คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 ประจำวันที่ 28 กันยายน 2565 เวลา 13.00 น.
https://web.facebook.com/fanmoph/videos/388777520132713/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กระทรวงสาธารณสุข
28 กันยายน 2565
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 28 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0nBJQNnzWCPhdGF5VV6qEkWdLyGN5FDxh6XBrW9aK868wKgX31UgkK1AiTVukPTBnl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 27 ก.ย. 2565)
รวม 143,303,904 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 27 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 17,361 โดส
เข็มที่ 1 : 2,274 ราย
เข็มที่ 2 : 3,731 ราย
เข็มที่ 3 : 11,356 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,324,244 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,831,889 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,147,771 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0eDzpqxdabtxuVd7mY8qdFiMxSWdqqXxAtFBXnLUFbzsPuZEHSdhzpByUv2xMN7Fol
อนามัยโพล เผยประชาชนสนับสนุนมาตรการ สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ย้ำ!! สถานการณ์โควิดผ่อนคลาย แต่ยังต้องเฝ้าระวังกลุ่ม 608 และผู้มีโรคประจำตัว
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัยและโฆษกกรมอนามัย กล่าวว่า จากผลสำรวจอนามัยโพลตั้งแต่วันที่ 1-19 ก.ย. 65 พบว่าทุกพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลงจากเดือนสิงหาคม คือ การสวมหน้ากากเมื่อเข้าสถานที่ปิดหรือคนรวมตัวกันหนาแน่น จากร้อยละ 94.8 เป็น 93.6 การล้างมือจากร้อยละ 88.6 เป็นร้อยละ 87.5 และการเว้นระยะห่าง จากร้อยละ 87.3 เป็น 86.3 สอดคล้องกับความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน จากร้อยละ 82.6 เป็น 80.4 ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า มาตรการที่มีความจำเป็น และควรทำต่อไปในระยะเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังนั้น ได้แก่ การเฝ้าระวังพฤติกรรมการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ร้อยละ 25.57 รองลงมาคือ การจัดสถานที่ ให้มีอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอ มีการเว้นระยะห่าง และมีการระบายอากาศที่ดี ร้อยละ 22.47 มีการทำความสะอาด และการจัดการด้านสุขาภิบาลสถานที่ต่าง ๆ ร้อยละ 20.22 ตามลำดับ ทั้งนี้ แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศดีขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น แต่ประชาชนยังคงต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ และใส่ใจอนามัยขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้เสี่ยงสูง กลุ่ม 608 และผู้ที่มีโรคประจำตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02KDC9pCREVhvretbGSMf433FU1niWdgLB6B9bjNw98w7nG82hw7mopocoh5pzvdikl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพุธที่ 28 กันยายน 2565 จำนวน 9 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0YUgtXRBRDfgNJF1LX7h7QUYCb7WfWfjcjtLz77gLENSK16HzHoFRSXDXdfY6WGQwl
ศธ.ยกเลิกประกาศมาตรการคุมโควิด ในสถานศึกษา เริ่ม 1 ต.ค. 65
นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตามข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลายลงตามลำดับ ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประกาศยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป และในการประชุม ศบค. เมื่อ 23 ก.ย. 65 ได้มีมติยกเลิกประกาศการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อกลับไปใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตั้งแต่ 30 ก.ย. 65 เป็นต้นไป
กระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 30 ธ.ค. 64 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ (เพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 3 ม.ค. 65
2. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 10 พ.ค. 65
3. ให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid021JAgNnEL9Un3hyxirydaiXE96MviwUcfoCizRf2ztfhd1p449M2zp9qzdvQExcoNl
สธ. พร้อมบริหารจัดการ "โควิด-19" หลังปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” เริ่ม 1 ต.ค. 65
ปัจจุบันสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่ภาวะใกล้เคียงปกติแล้ว ช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่า “ประสบผลสำเร็จ” ในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 จนได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและประชาคมโลก
ทั้งนี้ เมื่อ สธ. ได้ประกาศยกเลิก "โควิด-19" เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” ตามคำแนะนำของ คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ โดยมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไปนั้น ระยะต่อไปจะดำเนินการบริหารสถานการณ์ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และอาจปรับลดระดับความเข้มข้นของมาตรการต่าง ๆ ตามสถานการณ์
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ยังคงได้รับการรักษา “ฟรี” ตามสิทธิ เช่น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น
กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการ “ฉุกเฉินวิกฤตสีแดง” สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ทั้งในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยใช้สิทธิ UCEP Plus จนกว่าจะหายป่วย ซึ่งสถานพยาบาลจะเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59680
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid025kzj4LbJE3aExg69D9yNZ6vNBGwS2z5WYxaWXR9gCAMDWrEWTCM4NkCK2KZAFuGKl
จากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านมา พวกเราคนไทยทุกคน ร่วมแรงร่วมใจสามัคคี ปฏิบัติตามคำแนะนำ/การขอความร่วมมือของรัฐบาล ต่อสู้กับโรคภัยและการแพร่ระบาดของวิกฤตินี้ไปด้วยกัน จนสามารถผ่านพ้นภัยไปด้วยกันเป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจะได้รับการชื่นชมจากนานาชาติ ในด้านการบริหารการจัดการสาธารณสุขที่ดี มีความมั่นคงทางสุขภาพเป็นอันดับ 5 ของโลกและอันดับที่ 1 ของเอเชียจากการประเมินความพร้อมของประเทศในการรับมือการแพร่ระบาดโรคติดต่อปี 2021 โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอป สหรัฐอเมริกา
แต่ความสำเร็จเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความเสียสละทุ่มเทของเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ร่วมแรงร่วมใจกัน กอบกู้ดูแลสถานการณ์ร่วมกัน รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีรู้สึกขอบคุณในความเสียสละและทุ่มเทของเจ้าหน้าที่ทุก ๆ คน
เพื่อเป็นการตอบแทนเหล่าอาสาสมัครสาธารณสุข รัฐบาลมีมติอนุมัติค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนจำนวน 1,039,729 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จำนวน 10,577 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,050,306 คน ในอัตรา 500 บาท ต่อคนต่อเดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 - เดือนกันยายน 2565 สำหรับการอนุมัติครั้งนี้ นับเป็นการอนุมัติครั้งที่ 8 ยอดรวมการอนุมัติทั้งหมด 16,225,991,500 บาท
ขอขอบคุณในความเสียสละของเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเหล่าอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ทำงานอย่างหนักด้วยความด้วยความเสียสละและทุ่มเทตลอดมา
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid0trfmBf378C93cteHUEfSX6wfvrEdJpa3KDxbdSwcDU9afXQoAzAoDguNDrYzKziPl
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อปิด 30 ก.ย.65 แต่ไปฉีดวัคซีนโควิดต่อได้ที่สถาบันโรคผิวหนัง เริ่ม 1 ต.ค.นี้
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดให้บริการวันสุดท้ายถึง 30 ก.ย.65 แต่ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด19 ชนิดไฟเซอร์ฝาสีม่วง ไฟเซอร์ฝาสีส้ม ยังสามารถรับบริการได้ฟรี! ที่ สถาบันโรคผิวหนัง (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมชั้น 20 เวลาทำการ 9.00 -15.00 น.
ให้บริการฉีดวัคซีนโควิดทุกเข็ม ทุกสัญชาติ อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งรูปแบบจองคิวล่วงหน้า คลิก https://covid19.iod.go.th/vaccine และลงทะเบียน ณ จุดฉีด (walk in)
โดยจะเปิดให้บริการในวันเสาร์ ที่ 1, 8, 29 ตุลาคม 2565 (ยกเว้นวันเสาร์ที่ 15 และ 22 ตุลาคม 2565 งดบริการ)
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid036jZmt6ePgtBFjiqkxVNnTY4JwYYqPhGCEckUyz72xWvL23YsviRZhPDrkMzqBUgul
https://web.facebook.com/fanmoph/videos/388777520132713/ (มีคลิป)
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด 19
ณ กระทรวงสาธารณสุข
28 กันยายน 2565
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 28 กันยายน 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0nBJQNnzWCPhdGF5VV6qEkWdLyGN5FDxh6XBrW9aK868wKgX31UgkK1AiTVukPTBnl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 27 ก.ย. 2565)
รวม 143,303,904 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 27 กันยายน 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 17,361 โดส
เข็มที่ 1 : 2,274 ราย
เข็มที่ 2 : 3,731 ราย
เข็มที่ 3 : 11,356 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,324,244 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,831,889 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 32,147,771 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0eDzpqxdabtxuVd7mY8qdFiMxSWdqqXxAtFBXnLUFbzsPuZEHSdhzpByUv2xMN7Fol
อนามัยโพล เผยประชาชนสนับสนุนมาตรการ สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ย้ำ!! สถานการณ์โควิดผ่อนคลาย แต่ยังต้องเฝ้าระวังกลุ่ม 608 และผู้มีโรคประจำตัว
นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัยและโฆษกกรมอนามัย กล่าวว่า จากผลสำรวจอนามัยโพลตั้งแต่วันที่ 1-19 ก.ย. 65 พบว่าทุกพฤติกรรมมีแนวโน้มลดลงจากเดือนสิงหาคม คือ การสวมหน้ากากเมื่อเข้าสถานที่ปิดหรือคนรวมตัวกันหนาแน่น จากร้อยละ 94.8 เป็น 93.6 การล้างมือจากร้อยละ 88.6 เป็นร้อยละ 87.5 และการเว้นระยะห่าง จากร้อยละ 87.3 เป็น 86.3 สอดคล้องกับความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน จากร้อยละ 82.6 เป็น 80.4 ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ มีความเห็นว่า มาตรการที่มีความจำเป็น และควรทำต่อไปในระยะเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังนั้น ได้แก่ การเฝ้าระวังพฤติกรรมการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ร้อยละ 25.57 รองลงมาคือ การจัดสถานที่ ให้มีอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอ มีการเว้นระยะห่าง และมีการระบายอากาศที่ดี ร้อยละ 22.47 มีการทำความสะอาด และการจัดการด้านสุขาภิบาลสถานที่ต่าง ๆ ร้อยละ 20.22 ตามลำดับ ทั้งนี้ แม้ว่าแนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศดีขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น แต่ประชาชนยังคงต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ และใส่ใจอนามัยขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้เสี่ยงสูง กลุ่ม 608 และผู้ที่มีโรคประจำตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02KDC9pCREVhvretbGSMf433FU1niWdgLB6B9bjNw98w7nG82hw7mopocoh5pzvdikl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพุธที่ 28 กันยายน 2565 จำนวน 9 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0YUgtXRBRDfgNJF1LX7h7QUYCb7WfWfjcjtLz77gLENSK16HzHoFRSXDXdfY6WGQwl
ศธ.ยกเลิกประกาศมาตรการคุมโควิด ในสถานศึกษา เริ่ม 1 ต.ค. 65
นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงนามยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตามข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยมีแนวโน้มคลี่คลายลงตามลำดับ ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประกาศยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป และในการประชุม ศบค. เมื่อ 23 ก.ย. 65 ได้มีมติยกเลิกประกาศการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อกลับไปใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ตั้งแต่ 30 ก.ย. 65 เป็นต้นไป
กระทรวงศึกษาธิการจึงออกประกาศ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 30 ธ.ค. 64 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงศึกษาธิการ (เพิ่มเติมครั้งที่ 1) ลงวันที่ 3 ม.ค. 65
2. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์การเปิดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 10 พ.ค. 65
3. ให้หน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติตามแนวทางที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 65
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid021JAgNnEL9Un3hyxirydaiXE96MviwUcfoCizRf2ztfhd1p449M2zp9qzdvQExcoNl
สธ. พร้อมบริหารจัดการ "โควิด-19" หลังปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” เริ่ม 1 ต.ค. 65
ปัจจุบันสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่ภาวะใกล้เคียงปกติแล้ว ช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่า “ประสบผลสำเร็จ” ในการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 จนได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและประชาคมโลก
ทั้งนี้ เมื่อ สธ. ได้ประกาศยกเลิก "โควิด-19" เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” ตามคำแนะนำของ คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ โดยมีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไปนั้น ระยะต่อไปจะดำเนินการบริหารสถานการณ์ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และอาจปรับลดระดับความเข้มข้นของมาตรการต่าง ๆ ตามสถานการณ์
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ยังคงได้รับการรักษา “ฟรี” ตามสิทธิ เช่น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ เป็นต้น
กรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการ “ฉุกเฉินวิกฤตสีแดง” สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ทั้งในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน โดยใช้สิทธิ UCEP Plus จนกว่าจะหายป่วย ซึ่งสถานพยาบาลจะเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59680
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid025kzj4LbJE3aExg69D9yNZ6vNBGwS2z5WYxaWXR9gCAMDWrEWTCM4NkCK2KZAFuGKl
จากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านมา พวกเราคนไทยทุกคน ร่วมแรงร่วมใจสามัคคี ปฏิบัติตามคำแนะนำ/การขอความร่วมมือของรัฐบาล ต่อสู้กับโรคภัยและการแพร่ระบาดของวิกฤตินี้ไปด้วยกัน จนสามารถผ่านพ้นภัยไปด้วยกันเป็นอย่างดี
ถึงแม้ว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาจะได้รับการชื่นชมจากนานาชาติ ในด้านการบริหารการจัดการสาธารณสุขที่ดี มีความมั่นคงทางสุขภาพเป็นอันดับ 5 ของโลกและอันดับที่ 1 ของเอเชียจากการประเมินความพร้อมของประเทศในการรับมือการแพร่ระบาดโรคติดต่อปี 2021 โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอป สหรัฐอเมริกา
แต่ความสำเร็จเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีความเสียสละทุ่มเทของเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ร่วมแรงร่วมใจกัน กอบกู้ดูแลสถานการณ์ร่วมกัน รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีรู้สึกขอบคุณในความเสียสละและทุ่มเทของเจ้าหน้าที่ทุก ๆ คน
เพื่อเป็นการตอบแทนเหล่าอาสาสมัครสาธารณสุข รัฐบาลมีมติอนุมัติค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชนจำนวน 1,039,729 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จำนวน 10,577 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,050,306 คน ในอัตรา 500 บาท ต่อคนต่อเดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 - เดือนกันยายน 2565 สำหรับการอนุมัติครั้งนี้ นับเป็นการอนุมัติครั้งที่ 8 ยอดรวมการอนุมัติทั้งหมด 16,225,991,500 บาท
ขอขอบคุณในความเสียสละของเหล่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเหล่าอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ทำงานอย่างหนักด้วยความด้วยความเสียสละและทุ่มเทตลอดมา
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid0trfmBf378C93cteHUEfSX6wfvrEdJpa3KDxbdSwcDU9afXQoAzAoDguNDrYzKziPl
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อปิด 30 ก.ย.65 แต่ไปฉีดวัคซีนโควิดต่อได้ที่สถาบันโรคผิวหนัง เริ่ม 1 ต.ค.นี้
ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดให้บริการวันสุดท้ายถึง 30 ก.ย.65 แต่ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด19 ชนิดไฟเซอร์ฝาสีม่วง ไฟเซอร์ฝาสีส้ม ยังสามารถรับบริการได้ฟรี! ที่ สถาบันโรคผิวหนัง (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมชั้น 20 เวลาทำการ 9.00 -15.00 น.
ให้บริการฉีดวัคซีนโควิดทุกเข็ม ทุกสัญชาติ อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งรูปแบบจองคิวล่วงหน้า คลิก https://covid19.iod.go.th/vaccine และลงทะเบียน ณ จุดฉีด (walk in)
โดยจะเปิดให้บริการในวันเสาร์ ที่ 1, 8, 29 ตุลาคม 2565 (ยกเว้นวันเสาร์ที่ 15 และ 22 ตุลาคม 2565 งดบริการ)
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid036jZmt6ePgtBFjiqkxVNnTY4JwYYqPhGCEckUyz72xWvL23YsviRZhPDrkMzqBUgul
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭28ก.ย.ป่วย811คน หาย674คน ตาย9คน วิกฤตฉุกเฉิน1ต.ค.เข้ารพ.เอกชนไม่ต้องจ่าย/รีวิวเข้าไทย หลังโควิด
ข่าวโควิดวันนี้ ผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ.รายใหม่ 811 ราย เสียชีวิต 9 คน
28 ก.ย. 2565 เวลา 7:40 น.
ข่าวโควิดวันนี้ 28 ก.ย.65 ผู้ป่วยรักษาตัวใน รพ.รายใหม่ 811 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 9 คน หายป่วย 674 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 2,456,398 ราย
ข่าวโควิดวันนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันพุธที่ 28 กันยายน 2565 ผู้ป่วยรายใหม่(รักษาตัวใน รพ.) 811 ราย แยกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 811 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ - ราย
ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 ม.ค.65) 2,456,398 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 9 ราย หายป่วยเพิ่ม 674 ราย กำลังรักษา 4,537 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวในโรงพยาบาล 483 ราย
https://www.thansettakij.com/health/541903
ดีเดย์ 1 ต.ค.65 ป่วยโควิดสีแดง เข้าข่ายวิกฤตฉุกเฉิน UCEP Plus เข้ารพ.เอกชนไม่เสียค่าใช้จ่าย
สพฉ.แจงชัด! 1 ต.ค.65 ป่วยโควิดสีแดงเข้าข่ายวิกฤตฉุกเฉิน หรือ ยูเซปพลัส ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เข้ารพ.เอกชน กรณีอาการเหลือง เขียวไม่เข้าเกณฑ์ แต่สามารถรักษาได้ฟรีตามสิทธิ์แต่ละกองทุน พร้อมออกประกาศเกณฑ์ต่างๆ 30 ก.ย.นี้ หากมีข้อสอบถามติดต่อศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โทร.02-872-1669
เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) แถลงข่าวประเด็นสิทธิ์ UCEP Plus หลังโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ว่า นโยบายสิทธิ์ยูเซป(UCEP) เป็นนโยบายของรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 โครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ จากเดิมที่เจ็บป่วยฉุกเฉินแล้วเข้าโรงพยาบาล(รพ.) เอกชน ทำให้มีค่าใช้จ่าย แต่หลังจากมีการประกาศใช้ยูเซป ทำให้ประชาชนไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยกองทุนต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบให้ ทั้งนี้ สพฉ.มีหน้าที่ประเมินเพื่อคัดแยกผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งหากไม่เข้าเกณฑ์ก็จะมีค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม ช่วงโควิด-19 ได้ปรับเปลี่ยนจากยูเซป เป็นยูเซปโควิด-19(UCEP Covid-19) เพื่อดูแลผู้ติดเชื้อโควิดในทุกกลุ่ม ประชาชนจะไม่เสียค่าใช้จ่าย แม้จะเป็นการดูแลจากที่บ้านหรือชุมชน(Home and Community Isolation) แต่หลังจากที่รัฐบาลประกาศยกเลิกยูเซปโควิด-19 เมื่อเดือนมี.ค.65 ซึ่งมีกลไกของยูเซปพลัส(UCEP Plus) เข้ามาแทน ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. จนถึงปัจจุบัน เป็นการใช้ยูเซปเดิมมาบวกกับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการกลุ่มสีเหลืองและแดง ขณะที่ค่าใช้จ่ายไม่ครอบคลุมกลุ่มสีเขียวแล้ว โดยให้เป็นการรักษาตามสิทธิของประชาชนตามปกติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการให้บริการยูเซปพลัส ผู้ป่วยสะสม 383,258 ราย กลุ่มที่เข้าเกณฑ์ 81,304 ราย ส่วนกลุ่มไม่เข้าเกณฑ์อีก 301,954 ราย ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งกลุ่มนี้ถ้าเข้ารพ.รัฐบาลจะไม่มีค่าใช้จ่าย
“จากการที่รัฐบาลประกาศให้โรคติดเชื้อโควิดเป็นโรคติตต่อที่ต้องเฝ้าระวังตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ทำให้เกิดกลไกปรับปรุงเกณฑ์ยูเซปพลัสใหม่ แต่ขอย้ำว่า ยังมียูเซปอยู่ แต่เกณฑ์พิจารณาเข้าสู่การคัดแยกปรับลดลงในบางส่วน เช่น กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดโควิดแบบไม่มีอาการ เดิมถือเป็นกลุ่มสีเหลืองและเข้ายูเซปพลัส แต่เกณฑ์ใหม่จะตัดกลุ่มที่ไม่มีอาการออกไป ซึ่งกลุ่มที่มีอาการ เช่น ตรวจพบเชื้อบวกกับภาวะหัวใจหยุดเต้น ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น หอบเหนื่อย หรือมีภาวะทำให้ระบบทางเดินหายใจรุนแรง ภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำที่เกิดจากการติดเชื้อหรือเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงอาการที่นำไปสู่การเสียชีวิตโดยเร็ว ก็ยังเข้าเกณฑ์ยูเซปพลัสอยู่” ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าว
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า ภายในวันที่ 30 ก.ย. สพฉ. จะออกประกาศเกณฑ์ที่เป็นรายละเอียดและแจ้งให้ประชาชน สถานพยาบาลรับทราบเกณฑ์เดียวกัน ทั้งนี้ ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เพื่อดูแล เป็นตัวกลางระหว่างผู้ป่วยกับสถานพยาบาล หากมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน เราก็จะให้คำแนะนำและวินิจฉัย สามารถติดต่อที่เบอร์ 02-872-1669
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า สำหรับยูเซปที่ไม่ใช่การติดเชื้อโควิดจะมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้อง คือ การเข้ารพ.เอกชนจะต้องดูแลใน 72 ชั่วโมงแรกของการรักษา แต่หากเป็นยูเซปพลัส จะต่างเล็กน้อยคือ การติดเชื้อมีอาการรุนแรงแล้วเข้า รพ.เอกชนที่รับรักษาจะต้องดูแลจนกว่าจะหาย ไม่ได้จำกัดเพียง 72 ชั่วโมงแรก หรืออีกกรณี คือ ไปรพ.ด้วยสาเหตุอื่น แต่ไปติดเชื้อที่ รพ. ก็จะเข้าเกณฑ์ทันที ขณะเดียวกัน อัตราที่จะจ่ายให้รพ.เอกชน กรณียูเส็ปพลัสจะจ่ายเพิ่มขึ้น 25% จากยูเซปปกติ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีคนที่ป่วยโควิดมีอาการรุนแรง และมองว่าตนอยู่ในข่ายอาการวิกฤตสีแดง แต่แพทย์อาจไม่คิดเช่นนั้น จะมีการแยกหรืออธิบายอาการให้ชัดเจนหรือไม่..
ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 เป็นต้นไป การจะเข้ายูเซปพลัสได้จะต้องมีอาการสีแดงเท่านั้น เรียกว่า แดงโควิด เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย และต้องรักษาจนหาย ไม่มีข้อจำกัดทางเวลา ส่วนอาการเกณฑ์ต่างๆ ทาง สพฉ.จะออกประกาศภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ และหากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อมาได้ที่ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ของสพฉ. โทร.02-872-1669
https://www.hfocus.org/content/2022/09/26058
รีวิวเดินทางเข้าเมืองไทย หลังจากโควิด
หลังจากโควิดเริ่มระบาด เราได้เดินทางเข้า- ออกเมืองไทย จำนวนสองครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัว และทำธุระส่วนตัว ครั้งแรกเมื่อประมาณปลายปี 2564 ที่ตอนนั้นต้องมีการสมัครไทยพาส และจองโรงแรมเพื่อกักตัวหนึ่งคืนเพื่อรอผลตรวจโควิด ในปีนี้เราได้เดินทางกลับเมืองไทยอีกครั้งเมื่อกลางเดือน กันยา 2565 โดยในปีนี้หลักเกณฑ์ในการเดินทางเข้าเมืองไทยก็เปลี่ยนแปลงไปมากพอสมควร
เราขอสรุปหลักเกณฑ์ในการเดินทางเข้าเมืองไทยหลังจากโควิดคร่าว ๆ ดังนี้...👇
ไม่ต้องสมัครไทยพาสแล้ว
ต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบตามที่กำหนดหรือแสดงผลตรวจโควิด หลักเกณฑ์นี้ค่อนข้างคลุมเครือจากคำว่า ”ได้รับวัคซีนโควิดครบตามที่กำหนด” เพราะแต่ละประเทศก็ให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนโควิดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ตลอดเวลา จนไม่รู้ว่าปัจจุบัน การได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดต้องได้กี่เข็มกันแน่ เราเองก็แอบกังวลเพราะเราได้วัคซีนโควิดแค่สองเข็ม แต่จะให้เราไปตรวจโควิดก่อนเดินทาง เราก็ไม่อยากเสียเงินค่าตรวจ เพราะครั้งที่แล้วเราก็จ่ายไปประมาณ 1000 SEK หรือประมาณ 3500 บาท รอบนี้เลยขอสุ่มไปเช็คอินด้วยใบรับรองวัคซีนสองเข็ม ซึ่งปรากฏว่าเราสามารถเดินทางเข้าเมืองไทยได้ตามปกติ
เมื่อเดินทางเข้ามาในเมืองไทย ก็ไม่จำเป็นต้องจองโรงแรมเพื่อกักตัวเหมือนครั้งก่อน
ไม่มีการบังคับใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ทั้งบนเครื่อง และที่สนามบิน แต่เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง เราก็ใส่ทั้งผ้าปิดปาก ปิดจมูก และพกแอลกอฮอล์ติดตัวตามปกติ
หลังจากที่โควิดระบาด ก็ทำให้การเดินทางเข้าออกเมืองไทย หรือเดินทางระหว่างประเทศยุ่งยากขึ้นพอสมควร โดยเฉพาะการเดินทางโดยเครื่องบิน ปัญหาบางอย่างก็อาจจะไม่ได้เกิดจากโควิดตรง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด เช่น
ปัญหาค่าตั๋วเครื่องบินแพงขึ้น
ก่อนเดินทางกลับเมืองไทย หรือเดินทางระหว่างประเทศต้องค้นหาหลักเกณฑ์ก่อนการเดินทาง หลายครั้งก็ไม่รู้ว่าหลักเกณฑ์ไหนที่อัปเดตล่าสุด ขอแนะนำให้เช็คหลักเกณฑ์การเดินทางเข้าเมืองไทยที่หน้าเว็บสถานทูตไทยในประเทศนั้น ๆ นะคะ เพราะทางสถานทูตไทยมีการอัปเดตข้อมูลให้เราทราบเป็นระยะ
ปัญหาความวิตกกังวล จากมาตรการการเดินทางเข้าออกเมืองไทย หรือประเทศอื่น ๆ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนการเดินทาง กฎเกณฑ์บางอย่างโทรไปถามแล้วได้คำตอบอีกอย่าง พอไปเช็คอินก็ได้คำตอบอีกอย่าง
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักกระเป๋าเพื่อเดินทางกลับเมืองไทย สมัยก่อนน้ำหนักกระเป๋ามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย แต่ตั้งแต่มีโควิด น้ำมันแพง เงินเฟ้อพุ่ง ทำให้สายการบินต่าง ๆ เริ่มรัดเข็มขัด และประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงจำกัดจำนวน และน้ำหนักกระเป๋า อันนี้ใครที่จะเดินทางกลับเมืองไทย ต้องเข้าไปเช็คกฎเกณฑ์เรื่องกระเป๋าให้ละเอียดอีกครั้งก่อนเดินทาง จะได้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม เพราะบางทีเงินที่ต้องจ่ายค่าน้ำหนักเกินแพงกว่าของที่เราต้องการเอากลับเมืองไทยเสียอีก
ความล่าช้าในการเช็คอิน เนื่องจากมีจำนวนผู้โดยสารจำนวนมาก และกฎเกณฑ์การเช็คอินมีความยุ่งยากขึ้น บางครั้งต้องรอคิวเช็คอินนานมากกว่าปกติ ถ้าเราไม่เผื่อเวลาไว้บ้าง อาจจะทำให้เราพลาดการเดินทางได้
ช่วงนี้ทางยุโรปกำลังประสบกับปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาความกังวลเกี่ยวกับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาค่าไฟ ค่าครองชีพเพิ่มอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ทำให้หลาย ๆ คนเลือกจะเดินทางมาท่องเที่ยว หรืออยู่อาศัยที่เมืองไทย
การที่รัฐบาลไทยเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การเดินทางเข้าประเทศ จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอีกทางหนึ่ง เพราะเมืองไทยก็มีจุดเด่นที่อาหารอร่อย และสถานที่ท่องเที่ยวสวย ที่ต่างชาตินิยมหลายที่ทั้งในกรุงเทพ และทะเลอันดามัน และอ่าวไทย ซึ่งเราก็เคยเขียนถึงในหลาย ๆ บทความที่ผ่านมา นอกจากนั้นเรายังมีวัฒนธรรมไทยที่มีความโดดเด่นที่รอให้เราไปค้นหา ชอบที่ไหน แบบไหนก็จัดเลย แล้วกลับมาพบกันใหม่นะคะ
เครดิตภาพปก และภาพทั้งหมดโดยผู้เขียน
By Nurseonomy
https://travel.trueid.net/detail/L5BAQDWZ2NXn
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ...