คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17
ดีเดย์ 1 มี.ค. 65 “เจอ แจก จบ” ผู้ติดโควิด เปิดบริการรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) เปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิดออกจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือ การที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันประชาชนมีภูมิต้านทานมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จากนี้ โดยได้จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยทำการตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่ 1.ยาฟาวิพิราเวียร์ 2.ยาฟ้าทะลายโจร 3.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง เริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มี.ค. 65
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/513235213628141
รับผิดชอบต่อสังคม
กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน 14 วัน
ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/513243990293930
ความแตกต่างรักษาแบบ “ผู้ป่วยนอก” กับ "HI”
• ผู้ป่วยนอก
ประเภทการรักษา: OPD
กิจกรรมการรักษา: มี
แยกกักตัวที่บ้าน: มี
จ่ายยาตามอาการ: มี
โทรติดตามอาการ: มี (เมื่อครบ 48 ชั่วโมง)
อุปกรณ์ตรวจประเมิน: ไม่มี
ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง: มี
บริการอื่น ๆ (อาหาร): ไม่มี
• แบบ HI
ประเภทการรักษา: OPD
กิจกรรมการรักษา: มี
แยกกักตัวที่บ้าน: มี
จ่ายยาตามอาการ: มี
โทรติดตามอาการ: มี (ทุกวัน)
อุปกรณ์ตรวจประเมิน: มี
ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง: มี
บริการอื่น ๆ (อาหาร): มี
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/513303990287930
ดีเดย์ 1 มี.ค. 65 เปิด 3 ด่านชายแดน เข้าไทยได้ครบทาง บก น้ำ อากาศ
ศบค. มีมติเปิด 3 ด่านชายแดนเข้าไทย ครบจบทั้งบก น้ำ อากาศ โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้
ทางบก
- นำร่อง 3 ด่านชายแดน คือ หนองคาย อุดรธานี และสงขลา เริ่มวันที่ 1 มี.ค.2565
- ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่าน Thailand Pass
- ไม่มีการกักตัว แต่ต้องพักใน Sha Extra Plus /AQ คืนแรกเพื่อรอผล
- ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่สาธารณสุขกำหนด ไม่ต่ำกว่า 14 วันก่อนเดินทาง
- มีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก SHA++ 1 คืน
- มีประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเดินทาง (ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
- เมื่อเดินทางมาถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 1 ครั้ง ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองและแจ้งผลในวันที่ 5
ทางน้ำ
- ก่อนเข้าประเทศ ลงทะเบียนผ่านการขอ COE
- ไม่จำกัดประเทศเดินทางโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช)
- ไม่มีการกักตัว รอผลการตรวจบนเรือ
- มีประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเดินทาง (ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
- เมื่อเดินทางมาถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 1 ครั้ง บนเรือหรือจุดที่กำหนด ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองและแจ้งผลในวันที่ 5
ทางอากาศ
- ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่าน Thailand Pass
- ไม่มีการกักตัว แต่ต้องพักใน Sha Extra Plus /AQ คืนแรกเพื่อรอผล
- ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่สาธารณสุขกำหนด ไม่ต่ำกว่า 14 วันก่อนเดินทาง
- มีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก AQ/SHA++ จำนวน 1 คืน
- มีประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเดินทาง (ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
- เมื่อเดินทางมาถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 1 ครั้ง ในวันที่ 1 ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองและแจ้งผลในวันที่ 5
ที่มา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/513292996955696
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศในระบบ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=267432045535793&id=100068069971811
เด็กติดโควิด ทำยังไง!? Home Isolation สำหรับเด็ก OK แค่ไหน?
เมื่อติดโควิด ติดต่อสปสช. โทร 1330 กด 14 ศูนย์เอราวัณ โทร 1669 กด 2
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1135389780627084
แนะนำทำ Home Isolation สำหรับเด็กที่ติดโควิด
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า แม้จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ความรุนแรงน้อยกว่าที่ผ่านมา การที่เด็กๆ ติดเชื้อมากขึ้นอาจมีสาเหตุหลักมาจาก เด็ก 5 – 11 ปี พึ่งได้รับวัคซีนป้องกันและมีการเปิดเรียนในบางโรงเรียน โดยตามปกติอาการของเด็กที่ติดเชื้อจะมีไข้อยู่ประมาณ 5 วัน แต่ต้องสังเกตอาการถึง 10 วันและติดตามอาการต่อจนครบ 14 วัน การรักษาในเด็กเหมือนการรักษาในผู้ใหญ่ จากการคุยกับผู้เชี่ยวชาญเด็กหลายรายพบว่าเชื้อโอมิครอนในเด็กส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยเหมือนเป็นไข้หวัด อาจต้องย้ำให้ผู้ปกครองเข้าใจเพื่อลดความกังวลได้
ด้านนายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ช่วงอายุเด็กที่ติดโควิด-19 ที่พบบ่อยคือ ช่วงอายุ 3 -11 ปี สำหรับกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมักจะเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคสมอง หัวใจ มะเร็ง หรือกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง จากการสำรวจเตียงในเครือสำนักกรมการแพทย์ UhosNet กรุงเทพมหานคร พบว่ามีกว่า 500 เตียง และมีการครองเตียงแล้วกว่าร้อยละ 80 โดยเตียงเด็กจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มเด็กแรกเกิด กลุ่ม 2 คือกลุ่มที่เด็กอายุ 1-11 ปีและกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มอายุมากว่า 12 ปีขึ้นไป
สำหรับการเข้ารับการรักษาจะต้องผ่านการคัดกรอง ประเมินระดับความรุนแรงตามอาการของผู้ป่วย หากเด็กมีอาการไข้ไม่สูง ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง เด็ก ไม่ซึม รับประทานอาหารได้ มีผู้ดูแลและมีห้องน้ำแยกป้องกันการกระจายของเชื้อ จะสามารถเข้ารับการดูแลในรูปแบบของ Home Isolation (HI) หรือรักษาที่บ้าน โดยมีทีมพยาบาลติดตามอาการอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง มีการส่งเครื่องมือวัดไข้ เครื่องมือวัดออกซิเจน ยา ถุงขยะติดเชื้อ อาหาร รวมทั้งของเล่นให้เด็กด้วย สำหรับเด็กที่มีอาการเปลี่ยนแปลง เช่น ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง ซึม ไม่รับประทานอาหาร หายใจเร็ว มีระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วน้อยกว่า 96% ให้รีบไปพบแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้าน
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/318644153631262
อว.เคาะ!! ให้สิทธิ์นักเรียนติดโควิด-เสี่ยงสูง “เข้าสอบ GAT-PAT ได้”
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากการที่มีความกังวล นักเรียนหรือนักศึกษาที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 อาจหมดสิทธิ์สอบเข้ามหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2565 อว.ได้ทำงานร่วมกับ ทปอ. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบคัดเลือกระบบ TCAS ยืนยันว่า จะให้สิทธิสำหรับทุกคนที่ประสงค์จะเข้าสอบ และจะจัดการอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้เข้าสอบอย่างที่ตั้งใจ
ขณะนี้ ได้มีการทำงานร่วมกัน 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) เพื่อกำหนดแนวทางเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้นักเรียนที่ติดเชื้อ อยู่ระหว่างการรักษาอาการของโรคโควิด-19 มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ และกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงให้ได้เข้าสอบ
ตามมาตรการที่ ศบค. กำหนด โดยจัดสนามสอบที่มีมาตรการดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุด และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียนในการคัดกรองและให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อ เน้นการระบายอากาศที่ดี จัดที่นั่งสอบห่างกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร รวมทั้งกำหนดให้ผู้เข้าสอบต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่เข้าสอบและลดการสัมผัสสิ่งต่างๆ
ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. กล่าวว่า การสอบคัดเลือกระบบ TCAS ในปีนี้มีจำนวนผู้สมัคร GAT/PAT และวิชาสามัญ รวม 183,228 คน เป็นการสอบ GAT-PAT 177,853 คน และสอบวิชาสามัญ 155,282 คน โดย ทปอ.ได้จัดให้มีสนามสอบทั้งหมด 213 สนามสอบทั่วประเทศ และจะจัดสนามสอบที่กำหนดเพิ่มขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ หรือมีความเสี่ยงสูง (ตามที่กำหนดในที่ประชุม ศบค. ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 23 ก.พ.65)
ผู้ประสงค์จะเข้าสอบ ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ให้ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนการสอบ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เช่น การเดินทางมายังสนามสอบด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์ที่จัดให้เป็นการเฉพาะจากหน่วยบริการสาธารณสุข หรือจากสนามสอบจัดให้เท่านั้น
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/7392163084134671
ดีเดย์ 1 มี.ค. 65 “เจอ แจก จบ” ผู้ติดโควิด เปิดบริการรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) เปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิดออกจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือ การที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันประชาชนมีภูมิต้านทานมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จากนี้ โดยได้จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยทำการตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด 19 ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่ 1.ยาฟาวิพิราเวียร์ 2.ยาฟ้าทะลายโจร 3.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง เริ่มดำเนินการในวันที่ 1 มี.ค. 65
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/513235213628141
รับผิดชอบต่อสังคม
กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน 14 วัน
ที่มา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/513243990293930
ความแตกต่างรักษาแบบ “ผู้ป่วยนอก” กับ "HI”
• ผู้ป่วยนอก
ประเภทการรักษา: OPD
กิจกรรมการรักษา: มี
แยกกักตัวที่บ้าน: มี
จ่ายยาตามอาการ: มี
โทรติดตามอาการ: มี (เมื่อครบ 48 ชั่วโมง)
อุปกรณ์ตรวจประเมิน: ไม่มี
ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง: มี
บริการอื่น ๆ (อาหาร): ไม่มี
• แบบ HI
ประเภทการรักษา: OPD
กิจกรรมการรักษา: มี
แยกกักตัวที่บ้าน: มี
จ่ายยาตามอาการ: มี
โทรติดตามอาการ: มี (ทุกวัน)
อุปกรณ์ตรวจประเมิน: มี
ระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง: มี
บริการอื่น ๆ (อาหาร): มี
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/513303990287930
ดีเดย์ 1 มี.ค. 65 เปิด 3 ด่านชายแดน เข้าไทยได้ครบทาง บก น้ำ อากาศ
ศบค. มีมติเปิด 3 ด่านชายแดนเข้าไทย ครบจบทั้งบก น้ำ อากาศ โดยมีมาตรการต่างๆ ดังนี้
ทางบก
- นำร่อง 3 ด่านชายแดน คือ หนองคาย อุดรธานี และสงขลา เริ่มวันที่ 1 มี.ค.2565
- ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่าน Thailand Pass
- ไม่มีการกักตัว แต่ต้องพักใน Sha Extra Plus /AQ คืนแรกเพื่อรอผล
- ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่สาธารณสุขกำหนด ไม่ต่ำกว่า 14 วันก่อนเดินทาง
- มีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก SHA++ 1 คืน
- มีประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเดินทาง (ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
- เมื่อเดินทางมาถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 1 ครั้ง ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองและแจ้งผลในวันที่ 5
ทางน้ำ
- ก่อนเข้าประเทศ ลงทะเบียนผ่านการขอ COE
- ไม่จำกัดประเทศเดินทางโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช)
- ไม่มีการกักตัว รอผลการตรวจบนเรือ
- มีประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเดินทาง (ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
- เมื่อเดินทางมาถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 1 ครั้ง บนเรือหรือจุดที่กำหนด ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองและแจ้งผลในวันที่ 5
ทางอากาศ
- ลงทะเบียนเข้าประเทศผ่าน Thailand Pass
- ไม่มีการกักตัว แต่ต้องพักใน Sha Extra Plus /AQ คืนแรกเพื่อรอผล
- ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ที่สาธารณสุขกำหนด ไม่ต่ำกว่า 14 วันก่อนเดินทาง
- มีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก AQ/SHA++ จำนวน 1 คืน
- มีประกันภัยในวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
- ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนเดินทาง (ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
- เมื่อเดินทางมาถึงตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR 1 ครั้ง ในวันที่ 1 ส่วนครั้งที่ 2 ใช้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองและแจ้งผลในวันที่ 5
ที่มา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/513292996955696
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศในระบบ Test and Go ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=267432045535793&id=100068069971811
เด็กติดโควิด ทำยังไง!? Home Isolation สำหรับเด็ก OK แค่ไหน?
เมื่อติดโควิด ติดต่อสปสช. โทร 1330 กด 14 ศูนย์เอราวัณ โทร 1669 กด 2
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/1135389780627084
แนะนำทำ Home Isolation สำหรับเด็กที่ติดโควิด
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า แม้จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ความรุนแรงน้อยกว่าที่ผ่านมา การที่เด็กๆ ติดเชื้อมากขึ้นอาจมีสาเหตุหลักมาจาก เด็ก 5 – 11 ปี พึ่งได้รับวัคซีนป้องกันและมีการเปิดเรียนในบางโรงเรียน โดยตามปกติอาการของเด็กที่ติดเชื้อจะมีไข้อยู่ประมาณ 5 วัน แต่ต้องสังเกตอาการถึง 10 วันและติดตามอาการต่อจนครบ 14 วัน การรักษาในเด็กเหมือนการรักษาในผู้ใหญ่ จากการคุยกับผู้เชี่ยวชาญเด็กหลายรายพบว่าเชื้อโอมิครอนในเด็กส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยเหมือนเป็นไข้หวัด อาจต้องย้ำให้ผู้ปกครองเข้าใจเพื่อลดความกังวลได้
ด้านนายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า ช่วงอายุเด็กที่ติดโควิด-19 ที่พบบ่อยคือ ช่วงอายุ 3 -11 ปี สำหรับกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมักจะเป็นกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคสมอง หัวใจ มะเร็ง หรือกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง จากการสำรวจเตียงในเครือสำนักกรมการแพทย์ UhosNet กรุงเทพมหานคร พบว่ามีกว่า 500 เตียง และมีการครองเตียงแล้วกว่าร้อยละ 80 โดยเตียงเด็กจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มเด็กแรกเกิด กลุ่ม 2 คือกลุ่มที่เด็กอายุ 1-11 ปีและกลุ่มที่ 3 คือกลุ่มอายุมากว่า 12 ปีขึ้นไป
สำหรับการเข้ารับการรักษาจะต้องผ่านการคัดกรอง ประเมินระดับความรุนแรงตามอาการของผู้ป่วย หากเด็กมีอาการไข้ไม่สูง ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง เด็ก ไม่ซึม รับประทานอาหารได้ มีผู้ดูแลและมีห้องน้ำแยกป้องกันการกระจายของเชื้อ จะสามารถเข้ารับการดูแลในรูปแบบของ Home Isolation (HI) หรือรักษาที่บ้าน โดยมีทีมพยาบาลติดตามอาการอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง มีการส่งเครื่องมือวัดไข้ เครื่องมือวัดออกซิเจน ยา ถุงขยะติดเชื้อ อาหาร รวมทั้งของเล่นให้เด็กด้วย สำหรับเด็กที่มีอาการเปลี่ยนแปลง เช่น ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสขึ้นไป ภายใน 24 ชั่วโมง ซึม ไม่รับประทานอาหาร หายใจเร็ว มีระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วน้อยกว่า 96% ให้รีบไปพบแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้าน
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/318644153631262
อว.เคาะ!! ให้สิทธิ์นักเรียนติดโควิด-เสี่ยงสูง “เข้าสอบ GAT-PAT ได้”
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากการที่มีความกังวล นักเรียนหรือนักศึกษาที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 อาจหมดสิทธิ์สอบเข้ามหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2565 อว.ได้ทำงานร่วมกับ ทปอ. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสอบคัดเลือกระบบ TCAS ยืนยันว่า จะให้สิทธิสำหรับทุกคนที่ประสงค์จะเข้าสอบ และจะจัดการอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้เข้าสอบอย่างที่ตั้งใจ
ขณะนี้ ได้มีการทำงานร่วมกัน 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) เพื่อกำหนดแนวทางเตรียมความพร้อมในการอำนวยความสะดวกให้นักเรียนที่ติดเชื้อ อยู่ระหว่างการรักษาอาการของโรคโควิด-19 มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ และกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงให้ได้เข้าสอบ
ตามมาตรการที่ ศบค. กำหนด โดยจัดสนามสอบที่มีมาตรการดูแลความปลอดภัยขั้นสูงสุด และประสานหน่วยบริการสาธารณสุขตามระบบอนามัยโรงเรียนในการคัดกรองและให้คำแนะนำด้านสาธารณสุข จัดให้มีพื้นที่แยกสำหรับจัดการสอบเป็นสัดส่วน แยกกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กลุ่มผู้ติดเชื้อ เน้นการระบายอากาศที่ดี จัดที่นั่งสอบห่างกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร รวมทั้งกำหนดให้ผู้เข้าสอบต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่เข้าสอบและลดการสัมผัสสิ่งต่างๆ
ด้าน ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. กล่าวว่า การสอบคัดเลือกระบบ TCAS ในปีนี้มีจำนวนผู้สมัคร GAT/PAT และวิชาสามัญ รวม 183,228 คน เป็นการสอบ GAT-PAT 177,853 คน และสอบวิชาสามัญ 155,282 คน โดย ทปอ.ได้จัดให้มีสนามสอบทั้งหมด 213 สนามสอบทั่วประเทศ และจะจัดสนามสอบที่กำหนดเพิ่มขึ้นเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ หรือมีความเสี่ยงสูง (ตามที่กำหนดในที่ประชุม ศบค. ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 23 ก.พ.65)
ผู้ประสงค์จะเข้าสอบ ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าว ให้ลงทะเบียนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงก่อนการสอบ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เช่น การเดินทางมายังสนามสอบด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์ที่จัดให้เป็นการเฉพาะจากหน่วยบริการสาธารณสุข หรือจากสนามสอบจัดให้เท่านั้น
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/7392163084134671
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน💗1มี.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย20,420คน หายป่วย18,297คน ตาย43คน/สธ.คาดมี.ค.โควิดขาลงเริ่มรักษาแบบผู้ป่วยนอก
https://www.bangkokbiznews.com/news/990981
https://www.bangkokbiznews.com/social/991022
สธ. คาดเดือน มี.ค. 'โควิดขาลง' เริ่มปรับรักษาผู้ติดเชื้ออาการน้อย เป็นผู้ป่วยนอก
28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17:48 น.
สธ.คาดเดือนหน้าสถานการณ์โควิดจะเริ่มลดลง ส่วนผู้ป่วยใส่ท่อหายใจจะลด 400-500 คน ยันยารักษามีเพียงพอ เผย 1 มี.ค.ปรับการรักษาผู้ป่วยไม่แสดงอาการ-อาการน้อย เป็นรูปแบบผู้ป่วยนอก OPD
28 ก.พ.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ว่าอัตราการติดเชื้อของประเทศไทย สอดคล้องกับอัตราการติดเชื้อในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นแต่อัตราการเสียชีวิตยังคงต่ำอยู่ โดยสถานการณ์ในไทย ยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกภูมิภาค ทำให้พบผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยเสียชีวิตและแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง โรคอ้วน และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งยังคงต้องเน้นการสื่อสารให้ประชาชนรับวัคซีนทุกเข็มโดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยขณะนี้เน้นการตรวจจับการระบาดในคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดในวงกว้าง เช่น ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ สถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคนหมู่มาก
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ด้านสถานการณ์เตียงโควิด-19 ของทั้งประเทศไทย ปัจจุบันอัตราครองเตียงอยู่ที่ ร้อยละ 59 โดยกรมควบคุมโรคได้มีการจัดทำฉากทัศน์ หรือ รูปแบบจำลอง การคาดการณ์สถานการณ์โควิด-19 ในเดือนมี.ค. ซึ่งกราฟการติดเชื้อจะเข้าสู่ระดับทรงตัวและจะค่อยๆ ลดลง ส่วนกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจ คาดการณ์จะลดลงถึง 400-500 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตของไทยวันนี้ 42 ราย ยังคงเป็นผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 29 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 69 ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี แต่มีโรคเรื้อรัง 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 รวมทั้ง ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคไต และผู้ป่วยติดเตียง นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยรุนแรง ภาวะปอดอักเสบสะสม 980 ราย เพิ่ม 25 ราย ส่วนใส่ท่อช่วยหายใจสะสม 280 ราย เพิ่มขึ้น 12 ราย
นพ.เกียรติภูมิ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับข้อมูลสถานการณ์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย เข็มแรกฉีดไปแล้วร้อยละ 77 เข็มที่สองฉีดไปแล้วร้อยละ 71.5 เข็ม 3 ขึ้นไป ฉีดไปแล้วร้อยละ 29.2 ขณะที่ การสำรองยาวฟาวิพิราเวียร์ ปลัดกระทรวงสาธารณสสุข ยืนยัน ยามีเพียงพอ โดยองค์การเภสัชกรรมมีอยู่ 65,200 เม็ด กระจายไปยังเขตสุขภาพที่ 1-12 จำนวน 13,343,882 เม็ด เขตสุขภาพที่ 13 คือกรุงเทพฯกระจายไปแล้ว 3,495,636 เม็ด รวมทั้งหมด 16,904,718 เม็ดทั้งนี้ องค์การเภสัชกรรมมีแผนจัดหาและผลิตยาฟาวิพาราเวียร์ รวม 87.6 ล้านเม็ด ซึ่งได้มีการเตรียมไว้จนถึงเม.ย.นี้
สำหรับภาพรวมนโยบายการดำเนินงานและความพร้อมของระบบสาธารณสุขตอนนี้โควิด เป็นช่วงขาขึ้น จะเน้นการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยเสียชีวิต โดยตอนนี้จะเน้นระบบ ATK First OPD- HI First ปรับการรักษาผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการและผู้ป่วยอาการน้อย เป็นรูปแบบผู้ป่วยนอก OPD โดยเน้นรักษาตัวเองที่บ้านและแยกกักที่บ้าน รับยา ลงทะเบียนผ่านระบบ 1330 สปสช. หรือหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มี.ค.นี้
ด้านนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวกรณีการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 รูปแบบผู้ป่วยนอก ว่า ข้อมูลถึงวันที่ 25 ก.พ. พบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในระบบรักษาตัวที่บ้านกว่าร้อยละ 56.36 และทำการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในเตียงระดับหนึ่ง คือ เตียงผู้ป่วยสีเขียวร้อยละ 36.10 ทำให้เห็นว่าการระบาดรอบนี้ผู้ป่วยโควิด-19 เกินครึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวไม่มีอาการเหลือการน้อยมาก ซึ่งสามารถรับยา ทำการรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลินิกทางเดินหายใจของแต่ละโรงพยาบาลได้ ซึ่งการรักษาโควิด-19 รูปแบบผู้ป่วยนอก OPD จะเป็นการรักษาเสริม กับระบบการรักษาตัวที่บ้าน HI และในศูนย์พักคอย CI หรือในฮอลพิเทล หรือในโรงพยาบาลสนาม
ทั้งนี้ หากประชาชนที่ติดเชื้อ เข้ารับการรักษาแบบ OPD ยังคงต้องแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ โทรติดตามอาการ ครั้งเดียว คือ ภายใน 48 ชั่วโมง จะไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน แต่จะมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง ส่วนการเข้ารักษาตัวที่บ้านหรือ ยังคงแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ จะมีการโทรติดตามอาการทุกวัน มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง และจะมีบริการอื่นๆเช่นนำส่งอาหาร
ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การระบาดของไทย ที่ผ่านมาเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งข้อมูลในต่างประเทศ จะพบการระบาดสูงสุด 1-2 เดือน และจะค่อยๆ ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยที่พบการติดเชื้อโควิคที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อาการเด่นที่พบในผู้ป่วยโควิดในช่วงนี้ คือ พบผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอมากขึ้น สำหรับแนวทางสำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดเสียงสูงของผู้ติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้กับตัวที่บ้าน 7 วัน และให้สังเกตอาการตนเองเพิ่มอีก 3 วัน โดยตรวจ ATK ครั้งที่ 1 วันที่ 5-6 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย และตรวจครั้งที่ 2 ในวันที่ 10 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อครั้งสุดท้าย.
https://www.thaipost.net/covid-19-news/94582/
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
....