ผมอ่านกระทู้นี้ที่คุณโชติกะเขียนไว้ในลานธรรมแล้วชอบมาก
ขออนุญาตยกมาเผยแพร่ต่อครับ
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004049.htm
คัมภีร์อรรถกถาคืออะไร
เนื้อความ :
ข้อความที่จะได้กล่าวต่อไปนี้เป็นข้อความที่เกิดจากความตั้งใจที่จะรักษาพระธรรมวินัยเป็นหลัก ซึ่งจะได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาตามหลักฐานที่มีอยู่แล้วได้ค้นคว้ามา ไม่ได้ตั้งใจจะให้กระทบกระเทือนผู้หนึ่งผู้ใด ถ้าหากว่าทำให้ใครไม่พอใจแล้ว ก็ต้องขอให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ทั้งนี้ขอให้เข้าใจว่า ได้ทำเพื่อเห็นแก่พระธรรมวินัยเป็นสำคัญ
การรักษาพระธรรมวินัยเป็นหน้าที่ที่พุทธบริษัททุกคนพึงกระทำโดยแท้ เพราะฉะนั้นขอให้ผู้ที่มีความรักในพระพุทธศาสนาได้ตั้งใจอ่านแล้วพิจารณาด้วยปัญญาเถิด อย่าได้มีอคติความลำเอียงเลย
ในกระทู้ที่ 003833 นั้น มีผู้กล่าวไว้ว่า
“ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้ตั้งกฏเกณฑ์นี้ขึ้นให้ความเคารพพระสูตรต่างๆเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะพระสูตรต่างๆบรรลุคำกล่าวของพระผู้มีพระภาคและพระเถระชั้นผู้ใหญ่เอาไว้ และผมเข้าใจว่าเมื่อตั้งกฏ คำว่าพระสูตรนั้นหมายรวมพระไตรปิฏกทั้งหมดแต่ไม่รวมถึงอรรถกถา
ดังนั้นต่อไปหากมีข้อโต้แย้งใดๆในลานธรรม ก็ขอให้เพื่อนๆใช้หลักฐานจากพระไตรปิฏกกันเถิดครับ ผมมั่นใจว่าด้วยความเคารพในธรรม ชาวลานธรรมฯเคารพพระไตรปิฏกแน่นอน หากผู้ต้องการชี้ผิดชี้ถูกยกหลักฐานในพระไตรปิฏกมาอ้างความขัดแย้งนั้นจะสิ้นสุดและยุติอย่างแน่นอน”
ท่านผู้ที่แสดงความคิดเห็นไว้ข้างต้นคงจะมีเจตนาดีที่จะให้ชาวพุทธโดยเฉพาะคนที่เข้ามาในลานธรรมได้ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นบรรทัดฐาน เพื่อที่เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้นแล้วจะได้หาข้อสรุปได้ ไม่แตกความสามัคคี ต้องขออนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศลด้วย
แต่ว่าการยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกโดยไม่ยึดถืออรรถาธิบายจากคัมภีร์อรรถกถานั้น เห็นว่ายังไม่ถูกต้อง
เมื่ออ้างพระไตรปิฎก แต่ไม่ยึดถืออรรถกถา ซึ่งเป็นเนื้อความที่แท้จริงของพระบาลีแล้ว (พระบาลีหมายถึงพระไตรปิฎก ไม่รวมอรรถกถา) ก็จะมีการตีความไปต่างๆ นานา เมื่อคน ๑๐๐ คนอ่านพระไตรปิฎกแล้วต่างก็ตีความไปต่างๆ กันโดยไม่ยึดถืออรรถกาก็ย่อมจะต้องหาข้อสรุปไม่ได้อย่างแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีข้อยุติได้อย่างไร หากไม่ยึดถืออรรถกถาแล้ว จะต้องมีความขัดแย้งที่ไม่สามารถยุติได้อย่างแน่นอน
มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่า คัมภีร์อรรถกถาคือ อัตโนมติ-ความคิดเห็นส่วนตัวของพระอรรถกถาจารย์ หรือบางคนคิดว่าคนยุคสมัยนี้อาจจะเข้าใจเนื้อความของพระบาลีได้ดีกว่า อรรถกถาอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ หรือบางคนคิดว่าจะต้องพยายามคิดค้นความรู้ใหม่ๆ ตีความกันเองใหม่นอกจากหลักฐานที่มีอยู่
ความคิดดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง
พระพุทธศาสนา คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีนับเฉพาะตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นระยะเวลานานถึง ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้เพราะพระพุทธเจ้าเท่านั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ลงตัวสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ความคิดว่าจะต้องไปแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หรือตีความกันใหม่ เป็นความคิดที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง
แท้ที่จริงแล้ว อรรถกถาไม่ใช่อัตโนมติของพระอรรถกถาจารย์ แต่มีมาตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่
ในสมัยพุทธกาลมีอรรถาธิบายพุทธพจน์ เรียกว่า “ปกิณกเทศนา” ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงอธิบายหลักธรรมที่เข้าใจยากให้กระจ่างชัดด้วยพระองค์เอง
ในสมัยปฐมสังคายนา พระเถระผู้ใหญ่ มีพระมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระเป็นต้น ได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยโดยไม่ได้สงเคราะห์ปกิณกเทศนานั้นเข้าในพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายอีกทอดหนึ่ง แต่ท่านได้สังคายนาปกิณกเทศนานั้นเมื่อร้อยกรองพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลง โดยเรียกว่า “มหาอรรถกถา”
นอกจากคัมภีร์มหาอรรถกถารวบรวมปกิณกเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังประกอบด้วยคำอธิบายของพระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นด้วย ในสมัยพุทธกาล ท่านเหล่านั้นได้ชี้แจงขยายความข้อธรรมที่สำคัญไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เข้าใจพุทธาธิบายได้อย่างถูกต้อง ไม่วินิจฉัยตามทัศนคติของตน พระเถระในสมัยปฐมสังคายนาจนถึงตติยสังคายนาได้บรรจุคำอธิบายของพระสาวกเหล่านั้นไว้ในคัมภีร์มหาอรรถกถาร่วมกับปกิณกเทศนาเพื่อให้คัมภีร์มหาอรรถกถาเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างบริบูรณ์เพียบพร้อมด้วยพุทธภาษิตและสาวกภาษิต
ครั้นล่วงสู่พุทธศตวรรตที่ ๓ พระมหินทเถระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๗๐-๓๑๒) ได้ไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ลังกาทวีปหลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ท่านได้นำพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง มหาอรรถกถาไปด้วย ต่อมาคัมภีร์อรรถกาได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อกุลบุตรชาวสิงหลได้ศึกษาโดยสะดวกเหมือนการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน
เมื่อกาลเวลาผ่านไปคัมภีร์มหาอรรถกถาที่เป็นฉบับภาษาบาลีเดิมได้อันตรธานสูญหายไปจากประเทศอินเดียและลังกา เพราะภัยพิบัตินานัปการ คงเหลือแต่คัมภีร์มหาอรรถกถาที่แปลเป็นภาษาสิงหล ต่อมาพระเถระนามว่าพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปประเทศลังกาในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม (พ.ศ. ๙๕๓-๙๗๕) แล้วปริวรรตคัมภีร์มหาอรรถกถาภาษาสิงหลมาเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อผู้รู้ภาษาบาลีในนานาประเทศสามารถอิงอาศัยคัมภีร์อธิบายที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกชี้แจงขยายความไว้ คัมภีร์ที่พระพุทธโฆสาจารย์ปริวรรตมาจากมหาอรรถกถาภาษาสิงหลนี้เรียกว่า “อรรถกถา” (คัมภีร์อรรถาธิบาย) ในบางที่เรียกว่า “สังคหัฏฐกถา” (อรรถาธิบายประมวลความ)
โปรดดูหลักฐานดังต่อไปนี้ (ยกมาเฉพาะที่เป็นคำแปลภาษาไทย แต่ได้แสดงที่มาไว้ด้วย ผู้ที่มีความรู้ในภาษาบาลีอาจตรวจสอบดูได้)
พระมหินทเถระผู้ทรงปัญญาได้ประพันธ์อรรถกถาสิงหลอันบริสุทธิ์ด้วยภาษาสิงหล โดยรวบรวมพระดำรัสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงและพระสารีบุตรเป็นอาทิกล่าวไว้ ซึ่งได้รับการสังคายนา ๓ ครั้ง มีปรากฏอยู่ในลังกาทวีป (มหาวงศ์ ปริจเฉท ๓๗ คาถา ๒๒๘-๙)
พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้สังคายนาคัมภีร์อรรถกถาเป็นครั้งแรกและสังคายนาต่อมาเพื่อแสดงเนื้อความของทีฆนิกายอันประเสริฐลึกซึ้ง ซึ่งกำหนดหมายไว้ด้วยสูตรขนาดยาว ที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกได้อธิบายไว้ มีคุณค่าในการปลูกฝังศรัทธา
แต่ภายหลังพระมหินทเถระนำ (คัมภีร์มหาอรรถกถา) มาเกาะสิงหล ต่อมาได้เรียบเรียงด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์แก่ชาวสิงหลทั้งหลาย
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงแปลภาษาสิงหลเป็นภาษามคธที่ไพเราะ ถูกต้องตามหลักภาษา ปราศจากโทษ มิให้ผิดเพี้ยนมติของพระเถระสำนักมหาวิหารผู้มีวินิจฉัยละเอียดดี จะตัดข้อความซ้ำออกแล้วแสดงเนื้อความ เพื่อความปาโมทย์ของสาธุชน และเพื่อความยั่งยืนแห่งพระธรรม (ที.อฏฺ. ๑/๑-๒)
แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเองได้ตรัสลำดับแห่งการอธิบายความพระไตรปิฎกทั้งสามที่เรียกว่าปกิณกเทศนา (ที.ฏี. ๑/๑๖)
คัมภีร์อรรถกถานั้นมีอยู่แม้ในกาลที่พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ เพราะถ้อยคำ (ในอรรถกถา) ว่า พระสังคาหกาจารย์ได้ร้อยกรองคัมภีร์อรรถกถาใดในปฐมสังคายนา (อนุฏี. ๑/๑๓)
แท้จริง บูรพาจารย์ผู้ประเสริฐ ชำระอาสวะมลทินด้วยประปัญญาดั่งวารี มีวิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการอธิบายพระสัทธรรม หาผู้เปรียบปานในความเป็นผู้ขัดเกลากิเลสได้ยาก เปรียบดั่งธงชัยชองสำนักมหาวิหาร ได้อธิบายพระวินัยไว้โดยนัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
กระนั้นก็ตาม คัมภีร์อธิบายนั้นมิได้อำนวยประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่ภิกษุในสถานที่อื่น เพราะเรียบเรียงด้วยภาษาของชาวเกาะสิงหล
ฉะนั้นข้าพเจ้าระลึกถึงคำเชื้อเชิญด้วยดีของพระเถระนามว่าพุทธสิริ ในกาลนี้จึงเริ่มแต่งคัมภีร์อธิบายที่คล้อยตามนัยพระบาลีนี้
อนึ่ง เมื่อจะเริ่มอธิบายความ ได้กระทำคัมภีร์มหาอรรถกถาเป็นเค้าโครงของคัมภีร์อธิบายนั้น ไม่ละความอันควรจากวินิจฉัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกามหาปัจจรีและอรรถกถาที่ปรากฏนามว่ากุรุนทีเป็นอาที จักรจนาคัมภีร์อธิบายที่มีเถรวาท (คือพระพุทธพจน์) เป็นภายในด้วยดี
ขอภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ มัชฌิมะ และนวกะ ผู้มีจิตเลื่อมใส เคารพนับถือพระธรรมของพระตถาคตผู้มีประทีปธรรม พึงตั้งใจสดับคำอธิบายนั้นของข้าพเจ้าเถิด
พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหลมิได้ละมติของพุทธบุตรทั้งหลายผู้รู้พระธรรมวินัยเหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ได้ประพันธ์คัมภีร์อรรถกถาในการก่อน ดังนั้น ถ้อยคำทั้งหมดที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาย่อมเป็นบรรทัดฐานของบัณฑิตผู้เคารพสิกขาในพระศาสนานี้ ยกเว้นถ้อยคำที่จารึก (ต่อๆ กันมา) ด้วยความพลั้งเผลอ
คัมภีร์อธิบายนี้จักปริวรรตคัมภีร์อรรถกถาสิงหลนั้นเป็นภาษา (บาลี) อื่น ย่อความให้รัดกุม ประมวลข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับพระบาลีบทใดบทหนึ่ง แสดงข้อความแห่งถ้อยคำที่มีในพระสูตรให้เหมาะสมแก่พระสูตร ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายพึงศึกษาคัมภีร์อธิบายนี้โดยเอื้อเฟื้อเถิด (วิ.อฏฺ. ๑/๑-๒)
อรรถกถา เป็นปกิณกเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้นๆ (เมืองโน้น หมู่บ้านนี้)
อนึ่ง อรรถกถานั้น เรียกว่า อาจาริยวาท เพราะเหตุที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก แล้วยกขึ้นสู่แบบแห่งการสั่งสอน โดยสมควรแก่อรรถวรรณนาแห่งพระไตรปิฎกนั่นแล (สรตฺถ. ๒/๔๕)
๑) การปฏิเสธอรรถกาซึ่งเป็นอรรถาธิบายพระบาลีที่ถูกต้อง เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
พุทธบริษัทในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท (โดยเฉพาะภิกษุบริษัท) ต่างก็ได้ยึดถือคัมภีร์อรรถกถาในการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาช้านานแล้ว และได้พยายามรักษาคัมภีร์อรรถกถานั้นและพระไตรปิฎกไว้เป็นอย่างดี การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองไปต่างๆนานา เท่ากับเป็นการทำลายเนื้อความที่ถูกต้องของพระไตรปิฎก เมื่อไม่เชื่อถือเนื้อความที่ถูกต้องแล้ว กลับพยายามตีความเอาเองตามความคิดเห็นของตน พระไตรปิฎกนั้นก็จะต้องได้รับการบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ และค่อยอันตรธานสูญสิ้นไปในที่สุด เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองจึงเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
๒) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป หรือภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการทำลายพระพุทธรูปที่ถือกันว่าใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง ชาวพุทธไทยเราได้ออกมาแสดงการคัดค้านมากกันพอสมควร ความจริงการทำลายพระพุทธรูปยังไม่เป็นการทำความเสียหายร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เพราะพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ บัญญัติไว้ยังคงอยู่ หมายความว่าพระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ ไม่ได้สูญสิ้นไปด้วย แต่การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองตามความคิดเห็นของตนโดยไม่บอกหรือแสดงให้ชัดเจนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเป็นการจาบจ้วง บิดเบือน ถอนถอนพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา เป็นความผิดที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป
การที่มีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติปาราชิกก็เช่นกัน เป็นความเสียหายแก่ภิกษุรูปนั้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นความเสียหายต่อภิกษุรูปอื่นๆ หรือคณะสงฆ์ ที่สำคัญคือไม่ได้เป็นการทำความเสียหายต่อพระธรรมวินัย เพราะพระธรรมวินัยก็ยังคงอยู่ เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาจึงเป็นความผิดที่ร้ายแรงมีผลเสียหายต่อพระศาสนามากยิ่งกว่าการต้องอาบัติปาราชิกของภิกษุบางรูป
คัมภีร์อรรถกถาคืออะไร
ขออนุญาตยกมาเผยแพร่ต่อครับ
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/004049.htm
คัมภีร์อรรถกถาคืออะไร
เนื้อความ :
ข้อความที่จะได้กล่าวต่อไปนี้เป็นข้อความที่เกิดจากความตั้งใจที่จะรักษาพระธรรมวินัยเป็นหลัก ซึ่งจะได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาตามหลักฐานที่มีอยู่แล้วได้ค้นคว้ามา ไม่ได้ตั้งใจจะให้กระทบกระเทือนผู้หนึ่งผู้ใด ถ้าหากว่าทำให้ใครไม่พอใจแล้ว ก็ต้องขอให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ทั้งนี้ขอให้เข้าใจว่า ได้ทำเพื่อเห็นแก่พระธรรมวินัยเป็นสำคัญ
การรักษาพระธรรมวินัยเป็นหน้าที่ที่พุทธบริษัททุกคนพึงกระทำโดยแท้ เพราะฉะนั้นขอให้ผู้ที่มีความรักในพระพุทธศาสนาได้ตั้งใจอ่านแล้วพิจารณาด้วยปัญญาเถิด อย่าได้มีอคติความลำเอียงเลย
ในกระทู้ที่ 003833 นั้น มีผู้กล่าวไว้ว่า
“ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้ตั้งกฏเกณฑ์นี้ขึ้นให้ความเคารพพระสูตรต่างๆเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะพระสูตรต่างๆบรรลุคำกล่าวของพระผู้มีพระภาคและพระเถระชั้นผู้ใหญ่เอาไว้ และผมเข้าใจว่าเมื่อตั้งกฏ คำว่าพระสูตรนั้นหมายรวมพระไตรปิฏกทั้งหมดแต่ไม่รวมถึงอรรถกถา
ดังนั้นต่อไปหากมีข้อโต้แย้งใดๆในลานธรรม ก็ขอให้เพื่อนๆใช้หลักฐานจากพระไตรปิฏกกันเถิดครับ ผมมั่นใจว่าด้วยความเคารพในธรรม ชาวลานธรรมฯเคารพพระไตรปิฏกแน่นอน หากผู้ต้องการชี้ผิดชี้ถูกยกหลักฐานในพระไตรปิฏกมาอ้างความขัดแย้งนั้นจะสิ้นสุดและยุติอย่างแน่นอน”
ท่านผู้ที่แสดงความคิดเห็นไว้ข้างต้นคงจะมีเจตนาดีที่จะให้ชาวพุทธโดยเฉพาะคนที่เข้ามาในลานธรรมได้ยึดถือพระไตรปิฎกเป็นบรรทัดฐาน เพื่อที่เมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้นแล้วจะได้หาข้อสรุปได้ ไม่แตกความสามัคคี ต้องขออนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศลด้วย
แต่ว่าการยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกโดยไม่ยึดถืออรรถาธิบายจากคัมภีร์อรรถกถานั้น เห็นว่ายังไม่ถูกต้อง
เมื่ออ้างพระไตรปิฎก แต่ไม่ยึดถืออรรถกถา ซึ่งเป็นเนื้อความที่แท้จริงของพระบาลีแล้ว (พระบาลีหมายถึงพระไตรปิฎก ไม่รวมอรรถกถา) ก็จะมีการตีความไปต่างๆ นานา เมื่อคน ๑๐๐ คนอ่านพระไตรปิฎกแล้วต่างก็ตีความไปต่างๆ กันโดยไม่ยึดถืออรรถกาก็ย่อมจะต้องหาข้อสรุปไม่ได้อย่างแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้จะมีข้อยุติได้อย่างไร หากไม่ยึดถืออรรถกถาแล้ว จะต้องมีความขัดแย้งที่ไม่สามารถยุติได้อย่างแน่นอน
มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่า คัมภีร์อรรถกถาคือ อัตโนมติ-ความคิดเห็นส่วนตัวของพระอรรถกถาจารย์ หรือบางคนคิดว่าคนยุคสมัยนี้อาจจะเข้าใจเนื้อความของพระบาลีได้ดีกว่า อรรถกถาอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ หรือบางคนคิดว่าจะต้องพยายามคิดค้นความรู้ใหม่ๆ ตีความกันเองใหม่นอกจากหลักฐานที่มีอยู่
ความคิดดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้องโดยสิ้นเชิง
พระพุทธศาสนา คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีนับเฉพาะตั้งแต่ได้รับพยากรณ์จากสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นระยะเวลานานถึง ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป
พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้เพราะพระพุทธเจ้าเท่านั้น คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ลงตัวสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ความคิดว่าจะต้องไปแสวงหาสิ่งใหม่ๆ หรือตีความกันใหม่ เป็นความคิดที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง
แท้ที่จริงแล้ว อรรถกถาไม่ใช่อัตโนมติของพระอรรถกถาจารย์ แต่มีมาตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่
ในสมัยพุทธกาลมีอรรถาธิบายพุทธพจน์ เรียกว่า “ปกิณกเทศนา” ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงอธิบายหลักธรรมที่เข้าใจยากให้กระจ่างชัดด้วยพระองค์เอง
ในสมัยปฐมสังคายนา พระเถระผู้ใหญ่ มีพระมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระเป็นต้น ได้ร้อยกรองพระธรรมวินัยโดยไม่ได้สงเคราะห์ปกิณกเทศนานั้นเข้าในพระไตรปิฎก เพราะถือว่าเป็นคำอธิบายอีกทอดหนึ่ง แต่ท่านได้สังคายนาปกิณกเทศนานั้นเมื่อร้อยกรองพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลง โดยเรียกว่า “มหาอรรถกถา”
นอกจากคัมภีร์มหาอรรถกถารวบรวมปกิณกเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังประกอบด้วยคำอธิบายของพระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นด้วย ในสมัยพุทธกาล ท่านเหล่านั้นได้ชี้แจงขยายความข้อธรรมที่สำคัญไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เข้าใจพุทธาธิบายได้อย่างถูกต้อง ไม่วินิจฉัยตามทัศนคติของตน พระเถระในสมัยปฐมสังคายนาจนถึงตติยสังคายนาได้บรรจุคำอธิบายของพระสาวกเหล่านั้นไว้ในคัมภีร์มหาอรรถกถาร่วมกับปกิณกเทศนาเพื่อให้คัมภีร์มหาอรรถกถาเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างบริบูรณ์เพียบพร้อมด้วยพุทธภาษิตและสาวกภาษิต
ครั้นล่วงสู่พุทธศตวรรตที่ ๓ พระมหินทเถระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๗๐-๓๑๒) ได้ไปเผยแผ่พระศาสนา ณ ลังกาทวีปหลังการสังคายนาครั้งที่ ๓ ท่านได้นำพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง มหาอรรถกถาไปด้วย ต่อมาคัมภีร์อรรถกาได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อกุลบุตรชาวสิงหลได้ศึกษาโดยสะดวกเหมือนการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน
เมื่อกาลเวลาผ่านไปคัมภีร์มหาอรรถกถาที่เป็นฉบับภาษาบาลีเดิมได้อันตรธานสูญหายไปจากประเทศอินเดียและลังกา เพราะภัยพิบัตินานัปการ คงเหลือแต่คัมภีร์มหาอรรถกถาที่แปลเป็นภาษาสิงหล ต่อมาพระเถระนามว่าพระพุทธโฆสาจารย์ได้เดินทางไปประเทศลังกาในรัชสมัยพระเจ้ามหานาม (พ.ศ. ๙๕๓-๙๗๕) แล้วปริวรรตคัมภีร์มหาอรรถกถาภาษาสิงหลมาเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อผู้รู้ภาษาบาลีในนานาประเทศสามารถอิงอาศัยคัมภีร์อธิบายที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกชี้แจงขยายความไว้ คัมภีร์ที่พระพุทธโฆสาจารย์ปริวรรตมาจากมหาอรรถกถาภาษาสิงหลนี้เรียกว่า “อรรถกถา” (คัมภีร์อรรถาธิบาย) ในบางที่เรียกว่า “สังคหัฏฐกถา” (อรรถาธิบายประมวลความ)
โปรดดูหลักฐานดังต่อไปนี้ (ยกมาเฉพาะที่เป็นคำแปลภาษาไทย แต่ได้แสดงที่มาไว้ด้วย ผู้ที่มีความรู้ในภาษาบาลีอาจตรวจสอบดูได้)
พระมหินทเถระผู้ทรงปัญญาได้ประพันธ์อรรถกถาสิงหลอันบริสุทธิ์ด้วยภาษาสิงหล โดยรวบรวมพระดำรัสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงและพระสารีบุตรเป็นอาทิกล่าวไว้ ซึ่งได้รับการสังคายนา ๓ ครั้ง มีปรากฏอยู่ในลังกาทวีป (มหาวงศ์ ปริจเฉท ๓๗ คาถา ๒๒๘-๙)
พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้สังคายนาคัมภีร์อรรถกถาเป็นครั้งแรกและสังคายนาต่อมาเพื่อแสดงเนื้อความของทีฆนิกายอันประเสริฐลึกซึ้ง ซึ่งกำหนดหมายไว้ด้วยสูตรขนาดยาว ที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกได้อธิบายไว้ มีคุณค่าในการปลูกฝังศรัทธา
แต่ภายหลังพระมหินทเถระนำ (คัมภีร์มหาอรรถกถา) มาเกาะสิงหล ต่อมาได้เรียบเรียงด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์แก่ชาวสิงหลทั้งหลาย
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงแปลภาษาสิงหลเป็นภาษามคธที่ไพเราะ ถูกต้องตามหลักภาษา ปราศจากโทษ มิให้ผิดเพี้ยนมติของพระเถระสำนักมหาวิหารผู้มีวินิจฉัยละเอียดดี จะตัดข้อความซ้ำออกแล้วแสดงเนื้อความ เพื่อความปาโมทย์ของสาธุชน และเพื่อความยั่งยืนแห่งพระธรรม (ที.อฏฺ. ๑/๑-๒)
แท้จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเองได้ตรัสลำดับแห่งการอธิบายความพระไตรปิฎกทั้งสามที่เรียกว่าปกิณกเทศนา (ที.ฏี. ๑/๑๖)
คัมภีร์อรรถกถานั้นมีอยู่แม้ในกาลที่พระผู้มีพระภาคทรงพระชนม์อยู่ เพราะถ้อยคำ (ในอรรถกถา) ว่า พระสังคาหกาจารย์ได้ร้อยกรองคัมภีร์อรรถกถาใดในปฐมสังคายนา (อนุฏี. ๑/๑๓)
แท้จริง บูรพาจารย์ผู้ประเสริฐ ชำระอาสวะมลทินด้วยประปัญญาดั่งวารี มีวิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการอธิบายพระสัทธรรม หาผู้เปรียบปานในความเป็นผู้ขัดเกลากิเลสได้ยาก เปรียบดั่งธงชัยชองสำนักมหาวิหาร ได้อธิบายพระวินัยไว้โดยนัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
กระนั้นก็ตาม คัมภีร์อธิบายนั้นมิได้อำนวยประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่ภิกษุในสถานที่อื่น เพราะเรียบเรียงด้วยภาษาของชาวเกาะสิงหล
ฉะนั้นข้าพเจ้าระลึกถึงคำเชื้อเชิญด้วยดีของพระเถระนามว่าพุทธสิริ ในกาลนี้จึงเริ่มแต่งคัมภีร์อธิบายที่คล้อยตามนัยพระบาลีนี้
อนึ่ง เมื่อจะเริ่มอธิบายความ ได้กระทำคัมภีร์มหาอรรถกถาเป็นเค้าโครงของคัมภีร์อธิบายนั้น ไม่ละความอันควรจากวินิจฉัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกามหาปัจจรีและอรรถกถาที่ปรากฏนามว่ากุรุนทีเป็นอาที จักรจนาคัมภีร์อธิบายที่มีเถรวาท (คือพระพุทธพจน์) เป็นภายในด้วยดี
ขอภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ มัชฌิมะ และนวกะ ผู้มีจิตเลื่อมใส เคารพนับถือพระธรรมของพระตถาคตผู้มีประทีปธรรม พึงตั้งใจสดับคำอธิบายนั้นของข้าพเจ้าเถิด
พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหลมิได้ละมติของพุทธบุตรทั้งหลายผู้รู้พระธรรมวินัยเหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ได้ประพันธ์คัมภีร์อรรถกถาในการก่อน ดังนั้น ถ้อยคำทั้งหมดที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาย่อมเป็นบรรทัดฐานของบัณฑิตผู้เคารพสิกขาในพระศาสนานี้ ยกเว้นถ้อยคำที่จารึก (ต่อๆ กันมา) ด้วยความพลั้งเผลอ
คัมภีร์อธิบายนี้จักปริวรรตคัมภีร์อรรถกถาสิงหลนั้นเป็นภาษา (บาลี) อื่น ย่อความให้รัดกุม ประมวลข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับพระบาลีบทใดบทหนึ่ง แสดงข้อความแห่งถ้อยคำที่มีในพระสูตรให้เหมาะสมแก่พระสูตร ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายพึงศึกษาคัมภีร์อธิบายนี้โดยเอื้อเฟื้อเถิด (วิ.อฏฺ. ๑/๑-๒)
อรรถกถา เป็นปกิณกเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้นๆ (เมืองโน้น หมู่บ้านนี้)
อนึ่ง อรรถกถานั้น เรียกว่า อาจาริยวาท เพราะเหตุที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก แล้วยกขึ้นสู่แบบแห่งการสั่งสอน โดยสมควรแก่อรรถวรรณนาแห่งพระไตรปิฎกนั่นแล (สรตฺถ. ๒/๔๕)
๑) การปฏิเสธอรรถกาซึ่งเป็นอรรถาธิบายพระบาลีที่ถูกต้อง เป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
พุทธบริษัทในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท (โดยเฉพาะภิกษุบริษัท) ต่างก็ได้ยึดถือคัมภีร์อรรถกถาในการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกมาช้านานแล้ว และได้พยายามรักษาคัมภีร์อรรถกถานั้นและพระไตรปิฎกไว้เป็นอย่างดี การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองไปต่างๆนานา เท่ากับเป็นการทำลายเนื้อความที่ถูกต้องของพระไตรปิฎก เมื่อไม่เชื่อถือเนื้อความที่ถูกต้องแล้ว กลับพยายามตีความเอาเองตามความคิดเห็นของตน พระไตรปิฎกนั้นก็จะต้องได้รับการบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ และค่อยอันตรธานสูญสิ้นไปในที่สุด เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองจึงเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาอย่างถอนรากถอนโคน
๒) การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป หรือภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการทำลายพระพุทธรูปที่ถือกันว่าใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง ชาวพุทธไทยเราได้ออกมาแสดงการคัดค้านมากกันพอสมควร ความจริงการทำลายพระพุทธรูปยังไม่เป็นการทำความเสียหายร้ายแรงต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เพราะพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ บัญญัติไว้ยังคงอยู่ หมายความว่าพระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ ไม่ได้สูญสิ้นไปด้วย แต่การปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาแล้วแล้วตีความพระไตรปิฎกเอาเองตามความคิดเห็นของตนโดยไม่บอกหรือแสดงให้ชัดเจนว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวเป็นการจาบจ้วง บิดเบือน ถอนถอนพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา เป็นความผิดที่ร้ายแรงยิ่งกว่าการทำลายพระพุทธรูป
การที่มีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งต้องอาบัติปาราชิกก็เช่นกัน เป็นความเสียหายแก่ภิกษุรูปนั้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นความเสียหายต่อภิกษุรูปอื่นๆ หรือคณะสงฆ์ ที่สำคัญคือไม่ได้เป็นการทำความเสียหายต่อพระธรรมวินัย เพราะพระธรรมวินัยก็ยังคงอยู่ เพราะฉะนั้นการปฏิเสธคัมภีร์อรรถกถาจึงเป็นความผิดที่ร้ายแรงมีผลเสียหายต่อพระศาสนามากยิ่งกว่าการต้องอาบัติปาราชิกของภิกษุบางรูป