อรรถกถา "เครื่องบอกความหมาย", ถ้อยคำบอกแจ้งชี้แจงอรรถ, คำอธิบายอัตถะ คือความหมายของพระบาลี อันได้แก่พุทธพจน์ รวมทั้งข้อความและเรื่องราวเกี่ยวข้องแวดล้อมที่รักษาสืบทอดมาในพระไตรปิฎก, คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก;
ในภาษาบาลีเขียน อฏฺฐกถา, มีความหมายเท่ากับคำว่า อตฺถวณฺณนา หรือ อตฺถสํวณฺณนา (คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา กล่าวว่า อรรถกถา คือเครื่องพรรณาอธิบายความหมาย ที่ดำเนินไปตามพยัญชนะและอัตถะ อันสัมพันธ์กับเหตุอันเป็นที่มาและเรื่องราว)
อรรถกถามีมาเดิมสืบแต่พุทธกาล เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกันกับการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่เข้าใจง่ายๆ ว่า "อรรถกถา" ก็คือคำอธิบายพุทธพจน์ และคำอธิบายพุทธพจน์นั้น ก็เริ่มต้นที่พุทธพนจ์ คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นพระดำรัสที่ตรัสประกอบเสริมขยายความในเรื่องที่ตรัสเป็นหลักในคราวนั้นๆ บ้าง เป็นข้อที่ทรงชี้แจงอธิบายพุทธพจน์อื่นที่ตรัสไว้ก่อนแล้วบ้าง เป็นพระดำรัสปลีกย่อยที่ตัสอธิบายเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำนองเรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง
ดังที่ท่านยกตัวอย่างว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงได้รับนิมนต์เสด็จไปประทับใช้อาคารเป็นปฐม ในคราวที่เจ้าศากยะสร้างหอประชุม (สันถาคาร) เสร็จใหม่ ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้เพียงว่าได้ทรงแสดงธรรมกถาแก่เจ้าศากยะอยู่จนดึก เมื่อจะทรงพัก จึงรับสั่งให้พระอานนท์แสดงธรรมเรื่องเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะเหล่านั้น และในพระสูตรนั้นได้บันทึกสาระไว้เฉพาะเรื่องที่พระอานนท์แสดง ส่วนธรรมกถาของพระพุทธเจ้าเองมีว่าอย่างไร ท่านไม่ได้รวมไว้ในตัวพระสูตรนี้ เรื่องอย่างนี้มีบ่อยๆ แม้แต่พระสูตรใหญ่ๆ ก็บันทึกไว้เฉพาะหลักหรือสาระสำคัญ ส่วนที่เป็นพระดำรัสรายละเอียดหรือข้อปลีกย่อยขยายความ ซึ่งเรียกว่าปกิณกเทศนา (จะเรียกว่าปกิณกเทศนา ปกิณกธรรมกถา ปกิณกกถา หรือบาลีมุตธรรมกถา ก็ได้) แม้จะไม่ได้รวมไว้เป็นส่วนของพระไตรปิฎก แต่พระสาวกก็ถือว่าสำคัญยิ่ง คือเป็นส่วนอธิบายขยายความที่ช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์ที่บันทึกไว้เป็นพระสูตรเป็นต้นนั้นได้ชัดเจนขึ้น พระสาวกทั้งหลายจึงกำหนดจดจำปกิณกเทศนาเหล่านี้ไว้ประกอบพ่วงคู่มากับพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก เพื่อเป็นหลักฐานที่ช่วยให้เข้าใจชัดเจนในพระพุทธประสงค์ของหลักธรรมที่ตรัสในคราวนั้นๆ และเฉพาะอย่างยิ่งจะได้ใช้ในการชี้แจงอธิบายหลักธรรมในพุทธพจน์นั้นแก่ศิษย์เป็นต้น
พระปกิณกเทศนานี้แหละ ที่เป็นแกนหรือเป็นที่ก่อรูปของสิ่งที่เรียกว่าอรรถกถา แต่ในขณะที่ส่วนซึ่งเรียกว่าพระไตรปิฎก ท่านรักษาไว้ในรูปแบบและในฐานะที่เป็นหลัก ส่วนที่เป็นอรรถกถานี้ ท่านนำสืบกันมาในรูปลักษณ์และในฐานะที่เป็นคำอธิบายประกอบ แต่ก็ถือเป็นสำคัญยิ่ง ดังที่เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎก อรรถกถาเหล่านี้ก็เข้าสู่การสังคายนาด้วย (ดูตัวอย่างที่ ม.ม.๑๓/๒๕/๒๕; ม.อ.๓/๖/๒๐; วินย.ฏี.๒/๒๘/๗๐; ที.ฏี.๒/๑๘๘/๒๐๗)
ทั้งนี้ มิเฉพาะพระพุทธดำรัสเท่านั้น แม้คำอธิบายของพระมหาสาวกบางท่านก็มีทั้งที่เป็นส่วนในพระไตรปิฎก (อย่างเช่นพระสูตรหลายสูตรของพระสารีบุตร) และส่วนอธิบายประกอบที่ถือว่าเป็นอรรถกถาคำอธิบายที่สำคัญของพระสาวกผู้ใหญ่อันเป็นที่ยอมรับนับถือเป็นหลัก ก็ได้รับการถ่ายทอดรักษาผ่านการสังคายนาสืบต่อมาด้วย
คำอธิบายที่เป็นเรื่องใหญ่บางเรื่องสำคัญมากถึงกับว่า ทั้งที่เรียกว่าเป็นอรรถกถา ก็จัดรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย ดังที่ท่านเล่าไว้ คือ "อัฏฐกถากัณฑ์" ซึ่งเป็นภาคหรือคัมภีร์ย่อยที่ ๓ ในคัมภีร์ธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๔, อัฏฐกถากัณฑ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า "อัตถุทธารกัณฑ์" และพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐได้เลือกใช้ชื่อหลัง) ตามเรื่องที่ท่านบันทึกไว้ว่า (สงฺคณี.อ.๔๖๖) สัทธิวิหาริกรูปหนึ่งของพระสารีบุตรไม่สามารถกำหนดจับคำอธิบายธรรมในภาคหรือคัมภีร์ย่อยที่ ๒ ที่ชื่อว่านิกเขปกัณฑ์ในคัมภีร์ธัมมสังคณีนั้น พระสารีบุตรจึงพูดให้ฟัง ก็เกิดเป็นอัฏฐกถาหรืออัตถุทธารกัณฑ์นั้นขึ้นมา (แต่คัมภีร์มหาอัฏฐกถากล่าวว่า พระสารีบุตรพาสัทธิวิหาริกรูปนั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระองค์ตรัสแสดง),
คัมภีร์มหานิเทส (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙) และจูฬนิทเทส (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐) ก็เป็นคำอธิบายของพระสารีบุตร ที่ไขและขยายความแห่งพุทธพจน์ใมนคัมีร์สุตตนิบาต (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕, อธิบายเฉพาะ ๓๒ สูตร ในจำนวนทั้งหมด ๗๑ สูตร)
อรรถกถาทั้งหลายแต่ครั้งพุทธกาลนั้น ได้พ่วงมากับพระไตรปิฎกผ่านการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง จนกระทั่งเมื่อพระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ก็นำอรรถกถาเหล่านั้น ซึ่งยังเป็นภาษาบาลีพ่วงไปกับพระไตรปิฎกบาลีด้วย แต่เพื่อให้พระสงฆ์ตลอดจนพุทธศาสนิกทั้งหลายในลังกาทวีปนั้น สามารถศึกษาพระไตรปิฎกซึ่งเป็นภาษาบาลีได้สะดวก พระพุทธศาสนาจะได้เจริญมั่นคงด้วยหลักพระธรรมวินัย
คัมภีร์เล่าว่า พระมหินทเถระได้แปลอรรถกถาจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาของผู้เล่าเรียน คือภาษาสิงหฬ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า "มหาอัฏฐกถา" และใช้เป็นเครื่องมือศึกษาพระไตรปิฎกบาลีสืบมา ต่อแต่นั้น อรรถกถาทั้งหลายก็สืบทอดกันมาในภาษาสิงหฬ
ต่อมา พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเสื่อมลง แม้ว่าพระไตรปิฎกจะยังคงอยู่ แต่อรรถกถาได้สูญสิ้นหมดไป ครั้งนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว มีความเชี่ยวชาญจนปรากฏนามว่า "พุทธโฆส" ได้เรียบเรียงคัมภีร์ชื่อว่า ญาโณทัย (คัมภีร์มหาวงส์กล่าวว่าท่านเรียบเรียงอรรถกถาแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี ชื่อว่าอัฏฐสาลินีในคราวนั้นด้วย แต่ไม่สมจริง เพราะอัฏฐสาลินีอ้างวิสุทธิมัคค์ และอ้างสมันตปาสาทิกา มากมายหลายแห่ง จึงคงต้องแต่งทีหลัง) เสร็จแล้วเริ่มจะเรียบเรียงอรรถกถาแห่งพระปริตรขึ้น อาจารย์ของท่าน ซึ่งมีชื่อว่าพระเรวตเถระ บอกว่า อรรถกถามีอยู่บริบูรณ์ในลังกาทวีปเป็นภาษาสิงหฬ และให้ท่านไปแปลเป็นภาษาบาลีแล้วนำมายังชมพูทวีป
พระพุทธโฆสได้เดินทางไปยังลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้ามหานาม (พ.ศ.๙๕๓-๙๗๕; ปีที่ท่านไป หลักฐานบางแห่งว่า พ.ศ.๙๕๖ แต่บางแห่งว่า พ.ศ.๙๖๕) พระพุทธโฆสพำนักในมหาวิหาร เมืองอนุราธปุระ ได้สดับอรรถกถภาษาสังหฬครบทั้ง มหาอฏฺฐกถา มหาปจฺจรี (มหาปจฺจริยา ก็เรียก) และกุรุนฺที (อรรถกถาเก่าก่อนเหล่านี้ รวมทั้งสงฺเขปฏฐกถาซึ่งเป็นความย่อของมหาปัจจรี และอนฺธกฏฐกถาที่พระพุทธโฆสได้คุ้นมาก่อนนั้นแล้ว จัดเป็นโปราณัฏฐกถา) เมื่อจบแล้ว ท่านก็ได้ขอแปลอรรถกถาภาษาสิงหฬ เป็นภาษามคธ
แต่สังฆะแห่งมหาวิหารได้มอบคาถาพุทธพจน์ให้ท่านไปเขียนอธิบายก่อน เป็นการทดสอบความสามารถ พระพุทธโฆสได้เขียนขยายความคาถานั้น โดยประมาลความในพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถามาเรียบเรียงตามหลักไตรสิกขา สำเร็จเป็นคัมภีร์วิสุทธิมัคค์
ครั้นเห็นความสามารถแล้ว สังฆะแห่งมหาวิหารจึงได้มอบคัมภีร์แก่ท่าน พระพุทธโฆสเริ่มงานแปลใน พ.ศ.๙๗๓ ตั้งต้นที่อรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก (คือสมันตปาสาทิกา, คำนวนปีจากวนย.อ.๓/๖๓๕) เมื่อทำงานแปลเสร็จพอควรแล้ว ก็เดินทางกลับไปยังชมพูทวีป
งานแปลของพระพุทธโฆสนั้น แท้จริงมิใช่เป็นการแปลอย่างเดียว แต่เป็นการแปลและเรียบเรียง ดังที่ท่านเองเขียนบอกไว้ว่า ในการสังวรรณนาพระวินัย ท่านใช้มหาอรรถกถาเป็นเนื้อหาหลัก (เป็นสรีระ) พร้อมทั้งเก็บเอาอรรถะที่ควรกล่าวถึงจากข้อวินิจฉัยที่มีในอรรถกถามหาปัจจรี และอรรถกถา กุรุนทีเป็นต้น (คือรวมตลอดถึง อันธกัฏฐกถา และสังเขปัฏฐกถา) อธิบายให้ครอบคลุมประดาเถรวาทะ (คือข้อวินิจฉัยของพระมหาเถระวินัยธรโบราณในลังกาทวีป ถึงพ.ศ.๖๕๓),
แต่ในส่วนของพระสุตตันปิฎกและพระอภิธรรมปิฏก อรรถกถาโบราณ (โปราณัฏฐกถา) ภาษาสิงหฬ มีเพียง มหาอรรถกถาอย่างเดียว (มีมหาอรรถกถาในส่วนของคัมภีร์แต่ละหมวดนั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็นมูลัฏฐกถา) พระพุทธโฆสจึงใช้ มหาอรรถกถานั้น เป็นแกน ข้อความที่ยืดยาวกล่าวซ้ำๆ ก็จับเอาสาระมาเรียบเรียง แปลเป็นภาษามคธ โดยเก็บเอาวาทะ เรื่องราว และข้อวินิจฉัยของพระเถระสิงหฬโปราณ ถึงพ.ศ.๖๕๓ มารวมไว้ด้วย
พระพุทธโฆสาจารย์เป็นผู้เริ่มต้นยุคอรรถกถาที่กลับมีเป็นภาษาบาลีขึ้นใหม่ แม้ว่าพระพุทธโฆสจะมิได้จัดทำอรรถกถาขึ้นครบบริบูรณ์ แต่ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนัเนและต่อจากนั้นไม่นาน ก็ได้มีพระอรรถกถาจารย์รูปอื่นๆ มาทำงานส่วนที่ขาดอยู่จนเสร็จสิ้น
เครดิตที่มา.
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=ploi&month=06-2012&date=18&group=1&gblog=11
ความคิดส่วนตัว มองว่า ด่าเพราะความโลภ ความความคึกคนอง เช่น บุคคลตัวอย่างในภาพ กำลังอรรถกถา เพื่อด่าอรรถกถาจารย์ท่านอื่น
อรรถกถารุ่นเก่าถูกด่า เพราะอะไร?
ในภาษาบาลีเขียน อฏฺฐกถา, มีความหมายเท่ากับคำว่า อตฺถวณฺณนา หรือ อตฺถสํวณฺณนา (คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา กล่าวว่า อรรถกถา คือเครื่องพรรณาอธิบายความหมาย ที่ดำเนินไปตามพยัญชนะและอัตถะ อันสัมพันธ์กับเหตุอันเป็นที่มาและเรื่องราว)
อรรถกถามีมาเดิมสืบแต่พุทธกาล เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกันกับการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่เข้าใจง่ายๆ ว่า "อรรถกถา" ก็คือคำอธิบายพุทธพจน์ และคำอธิบายพุทธพจน์นั้น ก็เริ่มต้นที่พุทธพนจ์ คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นพระดำรัสที่ตรัสประกอบเสริมขยายความในเรื่องที่ตรัสเป็นหลักในคราวนั้นๆ บ้าง เป็นข้อที่ทรงชี้แจงอธิบายพุทธพจน์อื่นที่ตรัสไว้ก่อนแล้วบ้าง เป็นพระดำรัสปลีกย่อยที่ตัสอธิบายเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำนองเรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง
ดังที่ท่านยกตัวอย่างว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงได้รับนิมนต์เสด็จไปประทับใช้อาคารเป็นปฐม ในคราวที่เจ้าศากยะสร้างหอประชุม (สันถาคาร) เสร็จใหม่ ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้เพียงว่าได้ทรงแสดงธรรมกถาแก่เจ้าศากยะอยู่จนดึก เมื่อจะทรงพัก จึงรับสั่งให้พระอานนท์แสดงธรรมเรื่องเสขปฏิปทาแก่เจ้าศากยะเหล่านั้น และในพระสูตรนั้นได้บันทึกสาระไว้เฉพาะเรื่องที่พระอานนท์แสดง ส่วนธรรมกถาของพระพุทธเจ้าเองมีว่าอย่างไร ท่านไม่ได้รวมไว้ในตัวพระสูตรนี้ เรื่องอย่างนี้มีบ่อยๆ แม้แต่พระสูตรใหญ่ๆ ก็บันทึกไว้เฉพาะหลักหรือสาระสำคัญ ส่วนที่เป็นพระดำรัสรายละเอียดหรือข้อปลีกย่อยขยายความ ซึ่งเรียกว่าปกิณกเทศนา (จะเรียกว่าปกิณกเทศนา ปกิณกธรรมกถา ปกิณกกถา หรือบาลีมุตธรรมกถา ก็ได้) แม้จะไม่ได้รวมไว้เป็นส่วนของพระไตรปิฎก แต่พระสาวกก็ถือว่าสำคัญยิ่ง คือเป็นส่วนอธิบายขยายความที่ช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์ที่บันทึกไว้เป็นพระสูตรเป็นต้นนั้นได้ชัดเจนขึ้น พระสาวกทั้งหลายจึงกำหนดจดจำปกิณกเทศนาเหล่านี้ไว้ประกอบพ่วงคู่มากับพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก เพื่อเป็นหลักฐานที่ช่วยให้เข้าใจชัดเจนในพระพุทธประสงค์ของหลักธรรมที่ตรัสในคราวนั้นๆ และเฉพาะอย่างยิ่งจะได้ใช้ในการชี้แจงอธิบายหลักธรรมในพุทธพจน์นั้นแก่ศิษย์เป็นต้น
พระปกิณกเทศนานี้แหละ ที่เป็นแกนหรือเป็นที่ก่อรูปของสิ่งที่เรียกว่าอรรถกถา แต่ในขณะที่ส่วนซึ่งเรียกว่าพระไตรปิฎก ท่านรักษาไว้ในรูปแบบและในฐานะที่เป็นหลัก ส่วนที่เป็นอรรถกถานี้ ท่านนำสืบกันมาในรูปลักษณ์และในฐานะที่เป็นคำอธิบายประกอบ แต่ก็ถือเป็นสำคัญยิ่ง ดังที่เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎก อรรถกถาเหล่านี้ก็เข้าสู่การสังคายนาด้วย (ดูตัวอย่างที่ ม.ม.๑๓/๒๕/๒๕; ม.อ.๓/๖/๒๐; วินย.ฏี.๒/๒๘/๗๐; ที.ฏี.๒/๑๘๘/๒๐๗)
ทั้งนี้ มิเฉพาะพระพุทธดำรัสเท่านั้น แม้คำอธิบายของพระมหาสาวกบางท่านก็มีทั้งที่เป็นส่วนในพระไตรปิฎก (อย่างเช่นพระสูตรหลายสูตรของพระสารีบุตร) และส่วนอธิบายประกอบที่ถือว่าเป็นอรรถกถาคำอธิบายที่สำคัญของพระสาวกผู้ใหญ่อันเป็นที่ยอมรับนับถือเป็นหลัก ก็ได้รับการถ่ายทอดรักษาผ่านการสังคายนาสืบต่อมาด้วย
คำอธิบายที่เป็นเรื่องใหญ่บางเรื่องสำคัญมากถึงกับว่า ทั้งที่เรียกว่าเป็นอรรถกถา ก็จัดรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย ดังที่ท่านเล่าไว้ คือ "อัฏฐกถากัณฑ์" ซึ่งเป็นภาคหรือคัมภีร์ย่อยที่ ๓ ในคัมภีร์ธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๔, อัฏฐกถากัณฑ์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า "อัตถุทธารกัณฑ์" และพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐได้เลือกใช้ชื่อหลัง) ตามเรื่องที่ท่านบันทึกไว้ว่า (สงฺคณี.อ.๔๖๖) สัทธิวิหาริกรูปหนึ่งของพระสารีบุตรไม่สามารถกำหนดจับคำอธิบายธรรมในภาคหรือคัมภีร์ย่อยที่ ๒ ที่ชื่อว่านิกเขปกัณฑ์ในคัมภีร์ธัมมสังคณีนั้น พระสารีบุตรจึงพูดให้ฟัง ก็เกิดเป็นอัฏฐกถาหรืออัตถุทธารกัณฑ์นั้นขึ้นมา (แต่คัมภีร์มหาอัฏฐกถากล่าวว่า พระสารีบุตรพาสัทธิวิหาริกรูปนั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และพระองค์ตรัสแสดง),
คัมภีร์มหานิเทส (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๙) และจูฬนิทเทส (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๐) ก็เป็นคำอธิบายของพระสารีบุตร ที่ไขและขยายความแห่งพุทธพจน์ใมนคัมีร์สุตตนิบาต (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕, อธิบายเฉพาะ ๓๒ สูตร ในจำนวนทั้งหมด ๗๑ สูตร)
อรรถกถาทั้งหลายแต่ครั้งพุทธกาลนั้น ได้พ่วงมากับพระไตรปิฎกผ่านการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง จนกระทั่งเมื่อพระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ก็นำอรรถกถาเหล่านั้น ซึ่งยังเป็นภาษาบาลีพ่วงไปกับพระไตรปิฎกบาลีด้วย แต่เพื่อให้พระสงฆ์ตลอดจนพุทธศาสนิกทั้งหลายในลังกาทวีปนั้น สามารถศึกษาพระไตรปิฎกซึ่งเป็นภาษาบาลีได้สะดวก พระพุทธศาสนาจะได้เจริญมั่นคงด้วยหลักพระธรรมวินัย
คัมภีร์เล่าว่า พระมหินทเถระได้แปลอรรถกถาจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาของผู้เล่าเรียน คือภาษาสิงหฬ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า "มหาอัฏฐกถา" และใช้เป็นเครื่องมือศึกษาพระไตรปิฎกบาลีสืบมา ต่อแต่นั้น อรรถกถาทั้งหลายก็สืบทอดกันมาในภาษาสิงหฬ
ต่อมา พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเสื่อมลง แม้ว่าพระไตรปิฎกจะยังคงอยู่ แต่อรรถกถาได้สูญสิ้นหมดไป ครั้งนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว มีความเชี่ยวชาญจนปรากฏนามว่า "พุทธโฆส" ได้เรียบเรียงคัมภีร์ชื่อว่า ญาโณทัย (คัมภีร์มหาวงส์กล่าวว่าท่านเรียบเรียงอรรถกถาแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี ชื่อว่าอัฏฐสาลินีในคราวนั้นด้วย แต่ไม่สมจริง เพราะอัฏฐสาลินีอ้างวิสุทธิมัคค์ และอ้างสมันตปาสาทิกา มากมายหลายแห่ง จึงคงต้องแต่งทีหลัง) เสร็จแล้วเริ่มจะเรียบเรียงอรรถกถาแห่งพระปริตรขึ้น อาจารย์ของท่าน ซึ่งมีชื่อว่าพระเรวตเถระ บอกว่า อรรถกถามีอยู่บริบูรณ์ในลังกาทวีปเป็นภาษาสิงหฬ และให้ท่านไปแปลเป็นภาษาบาลีแล้วนำมายังชมพูทวีป
พระพุทธโฆสได้เดินทางไปยังลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้ามหานาม (พ.ศ.๙๕๓-๙๗๕; ปีที่ท่านไป หลักฐานบางแห่งว่า พ.ศ.๙๕๖ แต่บางแห่งว่า พ.ศ.๙๖๕) พระพุทธโฆสพำนักในมหาวิหาร เมืองอนุราธปุระ ได้สดับอรรถกถภาษาสังหฬครบทั้ง มหาอฏฺฐกถา มหาปจฺจรี (มหาปจฺจริยา ก็เรียก) และกุรุนฺที (อรรถกถาเก่าก่อนเหล่านี้ รวมทั้งสงฺเขปฏฐกถาซึ่งเป็นความย่อของมหาปัจจรี และอนฺธกฏฐกถาที่พระพุทธโฆสได้คุ้นมาก่อนนั้นแล้ว จัดเป็นโปราณัฏฐกถา) เมื่อจบแล้ว ท่านก็ได้ขอแปลอรรถกถาภาษาสิงหฬ เป็นภาษามคธ
แต่สังฆะแห่งมหาวิหารได้มอบคาถาพุทธพจน์ให้ท่านไปเขียนอธิบายก่อน เป็นการทดสอบความสามารถ พระพุทธโฆสได้เขียนขยายความคาถานั้น โดยประมาลความในพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถามาเรียบเรียงตามหลักไตรสิกขา สำเร็จเป็นคัมภีร์วิสุทธิมัคค์
ครั้นเห็นความสามารถแล้ว สังฆะแห่งมหาวิหารจึงได้มอบคัมภีร์แก่ท่าน พระพุทธโฆสเริ่มงานแปลใน พ.ศ.๙๗๓ ตั้งต้นที่อรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก (คือสมันตปาสาทิกา, คำนวนปีจากวนย.อ.๓/๖๓๕) เมื่อทำงานแปลเสร็จพอควรแล้ว ก็เดินทางกลับไปยังชมพูทวีป
งานแปลของพระพุทธโฆสนั้น แท้จริงมิใช่เป็นการแปลอย่างเดียว แต่เป็นการแปลและเรียบเรียง ดังที่ท่านเองเขียนบอกไว้ว่า ในการสังวรรณนาพระวินัย ท่านใช้มหาอรรถกถาเป็นเนื้อหาหลัก (เป็นสรีระ) พร้อมทั้งเก็บเอาอรรถะที่ควรกล่าวถึงจากข้อวินิจฉัยที่มีในอรรถกถามหาปัจจรี และอรรถกถา กุรุนทีเป็นต้น (คือรวมตลอดถึง อันธกัฏฐกถา และสังเขปัฏฐกถา) อธิบายให้ครอบคลุมประดาเถรวาทะ (คือข้อวินิจฉัยของพระมหาเถระวินัยธรโบราณในลังกาทวีป ถึงพ.ศ.๖๕๓),
แต่ในส่วนของพระสุตตันปิฎกและพระอภิธรรมปิฏก อรรถกถาโบราณ (โปราณัฏฐกถา) ภาษาสิงหฬ มีเพียง มหาอรรถกถาอย่างเดียว (มีมหาอรรถกถาในส่วนของคัมภีร์แต่ละหมวดนั้นๆ ซึ่งถือว่าเป็นมูลัฏฐกถา) พระพุทธโฆสจึงใช้ มหาอรรถกถานั้น เป็นแกน ข้อความที่ยืดยาวกล่าวซ้ำๆ ก็จับเอาสาระมาเรียบเรียง แปลเป็นภาษามคธ โดยเก็บเอาวาทะ เรื่องราว และข้อวินิจฉัยของพระเถระสิงหฬโปราณ ถึงพ.ศ.๖๕๓ มารวมไว้ด้วย
พระพุทธโฆสาจารย์เป็นผู้เริ่มต้นยุคอรรถกถาที่กลับมีเป็นภาษาบาลีขึ้นใหม่ แม้ว่าพระพุทธโฆสจะมิได้จัดทำอรรถกถาขึ้นครบบริบูรณ์ แต่ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนัเนและต่อจากนั้นไม่นาน ก็ได้มีพระอรรถกถาจารย์รูปอื่นๆ มาทำงานส่วนที่ขาดอยู่จนเสร็จสิ้น
เครดิตที่มา. https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=ploi&month=06-2012&date=18&group=1&gblog=11
ความคิดส่วนตัว มองว่า ด่าเพราะความโลภ ความความคึกคนอง เช่น บุคคลตัวอย่างในภาพ กำลังอรรถกถา เพื่อด่าอรรถกถาจารย์ท่านอื่น