ครม.ตีกลับ “โควิดพ้นยูเซป” ขอให้ สธ.กลับไปทบทวนสร้างความเข้าใจ
Tue, 2022-02-22 15:30 -- hfocus team
สบส.เผยที่ประชุม ครม. สั่งทบทวนโควิดพ้นยูเซป เว้นอาการเหลืองแดงรักษาได้ทุกที่ ขอให้ไปพิจารณาสร้างความเข้าใจใหม่ก่อนเสนออีกครั้ง ด้านอธิบดี สบส.ย้ำ! โควิดเหมือนเดิม ยังเป็นโรคฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) แถลงข่าวแนวทางการรักษาและเบิกจ่ายโควิด-19 ระบบยูเซปพลัส “UCEP Plus” ว่า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมการดีเดย์กรณีโควิดกับการใช้ยูเซปพลัส ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.2565 เพื่อปรับระบบการบริการให้ผู้ป่วยโควิด-19 ไปใช้การรักษาตามสิทธิสุขภาพของแต่ละบุคคล และเตรียมประกาศ UCEP Covid-19 Plus โดยให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) กำหนดเกณฑ์ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเหลืองและสีแดง เพื่อให้ใช้บริการได้ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิในสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน และวันนี้ในการประชุมครม. เตรียมเสนอเรื่องอัตราจ่ายค่าบริการให้สถานพยาบาล เพื่อขอความเห็นชอบ
“ล่าสุดที่ประชุม ครม. พิจารณาให้ สธ. ทบทวนเรื่องกระบวนการ และไปทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะกระบวนการติดต่อการรักษา ช่องทางต่างๆ รวมถึงเรื่อง UCEP Covid-19 Plus ในอนาคตและการปรับระบบการรักษาที่บ้าน(Home Isolation) ให้กระบวนการมีความคล่องตัว และการทำความเข้าใจกับประชาชน วันนี้จึงยังไม่มีมติ ซึ่ง สธ.ได้รับเรื่องนี้มาเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลและทบทวนกระบวนการต่างๆ" นพ.ธเรศ กล่าว
นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า กรอบเวลาที่จะใช้ทบทวน ก็จะต้องนำเรื่องนี้เข้าคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อไป ส่วนเรื่องการประกาศยกเลิกกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ทาง ค.ร.ม. ให้ สธ.ดำเนินการทบทวนให้สอดคล้องกัน โดยสรุป คือ ตอนนี้ระบบการดูแลยังเป็น UCEP covid-19 เหมือนเดิม ซึ่งต้องไปดูแลกระบวนการดูแลผู้ป่วยเพิ่มเติมขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงต้องมีการพัฒนาช่องทางการติดต่อเพื่อเข้าระบบ 1330 หรือการเข้า Line official ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) อีกประเด็นคือดูแลระบบการรับส่งผู้ป่วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ก่อนหน้านี้ประกาศว่า โควิด ออกจากโรคฉุกเฉิน มีการลงนามไปแล้วนั้น นพ.ธเรศ กล่าวว่า ยังไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทางครม. จึงให้นำมาพิจารณาทบทวนอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องของภาคประชาชน จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุข รับไปเพื่อทบทวนเรื่องการสื่อสาร และกระบวนการทั้งหมด โควิด จึงยังเป็นโรคฉุกเฉิน รักษาฟรีได้ทุกสิทธิ์ รพ.เอกชนปฏิเสธไม่ได้
เมื่อถามว่า กรอบเวลาทบทวนต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องรอให้สถานการณ์ติดเชื้อลดลงหรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า ต้องดูตามความเหมาะสม
ส่วนคำถามถึงกรณี รพ.เอกชน ปฏิเสธการรับผู้ป่วย นพ.ธเรศ กล่าวว่า
ขณะนี้กลไกของ UCEP Covid-19 มีผลบังคับใช้อยู่ ดังนั้น ผู้ป่วยโควิดถือเป็นโรคฉุกเฉิน สถานพยาบาลต้องให้การดูแลและไม่สามารถปฏิเสธได้ หากทางสถานพยาบาลไม่มีศักยภาพในการดูแลหรือไม่มีเตียง ต้องส่งต่อผู้ป่วย และย้ำว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล
https://www.hfocus.org/content/2022/02/24523
ครม.ตีกลับ “โควิดพ้นยูเซป” ขอให้ สธ.กลับไปทบทวนสร้างความเข้าใจ
Tue, 2022-02-22 15:30 -- hfocus team
สบส.เผยที่ประชุม ครม. สั่งทบทวนโควิดพ้นยูเซป เว้นอาการเหลืองแดงรักษาได้ทุกที่ ขอให้ไปพิจารณาสร้างความเข้าใจใหม่ก่อนเสนออีกครั้ง ด้านอธิบดี สบส.ย้ำ! โควิดเหมือนเดิม ยังเป็นโรคฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) แถลงข่าวแนวทางการรักษาและเบิกจ่ายโควิด-19 ระบบยูเซปพลัส “UCEP Plus” ว่า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมการดีเดย์กรณีโควิดกับการใช้ยูเซปพลัส ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.2565 เพื่อปรับระบบการบริการให้ผู้ป่วยโควิด-19 ไปใช้การรักษาตามสิทธิสุขภาพของแต่ละบุคคล และเตรียมประกาศ UCEP Covid-19 Plus โดยให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) กำหนดเกณฑ์ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการสีเหลืองและสีแดง เพื่อให้ใช้บริการได้ทุกที่ ฟรีทุกสิทธิในสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน และวันนี้ในการประชุมครม. เตรียมเสนอเรื่องอัตราจ่ายค่าบริการให้สถานพยาบาล เพื่อขอความเห็นชอบ
“ล่าสุดที่ประชุม ครม. พิจารณาให้ สธ. ทบทวนเรื่องกระบวนการ และไปทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะกระบวนการติดต่อการรักษา ช่องทางต่างๆ รวมถึงเรื่อง UCEP Covid-19 Plus ในอนาคตและการปรับระบบการรักษาที่บ้าน(Home Isolation) ให้กระบวนการมีความคล่องตัว และการทำความเข้าใจกับประชาชน วันนี้จึงยังไม่มีมติ ซึ่ง สธ.ได้รับเรื่องนี้มาเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ทำความเข้าใจกับสถานพยาบาลและทบทวนกระบวนการต่างๆ" นพ.ธเรศ กล่าว
นพ.ธเรศ กล่าวต่อว่า กรอบเวลาที่จะใช้ทบทวน ก็จะต้องนำเรื่องนี้เข้าคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อไป ส่วนเรื่องการประกาศยกเลิกกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ทาง ค.ร.ม. ให้ สธ.ดำเนินการทบทวนให้สอดคล้องกัน โดยสรุป คือ ตอนนี้ระบบการดูแลยังเป็น UCEP covid-19 เหมือนเดิม ซึ่งต้องไปดูแลกระบวนการดูแลผู้ป่วยเพิ่มเติมขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงต้องมีการพัฒนาช่องทางการติดต่อเพื่อเข้าระบบ 1330 หรือการเข้า Line official ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) อีกประเด็นคือดูแลระบบการรับส่งผู้ป่วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่ก่อนหน้านี้ประกาศว่า โควิด ออกจากโรคฉุกเฉิน มีการลงนามไปแล้วนั้น นพ.ธเรศ กล่าวว่า ยังไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทางครม. จึงให้นำมาพิจารณาทบทวนอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องของภาคประชาชน จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุข รับไปเพื่อทบทวนเรื่องการสื่อสาร และกระบวนการทั้งหมด โควิด จึงยังเป็นโรคฉุกเฉิน รักษาฟรีได้ทุกสิทธิ์ รพ.เอกชนปฏิเสธไม่ได้
เมื่อถามว่า กรอบเวลาทบทวนต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ต้องรอให้สถานการณ์ติดเชื้อลดลงหรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า ต้องดูตามความเหมาะสม
ส่วนคำถามถึงกรณี รพ.เอกชน ปฏิเสธการรับผู้ป่วย นพ.ธเรศ กล่าวว่า ขณะนี้กลไกของ UCEP Covid-19 มีผลบังคับใช้อยู่ ดังนั้น ผู้ป่วยโควิดถือเป็นโรคฉุกเฉิน สถานพยาบาลต้องให้การดูแลและไม่สามารถปฏิเสธได้ หากทางสถานพยาบาลไม่มีศักยภาพในการดูแลหรือไม่มีเตียง ต้องส่งต่อผู้ป่วย และย้ำว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินมัดจำได้ ซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล
https://www.hfocus.org/content/2022/02/24523