อสังขตธาตุ ของลัทธิอะไร ที่ยังมีความพอใจ (ตัณหา) จึงยึด (อุปาทาน) ขันธ์ ๕ ?

บทนำ การแปลความหมายคำบาลีพระไตรปิฎกนั้น มีความจำเป็นต้องใช้หลักการแปลภาษาประกอบ คณะผู้แปลต้องมีความรู้บาลีไวยากรณ์ พระไตรปิฎกแปลไทยฉบับต่าง ๆ รวมถึงพระไตรปิฎกแปลภาษาอื่น ๆ นั้น กว่าจะแปลออกมาสำเร็จได้ก็ต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถในภาษาบาลี ไม่ใช่ว่าใครอยากจะร่วมแปลโดยไม่มีความรู้ก็ได้ เนื่องจากบาลีพระไตรปิฎกมีเนื้อหาจำนวนมาก กว่าจะแปลเสร็จแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลา หากไม่มีหลักการในการแปล คือไม่มีหลักไวยากรณ์ก็จะกลายเป็นต่างคนต่างแปล ผลที่ได้คงจะพิลึกประหลาดขาดความน่าเชื่อถือ 

ผู้อ่าน ผู้ศึกษา ทำความเข้าใจความหมายคำ ความหมายศัพท์ ความหมายของประโยค ที่มีผู้แปลไว้ และเมื่อผู้อ่านจะนำคำศัพท์ บาลีพุทธพจน์ไปใช้ ไปอธิบาย ก็จะต้องอธิบายให้มีความหมายตรงกัน (ไม่ว่าจะภาษาอะไรก็ตาม) 

ผู้ที่เข้าใจความหมายของศัพท์บาลีผิด นำบาลีศัพท์ที่ตนเข้าใจผิดนั้นไปใช้อธิบายก็จะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไป
ถ้าหากนำบาลีศัพท์ไปใช้แล้วทำให้มีความหมายผิดเพี้ยนไป ครั้นเมื่อจะอธิบายความหมายคำ อธิบายประโยคในพระสูตรต่อ ๆ ไป 
ก็จะทำให้ความหมายธรรมไม่ถูกต้อง ความหมายพระสูตรไม่ถูกต้อง ขัดแย้งกันกับคำสอนของพระพุทธเจ้า 

นั่นคือ แต่เดิมนั้นพระธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ขัดแย้งกัน 
แต่เมื่อใดที่มีผู้เข้าใจความหมายของคำผิด แล้วนำไปอธิบายเชื่อมโยงในประโยค ในพระสูตร ก็จะทำให้ความหมายผิดไปด้วย 
คล้ายกับเป็นการสร้างลัทธิ ทิฏฐิ ขึ้นมาใหม่ ดั่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า 
พวกที่ถือทิฏฐิไว้ผิด แล้วเผยแพร่ทิฏฐินั้นต่อไปก็จะทำให้ผู้อื่นหลงผิด (อ่านอปัณณกสูตร) 
จำบทพยัญชนะถูก แต่อรรถผิด ก็ทำให้ความหมายผิด พระพุทธเจ้าทรงย้ำให้ทบทวนทั้ง บทพยัญชนะ และ อรรถพยัญชนะ 
(อ่านมหาปเทส 4 และหลักพิจารณาธรรม 8 ที่ตรัสกับพระอุบาลี และ นางมหาปชาบดี) 
ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของพระธรรมคำสอน 
เป็นการรักษาพระธรรม ใช้นำไปสื่อความหมาย เรียนรู้ธรรมให้ถูกต้อง จากรุ่นหนึ่งถ่ายทอดสู่อีกรุ่นหนึ่งสืบไปนานเท่านาน

บุคคลใดก็ตามที่เข้าใจความหมายธรรมผิด เข้าใจความหมายคำไม่ถูกต้อง แล้วนำธรรมที่ตนเข้าใจผิด 
นำคำที่ตนเข้าใจความหมายไม่ถูกต้อง ไปอธิบาย ก็จะทำให้อธิบายความหมายผิดพลาด
ผู้ฟังก็จะได้รับฟังธรรมที่ผิดไปด้วย 

ผมยกตัวอย่าง การคูณ การบวก การหาร การลบ คณิตศาสตร์ 

แบบที่ 1 การบวก ลบ คูณ หาร ที่มีความต่อเนื่อง หากเริ่มต้นถูก และ ทำถูกต้องต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ถูกต้อง 
อย่างไรก็ตามถ้าเมื่อใดที่คนนี้เริ่มคำนวณผิด สุดท้ายแล้วก็จะได้ผลลัพธ์ผิด
แบบที่ 2 การบวก ลบ คูณ หาร ที่มีความต่อเนื่อง หากเริ่มต้นผิดบ้าง ถูกบ้าง สลับกันไป ก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ผิด

การเรียนธรรม การอธิบายธรรม ผู้อธิบายธรรมของพระพุทธเจ้าก็คล้ายกันกับที่ได้ยกตัวอย่างเรื่องการคำนวณคณิตศาสตร์
กล่าวคือ เมื่อเรียนธรรมเข้าใจธรรม คำ ความหมายธรรม ถูกต้องตั้งแต่แรกก็จะเป็นการดี ทำให้อธิบายได้ถูกต้องต่อไป

แต่ถ้าผู้เรียนธรรม ผู้อธิบายธรรม เข้าใจธรรมผิด เข้าใจความหมายของธรรม (คำ) ไม่ถูกต้อง 
ก็จะทำให้อธิบายผิด ผู้ที่เรียนรู้ก็ได้เรียนรู้สิ่งที่ผิด อาจนำไปสู่เรื่องนอกแนวที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไว้ ไม่ได้แสดงไว้ 

ตัวอย่างกรณีพระคึกฤทธิ์ แสดงธรรม เรื่อง สังขตธรรม อสังขตธรรม สัตตานัง

คำทั้ง 3 คำนี้ คือ สังขตธรรม อสังขตธรรม สัตตานัง เป็นคำที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก

ก. นิยามศัพท์ จากพระไตรปิฎก
          1. สังขตธรรม : ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม (ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓ ประการนี้
สังเขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ  
                 ๑. ความเกิดขึ้นปรากฏ  
                 ๒. ความดับสลายปรากฏ
                 ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปร ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
          2. อสังขตธรรม : ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม (ลักษณะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ๓ ประการนี้  
อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
                ๑. ความเกิดขึ้นไม่ปรากฏ
                ๒. ความดับสลายไม่ปรากฏ
                ๓. เมื่อตั้งอยู่ ความแปรไม่ปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล
สังขตธรรม มจร. องฺ.ติกฺก (ไทย) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙.
อสังขตธรรม มจร. องฺติกฺก.(ไทย) ๒๐/๔๗/๒๐๘-๒๐๙.
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?E=&B=20&A=5784&w=%CA%D1%A7%A2%B5%B8%C3%C3%C1&option=2

             สัตว์โลกทั้งหลาย (ปุถุชน) ผู้ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ โมฆะ โดยทั่วไปล้วนแต่จัดอยู่ในจำพวกสังขตธรรม ครั้นเมื่อรู้จักพระพุทธศาสนาปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วละราคะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นไปได้แล้วจึงจะเรียกได้ว่า ถึงพระนิพพาน สภาพของจิตของผู้ที่ถึงพระนิพพานจะไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกแล้ว   
             อสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน จิตของบุคคลที่ไม่มีตัณหา อุปาทาน เมื่อตายไปย่อมไม่มีเชื้อให้ต้องเกิดใหม่
            กุตูหลสาลาสูตร : เราย่อมบัญญัติความอุบัติสำหรับผู้มีอุปาทาน ไม่บัญญัติสำหรับผู้ไม่มีอุปาทาน ไฟที่มีเชื้อย่อมลุกโพลงได้ ไม่มีเชื้อก็ลุกโพลงไม่ได้แม้ฉันใด เราก็บัญญัติความอุบัติสำหรับผู้มีอุปาทาน ไม่บัญญัติสำหรับผู้ไม่มีอุปาทานฉันนั้นเหมือนกัน (สํ.ส.ไทย.มจร ๑๘/๔๑๘/๔๙๒) https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=18&siri=290
            พาลปัณฑิตสูตร: กายของบัณฑิต (พระขีณาสพ พระอรหันต์) นี้ ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว และประกอบด้วยตัณหาใดเกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้นแหละบัณฑิตละได้แล้ว และตัณหานั้นก็หมดสิ้นไปแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น เมื่อตายไป บัณฑิตจึงไม่เข้าถึงกาย เมื่อไม่เข้าถึงกาย เขาจึงพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราจึงกล่าวว่า ‘เขาพ้นจากทุกข์’ (มจร. สํ.นิ.(ไทย) ๑๖/๑๙/๓๒-๓๓)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=16&A=848

            กุตูหลสาลาสูตร และ จากพาลปัณฑิตสูตร นำไปสู่การสรุปได้ว่า แม้ว่าอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบัน สกิทาคามี และอนาคามี เมื่อตายไปแล้วก็ยังต้องไปเกิดใหม่ อีกจำนวนกี่ภพชาติก็ขึ้นอยู่กับระดับอริยบุคคล  ส่วนบุคคลที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าบัณฑิตนั้น คือผู้ที่ปราศจากตัณหา ปราศจากอุปาทานเป็นผู้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน เข้าถึง อสังขตธรรม สิ้นสภาพความเป็นสัตว์ ไม่ต้องไปเกิดใหม่ ดับไปเหมือนไฟสิ้นเชื้อ
           
           3. สัตตานัง คำนี้มีความหมายเป็นพหูพจน์ คือ สัตว์ทั้งหลาย สัตว์โลก (ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป) มาจากการแจกวิภตฺติ สตฺต (ปุ) ศัพท์
            (ดูจากต้นกระทู้ https://ppantip.com/topic/41258139) 
            มาในรูปของ จตุตฺถีวิภัตติ ประกอบกับนามอื่น
            จะแปลตามศัพท์ ว่า แก่ เพื่อ ต่อ สำหรับ เช่น สำหรับสัตว์ทั้งหลาย, ต่อหมู่สัตว์ สัตว์โลก(พหูพจน์) ปรากฏทั่วไปในพระไตรปิฎก 
            มาในรูปของ ฉฏฺฐีวิภตฺติ แปลตามศัพท์ว่า แห่ง ของ เมื่อ เช่น ของสัตว์ทั้งหลาย ปรากฏทั่วไปในพระไตรปิฎก

ข. นิยามศัพท์โดยพระคึกฤทธิ์ 
            พระคึกฤทธิ์ นิยามศัพท์ บางคำถูกต้อง บางคำไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสื่อสารความหมายในพระไตรปิฎก ในพระสูตร ผู้รวบรวมได้รวบรวมจากคลิปยูทู้ป ดังต่อไปนี้ https://youtu.be/yR6H37n1j3g
            เวลา 05.42 พระคึกฤทธิ์อ่านภาพบนจอและพูดว่า:
            ระบบใหญ่ ๆ มี 2 ระบบ สังสารวัฏที่เรา ท่องเที่ยวไปเรียกว่าสัตว์ สัตว์แปลว่าผู้ยึดติด
            คำว่าผู้ยึดติดพระพุทธองค์จะใช้คำว่า สัตตะ สัตตา สัตโต หรือ สัตตานัง
            ถามว่าใครเป็นคนยึดอะไร .......ขันธ์ ๕ ถูกเรียกด้วยคำ ๆ เดียวว่า สังขตะ สังขตธรรม หรือ สังขตธาตุ เป็นธรรมชาติที่ถูกปรุงแต่งได้ อะไรก็ตามที่มันมีการเกิดแปรเปลี่ยนดับ อันนี้เป็น สังขตธาตุ ทั้งหมด พระองค์จึงให้คุณสมบัติของสังขตธาตุไว้อย่างนี้ว่า
           
           1. สังขตธาตุ 
(อ่านภาพบนจอ) 
อุปปาโท ปัญญายติ (มีการเกิดปรากฏ) 
วะโย ปัญญายติ (มีการเสื่อมปรากฏ) 
ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ ก็มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ //ถึงเวลา 8.36

             2 อสังขตธาตุ: ที่เวลา 21.42 พระคึกฤทธิ์อ่านภาพบนจอและพูดว่า: 

คุณสมบัติของอสังขตะ จะตรงข้ามกัน (ตรงข้ามกับสังขตะ) 
นะ อุปปาโท ปัญญายติ ไม่ปรากฏมีการเกิด 
นะ วะโย ปัญญายติ ไม่ปรากฏมีการเสื่อม 
นะ ฐิตัสสะ อัญญะฐัตตัง ปัญญายติ เมื่อตั้งอยู่ ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
#ฝั่งนี้คือฝั่งไม่มีเกิด เมื่อไม่เกิดก็ไม่เสื่อม เมื่อไม่เสื่อมก็คือไม่มีดับ

ด้วยความผิดของสัตว์ เมื่อไม่รู้จักตัวเอง 
#แต่ไปรู้จักขันธ์ ๕  #ที่ตัวเองกำลังยึด.. #พอใจในรูป..23.40

             3. สัตตานัง : พระคึกฤทธิ์นิยามความหมาย สัตตานัง ว่าคือ อสังขตธาตุ ฟังจากคลิปนี้ 
              https://www.youtube.com/watch?v=zD6cOCbkZ1s

เสียงพูดจากคลิป ที่เวลา 0:38 – 0:54
ผู้รู้หรือกิริยาที่รู้แจ้ง ถูกบัญญัติวาเป็นวิญญาณ
แล้วผู้ที่รู้วิญญาณอีกที ถูกบัญญัติว่า ผู้ยึดติด หรือ สัตตานัง  

คำพูดจากคลิปยูทู้ปที่เวลา 11.10 -12.42,  14.07-14.25
...ไม่รู้จึงยึด ถ้ารู้ก็ไม่ยึด และพุทธเจ้าบอกขันธ์ ๕ คือ สังขตะ หรือ สังขตาธาตุ 
(พระคึกฤทธิ์ อ่าน สัง ขะ ตา ธา ตุ) ซึ่งเป็นธาตุที่ใหญ่ที่สุด สังสารวัฏทั้งระบบถูกเรียก
ด้วยคำ ๆ เดียว ว่า สังขตธาตุ คือธาตุที่ถูกปรุงแต่งได้ 
..รูป เวทนา สัญญา สังขาร ถูกปรุงแต่งได้หมด 

และธาตุตรงกันข้ามนั้นถูกเรียกว่า อสังขตาธาตุ (พระคึกฤทธิ์อ่าน อะ สัง ขะ ตา ธา ตุ) 
สูงสุดของการบัญญัติหมดแล้วแค่นี้ ดังนั้นเมื่อยืนยันว่าผู้ยึด ไม่ใช่สิ่งที่ถูกยึด จริงมั้ย 
ถ้าเราเป็นคนมายึด เรากับสิ่งที่เรายึด คนละตัวกันแน่นอน 
ดังนั้นเมื่อสิ่งที่ถูกยึดคือ สังขตะ หรือ ขันธ์ ๕ 
ผู้ที่มายึดนี้หรือผู้ที่พอใจตรงนี้ต้องไม่ใช่ขันธ์ ๕ 
และเมื่อขันธ์ ๕ คือ สังขตะ สิ่งที่มายึดก็เหลืออันเดียวคือ อสังขตาธาตุ 
อสังขตะ นั่นเอง มันไปไหนไม่ได้ มันเหลืออันเดียว เป็นตัวนี้ แต่เป็นเพราะตอนมันมีความยึด...

14.07...ดังนั้นวิญญาณเวียนว่ายตายเกิดไม่มี 
...แต่พุทธเจ้าบอกคนเวี่ยนว่ายตายเกิดคือสัตว์... ใช่ สัตตานัง เป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด 14.25 

มีต่อ ในความเห็นถัดไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
วิเคราะห์การนิยามศัพท์ของพระคึกฤทธิ์ เป็นข้อ ๆ ดังนี้
          1. การใช้บาลีศัพท์
          พระคึกฤทธิ์ อ้างว่า พระพุทธเจ้าเรียก สัตว์ว่า (1) สัตตะ (2) สัตตา (3) สัตโต (4) สัตตานัง
          วิเคราะห์ การอ้างดังกล่าวนี้ เป็นการอ้างที่ถูกบ้าง ผิดบ้าง กล่าวคือ
          คำว่า สัตตะ (สตฺต (ปุ) จะมาโดด ๆ คือ (1) สตฺต แล้วแปลว่าสัตว์นั้นไม่ถูกต้อง (กรณีนี้พระคึกฤทธิ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า)
จะต้องแจกวิภัตติเสียก่อนจึงจะมีความหมายว่าสัตว์ ปฐมมาวิภัติ เอกพจน์คือ สตฺโต อ่าน สัตโต (คำที่ 3 ที่พระคึกฤทธิ์กล่าวถึง)
หมายถึง สัตว์ 1 ตัว ถ้าเป็นพหูพจน์คือ สตฺตา (คำที่ 2 ที่พระคึกฤทธิ์กล่าวถึง) หมายถึงสัตว์หลายตัว
           หมายเหตุ (กรณีที่ (2) และ (3)นี้ พระคึกฤทธิ์กล่าวอ้างอิงถูกต้องตามพระพุทธพจน์
           คำว่า (4) สัตตานัง บาลีเขียนว่า สตฺตานํ ผมได้อธิบายไว้แล้วข้างบนนี้
           กรณีนี้พระคึกฤทธิ์อ้างว่าพระพุทธเจ้าใช้คำว่า "สัตตานัง" นี้เรียกว่าสัตว์ เป็นการอ้างที่ไม่ถูกต้อง เป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า
           ผู้อ่านทำความเข้าใจนะครับว่า คำว่า สัตตานัง มีอยู่จริงในพระไตรปิฎก มีความหมาย เป็นพหูพจน์ คือ ต่อหมู่สัตว์ เพื่อหมู่สัตว์ ต่อสัตว์โลก ของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ  แต่ไม่ได้หมายถึง “สัตว์” ตามที่พระคึกฤทธิ์นำมากล่าวถึง

           2.  พระคึกฤทธิ์ สื่อความหมายว่า สัตตานัง คือ อสังขตธาตุ ?
               ข้อสังเกตุ เมื่อพระคึกฤทธิ์มีความเข้าใจว่า สัตตานังคือ อสังคตธาตุ ดังนั้น คำที่มาในกลุ่มเดียวกันกับที่พระคึกฤทธิ์กล่าวถึง คือ คำว่า สัตโต และ สัตตา พระคึกฤทธิ์ก็ควรจะมีความหมาย หมายถึง อสังขตธาตุด้วยเช่นกัน- ความเห็นของผู้รวบรวม)

           ทำความเข้าใจก่อนว่า ในคลิปยูทู้ป ทั้ง 2 คลิปนั้น พระคึกฤทธิ์พูดตามภาพบนจอว่า

           อสังขตธาตุคือธาตุที่ปรุงแต่งไม่ได้ เกิดไม่ปรากฏ เสื่อมไม่ปรากฏ ดับไม่ปรากฏ (ตรงนี้ถูกต้อง)

          นั่นคือ ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้ (ไม่มีตัณหา อุปาทาน ไม่มีราคะโทสะ โมหะ)
          เมื่อไม่มีเกิด ก็ไม่มีเสื่อม และ ไม่มีดับ อสังขตธาตุคือพระนิพพาน
          ตรงนี้พระคึกฤทธิ์เข้าใจความหมายถูก

          สังเกตให้ดีนะครับ -->... ในเมื่อ อสังขธาตุไม่มีอะไรปรุงแต่งได้
          แล้ว อสังขตธาตุจะมาพอใจ (มีตัณหา) หลงยึด (มีอุปาทาน) กลับมาเป็นสัตว์เพื่อเกิดใหม่ ได้อย่างไรเล่า

           ประเด็นนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า พระคึกฤทธิ์มีความเข้าใจผิดอย่างมาก  

           ความรู้พื้นฐาน คำสอนของพระพุทธศาสนา
           มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตร และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ตัณหาไม่เข้ายึดครอง (ความสิ้นไปซึ่งตัณหา)
           เมื่อตัณหาไม่เข้ายึดครอง จึงไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่มีอุปาทานจึงไม่มีภพ ไม่มีชาติ ชรา มรณ

           ท่านทั้งหลาย พิจารณาไตร่ตรองเอาเถิดว่า

           เมื่อพระคึกฤทธิ์เข้าใจธรรมตรงนี้ว่า  อสังขตธาตุ คือ สัตตานังมาหลงยึดขันธ์ ๕
           เขียนได้ว่า ...ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นอสังขตธาตุตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปมายึดขันธ์ ๕

           สมมติว่า ตัดอายตนนิบาตออกจากการใช้คำ (ตัดคำว่าของ ออกไป) ก็จะได้ว่า
          เขียนได้ว่า ... สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอสังขตธาตุตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปยึดขันธ์ ๕

          นั่นคือ ไม่ว่าจะมีอายตนนิบาตหรือไม่ (มีคำว่าของ หรือไม่มีคำวาของก็ตาม) ก็ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนา

           สมมติผมเปลี่ยน จากการใช้ คำว่า สัตตานังยึดขันธ์ ๕ มาเป็นใช้คำว่า สัตโต หมายถึง อันว่าสัตว์ (ตัวเดียว)
ซึ่งเป็นคำในกลุ่มเดียวกันกับที่พระคึกฤทธิ์อ้างไว้ สัตโต เป็นคำในกลุ่มเดียวกับ สัตตานัง ที่พระคึกฤทธิ์พูดถึงว่ามีความหมายว่าเป็นอสังขตธรรม

           ก็จะเขียนได้ว่า สัตโตยึดขันธ์ ๕
           ก็จะแปลได้ความหมายว่า อันว่าสัตว์ที่เป็นอสังขตธาตุยึดขันธ์ ๕ !!!

           จะเห็นว่า แม้ว่าเปลี่ยนสัตตานังเป็นสัตโตแล้ว ก็ยังถือได้ว่า เป็นความเข้าใจผิดและไม่ใช่คำสอนของพระพุทธศาสนา

           ที่มาภาพนี้: คุณมะม่วงหิมพานต์ < ขอบคุณมากครับ
           
           เมื่อเริ่มต้นผิด การอธิบายต่อ ๆ ไป ก็เป็นอันผิด
           นี่คือความเข้าใจผิด
           เป็นการนำศัพท์บาลีพุทธพจน์มาเชื่อมต่อกันแล้วได้ความหมายผิดถือได้ว่าเป็นคำนอกแนว พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนอย่างนี้

สรุป
หัวข้อกระทู้คำถาม : อสังขตธาตุ ของลัทธิอะไร ที่ยังมีความพอใจ (ตัณหา) จึงยึด (อุปาทาน) ขันธ์ ๕ ?

จากการศึกษาข้อมูล ความหมายธรรมจากพระไตรปิฎก ว่าด้วยเรื่อง สังขตธรรม อสังขตธรรม และ สัตตานัง
เปรียบเทียบกับ ความหมายธรรมจากคลิปยูทู้ปของพระคึกฤทธิ์ เรื่อง สังขตธรรม อสังขตธรรม และ สัตตานัง

สรุปได้ว่า คำพูดที่พระคึกฤทธิ์พูดคือ สังขตธรรม อสังขตธรรม และสัตตานัง มีอยู่จริงในพระไตรปิฎก เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้าจริง
แต่พระคึกฤทธิ์ ไม่เข้าใจความหมายพุทธพจน์ ตีความพุทธพจน์ไม่ถูกต้อง
และได้นำคำพุทธพจน์ทั้ง 3 คำนี้ ไปทำการอธิบาย การเชื่อมโยงคำทั้ง 3 คำ ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ผิดเพี้ยนไปจากพระไตรปิฎก
จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเห็นผิด เป็นคำสอนนอกแนว


ข้อเสนอแนะ
พระคึกฤทธิ์ (ตลอดจนบริวาร) ควรละความเห็นผิดนั้นเสีย พร้อมกับควรหยุดเผยแพร่ความเห็นที่ผิดนี้
พร้อมกับทบทวนหาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มพูนความรู้ที่ถูกต้อง
ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นตามวิสัยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาที่ใคร่ต่อการสิกขา ใฝ่ต่อการสิกขา   
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนา และศาสนิกชน




คำถามส่งท้าย
ยังสงสัยอยู่ไหมครับ ว่า
อสังขตธาตุของลัทธิอะไร ที่ยึดขันธ์ ๕ ได้ครับ ?
ความคิดเห็นที่ 8
อ้อ พระคึกฤทธิ์นี่เอง คือต้นเรื่องที่เจ้าหัวหอมนำเรื่องเหลวไหลมาเผยแพร่ที่นี่
ผมนึกว่าเจ้าหัวหอมเขาคิดเอาเองคนเดียวซะอีก

ที่ไหนได้

ต้นเรื่องนิทานหลอกเด็กมาจากพระคึกฤทธิ์
โธ่ถังพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่คนยกย่องว่ามีแนวทางเหมือนวิทยาศาสตร์
กลับกลายไปเป็นไศยะศาสตร์ของฮินดูไปแล้ว

ธีมของฮินดูลัทธิไวษณพ
มหาอาตมัน หรือปรมาตมัน เป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล
อาตมัน คือ หน่วยย่อยเล็กๆ ที่แยกตัวมาจากปรมาตมัน แล้วมาเวียนว่ายตายเกิด (เพราะกรรมชั่ว โมหะ อวิชชา ฯลฯ)
โดยที่อาตมันไม่ใช่ทั้งร่างกายและจิตใจ แต่เป็นตัวอะไรบางอย่างที่สิงสู่อยู่ในนั้น

อาตมันต้องบำเพ็ญตบะ ชำระมลทิน สิ่งไม่ดีทั้งหลายเช่นกิเลสเป็นต้น
เพื่อให้อาตมันนั้นบริสุทธิ์ เพื่อจะได้กลับไปหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า หรือมหาอาตมัน หรือปรมาตมันดังเดิม

ธีมของพระคึกฤทธิ์
อสังขตธาตุ คือ นิพพานธาตุ
สัตว์ คืออสังขตธาตุ ที่หลุดออกมาจากพระนิพพานเพราะมีอวิชชา ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด
โดยที่ "สัตว์" ตนนี้ ไม่ใช่ขันธ์ 5 แต่เป็นตัวอะไรบางอย่างที่สิงสู่ จับยึดอยู่ในขันธ์ 5

สัตว์ต้องเจริญมรรคมีองค์ 8 ชำระมลทิน สิ่งไม่ดีทั้งหลายเช่นกิเลสเป็นต้น
เพื่อให้สัตว์นั้นบริสุทธิ์หลุดพ้นจากอวิชชา  อุปาทาน ก็จะทำให้เกิดสภาวะหลุดพ้นเป็นวิมุติญาณทัศนะ และได้กลับไปเป็นอสังขตธาตุ เป็นนิพพานธาตุ ดังเดิม

----------------------------

ไม่อยากจะเชื่อ
พระคึกฤทธิ์เป็นเจ้าลัทธินิกายใหม่ไปแล้ว
ไม่รู้ว่าจะเรียกว่านิกายอะไรดี ตัวนั้นบวชเข้ามาในพุทธศาสนาเถรวาท แต่ดัดแปลงแก่นธรรมมาจากฮินดูลัทธิไวษณพ
แกจะรู้ตัวหรือไม่ ว่ากำลังสอนอะไรออกมาสู่สังคมชาวพุทธ ?

ที่นี่ มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างนายหัวหอม นายหมาน้อยที่พร้อมจะเผยแพร่หลักธรรมชนิดที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อเสียด้วย
ใครจะว่าจะกล่าวอย่างไร จะชี้ทางถูกอย่างไรก็ไม่ลดละ ยังคงดื้อด้านเผยแพร่หลักธรรมของพระคึกฤทธิ์อยู่ได้ ทุกวี่ ทุกวัน


ต้องขอบคุณ คุณวินโย ที่เอาคำสอนพระคึกฤทธิ์มาวิเคราะห์
คราวนี้รู้แล้ว ว่านายหัวหอมกำลังเผยแพร่หลักธรรมพิเรนทร์ๆ ของใคร.
ความคิดเห็นที่ 26
และธาตุตรงกันข้ามนั้นถูกเรียกว่า อสังขตาธาตุ (พระคึกฤทธิ์อ่าน อะ สัง ขะ ตา ธา ตุ)
สูงสุดของการบัญญัติหมดแล้วแค่นี้ ดังนั้นเมื่อยืนยันว่าผู้ยึด ไม่ใช่สิ่งที่ถูกยึด จริงมั้ย
ถ้าเราเป็นคนมายึด เรากับสิ่งที่เรายึด คนละตัวกันแน่นอน
ดังนั้นเมื่อสิ่งที่ถูกยึดคือ สังขตะ หรือ ขันธ์ ๕
ผู้ที่มายึดนี้หรือผู้ที่พอใจตรงนี้ต้องไม่ใช่ขันธ์ ๕
และเมื่อขันธ์ ๕ คือ สังขตะ สิ่งที่มายึดก็เหลืออันเดียวคือ อสังขตาธาตุ


———————————————

ทิฏฐิข้างบนนี้เป็นทิฏฐิที่ต้องแสวงหาอัตตา  หา”ใคร อะไร” สักอย่าง มาเป็น”ผู้ยึด”

ตรงข้ามกันในศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ นั้น สิ่งที่มีจริง เรียกว่า ปรมัตถธรรมมีเพียง 4 อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

จิต เจตสิก รูป นำมาจัดเป็นกอง (ขันธ์) ได้ 5 ขันธ์  คือขันธ์ 5 นั่นเอง

ฉันทะ ราคะ นันทิ  ตัณหา เป็นเจตสิกธรรม อยู่ในหมวดสังขารขันธ์ เกิดขึ้นแสดงการยึด ติดข้อง
เมื่อมีเจตสิกเหล่านี้เกิด โดยมีขันธ์ 5 เป็นอารมณ์   ท่านจึงสมมติเรียกการประชุมกันของจิตเจตสิก นี้ว่า สัตว์

สัตว์ ไม่มีอยู่จริง

ที่ยิ่งกว่านั้น สัตว์ไม่ใช่อสังขตธรรม เด็ดขาด

เพราะอสังขตธรรม คือ นิพพาน เป็นสภาพที่มีจริง เป็นปรมัตถธรรม มีสภาพไม่เกี่ยว ไม่ข้อง ไม่ยึดติด ไม่มีตัณหาราคะใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้องพัวพันได้เลย
จะไปมีความเพลินยึดติดขันธ์5 ได้อย่างไร

ถ้าศึกษาพระอภิธรรมสักหน่อย จะไม่หลงเช่นนี้
ความคิดเห็นที่ 9
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ถอดข้อความมา 6 นาที
..............คำถามคือ สัตว์มันไปแปะตรงส่วนไหนของวิญญาณ

1....สัตว์มันไม่ได้เกี่ยวกับขันธ์ 5 แต่มันเป็นสิ่งหนึ่งที่เข้ามายึดติดกับขันธ์ 5
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้,............

**********************************
2.....ระบบใหญ่ๆของพระพุทธเจ้าก็มีแค่ขันธ์ 5 และไม่มีขันธ์ 5 คือสังขตธรรมกับอสังขต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

**********************************
...3......วิมุตติ กับวิมุตติญาณทัสสนะ
......[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

*********************************
4.....ในความเป็นวิมุตตินี้มันจะเรียกได้ไหมว่าเป็นวิมุตติ เพราะว่าวิมุตตินี้ต้องหมดอวิชชาแล้ว แต่สัตว์ก็คือผู้ที่มีอวิชชา งั้นแสดงว่าสภาวะตรงนี้มันถูกเรียกได้ 2 ขยัก
...[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

*********************************
5.....สัตตานัง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

****************************************
6.....ความเป็นสัตว์นี่ ที่ทุกคนเป็นอยู่ณขณะนี้ นั่นก็คือสภาวะของวิมุตตินั้นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

*************************************
ใครไม่งงยกมือขึ้น  @#$%^&*(#$%^&*#$%^&*
ความคิดเห็นที่ 10
ทีนี้ ลองเทียบความคิดเห็นที่ กับ ของ7057  คุณหัวหอม

สัตว์เป็น " อสังขตธาตุ "



*****************************
สัตว์เป็น " อสังขตธาตุ " แต่ไม่เป็น 100%



************
สัตว์เป็น " อสังขตธาตุ " แต่ไม่เที่ยง แต่เกือบเป็นอมตะ






*********************************************
ความเห็นส่วนตัวนี่ไม่ไช่เรื่องตลกที่ เราจะมาล้อเล่นหริอขำ 7057
แต่วิเคราะห์ได้ถึง
1....7057 ได้รับการสอน มาจากใครไม่รู้ที่ สับสนในเรื่อง พุทธธรรม
หรือ
2.... 7057 ตีความเองสับสน
อย่างไรก็ตามที่แน่ๆ ไม่มีความรู้แบบนี้ใน พุทธธรรม แน่นอน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่