🇹🇭มาลาริน💙11มี.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย24,792คน หายป่วย22,065คน ตาย63คน/โควิด77จว./ปรับรายงานการตายจากโควิด-โรคร่วม


https://www.sanook.com/news/8530250/


https://www.bangkokbiznews.com/social/992994



สธ.แจงเหตุปรับระบบรายงานตายจากโควิด-โรคร่วม ชี้บางอาการคล้ายกัน ต้องแยก

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยถึงการปรับเปลี่ยนวิธีจัดทำรายละเอียดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เพื่อรายงานสถานการณ์ในประเทศไทย ว่า ตามที่ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ.มีนโยบายให้กรมควบคุมโรคลงรายละเอียดการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 มากขึ้น จากเดิมที่นับจำนวนทั้งหมด

“แต่ขณะนี้ดูเหมือนสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน อาการค่อนข้างน้อย และผู้เสียชีวิตมีสาเหตุจากโรค อื่นๆ ค่อนข้างมาก โดยไม่ได้แสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ซึ่งที่ผ่านมา เรานับรวมผู้ที่มีเชื้อโควิด-19 ที่เสียชีวิตร่วมกับโรคอื่นๆ หรือสาเหตุอื่นด้วยนั้น ล่าสุดมีการพูดคุยในการจัดทำรายละเอียดถึงสาเหตุการเสียชีวิตว่า แท้จริงแล้วมาจากโควิด-19 หรือไม่ แล้วในกลุ่มนี้มีจำนวนมากน้อยเท่าไรที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยตรง  รวมถึงจะได้จัดทำมาตรการในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในแต่ละกลุ่มให้ชัดเจนขึ้นด้วย

ทั้งนี้ พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เพิ่มขึ้นมาก บางรายนอนในโรงพยาบาล (รพ.) เพียงไม่กี่วันก็เสียชีวิต ปกติแล้วหากเป็นโควิด-19 เพียงอย่างเดียว นอนรักษาใน รพ.กว่าจะเสียชีวิตใช้ระยะเวลาหลายวัน เช่น รายล่าสุดที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อาการทุกอย่าง คือ ไข้เลือดออก แต่เมื่อเข้ารักษาใน รพ. ตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ด้วย เท่ากับว่าเจอ 2 เชื้อ พร้อมกัน ไม่พบอาการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 แต่เป็นอาการของไข้เลือดออก แล้วก็เสียชีวิต แพทย์จึงต้องสรุปว่ารายนี้เสียชีวิตจากไข้เลือดออก ไม่ใช่โควิด-19” นพ.จักรรัฐ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 บางราย อาการของโควิด-19 กับอาการของโรคประจำตัวอาจจะใกล้เคียงกัน เช่น โควิด-19 ทำให้เกิดปอดอักเสบ แต่กับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดอยู่แล้ว จะบ่งบอกยาก เนื่องจากไม่ได้มีการชันสูตรศพ รวมถึงกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ติดเชื้อโควิค-19 แล้วเสียชีวิต
 
“แต่โดยหลักการ หากไม่มีภาวะอื่นแทรกซ้อน แล้วมีแต่โควิด-19 ก็ต้องบอกว่าเสียชีวิตจากโควิด-19 ไปก่อน แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อของโรคอื่นร่วมด้วย หรือโรคติดต่ออื่นๆ แล้วติดเชื้อโควิด-19 ก็คงต้องบอกได้ว่า เสียชีวิตจากโรคอื่นมากกว่า” นพ.จักรรัฐ กล่าว

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3227943

อมยิ้ม31ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

วันนี้ยอดติดเชื้อมากกว่าผู้หายป่วย ยอดเสียชีวิตลดลง

มีการปรับการเสียชีวิตเกิดจากโรคร่วม ที่จะต้องรายงานการเสียชีวิตตามโรคเดิมที่เป็นสาเหตุการตาย ไม่ใช่โควิดที่ป่วยใหม่

การแพร่ระบาดของโควิดยังมีอยู่รักษาสุขภาพกันให้แข็งแรงนะคะ

.....💓💓
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519865856298410


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 10 มี.ค. 2565)
รวม 125,589,061 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 10 มีนาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 218,260 โดส

เข็มที่ 1 : 85,859 ราย
เข็มที่ 2 : 21,760 ราย
เข็มที่ 3 : 110,641 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 54,187,319 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 49,936,840 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 21,464,902 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519821629636166


หลังฉีดวัคซีนโควิด 19
จะมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519798639638465


แรงงานข้ามชาติหรือนักท่องเที่ยวต่างชาติ
สามารถฉีดวัคซีนในไทยได้หรือไม่

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519799312971731


นายกฯ ห่วงใยประชาชน สั่ง ศปม. จัดกำลังพลรับสายด่วน 1330 เพิ่ม 200 คู่สาย บรรเทาความเดือดร้อน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีคำสั่งให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) จัดกำลังพลสนับสนุนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปฏิบัติหน้าที่รับสายด่วนของ สปสช. (1330) ซึ่งมีปริมาณผู้โทรเข้ามาจำนวนมาก เพื่อช่วยเร่งนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ระบบ ให้ประชาชนเข้าถึงการดูแล และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน

นายธนกร กล่าวว่า ศปม. ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานสายด่วน ศปม. สนับสนุน สปสช. (1330) จำนวน 200 คู่สาย โดยแบ่งเป็น กองบังคับการ ศปม. 40 คู่สาย ศปม.กองทัพบก 80 คู่สาย ศปม. กองทัพเรือ 40 คู่สาย และ ศปม. กองทัพอากาศ 40 คู่สาย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 สปสช. ได้จัดการอบรมและซักซ้อมการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่สายด่วน และการบันทึกข้อมูลเข้าระบบ สปสช.

โดย สปสช. มีแนวทางการปฏิบัติเป็นคู่มือ มีรายละเอียดของหน่วยงานที่จะต้องประสานส่งต่อข้อมูล มีกลุ่มไลน์ของผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำแนะนำเจ้าหน้าที่ และรับเคสที่มีความซับซ้อนไปดำเนินการต่อ รวมทั้งมีช่องทางประสานส่งต่อเคสด่วนไปยัง 1669 โดยแต่ละเหล่าทัพจัดสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก และคอมพิวเตอร์ ให้เพียงพอกับการปฏิบัติภารกิจ

ที่มา : โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519806772970985


ย้ำเตือน 4 มาตรการเปิดประเทศ V-U-C-A
เดินทางไม่ประมาท การ์ดอย่าตก และรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ

ที่มา : AOT Official
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519803526304643


ผู้ป่วยโควิดเข้าเกณฑ์ UCEP Plus ต้องมีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR เป็นบวก ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

1. ภาวะหัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า ซึมลง (เมื่อเทียบกับระดับความรู้สึกเดิม) หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก

2. มีอาการไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส มากกว่า 24 ชั่วโมง หรือหายใจเร็วมากกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ หรือออกซิเจนในเลือดเมื่อแรกรับน้อยกว่า 94% หรือมีระดับออกซิเจนลดต่ำลงกว่าภาวะปกติ 3% เมื่อออกแรง หรือโรคประจำตัวเปลี่ยนแปลงรุนแรง หรือจำเป็นต้องรับการติดตามใกล้ชิดตามดุลยพินิจของแพทย์ หรือในเด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารน้อยลง หรือผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงตามดุลยพินิจของแพทย์

3. มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย คือ เหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรืออื่น ๆ ตามดุลยพินิจของผู้คัดแยก

โดยการใช้สิทธิ สามารถโทรแจ้ง 1669 โรงพยาบาลจะประเมินอาการและรักษาเบื้องต้น และกรอกรายละเอียดอาการผ่านโปรแกรม PA ของ สพฉ. หากเข้าเกณฑ์ UCEP Plus จะสามารถใช้สิทธิได้ทันที ทั้งนี้ สพฉ.ได้เตรียมศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หมายเลข 02-872-1669 เพื่อให้คำปรึกษากรณีมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาในการใช้สิทธิ รวมถึงสถานพยาบาลเอกชนกว่า 300 แห่ง ก็ใช้ในการประสานงานกรณีมีข้อติดขัดการลงข้อมูลผ่านระบบเช่นกัน

การใช้สิทธิ UCEP Plus ผู้ติดเชื้อสิทธิบัตรทองกลุ่มอาการสีเหลืองหรือสีแดงยังเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลใดก็ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นค่าห้องพิเศษหรืออาหารพิเศษนอกเหนือสิทธิประโยชน์ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวไปรับบริการสถานพยาบาลปฐมภูมิในระบบบัตรทองได้ทุกที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากอาการเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือแดง สามารถส่งต่อไปโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรับการรักษาจนหายได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเช่นกัน สำหรับปัญหาสายด่วน 1330 ได้ขยายคู่สายเพิ่มเป็น 3,200 คู่สาย มีสายโทรเข้าลดลงเหลือ 44,447 สาย สายหลุดหรือไม่ได้รับสาย ลดลงจาก 37% เหลือ 13% ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สปสช. หรือไลน์ @nhso จะจับคู่กับหน่วยบริการที่ให้บริการได้รวดเร็วขึ้น

สำหรับผู้ประกันตนที่ติดเชื้อโควิดกลุ่มสีเขียว สามารถเข้าโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคมได้ทุกแห่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนสิ้นสุดการรักษา ส่วนกรณีกลุ่มสีเหลืองหรือสีแดง สามารถเข้าโรงพยาบาลได้ทั้งรัฐและเอกชน โดยประกันสังคมจะเข้าไปร่วมจ่ายทั้งหมด หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสายด่วน 1506 กด 1

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519830162968646


5 จุดฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เปิดให้บริการ Walk in ไม่ต้องจองคิว
จุดที่ 1 Central World
จุดที่ 2 Central พระราม 3
จุดที่ 3 Central ปิ่นเกล้า
จุดที่ 4 Central EastVille
จุดที่ 5 Robinson ลาดกระบัง

* จุดที่ 1 เปิดรับ Walk in เวลา 11.00 -15.00 น. ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 65  จำนวน 300 คิว/วัน
* จุดที่ 2- 5 เปิดรับ Walk in เวลา 13.00-15.00 น. ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค. 65 จำนวน 200 คิว/วัน

สิ่งที่ต้องเตรียมมา
• บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรอื่นๆ ที่ยืนยันตัวตน เช่น passport
• หลักฐานรับรองการได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19
• ปากกาส่วนตัว

ที่มา : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519846852966977


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 จำนวน 63 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519866229631706


สธ. เผย!! ผลรักษาผู้ป่วย กทม. “เจอ แจก จบ” รพ. 14 จังหวัด วันที่ 4-8 มี.ค. 65 รักษาแล้วเกือบ 8,000 คน ลดปัญหาโทรสายด่วน 1330 ไม่ติด

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอกและแยกกักที่บ้าน “เจอ แจก จบ” กระทรวงสาธารณสุขสั่งการให้จัดเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกในการรับบริการ นอกเหนือจากการดูแลที่บ้านหรือชุมชน (HI/CI) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 และได้ให้โรงพยาบาลใน 14 จังหวัดรอบ กทม. เพิ่มกำลังการบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) แบบผู้ป่วยนอก เจอ แจก จบ ด้วย เพื่อช่วยดูแลผู้ติดเชื้อโควิด 19 อาการสีเขียวในพื้นที่ กทม.ที่ยังตกค้างจำนวนมาก รองรับได้วันละ 1.8 หมื่นคน โดยตั้งแต่วันที่ 4-8 มีนาคม 2565 มีโรงพยาบาลให้บริการเพิ่มขึ้นจาก 21 แห่ง เป็น 50 แห่ง ผู้ติดเชื้อเข้ารับบริการรวม 7,839 ราย (4 มีนาคม 1,179 ราย, 5 มีนาคม 574 ราย, 6 มีนาคม 542 ราย, 7 มีนาคม 3,205 ราย และ 8 มีนาคม 2,339 ราย) 64% เป็นผู้ป่วยในสิทธิบัตรทอง รองลงมา 16% เป็นสิทธิประกันสังคม มีการจ่ายยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอ 50% ยาฟาวิพิราเวียร์ 28% และยาฟ้าทะลายโจร 22% ซึ่งภาพรวมประชานมีความพึงพอใจในการรับบริการ และช่วยลดการโทรเข้าสายด่วน 1330 จากวันละ 70,000 สาย เหลือ 50,000 สาย ทำให้มีสายตกค้างลดลง

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/519905826294413


เช็กเลย!! รายชื่อสนามสอบพิเศษ #TCAS65 กรณีผู้สมัครสอบที่ติดเชื้อ Covid-19 กลุ่มสีเขียว หรือ มีความเสี่ยงสูง

สำหรับนักเรียนที่ต้องการเปลี่ยนสนามสอบพิเศษใหม่หรือ ต้องการกลับไปสอบสนามสอบเดิมสามารถกรอกแบบฟอร์มขอยกเลิกสนามสอบโควิดได้ที่ https://covid-cancel.mytcas.com/
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/325338336295177
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่