทีแรกแนะนำให้ตัดออก ดิฉันยังอยากรอไปอีกพักหนึ่งแต่ก็ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จากภาวะมดลูกที่ขนาดปริมาตรประมาณ 200 มล. (ขนาดปกติ จะอยู่ประมาณ 30-40 มล. หรือขนาดเท่าลูกชมพู่) ตอนนี้ลดเหลือ 120 มล. ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่เลว ก็ยังคงไม่ต้องตัดแต่เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิดทุก 6 เดือน