โดยทั่วไปชาวจีนไม่ได้เรียกคัมภีร์พระพุทธศาสนาว่า พระไตรปิฎก 👈👈👈👈👈
อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยเรียกกัน
โดยในยุคแรกนับตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงราชวงศ์สุย พระภิกษุผู้รวบรวมคัมภีร์แปลได้
ขนานนามพระไตรปิฎกว่า คลัง(ปิฎก)พระสูตร หรือ (คลัง)ปิฎกพระคัมภีร์“藏经”
บ้างก็เรียกว่ากลุ่มหมวดพระสูตร หรือ กลุ่มหมวดพระคัมภีร์ หรือพระคัมภีร์พระสูตรทั้งหลาย “众经”
หรือเรียกว่าสรรพพระสูตร หรือ สรรพพระคัมภีร์“一切经”
ต่อมาในราชวงศ์ซ่งตอนเหนือ จึงเริ่มมีการเรียกพระไตรปิฎกภาษาจีนว่า พระสูตรมหาปิฏก (คลังใหญ่)
หรือพระคัมภีร์มหาปิฏก (คลังใหญ่) “大藏经” ที่อ่านออกเสียงว่า ต้าจ้างจิง และถูกเรียกขานในเกาหลีและญี่ปุ่นเช่นกัน
โดยในสำเนียงญี่ปุ่นเรียกว่า
“ไดโซเคียว” ในสำเนียงเกาหลีเรียกว่า “แทจังคยอง” และในสำเนียงเวียดนามเรียกว่า “ไดตังกิง”
ความเป็นมาของพระไตรปิฎกจากอินเดียส่ปู ระเทศจีน
หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน คณะสงฆ์ปรารภและทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อดำรงไว้
ซึ่งพระสัทธรรมให้ยาวนาน พระมหากัสสปะจึงได้เป็นประธานการท าสังคายนาครั้งที่ 1 และ
มีการสังคายนาอีกหลายครั้งต่อมา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนนั้นเกิดขึ้นหลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ก่อนการสังคายนาครั้งที่ 4 ในอินเดียยุคพระเจ้ากนิษกะ (ค.ศ. 127-147) นับเป็นเวลาประมาณ 500 ปีหลังพุทธกาล
โดยปรากฏประวัติการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาฉบับแรกของจีนตั้งแต่ยุคที่อินเดียเริ่มมีแนวคิดมหายาน
ซึ่งหมายความว่าคัมภีร์ที่ผ่านจากอินเดียสู่เส้นทางสายไหมจึงมีทั้งคัมภีร์ดั้งเดิมก่อนยุคมหายานและคัมภีร์มหายาน
ต่อมาเมื่อในประเทศอินเดียได้มีการแบ่งแยกแนวคิดหรือนิกายที่ชัดเจนขึ้น เช่น มาธยามิกะ และ
โยคาจารย์ เป็นต้น คัมภีร์จากนิกายเหล่านี้ได้สืบทอดส่งต่อและเดินทางผ่านเส้นทางสายไหมไปสู่จีน
เช่นกัน
จึงกล่าวได้ว่าคัมภีร์พระพุทธศาสนาก่อนที่จะมาเป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนนั้นได้รับการสืบทอด
แปลและรวบรวมเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ซึ่งต่างจากในฝ่ายบาลีที่ถูกนำเข้ามาเผยแผ่ในศรีลังกา
โดยพระมหินทะทั้งหมดในครั้งเดียว และไม่มีการรับเพื่อมาเพิ่มเติมมาจากอินเดียในภายหลังอีก
นับตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา พระภิกษุต่างชาติหลายท่านได้เดินทางมาจีน และได้ท่องจ า
รวมไปถึงการน าคัมภีร์พระพุทธศาสนาส าคัญบางฉบับมายังผืนแผ่นดินจีนผ่านเส้นทางสายไหม
ผ่านเข้ามาในทางทิศตะวันตกของเมืองตุนหวง ซึ่งมีสถานที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า
ดินแดนตะวันตก (西域) เป็ นพื้นที่ของเมืองใหญ่เล็กอีก 36 เมืองหรือประเทศ2 ปัจจุบัน คือ
มณฑลซินเจียง เป็นเมืองที่มีความซับซ้อนหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา และเข้าสู่ประตู
ของประเทศจีนที่เมืองตุนหวง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลกานซู่
ในยุคราชวงศ์ฮั่น พระกาศยปะมาตังคะและพระธรรมรัตนะเป็นพระภิกษุชาวต่างชาติคู่แรก
ที่ได้รับการบันทึกว่ามาถึงประเทศจีน และต่อมาได้เริ่มมีการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยพระภิกษุ
ชาวพาร์เธียนามว่า อันซื่อเกา (安世高, ค.ศ. 148-180) ซึ่งเน้นการแปลพระสูตรเถรวาท และ
พระโลกเกษม (支婁迦讖, ค.ศ. 147-189) ก็ได้แปลพระสูตรมหายานจ านวนมาก โดยเริ่มงานแปล
ในปี ค.ศ. 167 ที่เมืองลั่วหยาง ท่านทั้งสองถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้บุกเบิกในการแปลพระสูตรคัมภีร์
พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนนอกจากนี้ยังมีพระภิกษุต่างชาติที่เดินทางมาจีนเพื่อแปลพระสูตร และพระภิกษุจีน
ที่เดินทางรอนแรมข้ามน ้าข้ามทะเลเพื่อไปอัญเชิญพระสูตรจากอินเดียมาแปลอีกหลายรูป เช่น
พระจูซื่อสิง (朱士行, ค.ศ. 203-282) พระภิกษุจีนที่ได้เดินทางไปถึงเมืองโคตานแล้วพ านักที่นั่น
เพื่อคัดลอกพระสูตรและส่งกลับสู่แผ่นดินจีน; พระธรรมลักษณ์ (竺法護, ค.ศ. 237-316)
พระเมืองตุขารา (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลกานซู่) ไปตั้งรกรากเพื่อแปลพระสูตรที่ตุนหวง;
พระฝาเสี่ยน(释法显, ค.ศ. 337-422) ได้รับอิทธิพลจากพระเต้าอัน 释道安 (ค.ศ. 312-385) ซึ่งเป็นพระมหาเถระ
บุคคลส าคัญในการรวบรวมพระสูตรต่าง ๆ ได้กล่าวว่า พระวินัยหลากหลาย พระวินัยสี่ส่วนก็ไม่ครบ
พระฝาเสี่ยนจึงตัดสินใจเดินทางไปอินเดียเมื่ออายุราว 60 ปี เพื่อน าพระวินัยกลับมา ในช่วงระหว่าง
ปี ค.ศ. 399 - 412 โดยเดินทางออกจากฉางอันทางบกผ่าน 13 เมืองใหญ่ ใช้ระยะเวลาเดินทางไป
รวม 6 ปี พ านักอยู่ที่อินเดีย 3 ปี อยู่ศรีลังกา 2 ปี แล้วจึงเดินทางกลับทางทะเล
นอกจากนี้ ยังมีพระภิกษุที่มีชื่อเสียงในด้านการแปลและเป็นที่รู้จักอีกหลายรูป ตัวอย่างเช่น
พระกุมารชีพ (鸠摩罗什, ค.ศ. 344-413) บิดาเป็นคนอินเดียแต่ภูมิล าเนาอยู่ที่เมืองกุฉะ ปัจจุบัน
อยู่ในมณฑลซินเจียง เดิมท่านศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาท ต่อมาได้ศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน
และด้วยสถานการณ์ทางการเมืองท่านได้เดินทางถึงที่ฉางอันในปี ค.ศ. 401 และแปลคัมภีร์ถึง
ปีค.ศ. 409 ซึ่งท่านได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นจ านวนมาก ส านวนฉบับแปลของท่านได้รับ
ความนิยมเป็นอย่างมากและได้ใช้ในการสวดมนต์ในพุทธศาสนิกชนชาวจีนจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในยุคราชวงศ์ถัง พระเสวียนจั้ง (玄奘法师, ค.ศ. 602-664) ได้เดินทางไปอินเดียในปี ค.ศ. 627 ถึง
มหาวิทยาลันนาลันทาในปี ค.ศ. 629 และศึกษาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 14 ปี ท่านได้เขียนบันทึกชื่อ
“ต้าถังซียฺวี่จี้” (大唐西域记) ที่บันทึกรายละเอียดเรื่องราวของ 138 แคว้น แต่ท่านไปด้วยตนเอง
110 แคว้น ท่านเดินทางกลับจีนในปี ค.ศ. 643 เมื่อเดินทางถึงจีนในปี ค.ศ. 645 จักรพรรดิถังไท่จงได้
สร้างหอแปลถวายและท่านจึงได้ด าเนินการแปลนับตั้งแต่นั้นจนตลอดชีวิตของท่าน
ในสมัยถังเกาจงพระอี้จิง (義淨, ค.ศ. 635-713) ได้เดินทางไปอินเดียไปและกลับทางเรือ โดยออกเดินทางใน
ปี ค.ศ. 670 ใช้เวลา 3 ปีจึงถึงอินเดียใต้ แล้วศึกษาเล่าเรียนภาษาสันสกฤตเป็นระยะเวลา 2 ปี และ
เดินทางต่อจนถึงเมืองนาลันทาในปี ค.ศ. 675 และศึกษาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 10 ปี และเดินทางกลับจีน
ในปี ค.ศ. 685 ขึ้นฝั่งที่เมืองกวางโจว เมื่อไปถึงลั่วหยางในปี ค.ศ. 695 จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนได้ให้
การต้อนรับ ท่านได้เริ่มแปลพระสูตรฮวาเอี่ยน จนแล้วเสร็จปี ค.ศ. 699 เมื่อถึงยุคจักรพรรดิจงจงในปี
ค.ศ. 706 จึงได้สร้างหอแปลถวาย ท่านได้ท างานแปลหนังสือราว 56 เล่มจาก 400 เล่ม และได้รับ
การแต่งตั้งจากจักรพรรดินีให้เป็นมหารัฐคุรุอีกด้วย ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วน
ซึ่งผู้อ่านที่สนใจสามารถศึกษาประวัติของพระผู้ทรงคุณูปการด้านการแปลรูปอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
ในคัมภีร์เกาเซิงจ้วน (高僧传)
ตอนต่อไป.....ปิฎกภาษาจีนจากฉบับเขียนคัดลอก...ไปสู่...ฉบับพิมพ์
เรื่องเล่าพระไตรปิกฎก...ตอนที่-2:...ประวัติความเป็นมาของ....ปิฎกภาษาจีน
อย่างที่ชาวไทยคุ้นเคยเรียกกัน
โดยในยุคแรกนับตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงราชวงศ์สุย พระภิกษุผู้รวบรวมคัมภีร์แปลได้
ขนานนามพระไตรปิฎกว่า คลัง(ปิฎก)พระสูตร หรือ (คลัง)ปิฎกพระคัมภีร์“藏经”
บ้างก็เรียกว่ากลุ่มหมวดพระสูตร หรือ กลุ่มหมวดพระคัมภีร์ หรือพระคัมภีร์พระสูตรทั้งหลาย “众经”
หรือเรียกว่าสรรพพระสูตร หรือ สรรพพระคัมภีร์“一切经”
ต่อมาในราชวงศ์ซ่งตอนเหนือ จึงเริ่มมีการเรียกพระไตรปิฎกภาษาจีนว่า พระสูตรมหาปิฏก (คลังใหญ่)
หรือพระคัมภีร์มหาปิฏก (คลังใหญ่) “大藏经” ที่อ่านออกเสียงว่า ต้าจ้างจิง และถูกเรียกขานในเกาหลีและญี่ปุ่นเช่นกัน
โดยในสำเนียงญี่ปุ่นเรียกว่า
“ไดโซเคียว” ในสำเนียงเกาหลีเรียกว่า “แทจังคยอง” และในสำเนียงเวียดนามเรียกว่า “ไดตังกิง”
ความเป็นมาของพระไตรปิฎกจากอินเดียส่ปู ระเทศจีน
หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน คณะสงฆ์ปรารภและทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อดำรงไว้
ซึ่งพระสัทธรรมให้ยาวนาน พระมหากัสสปะจึงได้เป็นประธานการท าสังคายนาครั้งที่ 1 และ
มีการสังคายนาอีกหลายครั้งต่อมา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีนนั้นเกิดขึ้นหลังจากการสังคายนาครั้งที่ 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
ก่อนการสังคายนาครั้งที่ 4 ในอินเดียยุคพระเจ้ากนิษกะ (ค.ศ. 127-147) นับเป็นเวลาประมาณ 500 ปีหลังพุทธกาล
โดยปรากฏประวัติการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาฉบับแรกของจีนตั้งแต่ยุคที่อินเดียเริ่มมีแนวคิดมหายาน
ซึ่งหมายความว่าคัมภีร์ที่ผ่านจากอินเดียสู่เส้นทางสายไหมจึงมีทั้งคัมภีร์ดั้งเดิมก่อนยุคมหายานและคัมภีร์มหายาน
ต่อมาเมื่อในประเทศอินเดียได้มีการแบ่งแยกแนวคิดหรือนิกายที่ชัดเจนขึ้น เช่น มาธยามิกะ และ
โยคาจารย์ เป็นต้น คัมภีร์จากนิกายเหล่านี้ได้สืบทอดส่งต่อและเดินทางผ่านเส้นทางสายไหมไปสู่จีน
เช่นกัน
จึงกล่าวได้ว่าคัมภีร์พระพุทธศาสนาก่อนที่จะมาเป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนนั้นได้รับการสืบทอด
แปลและรวบรวมเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี ซึ่งต่างจากในฝ่ายบาลีที่ถูกนำเข้ามาเผยแผ่ในศรีลังกา
โดยพระมหินทะทั้งหมดในครั้งเดียว และไม่มีการรับเพื่อมาเพิ่มเติมมาจากอินเดียในภายหลังอีก
นับตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา พระภิกษุต่างชาติหลายท่านได้เดินทางมาจีน และได้ท่องจ า
รวมไปถึงการน าคัมภีร์พระพุทธศาสนาส าคัญบางฉบับมายังผืนแผ่นดินจีนผ่านเส้นทางสายไหม
ผ่านเข้ามาในทางทิศตะวันตกของเมืองตุนหวง ซึ่งมีสถานที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า
ดินแดนตะวันตก (西域) เป็ นพื้นที่ของเมืองใหญ่เล็กอีก 36 เมืองหรือประเทศ2 ปัจจุบัน คือ
มณฑลซินเจียง เป็นเมืองที่มีความซับซ้อนหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา และเข้าสู่ประตู
ของประเทศจีนที่เมืองตุนหวง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลกานซู่
ในยุคราชวงศ์ฮั่น พระกาศยปะมาตังคะและพระธรรมรัตนะเป็นพระภิกษุชาวต่างชาติคู่แรก
ที่ได้รับการบันทึกว่ามาถึงประเทศจีน และต่อมาได้เริ่มมีการแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยพระภิกษุ
ชาวพาร์เธียนามว่า อันซื่อเกา (安世高, ค.ศ. 148-180) ซึ่งเน้นการแปลพระสูตรเถรวาท และ
พระโลกเกษม (支婁迦讖, ค.ศ. 147-189) ก็ได้แปลพระสูตรมหายานจ านวนมาก โดยเริ่มงานแปล
ในปี ค.ศ. 167 ที่เมืองลั่วหยาง ท่านทั้งสองถือได้ว่าเป็นบุคคลผู้บุกเบิกในการแปลพระสูตรคัมภีร์
พระพุทธศาสนาเป็นภาษาจีนนอกจากนี้ยังมีพระภิกษุต่างชาติที่เดินทางมาจีนเพื่อแปลพระสูตร และพระภิกษุจีน
ที่เดินทางรอนแรมข้ามน ้าข้ามทะเลเพื่อไปอัญเชิญพระสูตรจากอินเดียมาแปลอีกหลายรูป เช่น
พระจูซื่อสิง (朱士行, ค.ศ. 203-282) พระภิกษุจีนที่ได้เดินทางไปถึงเมืองโคตานแล้วพ านักที่นั่น
เพื่อคัดลอกพระสูตรและส่งกลับสู่แผ่นดินจีน; พระธรรมลักษณ์ (竺法護, ค.ศ. 237-316)
พระเมืองตุขารา (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลกานซู่) ไปตั้งรกรากเพื่อแปลพระสูตรที่ตุนหวง;
พระฝาเสี่ยน(释法显, ค.ศ. 337-422) ได้รับอิทธิพลจากพระเต้าอัน 释道安 (ค.ศ. 312-385) ซึ่งเป็นพระมหาเถระ
บุคคลส าคัญในการรวบรวมพระสูตรต่าง ๆ ได้กล่าวว่า พระวินัยหลากหลาย พระวินัยสี่ส่วนก็ไม่ครบ
พระฝาเสี่ยนจึงตัดสินใจเดินทางไปอินเดียเมื่ออายุราว 60 ปี เพื่อน าพระวินัยกลับมา ในช่วงระหว่าง
ปี ค.ศ. 399 - 412 โดยเดินทางออกจากฉางอันทางบกผ่าน 13 เมืองใหญ่ ใช้ระยะเวลาเดินทางไป
รวม 6 ปี พ านักอยู่ที่อินเดีย 3 ปี อยู่ศรีลังกา 2 ปี แล้วจึงเดินทางกลับทางทะเล
นอกจากนี้ ยังมีพระภิกษุที่มีชื่อเสียงในด้านการแปลและเป็นที่รู้จักอีกหลายรูป ตัวอย่างเช่น
พระกุมารชีพ (鸠摩罗什, ค.ศ. 344-413) บิดาเป็นคนอินเดียแต่ภูมิล าเนาอยู่ที่เมืองกุฉะ ปัจจุบัน
อยู่ในมณฑลซินเจียง เดิมท่านศึกษาพระพุทธศาสนาเถรวาท ต่อมาได้ศึกษาพระพุทธศาสนามหายาน
และด้วยสถานการณ์ทางการเมืองท่านได้เดินทางถึงที่ฉางอันในปี ค.ศ. 401 และแปลคัมภีร์ถึง
ปีค.ศ. 409 ซึ่งท่านได้แปลคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นจ านวนมาก ส านวนฉบับแปลของท่านได้รับ
ความนิยมเป็นอย่างมากและได้ใช้ในการสวดมนต์ในพุทธศาสนิกชนชาวจีนจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในยุคราชวงศ์ถัง พระเสวียนจั้ง (玄奘法师, ค.ศ. 602-664) ได้เดินทางไปอินเดียในปี ค.ศ. 627 ถึง
มหาวิทยาลันนาลันทาในปี ค.ศ. 629 และศึกษาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 14 ปี ท่านได้เขียนบันทึกชื่อ
“ต้าถังซียฺวี่จี้” (大唐西域记) ที่บันทึกรายละเอียดเรื่องราวของ 138 แคว้น แต่ท่านไปด้วยตนเอง
110 แคว้น ท่านเดินทางกลับจีนในปี ค.ศ. 643 เมื่อเดินทางถึงจีนในปี ค.ศ. 645 จักรพรรดิถังไท่จงได้
สร้างหอแปลถวายและท่านจึงได้ด าเนินการแปลนับตั้งแต่นั้นจนตลอดชีวิตของท่าน
ในสมัยถังเกาจงพระอี้จิง (義淨, ค.ศ. 635-713) ได้เดินทางไปอินเดียไปและกลับทางเรือ โดยออกเดินทางใน
ปี ค.ศ. 670 ใช้เวลา 3 ปีจึงถึงอินเดียใต้ แล้วศึกษาเล่าเรียนภาษาสันสกฤตเป็นระยะเวลา 2 ปี และ
เดินทางต่อจนถึงเมืองนาลันทาในปี ค.ศ. 675 และศึกษาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 10 ปี และเดินทางกลับจีน
ในปี ค.ศ. 685 ขึ้นฝั่งที่เมืองกวางโจว เมื่อไปถึงลั่วหยางในปี ค.ศ. 695 จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียนได้ให้
การต้อนรับ ท่านได้เริ่มแปลพระสูตรฮวาเอี่ยน จนแล้วเสร็จปี ค.ศ. 699 เมื่อถึงยุคจักรพรรดิจงจงในปี
ค.ศ. 706 จึงได้สร้างหอแปลถวาย ท่านได้ท างานแปลหนังสือราว 56 เล่มจาก 400 เล่ม และได้รับ
การแต่งตั้งจากจักรพรรดินีให้เป็นมหารัฐคุรุอีกด้วย ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วน
ซึ่งผู้อ่านที่สนใจสามารถศึกษาประวัติของพระผู้ทรงคุณูปการด้านการแปลรูปอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
ในคัมภีร์เกาเซิงจ้วน (高僧传)
ตอนต่อไป.....ปิฎกภาษาจีนจากฉบับเขียนคัดลอก...ไปสู่...ฉบับพิมพ์