JJNY : 4in1 ไอเดียชัชชาติที่ถูกแชร์ซ้ำๆ8ปี│พท.จ่อเปิดตัวครอบครัวพท.│แม่ฮ่องสอน น้ำมันแพงลิ่ว│รัสเซียนัดชุมนุมทั่วประเทศ

“11 มีนาคม” ของทุกปี ย้อนดู ไอเดียชัชชาติ ที่ถูกแชร์ซ้ำๆต่อเนื่อง นาน 8 ปี
https://www.matichon.co.th/politics/news_3227734
 
 
“11 มีนาคม” ของทุกปี ย้อนดู สเตตัสของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ถูกแชร์ซ้ำๆ
 
เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศ กรณีวันที่ 12 มี.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญ มติเอกฉันท์ ร่างพ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญ โดย ระบุว่า ร่างกฎฎหมายตราขึ้นไม่ถูกต้อง ขัดวินัยการเงินการคลัง พร้อมระบุว่า ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องกู้
 
คำพิพากษาดังกล่าว ดับฝันนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ได้เป็นรัฐบาลในขณะนั้น จากความฝันที่จะผลักดันให้ภายในปี 2020 ไทยจะมี รถไฟความเร็วสูงทุกภาค รถไฟฟ้าครอบคลุม มีรถไฟทางคู่ ทั่วประเทศ ในช่วงเวลาเดียวกัน พรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ ก็มีการโชว์วิสัยทัศน์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทยในปี 2020 เช่นกัน
 
ทั้งนี้ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในฐานะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในขณะนั้น ได้โพสต์ข้อความ สรุป ประเด็นนโยบายที่รัฐบาลเตรียมผลักดันจากการใช้เงิน 2 ล้านล้าน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด แม้จะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าโครงการดังกล่าว ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่ในทุกวันที่ 11 มีนาคม ก็จะมีการระลึกถึงความเห็นดังกล่าว พร้อมกับแชร์สเตตัสของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซ้ำ นับถึงวันนี้ นับเป็นเวลามากกว่า 7 ปี โพสต์ของนายชัชชาติ ถูกกดไลค์ 6.3 หมื่นครั้ง คอมเมนต์กว่า 6 พันข้อความ แชร์ต่อ 3.5 หมื่นครั้ง
 
สำหรับโครงการของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เล่ารายระเอียดไว้ดังนี้
 
สร้างอนาคตไทย 2020 พลิกโฉมประเทศอย่างไร
 
ผมขออธิบายรายละเอียดโครงการต่างๆในแต่ละยุทธศาสตร์ที่ทางกระทรวงคมนาคม เตรียมไว้ซึ่งมีดังนี้ครับ
 
– รถไฟความเร็วสูง 783,553 ล้านบาท คิดเป็น 39.2%
– รถไฟฟ้า 456,662 ล้านบาท คิดเป็น 22.8%
– ถนนทางหลวง 241,080 ล้านบาท คิดเป็น 12.1%
– ถนนทางหลวงชนบท 34,309 ล้านบาท คิดเป็น 1.7%
– สถานีขนส่งสินค้า 14,093 ล้านบาท คิดเป็น 0.7%
– ท่าเรือ 29,581 ล้านบาท คิดเป็น 1.5%
– ด่านศุลกากร 12,545 ล้านบาท คิดเป็น 0.6%
– ปรับปรุงระบบรถไฟ (เพิ่มเครื่องกั้น ซ่อมบำรุงรางที่เสียหาย) 23,236 ล้านบาท คิดเป็น 1.2%
– รถไฟทางคู่ และทางคู่เส้นทางใหม่ 383,891 ล้านบาท คิดเป็น 19.2%
– ค่าสำรองเผื่อฉุกเฉิน (ความผันผวนราคาวัสดุ การติดตามและประเมินผล) 21,050 ล้านบาท คิดเป็น 1.0%
 
จะเห็นได้ว่า โครงการใน พ.ร.บ.สร้างอนาคตประเทศนี้ ไม่ได้มีแต่เรื่องรถไฟความเร็วสูง แต่มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าในกทม. ถนนสี่เลน ด่านศุลกากร ศูนย์กระจายสินค้า มอเตอร์เวย์ บูรณะถนนสายหลัก ถนนเชื่อมประตูการค้า ท่าเรือ สะพานข้ามทางรถไฟ โดยกระจายอยู่ในทุกๆด้าน และ อยู่ในทั่วทุกภูมิภาค ตามความจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ
 
โครงการเหล่านี้ ไม่ได้คิดขึ้นมาลอยๆ แต่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) หัวข้อ 5.3.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ การปรับปรุงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในเมือง และ เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 ทั้งในส่วนของ โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้าในกทมและปริมณฑล โครงการท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน และ ฝั่งอ่าวไทย การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งการเสนอโครงการต่างๆใน พ.ร.บ.นี้ เป็นการปฏิบัติตามนโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่ได้แถลงเป็นพันธสัญญากับรัฐสภา อย่างครบถ้วน
 
สำหรับสิ่งที่จะได้จากโครงการนี้ ที่ทางรัฐบาลคาดหวังไว้คือ
 
1. ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบัน (ที่ 15.2%) ไม่น้อยกว่า 2%
2. สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดลงจาก 59% เหลือ 40%
3. ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. และขบวนรถโดยสาร เพิ่มขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.
4. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง เพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5%
5. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ เพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%
6. ความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิง ลดลงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี
7. สัดส่วนการเดินทางโดยรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30%
8. ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
9. ปริมาณผู้โดยสารรถไฟ เพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคน/เที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคน/เที่ยว/ปี
10. ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 กม. รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง
 
หากเมื่อย้อนไปเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2556 นายชัชชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ในขณะที่ตนนั้นกำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งในวันนั้น นายชัชชาติ กำลังจะอภิปรายพ.ร.บ.สร้างอนาคตไทย ในสภาผู้แทนราษฎร
 
ซึ่งเป็น พ.ร.บ.เงินกู้ที่จะนำเงินมาสร้างรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าในกทม. ถนนสี่เลน ด่านศุลกากร ศูนย์กระจายสินค้า มอเตอร์เวย์ บูรณะถนนสายหลัก ถนนเชื่อมประตูการค้า ท่าเรือ สะพานข้ามทางรถไฟ โดยกระจายอยู่ในทุกๆ ด้าน และอยู่ในทั่วทุกภูมิภาค ตามความจำเป็นและยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยตอนหนึ่งที่อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร นายชัชชาติได้ระบุว่า
 
“พ.ร.บ.นี้ ไม่ใช่กู้ทีเดียวทั้งหมด แต่ทยอยใช้ในระยะเวลา 7 ปี ในสัดส่วนที่เหมาะสม และการคมนาคมต้องทำในภาพรวม รถไฟทำทีละท่อนไม่ได้ ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ส่วนเรื่องการสร้างหนี้ เราต้องพิจารณาเรื่องมิติของเวลาด้วย การที่เราไม่ทำมา 20 ปี แล้วมาทำตอนนี้ อันนี้คือการที่คนในอดีตมาสร้างหนี้มาให้เราหรือเปล่า?
 
ในปี 2536 เราอนุมัติโครงการรถไฟทางคู่ เวลานั้นใช้งบประมาณ 80,000 ล้านบาท มาวันนี้เราต้องใช้เงิน 400,000 ล้านบาท และถ้าเราไม่ทำวันนี้ นักเรียนที่มานั่งฟังในสภาที่ต้องทำในอนาคต อาจจะต้องจ่าย 2 ล้านล้านแล้วทำได้แค่รถไฟทางคู่ก็ได้
 
“เวลามีมูลค่า”
 
โดยในปัจจุบัน นายชัชชาติยังคงมีบทบาททางการเมืองจากการประกาศลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ หลังเพิ่งลาออกจากการทำงานกับพรรคเพื่อไทย โดยลงพื้นที่ต่อเนื่องเพื่อเตียมรับการเลือกตั้งช่วงปลายปีนี้
  
https://www.facebook.com/chadchartofficial/photos/a.536355946425262/665053276888861/
 


เพื่อไทย จ่อเปิดตัวโครงการครอบครัวเพื่อไทย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_304769/
 
“ธีรรัตน์” เผยเพื่อไทย จ่อเปิดตัวโครงการครอบครัวเพื่อไทย เปิดรับสมัครสมาชิก พร้อมเดินสายทั่วประเทศ
 
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น ถึงการลงพื้นที่พบปะประชาชนในนามพรรคเพื่อไทยช่วงปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ว่า พรรคเพื่อไทยมีโครงการครอบครัวเพื่อไทย เป็นการร่วมมือกันระหว่างพรรคเพื่อไทยและสมาชิกพรรคเพื่อไทย ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะมีการลงพื้นที่ไปแต่ละภาค
 
ทั้งนี้ ในวันอาทิตย์ ที่13 มีนาคมนี้ จะมีการเปิดตัวโครงการครอบครัวเพื่อไทยเพื่อเปิดรับสมัครสมาชิกที่อยากจะมาเป็นครอบครัวเดียวกัน ที่กรุงเทพฯ และในวันที่ 20 มีนาคมนี้ จะเริ่มต้นโครงการที่ภาคอีสานจังหวัดอุดรธานี และจะมีการเดินสายโครงการครอบครัวเพื่อไทยไปในทุกภาคของประเทศด้วย
 

 
แม่ฮ่องสอน น้ำมันแพงลิ่ว ชาวบ้านบ่นอุบ จยย.เคยเติมเต็มถัง50 ตอนนี้100
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6936590

แม่ฮ่องสอน น้ำมันแพงลิ่ว ชาวบ้านบ่นอุบ จยย.เคยเติมเต็มถัง50 ตอนนี้100 พบ เบนซิน 95 ลิตรละ 41.55 บาท น้ำมันดีเซล B7 พรีเมียม ลิตรละ 37.36 บาท
   
วันที่ 11 มี.ค. 2565 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ ตรวจสอบราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ในจ.แม่ฮ่องสอน พบว่ามีราคาแพงกว่าจังหวัดอื่น จากการพูดคุยกับพนักงานปั๊มแห่งหนึ่งใน อ.แม่ฮ่องสอน ให้ข้อมูลว่า การที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับสูงขึ้น เป็นไปตามราคาของตลาด ประกอบกับแม่ฮ่องสอนอยู่ห่างไกล ต้องเสียค่าขนส่งสูง ตอนี้ เบนซิน 95 ลิตรละ 41.55 บาท เบนซินแก๊ส 91 ลิตรละ 41.28 บาท ส่วน E20 ลิตรละ 40.44 บาท น้ำมันดีเซล B7 พรีเมียม ลิตรละ 37.36 บาท ดีเซล และดีเซล B7 ลิตรละ 31.34 บาท
 
ชาวบ้านที่มาเติมน้ำมัน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า น้ำมันเชื้อเพลิงแพงมากเมื่อก่อนเคยเติมรถมอเตอร์ไซค์ 50 บาท เต็มถังแต่ปัจจุบัน 100 บาท ยังไม่ถึงครึ่งถัง เพราะน้ำมันเป็นหัวใจหลักของประชาชนทุกอาชีพในการทำงาน น้ำมันราคาแพงสินค้าก็ขยับขึ้นตามไปด้วย เดือดร้อนกันถ้วนหน้า อยากฝากไปยังรัฐบาลเข้ามาช่วยชาวบ้านบ้าง
 
นายปรีชา นิลอุดมศักดิ์ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างกาดคำพาซ่าแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ทุกบริษัทเริ่มทยอยปรับสินค้าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืช นมผง ราคา 1 หีบ 590 ปรับเป็น 649 บาท รวมทั้งสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันก็เริ่มทยอยปรับขึ้น 5-10 เปอร์เซ็นต์ แนวโน้มในอนาคตถ้าราคาน้ำมันยังสูงเรื่อย ๆ ในปีนี้ราคาสินค้าจะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น 10-15 เปอร์เซ็นต์ ราคาสินค้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัจจัยหลัก ๆ มาจากค่าขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ค่าขนส่งก็สูงขึ้น
 
ทำให้ราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าที่จำเป็นในครัวเรือน เช่นน้ำมันพืช เมื่อก่อนราคาขวดละ 52 บาท ปรับขึ้นเป็น 63 บาท และผู้ผลิตก็จำกัดโคต้า เมื่อก่อนเคยสั่งได้ 300 ลัง ปัจจุบันจำกัดเหลือแค่ 100 ลัง นอกจากน้ำมันพืชแล้ว นมผง นม UHT ก็ปรับราคาขึ้น รวมทั้ง มาม่า ราคาส่งก็ปรับขึ้นนิดหน่อย แต่ก็มีสินค้าหลายตัวที่ทางห้างร่วมกับพานิชย์จังหวัดพยายามตรึงราคาให้คงราคาเติมให้นานที่สุด เช่น น้ำตาล น้ำปลา ซอสปรุงรส และสินค้าที่จำเป็นอื่นๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่