เรื่องเล่าพระไตรปิกฎก...ตอนที่-6 :..องค์ประกอบของมหาปิฎกภาษาจีน (ฉบับไทโช)

กระทู้คำถาม
องค์ประกอบของทหาปิฎกภาษาจีน (ฉบับไทโช)

การรวบรวมและจัดเรียงหมวดหมู่ในแต่ละฉบับมีความแตกต่างกันตามยุคตามสมัย 
เนื่องจากความไม่สงบจากสงครามในประวัติศาสตร์ประเทศจีนทำให้แทบไม่หลงเหลือหลักฐานต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีเพียงฉบับมหาปิฎกไทโชที่คงความสมบูรณ์ที่สุดและมีการตรวจชำระจากหลากหลาย
ฉบับทำให้เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

จึงทำให้สามารถทราบหลักการการรวบรวมจัดเรียงหมวดหมู่หรือองค์ประกอบของพระมหาปิฎกไทโชชุดนี้
พระไตรปิฎกภาษาจีนฉบับไทโชหรือพระมหาปิฎกไทโช มีจำนวน 100เล่ม 13,520 ผูก 80,634 หน้า
จำนวนตัวอักษรมากกว่าล้านตัวอักษร แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ

1) เล่มที่ 1-55 เป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาจีน จำนวนรวม 55 เล่ม  โดย
- เล่มที่ 1-21  เป็นพระสูตรหมวดต่าง ๆ  👈👈👈👈👈👈👈พุทธวจน
- เล่มที่ 22-24 เป็นพระวินัย 👈👈👈👈👈พุทธวจน

- เล่มที่ 25-32 เป็นศาสตร์นิพนธ์จากการเขียนของคันถรจนาจารย์ในอินเดีย 👈👈👈อรรถกถา
- เล่มที่ 33-55 เป็นศาสตร์นิพนธ์จากการเขียนของคันถรจนาจารย์จีน👈👈👈อรรถกถา

2) เล่มที่ 56-85 เป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาญี่ปุ่นที่เขียนด้วยอักษรจีนโบราณ จำนวนรวม 30 เล่ม👈👈👈อรรถกถา

3) เล่มที่ 86-97 เป็นภาพวาดพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก👈👈👈อรรถกถา
     และเล่มที่ 98-100 เป็นแคตตาล็อกหรือทะเบียนหนังสือพระพุทธศาสนาที่เป็นที่รู้จักในญี่ปุ่น
     จำนวนรวม 15 เล่ม27
โดยในจำนวน 100 เล่ม สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็น 30 หมวดหมู่

ดังนี้...ต่อที่ คหท-1....เลยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่