ความรู้เรื่องอรรถกถา

กระทู้สนทนา
ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในทางประวัติศาสตร์Edit
ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 มติ คือ มติแรกเห็นว่าอรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มติหลังเห็นว่าอรรถกถาเริ่มมีในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 236 แต่มติหลังนี้น่าจะมาจากการอ่านผิดวิธี เพราะไม่พบหลักฐานที่กว่าวไว้อย่างนั้น [4] แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีดั้งเดิมได้สูญหายจากประเทศอินเดียไป เหลือเพียงคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหล ซึ่งพระมหินทเถระได้นำอรรถกถาในภาษาบาลีมาเผยแพร่ในเกาะลังกาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 236)

ดังนั้นในปี พ.ศ. 945 พระพุทธโฆสะ พระภิกษุชาวอินเดีย จึงได้รับอาราธนามาที่เกาะลังกาเพื่อแปลคัมภีร์อรรถกถากลับคืนสู่ภาษาบาลี ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นผลงานการแปลของท่านพระพุทธโฆสะ[5]

ทั้งนี้ อรรถกถาภาษาสิงหลโบราณที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นต่อมา เช่น พระพุทธโฆสะและพระธัมมปาละ ได้ทำการเรียบเรียงขึ้นเป็นภาษามคธนั้น ต้นฉบับได้สูญหายไปหมดแล้ว แต่จากข้อมูลที่หลงเหลืออยู่ สามารถจำแนกแยกอรรถกถาโบราณเหล่านี้ออกเป็น 3 หมวด คือ

อรรถกถาวินัยปิฎก
มหาอรรถกถา หรือมูลอรรถกถา เป็นผลงานของพระสงฆ์คณะมหาวิหารเมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา แก้ครบทั้ง 3 ปิฎก ซึ่งมหาอรรถกถานี้ นำมาจากชมพูทวีปสู่เกาะสิงหล โดยพระมหามหินทเถระ แล้วแปลเรียบเรียงเป็นภาษาสิงหลไว้โดยพระเถระผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกชาวสิงหล เพื่อหลีกเลี่ยงการกลืนจากลัทธิอื่นและเพื่อสะดวกแก่การศึกษาชองชาวสิงหล และเป็นอรรถกถาที่พระพุทธโฆสาจารย์ยึดถือเป็นต้นแบบในการแต่งอภินวอรรถกถา เป็นผลงานของพระโปราณาจารย์ [6]
มหาปัจจรีอรรถกถา คือ อรรถกถาแพใหญ่ แต่งขณะที่นั่งบนแพ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
กุรุนทีอรรถกถา แต่งที่กุรุนทีมหาวิหารในศรีลังกา ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
อันธกัฏฐกถา แต่งเป็นภาษาอันธกะ แล้วสืบต่อกันมาขยายไปยังเมืองกัฏฐิปุระ หรือเมืองคอนเจวารามในอินเดียภาคใต้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
สังเขปัฏฐกถา คือ อรรถกถาย่อ สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งในอินเดียภาคใต้ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
วินัยอัฏฐกถา ไม่ปรากฏสถานที่แต่งและชื่อผู้แต่ง [7]
อรรถกถาสุตตันตปิฎก
มหาอรรถกถา หรือ มูลอรรถกถา
สุตตันตอรรถกถา หรือ อรรถกถาพระสูตร
อาคมัฏฐกกถา อรรถกถานิกาย 4
ทีมัฏฐกถา อรรถกถาทีฆนิกาย
มัชฌิมัฏฐกถา คืออรรถกถามัชฌิมนิกาย
สังยุตตัฏฐกถา คืออรรถกถาสังยุตตนิกาย
อังคุตตรัฏฐกถา คืออรรถกถาอังคุตตรนิกาย [8]
อรรถกถาอภิธรรมปิฎก
มหาอรรถกถา หรือมูลอรรถกถา
อภิธัมมัฏฐกถา คืออรรถกถาอภิธรรม [9]
นอกจากนี้ ยังมีอรรถกถาอื่นๆ อีก คือ

จูฬปัจจรีย์อรรถกถา คือ สังเขปอรรถกถานั่นเอง
อริยอรรถกถา คือ อรรถกถาภาษาอริยะ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
ปันนวาร (อรรถกถา) คือ อรรกถาที่ประมวลข้อวินิจฉัยจากมูลอรรถกถาหรือมหาอรรถกถา
อรรถกถาเหล่านี้เรียกว่า โปราณอรรถกถา หรือ อรรถกถาเก่า ซึ่งพระสังคีติกาจารย์ได้ยกขึ้นสู่สังคายนาถึง ๓ ครั้งและนำเผยแพร่ยังเกาะสิงหลโดยพระมหามหินทเถระชาวชมพูทวีปภายหลังสังคายนาครั้งที่ 3 แล้วได้รับการแปลเรียบเรียงเป็นภาษาสิงหลเพื่อหลีกเลี่ยงจากการถูกกลืนจากลัทธิคำสอนอื่น [10]

คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก (บางส่วน)Edit
อรรถกถาที่พระพุทธโฆสะ พระพุทธทัตตะ พระธรรมปาละ พระอุปเสน และพระมหานามะ เป็นต้น แต่งและแปลเรียบเรียงจากมูลอรรถกถาหรือมหาอรรถกถาภาษาสิงหล เรียกว่า อภินวอรรถกถา หรืออรรถกถาใหม่ ซึ่งอรรถกถาของยุคอภินวอรรถกถาเริ่มจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นต้นมาจัดว่าเป็นยุคที่วงการศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาแสดงมติว่าเป็น“ยุคทองของอรรถกถา”เพราะมีอรรถกถาเกิดขึ้นมากมาย โดยเนื้อหาของอรรถกถาเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันในลักษณะอธิบายความที่สื่อต่อกันเป็นลำดับตามกระแสความ ซึ่งมีทั้งอรรถกถาพระวินัยปิฎก อรรถกถาพระสุตตันตปิฎกและอรรถกถาพระอภิธรรมปิฎก [11]

ต่อไปนี้คัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระไตรปิฎก 45 เล่ม มีทั้งหมด 23 คัมภีร์ โดยอาจมีชื่อคัมภีร์ซ้ำกันบ้าง

คัมภีร์อรรถกถาพระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
มหาวิภังค์ ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
ภิกขุนีวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
มหาวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
มหาวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
จุลวรรค ภาค 1 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
จุลวรรค ภาค 2 มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา
นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์กังขาวิตรณี อรรถกถาพระปาติโมกข์ 
คัมภีร์อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก
คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก
๔๕ เล่ม

      http://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่