#ความสำคัญของอรรถกถาและฎีกา
การจะเข้าใจความหมายในพระไตรปิฎกซึ่งเรียกว่า พระบาฬีได้อย่างถูกต้องนั้น
(ส่วนที่เป็นพระบาฬี มีทั้งส่วนที่เป็นพุทธภาษิต เถรภาษิต เถรีภาษิต อิสิภาษิต และเทวตาภาษิตเป็นต้น)
ต้องอาศัยองค์ประกอบและอุปกรณ์เครื่องช่วยหลายอย่าง เพราะพระบาฬีมีทั้งส่วนที่มีเนื้อความชัดเจน
เข้าใจได้ง่าย และส่วนที่มีเนื้อความลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก
สำหรับส่วนที่เข้าใจได้ง่าย ก็เช่น
"ภิกษุทั้งหลาย หากเธอหวังให้ตนเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
เธอก็พึงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์เถิด" (อากังเขยยสูตร ม.มู.)
ส่วนที่เข้าใจได้ยาก เช่น
"เราเมื่อไม่พัก ไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้" (โอฆตรณสูตร สํ.ส.)
"บุคคลฆ่ามารดาและบิดาแล้ว ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ เป็นพราหมณ์เที่ยวไป" (ขุ.ธ.) ดังนี้เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า พระบาฬีทั้ง ๒ แห่งที่ยกมานี้ ไม่อาจจะเข้าใจได้โดยง่าย หรือหากจะคิดเอาเอง ก็ย่อมจะมีโอกาสอธิบายผิดไปจากพุทธประสงค์ได้ง่าย
แล้วเราจะเข้าใจพุทธพจน์ที่เข้าใจได้ยากเช่นนี้ได้อย่างไร?
#อรรถกถาและฎีกา
การจะเข้าใจพระบาฬีได้ สิ่งสำคัญเบื้องต้นคือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตีความพระบาฬี
ซึ่งนักศึกษาจะได้มาในขณะเรียนคัมภีร์สัททาวิเสสอันได้แก่ ไวยากรณ์ อภิธาน ฉันท์ และอลังการะ
และจากการศึกษาคัมภีร์เนตติปกรณ์เป็นต้น ทั้งต้องอาศัยคำอธิบายเพิ่มเติมจากอรรถกถาและฎีกาเป็นต้นที่อธิบายพระสูตรนั้นๆ ประกอบด้วย
(#อรรถกถา...คืออะไร?
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1456649694627982&id=100008488951390)
โดยการอธิบายของอรรถกถาและฎีกาจะมีลักษณะสำคัญ ๒ อย่าง คือ
บางส่วน มีลักษณะเหมือน #พจนานุกรม คือ ใช้คำที่เข้าใจง่ายกว่ามาขยายคำในพระบาฬี เช่น ในพระบาฬี
ใช้คำว่า อสฺสาสกา อรรถกถาก็มาขยายว่า หมายถึง อาสีสนา, ปตฺถนาติ อตฺโถ (วิ.อฏฺ. ตอนอธิบายพิมพิสารสมาคมกถา)
จะเห็นว่า คำว่า อาสีสนา และ ปตฺถนา ทำให้เรารู้ได้ว่า คำว่า อสฺสาสกา หมายถึง ความปรารถนา
บางส่วน มีลักษณะเหมือน #สารานุกรม คือขยายคำในพระบาฬีในแง่มุมต่างๆ แบบพิสดาร บางครั้งก็อธิบายความหมาย
บางครั้งก็อธิบายประเภท บางครั้งก็ยกต้นเหตุของพระบาฬีนั้นๆ มากล่าวไว้ด้วย (เช่น อรรถกถาธัมมบทและชาดก) ดังนี้เป็นต้น
#ใครเป็นผู้แต่งอรรถกถาและฎีกา
สำหรับอรรถกถาเดิม (โปราณอรรถกถา) นั้น มีมาแต่ครั้งพุทธกาล โดยมีทั้งส่วนที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายไว้ด้วยพระองค์เอง
และส่วนที่พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นอธิบายไว้ (ดูหลักฐานใน ที.ฏี.๑/๑๘, ที.อฏฺ.๑/๑, อนุฏี.๑/๑๓ สารตฺถ.๑/๒๖ เป็นต้น)
อรรถกถาเดิมนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาสิงหลเมื่อสมัยพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศศรีลังกา
ส่วนอรรถกถาใหม่ (อภินวอรรถกถา) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๙๐๐ โดยท่านอาจารย์พุทธโฆสะเป็นต้นได้แปลอรรถกถาเดิมนั้นกลับเป็นภาษามาคธี (ภาษาบาฬี)
อีกครั้งเพื่อให้เผยแผ่ได้แพร่หลายในประเทศอื่นๆ และเป็นการแปลแบบรวบรวมเรียบเรียง คือรวบรวมอรรถกถาหลายๆ อรรถกถาเข้าด้วยกัน
จัดหมวดหมู่และตัดคำที่อธิบายซ้ำออกไปเป็นต้น ซึ่งอรรถกถาที่เราเห็นในปัจจุบัน ก็คืออรรถกถาใหม่นี้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อรรถกถาเป็น #พุทธาธิปปายัญญู (ผู้รู้ความประสงค์ของพระพุทธเจ้า)
ส่วนฎีกา เป็นคัมภีร์ที่อธิบายอรรถกถาอีกชั้นหนึ่ง (บางส่วนก็อธิบายพระบาฬี) เป็นสิ่งที่พระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ซึ่งเป็นผู้ศึกษาและทรงจำคำอธิบายมาตามลำดับอาจารย์สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล มุ่งหวังความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชนรุ่นหลังได้แต่งขึ้น ฎีกาต่างๆ
ส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณพันกว่าปี ฎีกาเหล่านี้ก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกับอรรถกถา เพราะคำในอรรถกถาก็ยังมีส่วนที่เข้าใจยาก
มีเรื่อง 5 มาสกในทุติยปาราชิกหรือวิธีการสวดถอนสีมากรณีไม่รู้เขตสีมาเดิมเป็นต้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ฎีกาเป็น #อัฏฐกถาธิปปายัญญู (ผู้รู้ความประสงค์ของอรรถกถา)
บทความเรื่องความสำคัญของอรรถกถาและฎีกา เกิดขึ้นจากความรู้สึกห่วงใยในพุทธบริษัทจำนวนหนึ่งที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับอรรถกถาฎีกาว่า
เป็นคำแต่งใหม่ ไม่ควรศึกษาเป็นต้น การเข้าใจเช่นนี้ ทำให้พวกเขาคลาดจากประโยชน์ที่จะพึงได้จากการศึกษาพระบาฬีนั้นๆ
และการที่ไม่ศึกษาอรรถกถาและฎีกานี้เองเป็นเหตุให้เกิดการอธิบายพระไตรปิฎกตามใจฉันขึ้นมากในปัจจุบัน
ก่อให้เกิดโทษทั้งแก่ตนเองและผู้ที่ได้ฟัง
พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน
ขอชนทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม
พุทธวจนะธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์ ความสำคัญของอรรถกถาและฎีกา
การจะเข้าใจความหมายในพระไตรปิฎกซึ่งเรียกว่า พระบาฬีได้อย่างถูกต้องนั้น
(ส่วนที่เป็นพระบาฬี มีทั้งส่วนที่เป็นพุทธภาษิต เถรภาษิต เถรีภาษิต อิสิภาษิต และเทวตาภาษิตเป็นต้น)
ต้องอาศัยองค์ประกอบและอุปกรณ์เครื่องช่วยหลายอย่าง เพราะพระบาฬีมีทั้งส่วนที่มีเนื้อความชัดเจน
เข้าใจได้ง่าย และส่วนที่มีเนื้อความลึกซึ้ง เข้าใจได้ยาก
สำหรับส่วนที่เข้าใจได้ง่าย ก็เช่น
"ภิกษุทั้งหลาย หากเธอหวังให้ตนเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
เธอก็พึงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์เถิด" (อากังเขยยสูตร ม.มู.)
ส่วนที่เข้าใจได้ยาก เช่น
"เราเมื่อไม่พัก ไม่เพียร จึงข้ามโอฆะได้" (โอฆตรณสูตร สํ.ส.)
"บุคคลฆ่ามารดาและบิดาแล้ว ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ เป็นพราหมณ์เที่ยวไป" (ขุ.ธ.) ดังนี้เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า พระบาฬีทั้ง ๒ แห่งที่ยกมานี้ ไม่อาจจะเข้าใจได้โดยง่าย หรือหากจะคิดเอาเอง ก็ย่อมจะมีโอกาสอธิบายผิดไปจากพุทธประสงค์ได้ง่าย
แล้วเราจะเข้าใจพุทธพจน์ที่เข้าใจได้ยากเช่นนี้ได้อย่างไร?
#อรรถกถาและฎีกา
การจะเข้าใจพระบาฬีได้ สิ่งสำคัญเบื้องต้นคือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการตีความพระบาฬี
ซึ่งนักศึกษาจะได้มาในขณะเรียนคัมภีร์สัททาวิเสสอันได้แก่ ไวยากรณ์ อภิธาน ฉันท์ และอลังการะ
และจากการศึกษาคัมภีร์เนตติปกรณ์เป็นต้น ทั้งต้องอาศัยคำอธิบายเพิ่มเติมจากอรรถกถาและฎีกาเป็นต้นที่อธิบายพระสูตรนั้นๆ ประกอบด้วย
(#อรรถกถา...คืออะไร?
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1456649694627982&id=100008488951390)
โดยการอธิบายของอรรถกถาและฎีกาจะมีลักษณะสำคัญ ๒ อย่าง คือ
บางส่วน มีลักษณะเหมือน #พจนานุกรม คือ ใช้คำที่เข้าใจง่ายกว่ามาขยายคำในพระบาฬี เช่น ในพระบาฬี
ใช้คำว่า อสฺสาสกา อรรถกถาก็มาขยายว่า หมายถึง อาสีสนา, ปตฺถนาติ อตฺโถ (วิ.อฏฺ. ตอนอธิบายพิมพิสารสมาคมกถา)
จะเห็นว่า คำว่า อาสีสนา และ ปตฺถนา ทำให้เรารู้ได้ว่า คำว่า อสฺสาสกา หมายถึง ความปรารถนา
บางส่วน มีลักษณะเหมือน #สารานุกรม คือขยายคำในพระบาฬีในแง่มุมต่างๆ แบบพิสดาร บางครั้งก็อธิบายความหมาย
บางครั้งก็อธิบายประเภท บางครั้งก็ยกต้นเหตุของพระบาฬีนั้นๆ มากล่าวไว้ด้วย (เช่น อรรถกถาธัมมบทและชาดก) ดังนี้เป็นต้น
#ใครเป็นผู้แต่งอรรถกถาและฎีกา
สำหรับอรรถกถาเดิม (โปราณอรรถกถา) นั้น มีมาแต่ครั้งพุทธกาล โดยมีทั้งส่วนที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายไว้ด้วยพระองค์เอง
และส่วนที่พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้นอธิบายไว้ (ดูหลักฐานใน ที.ฏี.๑/๑๘, ที.อฏฺ.๑/๑, อนุฏี.๑/๑๓ สารตฺถ.๑/๒๖ เป็นต้น)
อรรถกถาเดิมนี้ได้ถูกแปลเป็นภาษาสิงหลเมื่อสมัยพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศศรีลังกา
ส่วนอรรถกถาใหม่ (อภินวอรรถกถา) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๙๐๐ โดยท่านอาจารย์พุทธโฆสะเป็นต้นได้แปลอรรถกถาเดิมนั้นกลับเป็นภาษามาคธี (ภาษาบาฬี)
อีกครั้งเพื่อให้เผยแผ่ได้แพร่หลายในประเทศอื่นๆ และเป็นการแปลแบบรวบรวมเรียบเรียง คือรวบรวมอรรถกถาหลายๆ อรรถกถาเข้าด้วยกัน
จัดหมวดหมู่และตัดคำที่อธิบายซ้ำออกไปเป็นต้น ซึ่งอรรถกถาที่เราเห็นในปัจจุบัน ก็คืออรรถกถาใหม่นี้
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า อรรถกถาเป็น #พุทธาธิปปายัญญู (ผู้รู้ความประสงค์ของพระพุทธเจ้า)
ส่วนฎีกา เป็นคัมภีร์ที่อธิบายอรรถกถาอีกชั้นหนึ่ง (บางส่วนก็อธิบายพระบาฬี) เป็นสิ่งที่พระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ซึ่งเป็นผู้ศึกษาและทรงจำคำอธิบายมาตามลำดับอาจารย์สืบมาแต่ครั้งพุทธกาล มุ่งหวังความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชนรุ่นหลังได้แต่งขึ้น ฎีกาต่างๆ
ส่วนใหญ่จะมีอายุประมาณพันกว่าปี ฎีกาเหล่านี้ก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกับอรรถกถา เพราะคำในอรรถกถาก็ยังมีส่วนที่เข้าใจยาก
มีเรื่อง 5 มาสกในทุติยปาราชิกหรือวิธีการสวดถอนสีมากรณีไม่รู้เขตสีมาเดิมเป็นต้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ฎีกาเป็น #อัฏฐกถาธิปปายัญญู (ผู้รู้ความประสงค์ของอรรถกถา)
บทความเรื่องความสำคัญของอรรถกถาและฎีกา เกิดขึ้นจากความรู้สึกห่วงใยในพุทธบริษัทจำนวนหนึ่งที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับอรรถกถาฎีกาว่า
เป็นคำแต่งใหม่ ไม่ควรศึกษาเป็นต้น การเข้าใจเช่นนี้ ทำให้พวกเขาคลาดจากประโยชน์ที่จะพึงได้จากการศึกษาพระบาฬีนั้นๆ
และการที่ไม่ศึกษาอรรถกถาและฎีกานี้เองเป็นเหตุให้เกิดการอธิบายพระไตรปิฎกตามใจฉันขึ้นมากในปัจจุบัน
ก่อให้เกิดโทษทั้งแก่ตนเองและผู้ที่ได้ฟัง
พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน
ขอชนทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม