อารัมภกถา ฯ
: อรรถกถาสังยุตตนิกายสวรรค :๛
พระพุทธโฆสาจารย์ : พระอรรถกถาจารย์ในศาสนาแห่งองค์พระพุทธศาสดา-ผู้นี้ เป็นบุตรพราหมณ์ชาวชมพูทวีป (อินเดีย )
ท่านเกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา ในแคว้นมคธ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อประมาณ พ.ศ.๙๕๖
ท่านเรียนจบไตรเพท มีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาได้พบกับ
พระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน ท่านโฆสะสู้ความรู้ธรรมของท่าน พระเรวตเถระ ไม่ได้
จึงขอบวช เพื่อเรียนพระพุทธวจนะ.
ท่านพระพุทธโฆสะมีความสามารถมาก มีความรู้ธรรมมาก ท่านได้รจนา คัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น.
พระเรวตเถระแนะนำให้ท่านพระพุทธโฆสะไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาภาษาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ.
ท่านพระพุทธโฆสะจึงเดินทางไปมหาวิหาร เกาะลังกา.
เมื่อท่านขออนุญาตแปลคัมภีร์อรรถกถา ก็ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารลังกาให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
พระพุทธโฆสะ ก็ได้แต่งคำอธิบายคาถาทั้ง ๒ บทนั้นขึ้นเป็น
คัมภีร์วิสุทธิมรรค
จากนั้น ท่านพระพุทธโฆสะจึงได้รับอนุญาตให้ทำงาน
แปลอรรถกถาภาษาสิงหฬ กลับคืนเป็นภาษามคธ ได้ตามประสงค์.
เมื่อทำงาน แปลอรรถกถากลับเป็นภาษามคธ เสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป.
พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด.
๑ ผลงาน เช่น : คัมภีร์สมันตปาสาทิกา
สมันตปาสาทิกาเป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในพระวินัยปิฎก
พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อใกล้จะถึง พ.ศ. ๑๐๐๐*
โดยปรึกษาและศึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ คัมภีร์มหาปัจจริย และ คัมภีร์กุรุนที.
คัมภีร์วิสุทธิมรรค :
คัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ ปกรณ์พิเศษ อธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗.
พระพุทธโฆษาจารย์
พระอรรถกถาจารย์ในศาสนาแห่งองค์พระพุทธศาสดา
เป็นผู้แต่งขึ้น ณ มหาวิหารที่เกาะลังกา.
จากนั้นท่านได้เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พร้อมด้วย พระอรรถกถาฉบับภาษามคธ
ทำให้มี ~ ทำให้เป็นความบริบูรณ์ขึ้นใน ธรรมสิกขาแห่งองค์พระพุทธศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๚:๛
*อรรถะ~กถา และพยัญชนะ* ๚ ธรรมสิกขาแห่งองค์พระพุทธศาสดา : เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ ฯ:๛
อารัมภกถา ฯ
: อรรถกถาสังยุตตนิกายสวรรค :๛
พระพุทธโฆสาจารย์ : พระอรรถกถาจารย์ในศาสนาแห่งองค์พระพุทธศาสดา-ผู้นี้ เป็นบุตรพราหมณ์ชาวชมพูทวีป (อินเดีย )
ท่านเกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา ในแคว้นมคธ อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อประมาณ พ.ศ.๙๕๖
ท่านเรียนจบไตรเพท มีความเชี่ยวชาญมาก ต่อมาได้พบกับ พระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน ท่านโฆสะสู้ความรู้ธรรมของท่าน พระเรวตเถระ ไม่ได้ จึงขอบวช เพื่อเรียนพระพุทธวจนะ.
ท่านพระพุทธโฆสะมีความสามารถมาก มีความรู้ธรรมมาก ท่านได้รจนา คัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น.
พระเรวตเถระแนะนำให้ท่านพระพุทธโฆสะไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาภาษาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ.
ท่านพระพุทธโฆสะจึงเดินทางไปมหาวิหาร เกาะลังกา.
เมื่อท่านขออนุญาตแปลคัมภีร์อรรถกถา ก็ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารลังกาให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
พระพุทธโฆสะ ก็ได้แต่งคำอธิบายคาถาทั้ง ๒ บทนั้นขึ้นเป็น คัมภีร์วิสุทธิมรรค
จากนั้น ท่านพระพุทธโฆสะจึงได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาภาษาสิงหฬ กลับคืนเป็นภาษามคธ ได้ตามประสงค์.
เมื่อทำงาน แปลอรรถกถากลับเป็นภาษามคธ เสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป.
พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด.
๑ ผลงาน เช่น : คัมภีร์สมันตปาสาทิกา
สมันตปาสาทิกาเป็นคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในพระวินัยปิฎก
พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อใกล้จะถึง พ.ศ. ๑๐๐๐*
โดยปรึกษาและศึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ คัมภีร์มหาปัจจริย และ คัมภีร์กุรุนที.
คัมภีร์วิสุทธิมรรค :
คัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ ปกรณ์พิเศษ อธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗.
พระพุทธโฆษาจารย์
พระอรรถกถาจารย์ในศาสนาแห่งองค์พระพุทธศาสดา
เป็นผู้แต่งขึ้น ณ มหาวิหารที่เกาะลังกา.
จากนั้นท่านได้เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป พร้อมด้วย พระอรรถกถาฉบับภาษามคธ
ทำให้มี ~ ทำให้เป็นความบริบูรณ์ขึ้นใน ธรรมสิกขาแห่งองค์พระพุทธศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๚:๛