ดิฉันมีการใช้ E-Voucher มูลค่าจำนวน 1,000 บาท ของ Lazada ที่ได้รับมาจากบริษัทฯ เป็นของขวัญให้พนักงาน
แต่เมื่อตรวจสอบคำสั่งซื้อแล้วไม่ถูกต้อง เลยกดยกเลิกคำสั่งซื้อและต้องการจะทำการสั่งซื้อสินค้าใหม่ ปรากฎว่า
เมื่อกรอกรหัส E-Voucher นั้นไม่สามารถใช้ได้แล้วค่ะ
ดิฉันได้ติดต่อแจ้งขอความช่วยเหลือจากทาง Lazada
Lazada แจ้งว่าเป็นความผิดที่ดิฉันกดยกเลิกคำสั่งซื้อเองและโค้ดออกโดยพาร์ทเนอร์ ทำให้ไม่สามารถคืนได้
ทั้งที่ความจริงแล้ว Lazada สามารถช่วยเหลือได้ แต่ละเลยที่จะช่วยเหลือ และต้องการจะยึดสิทธิ์ในการใช้ E-Voucher คืน
E-Voucher จากมูลค่า 1,000 บาท กลายเป็นมูลค่า 0 บาททันทีและโทษเป็นความผิดของผู้ใช้งานค่ะ
ส่วนตัวคิดว่า ไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้งานและเอาเปรียบสิทธิ์ของผู้ใช้งานค่ะ
หากใครกำลังคิดว่าจะซื้อ E-Voucher ของ Lazada ให้คนที่คุณรัก คุณต้องยอมรับด้วยว่า
มีด้วยเงื่อนไขที่ Lazada ระบุว่า "ห้ามเปลี่ยนใจ/ห้ามกดยกเลิกคำสั่งซื้อ"
คนที่คุณรักอาจจะเผลอทำการกดคำสั่งซื้อผิดพลาด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ที่คำสั่งซื้อนั้นไม่ถูกต้องอย่างที่คุณตั้งใจ
ก็สามารถกลายเป็นว่า E-Voucher นั้นจะเป็นมีมูลค่าเป็น 0 บาท ทันที ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะมีเคสเตือนภัยแบบนี้เกิดขึ้น เพราะไม่เป็นธรรมเลยค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------
เรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
เพื่อเป็นธรรมต่อผู้ใช้งาน รบกวนทบทวนด้วยว่า สิ่งที่ Lazada ทำนั้นถูกต้องหรือไม่
เงื่อนไขที่ว่า "ห้ามเปลี่ยนใจ/ห้ามกดยกเลิกคำสั่งซื้อ และไม่คืน E-Voucher" นั้นเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ค่ะ
เมื่อผู้บริโภคผู้นั้นเป็นผู้รับมอบ E-Voucher มาอีกทีและไม่ใช่ผู้ซื้อ E-Voucher นั้น ทำให้ไม่ทราบเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคนี้ค่ะ
Voucher ในความเข้าใจของผู้คน คือ "สิ่งที่ใช้แทนเงินสด" ในการจับจ่ายใช้บริการกับผู้ออก Voucher นั้นค่ะ
ทาง สคบ. รบกวนตรวจสอบทาง Lazada ด้วยว่า เข้าข่ายผิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ลาภมิควรได้ คือไม่ค่ะ
เพื่อเป็นธรรมต่อผู้ใช้งานท่านอื่นๆ ที่โดนกรณีเดียวกันและน่าจะมีเยอะด้วยค่ะ
และทาง สคบ. ควรหาแนวทางแก้ไขกรณีดังกล่าวนี้ด้วยค่ะ ว่าข้อกำหนดที่ Lazada อ้างว่า
ห้ามเปลี่ยนใจ/ห้ามกดยกเลิกคำสั่งซื้อ และไม่คืน E-Voucher นั้นเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ค่ะ
ควรเป็นข้อกำหนดที่ Lazada สามารถเขียนขึ้นเองได้หรือไม่ เพราะเป็นไปในทางที่ผู้บริโภคเสียเปรียบค่ะ
รบกวนพิจารณาด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้น เสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่ง การรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย
บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มา เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย
หมายเหตุ
1. มีการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด
1.1 ได้มาโดยการชำระหนี้
1.2 ได้มาโดยประการอื่น
หมายถึง ได้มาจากการกระทำของตัวผู้ได้มาเอง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เข้าลักษณะละเมิด
2. โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย
หมายถึง การไม่มีฐานทางกฎหมายใด ๆ ที่จะรับรองสิทธิของผู้รับทรัพย์สิ่งใด
3. เป็นทางให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ
หมายถึง ผู้ได้ลาภมีกองทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ส่วนผู้เสียลาภทำให้กองทรัพย์สินลดน้อยถอยลง
4. ไม่มีทางแก้ตามกฎหมายอื่น
หมายถึง จะต้องไม่มีทางแก้ตามกฎหมายอื่นแล้ว ซึ่งหลักลาภมิควรได้เป็นหลักกว้าง ๆ สามารถรองรับได้ทุกกรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้
เตือนภัยการใช้ E-Voucher ของ Lazada และ คนที่คิดจะให้ E-Voucher นี้กับใครควรอ่าน!!!
แต่เมื่อตรวจสอบคำสั่งซื้อแล้วไม่ถูกต้อง เลยกดยกเลิกคำสั่งซื้อและต้องการจะทำการสั่งซื้อสินค้าใหม่ ปรากฎว่า
เมื่อกรอกรหัส E-Voucher นั้นไม่สามารถใช้ได้แล้วค่ะ
ดิฉันได้ติดต่อแจ้งขอความช่วยเหลือจากทาง Lazada
Lazada แจ้งว่าเป็นความผิดที่ดิฉันกดยกเลิกคำสั่งซื้อเองและโค้ดออกโดยพาร์ทเนอร์ ทำให้ไม่สามารถคืนได้
ทั้งที่ความจริงแล้ว Lazada สามารถช่วยเหลือได้ แต่ละเลยที่จะช่วยเหลือ และต้องการจะยึดสิทธิ์ในการใช้ E-Voucher คืน
E-Voucher จากมูลค่า 1,000 บาท กลายเป็นมูลค่า 0 บาททันทีและโทษเป็นความผิดของผู้ใช้งานค่ะ
ส่วนตัวคิดว่า ไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้งานและเอาเปรียบสิทธิ์ของผู้ใช้งานค่ะ
หากใครกำลังคิดว่าจะซื้อ E-Voucher ของ Lazada ให้คนที่คุณรัก คุณต้องยอมรับด้วยว่า
มีด้วยเงื่อนไขที่ Lazada ระบุว่า "ห้ามเปลี่ยนใจ/ห้ามกดยกเลิกคำสั่งซื้อ"
คนที่คุณรักอาจจะเผลอทำการกดคำสั่งซื้อผิดพลาด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ที่คำสั่งซื้อนั้นไม่ถูกต้องอย่างที่คุณตั้งใจ
ก็สามารถกลายเป็นว่า E-Voucher นั้นจะเป็นมีมูลค่าเป็น 0 บาท ทันที ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะมีเคสเตือนภัยแบบนี้เกิดขึ้น เพราะไม่เป็นธรรมเลยค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------
เรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
เพื่อเป็นธรรมต่อผู้ใช้งาน รบกวนทบทวนด้วยว่า สิ่งที่ Lazada ทำนั้นถูกต้องหรือไม่
เงื่อนไขที่ว่า "ห้ามเปลี่ยนใจ/ห้ามกดยกเลิกคำสั่งซื้อ และไม่คืน E-Voucher" นั้นเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ค่ะ
เมื่อผู้บริโภคผู้นั้นเป็นผู้รับมอบ E-Voucher มาอีกทีและไม่ใช่ผู้ซื้อ E-Voucher นั้น ทำให้ไม่ทราบเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคนี้ค่ะ
Voucher ในความเข้าใจของผู้คน คือ "สิ่งที่ใช้แทนเงินสด" ในการจับจ่ายใช้บริการกับผู้ออก Voucher นั้นค่ะ
ทาง สคบ. รบกวนตรวจสอบทาง Lazada ด้วยว่า เข้าข่ายผิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ลาภมิควรได้ คือไม่ค่ะ
เพื่อเป็นธรรมต่อผู้ใช้งานท่านอื่นๆ ที่โดนกรณีเดียวกันและน่าจะมีเยอะด้วยค่ะ
และทาง สคบ. ควรหาแนวทางแก้ไขกรณีดังกล่าวนี้ด้วยค่ะ ว่าข้อกำหนดที่ Lazada อ้างว่า
ห้ามเปลี่ยนใจ/ห้ามกดยกเลิกคำสั่งซื้อ และไม่คืน E-Voucher นั้นเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ค่ะ
ควรเป็นข้อกำหนดที่ Lazada สามารถเขียนขึ้นเองได้หรือไม่ เพราะเป็นไปในทางที่ผู้บริโภคเสียเปรียบค่ะ
รบกวนพิจารณาด้วยค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 406 บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใดเพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้น เสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่ง การรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย
บทบัญญัติอันนี้ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงกรณีที่ได้ทรัพย์มา เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้วนั้นด้วย
หมายเหตุ
1. มีการได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด
1.1 ได้มาโดยการชำระหนี้
1.2 ได้มาโดยประการอื่น
หมายถึง ได้มาจากการกระทำของตัวผู้ได้มาเอง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เข้าลักษณะละเมิด
2. โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย
หมายถึง การไม่มีฐานทางกฎหมายใด ๆ ที่จะรับรองสิทธิของผู้รับทรัพย์สิ่งใด
3. เป็นทางให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ
หมายถึง ผู้ได้ลาภมีกองทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ส่วนผู้เสียลาภทำให้กองทรัพย์สินลดน้อยถอยลง
4. ไม่มีทางแก้ตามกฎหมายอื่น
หมายถึง จะต้องไม่มีทางแก้ตามกฎหมายอื่นแล้ว ซึ่งหลักลาภมิควรได้เป็นหลักกว้าง ๆ สามารถรองรับได้ทุกกรณีที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้