การอ้างชื่อพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมเพื่อความน่าเชื่อถือนั้นไม่ได้หมายความว่า "ผู้อ้าง" นั้นจะทำถูกต้องเสมอไป เพราะอะไร?

บทนำ 

              พระพุทธเจ้าสอนพุทธสาวกอยู่เนือง ๆ ว่า เมื่อจะแสดงธรรม กล่าวธรรม หรือพูดแสดงเหตุผลอะไรก็ตาม ท่านจะสอนไว้ว่า ให้พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย อิงหลักฐาน  นอกจากนี้แล้ว ยังทรงมอบหลักการตรวจสอบพระธรรมวินัย มาในมหาปเทส ๔ หลักพิจารณาธรรมที่ตรัสกับพระอุบาลี และ นางมหาปชาบดี 
 
              เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ แสดงไว้ย่อมไม่ขัดแย้งกัน ภิกษุบางรูป รวมถึงพุทธบริษัททั่วไป เมื่อจะแสดงธรรม ก็มักจะกล่าวถึง พระสูตรนั้น พระสูตรนี้ ทรงตรัสไว้อย่างนั้นอย่างนี้ สอดรับกับพระสูตรนั้นพระสูตรนี้

              เมื่อใดก็ตามที่มีข้อโต้อแย้งการตีความหมายธรรม พุทธพจน์ ความหมายพระสูตร ก็จะต้องมีการเปรียบเทียบ ตรวจสอบ อันมีมหาปเทส ๔ ดังได้กล่าวแล้ว ในบางคราวเพื่อให้กระชับในการสนทนาก็อ้างชื่อพระพุทธเจ้าไปเลย จะได้มีความน่าเชื่อถือ คู่สนทนาก็จะยอมรับว่า อ้อ..คนนี้นี่อ้างคำพระพุทธเจ้าเราคงจะขัดแย้งไม่ได้ เราก็ต้องเชื่อตามนั้น
           
             คำสำคัญ : นิยามศัพท์ จากพระไตรปิฎก
             1. สังขตธรรม : ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม (ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓ ประการนี้
สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ  
                 ๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ  
                 ๒. ความดับสลายปรากฏ
                 ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
             2. อสังขตธรรม : ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม (ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓ ประการนี้  
อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
                ๑. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ
                ๒. ความดับสลายไม่ปรากฏ
                ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
             สังขตธรรม มจร. องฺ.ติกฺก (ไทย) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙.
             อสังขตธรรม มจร. องฺติกฺก.(ไทย) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙.
             ความหมายคำว่า สังขตธรรม อสังขตธรรม

             สัตว์โลกทั้งหลาย (ปุถุชน) ผู้ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ โมฆะ โดยทั่วไปล้วนแต่จัดอยู่ในจำพวกสังขตธรรม ครั้นเมื่อรู้จักพระพุทธศาสนาปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วละราคะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นไปได้แล้วจึงจะเรียกได้ว่า ถึงพระนิพพาน สภาพของจิตของผู้ที่ถึงพระนิพพานจะไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกแล้ว   
            อสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน จิตของบุคคลที่ไม่มีตัณหา อุปาทาน เมื่อตายไปย่อมไม่มีเชื้อให้ต้องเกิดใหม่



           การอ้างชื่อพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรม เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะว่า พระพุทธเจ้าคือเจ้าของผู้บัญญัติแต่งตั้งเปิดเผยธรรม

          การอ้างชื่อพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมเพื่อความน่าเชื่อถือนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้อ้างนั้นจะทำถูกต้องเสมอไป เพราะอะไร?

          อาจมีบางคราว ที่ผู้ที่อ้างชื่อพระพุทธเจ้าแบบผิด ๆ  โดยสร้างเรื่องราวเหคุการณ์ให้คนอื่นเชื่อถือ เช่น 
          1. ยกคำพระพุทธเจ้า ขึ้นมาเป็นที่ตั้ง ครั้งที่ 1 ครั้ง 2 ครั้งที่ 3.... เรียงลำดับคำพระพุทธเจ้าไปเรื่อย ๆ 
          2. คนฟังเชื่อไปตามนั้นจริง ว่า คนนี้ พูด สอนตามคำของพระพุทธเจ้าจริง หลังจากนั้น...(อ่านที่ข้อ3)
          3. ยัดคำพูดของตนเองแทรกลงไปในระหว่างการพูด คือใส่ความคิดเห็นของตนเองแทรกลงไปในคำของพระพุทธเจ้า แล้วก็อ้างว่านี่คือคำของพระพุทธเจ้า

           ตัวอย่าง พระคึกฤทธิ์ มักจะกล่าวอ้างเนือง ๆ ว่า ตนเอง พูด สอนตามพระพุทธเจ้า จากคลิปนี้
           https://www.youtube.com/watch?v=7D6FTYZx8k4&t=485s
          ตัวอย่าง คำพูดของพระคึกฤทธิ์ สร้างความเชื่อมั่นให้คนฟังเชื่อว่า ตนใช้แต่คำพระศาสดา
          ...ยกคำพระศาสดาไปสิ ยกคำพระศาสดาไปเลย  ไม่ใช่คำของเรา คำพระศาสดา
             เค้าว่า เค้าก็ว่าพระศาสดา ยกคำพระศาสดาลอย ๆ ไปเลย เดี๋ยวเค้าก็เข้าใจเอง
             ค้านกับพุทธเจ้า ค้านไม่อยู่หรอก องค์ความรู้ไม่พอ ...สมมติเค้าบอกมั่วมา ขอทราบเหตุผลความมั่วซิ

            
           วิเคราะห์ : พระคึกฤทธิ์มักจะยกอ้างคำพูดของพระพุทธเจ้า ทั้งบาลีและแปลไทย 
                           เพื่อให้ดูสมจริงว่าตนเองพูด บอกสอน ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
                           แล้วก็แทรกความเห็นผิดของตนลงไป  คนที่ไม่รู้จริง ไม่รู้ทันก็จะไม่กล้าแย้ง
                           คำพูดในคลิปนี้ก็มีหลายประเด็นที่พระคึกฤทธิ์พูดไว้ผิด ผู้ฟังไม่เข้าใจก็จะหลงคิดไปว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างที่พระคึกฤทธิ์พูด
 
               ผมเคยเขียนแสดงเหตุผลไปแล้วว่า ไม่ว่าพระคึกฤทธิ์ จะพูดแสดงอะไร ก็ไม่ควรรับฟัง เพราะพระรูปนี้กล่าวตู่คำพระศาสดา
             

--------------

          ตัวอย่าง พระคึกฤทธิ์ อ้างเนียน ๆ ยัดไส้ คำพูดตนเองแทรกลงในคำของพระพุทธเจ้า ในระหว่างการบรรยาย
          https://www.youtube.com/watch?v=mhpolHwNYxQ&t=1687s

         
         คลิปข้างบนนี้ พระคึกฤทธิ์ อธิบายปฏิจจสมุปบาท อ่านตามคำแปล จากบาลีเป็นแปลไทย
         ครั้นพอพูดมาถึงเวลา 27.37 -28.07 ก็ฉวยโอกาสแทรกคำพูดของตนเข้าไปปะปนกับความหมายคำพูดของพระพุทธเจ้า คือ พูดว่า 
         == > เพราะฉะนั้น สิ่งที่เข้ามาหลงยึดขันธ์ทั้ง ๕ เนี่ยะ คุณสมบัติมันคืออะไร  พุทธเจ้าบอก คุณสมบัติ มัน มี 3 อย่าง 
1...2...3 (ดูที่ภาพ) ซึ่งในภาพ ถัดมา จะเป็นคำพูดของพระพุทธเจ้าทั้งบาลีและแปลไทย 
         
          วิเคราะห์ คลิปนี้ : หลังจากที่พระคึกฤทธิ์พูดคำว่า  สิ่งที่เข้ามาหลงยึดขันธ์ ๕  แล้ว > พระคึกฤทธิ์ พูด อ้าง เนียน ๆ ด้วยการนำคุณสมบัติของคำว่า อสังขตธาตุ ซึ่งเป็นคำพูดของพระพุทธเจ้า มาพูดต่อเนื่องกับความเห็นผิดของตน
          ทำให้คนฟังเข้าใจว่า ที่พระคึกฤทธิ์พูดว่าสิ่งที่เข้ามาหลงยึดขันธ์ ๕ คือ อสังขตธาตุ นั้นเป็นคำของพระพุทธศาสดา ซึ่งความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ 
          

         จับคำเท็จพระคึกฤทธิ์  

         อสังขตธาตุ เป็นธาตุที่ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรจะปรุงแต่งได้อีกแล้ว
         ดังนั้นการที่พระคึกฤทธิ์ อ้างว่า >> อสังขตธาตุมาหลงยึดขันธ์ ๕ << จึงเป็นคำพูดที่ผิด
         ความเห็นนี้เป็นความเห็นประหลาด ไม่ใช่คำสอนในพระพุทธศาสนา ควรเพิกถอนออกไปเสีย
        
          วิเคราะห์และสรุป:  การอ้างชื่อพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมเพื่อความน่าเชื่อถือนั้นไม่ได้หมายความว่า "ผู้อ้าง" นั้นจะทำถูกต้องเสมอไป เพราะอะไร?

          ธรรมของพระพุทธเจ้า ที่มีในพระไตรปิฎก เป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชนว่า ถูกต้องตรงจริง ไม่ขัดแย้งกัน การอ้างชื่อ อ้างธรรมของพระพุทธเจ้ามีทั้งอ้างถูกต้องและ อ้างแบบไม่ถูกต้อง กล่าวคือ 
          1. การอ้างชื่อพระพุทธเจ้า บางครั้ง ผู้อ้าง ก็อ้างได้ตรงตามจริง การอ้างตรงตามจริงถือได้ว่าเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ
          2. บางครั้งผู้อ้าง เฉไฉ ไกลออกไปจากความจริง เป็นการหลอกอ้าง ตีเนียน เพื่อให้สมจริง
          3. การอ้างชื่อพระพุทธเจ้า เมื่ออ้างแล้วผิดพลาด บางคนก็มีความละอาย แก้ไขความเห็นผิดที่ตนได้อ้างไปแล้ว
              แต่บางคนอ้างแบบไม่ถูกต้องอีกทั้งไม่มีความละอาย กลับแสดงอาการท้าทาย เฉไฉ ออกนอกเรื่องไปว่าคนอื่น ว่า อย่าตำหนินะ เพราะ...
              ถ้ามีใครตำหนิผู้พูด (เช่นพระคึกฤทธิ์) ก็จะพูดสื่อความหมายไปว่า คุณ (ผู้ตำหนิ) กำลังคัดง้างกับคำของพระพุทธเจ้า ตำหนิพระพุทธเจ้า
             โดยที่ตนเองทำเนียน ไม่สนใจคำพูดของตนเองที่ตนเองยัดไส้ ใส่คำปลอมเข้าไปแทรกคำพูดของพระพุทธเจ้า 
           
           การอ้างชื่อพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมเพื่อความน่าเชื่อถือนั้นไม่ได้หมายความว่า "ผู้อ้าง" นั้นจะทำถูกต้องเสมอไป เพราะอะไร
           
           คำตอบที่ชัดเจนก็คือ ไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะว่าผู้ที่อ้างไม่มีความละอาย ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักความหมายธรรม
          
            ข้อเสนอแนะ อ่านพระไตรปิฎก ทำความเข้าใจธรรมให้มาก ให้แตกฉาน          
         

         


แนะนำ กระทู้ที่ควรอ่าน

การเรียก"สัตว์" โดยใช้ศัพท์ว่า "สตฺตานํ" เป็นการใช้ศัพท์ผิดไวยากรณ์บาลี อย่างไร 
https://ppantip.com/topic/41258139

อสังขตธาตุ ของลัทธิอะไร ที่ยังมีความพอใจ (ตัณหา) จึงยึด (อุปาทาน) ขันธ์ ๕ ?
https://ppantip.com/topic/41264455

รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัดให้ตรง - กรณีพระคึกฤทธิ์ หนังสือโดยท่านเจ้าประคุณประยุทธิ์ ปยุตโต
https://ppantip.com/topic/41278093
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่