สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
คนที่จะเปลี่ยนใจมามีลูกเพราะข่าวหรือการส่งเสริมจากแคมเปญนี้คงมีน้อยมาก ฉะนั้นอยากเสนอแนะรัฐว่าถ้ากระตุ้นให้คนมีลูกเพิ่มไม่ได้ ก็หันมาใส่ใจรักษาชีวิตประชาชนที่เกิดมาแล้วน่าจะดี สิทธิ์ในการรักษาพื้นฐานควรดีขึ้นอีกหน่อย ไอ่ประเภทเอะอะก็จ่ายแต่ยาคลายกล้ามเนื้อ กว่าจะได้รักษาโรคจริงๆ โดนยาคลายกล้ามเนื้อถ่วงไว้จนโรคลุกลาม คนมีโรคประจำตัวก็ผลิตผลงานได้นะ ถ้าเขามีความหวังกับการรักษา กฏหมายก็ให้แข็งขึ้นหน่อย ไม่ใช่ว่าก้าวเท้าออกจากบ้าน เป็น/ตาย 50/50 ไม่รู้จะโดนรถตามฟุตบาตหรือทางม้าลายเสยก่อนหรือจะเผลอไปเหยียบเท้าอันทพาลติดยาแล้วมันกระซวกหรือยิงโป้งป้างตายก่อน ราคาข้าวของก็ลงมาควบคุมบ้าง คนผลิตผลงานจริงๆ ที่เป็นรูปธรรม ที่จับต้องได้ ได้เงินกลับเข้าบ้านวันละ แค่ หลักร้อยแล้วเงินเกือบทั้งหมดก็เอาไปซื้ออาหาร เพื่อประทังชีวิตให้มีแรงทำงานต่อไป แล้วไปทำงานให้ใครรู้ไหม ก็ทำงานเสียภาษีให้รัฐ และทำให้คนที่รวยก็ยิ่งรวยขึ้นไง ถ้าทำไม่ได้ ก็ไม่แปลกที่คนทำงานจะตายกันไปหมด เอะอะอยากได้ประชากรมากขึ้น เวทนา การมี sex เพื่อให้ได้ลูกไม่ยากเลย แต่ถ้าเขาเกิดมาแล้ว พ่อแม่ต้องใส่ทั้งชีวิตเลี้ยง พอโตมา มาทำงานให้ประเทศแล้ว ได้เงินแค่หลักร้อย พอแค่ค่าอาหารและค่าเช่า เขาจะได้แค่กินข้าวพออิ่มและนอนในห้อง 4 เหลี่ยมเล็กๆ ร้อนๆ ไปจนตาย แค่นั้นหรือ
ความคิดเห็นที่ 11
ทำยังไงให้ประชากรมีคุณภาพ
ผมว่าสำคัญกว่าปริมาณ ในยุโรป
ไม่เห็นเขามีประชากรมากมายอะไร
แต่เก็บภาษีได้มาก สร้างรัฐสวัสดิการ
ได้สบายๆ ให้คนแก่รีบๆไปพักผ่อนอีกต่างหาก
ในขณะที่บ้านเราแค่นี้ก็บ่นกระปอดกระแปด
คนส่วนน้อยหาเงินได้เยอะต้องมาเลี้ยงดูคนส่วน
มากที่หาเงินได้น้อย งุกงิกๆ ยังจะเอาแรงงานอีก
ผมว่าสำคัญกว่าปริมาณ ในยุโรป
ไม่เห็นเขามีประชากรมากมายอะไร
แต่เก็บภาษีได้มาก สร้างรัฐสวัสดิการ
ได้สบายๆ ให้คนแก่รีบๆไปพักผ่อนอีกต่างหาก
ในขณะที่บ้านเราแค่นี้ก็บ่นกระปอดกระแปด
คนส่วนน้อยหาเงินได้เยอะต้องมาเลี้ยงดูคนส่วน
มากที่หาเงินได้น้อย งุกงิกๆ ยังจะเอาแรงงานอีก
แสดงความคิดเห็น
ใครจะบ้าจี้มีลูกตามข่าวนี้ไหมครับ
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในงานแถลงข่าว “ทางออกประเทศไทยในยุคเด็กเกิดน้อย” ที่โรงแรมพูลแมน ว่า ปัญหาเด็กเกิดน้อยจะทำให้เกิดปัญหาต่อโครงสร้างประชากร ปัญหาแรงงาน สังคม และเศรษฐกิจ โดยอนาคตประชากรจะมีอายุเฉลี่ยมากขึ้นจาก 70-80 ปี เป็น 90-100 ปี คนวัยทำงาน 1 คน ต้องแบกรับภาระเลี้ยงดูทั้งคนแก่และเด็ก ดังนั้น ถือเป็นงานยากในการแก้ไข แต่หากไม่ทำวันนี้ ปัญหาก็จะยิ่งแก้ยากมากขึ้น
“ดังนั้น จึงต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาตั้งแต่วันนี้ด้วยการพยายามปรับแก้ค่านิยมให้คนมีลูกมากขึ้น ทั้งนี้ การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ต้องอดทน มุ่งมั่นทั้งข้าราชการประจำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลกี่รัฐบาล เปลี่ยนปลัดกระทรวง เปลี่ยนอธิบดีไปกี่คน แต่เราก็ต้องทำเรื่องนี้ต่ออย่างมุ่งมั่น” นายสาธิต กล่าว
ขณะที่ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเด็กเกิดน้อย มีสาเหตุมาจากคนมีลูกช้าลง เพราะกว่าจะเรียนจบ สร้างฐานะครอบครัว เมื่อมีบุตรก็ไม่มีเวลาเลี้ยง ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คนจึงไม่ต้องการมีภาระในการเลี้ยงดูบุตร หรือคู่แต่งงานแล้วไม่มีอยากมีบุตร และด้วยความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ที่เข้าถึงได้ง่าย ทั้งนี้ ปัญหานี้เกิดขึ้นในหลายประเทศ แต่ตอนนี้ทางยุโรป ฝรั่งเศสดีขึ้นในการรักษาประชากรให้คงที่ ส่วนไทยเราเกิดประชากรเฉลี่ย 1.3 ต่อหญิงหนึ่งคน ซึ่งเราต้องการเป็น 2.1-2.3 เพื่อรักษาประชากรให้คงที่ เพราะตอนนี้ลดลงเรื่อยๆ อีกไม่กี่ปีจะเหลือ 40 ล้านคนได้ ดังนั้น หากจะรักษาประชากรตั้งมีลูตร 2-3 คน อย่างไรก็ตาม เงินอุดหนุนเด็กควรจะให้เป็นระยะยาว ส่วนการทำงานที่บ้านก็จะช่วยให้พ่อแม่มีเวลาดูแลลูกที่บ้านได้ อบรมให้พ่อมีส่วนช่วยดูแล อย่างต่างประเทศที่ให้พ่อหยุดงานเพื่อดูแลลูกด้วย
https://www.msn.com/th-th/news/national/อีกไม่นาน-ไทยเหลือ-40-ล้านคน-สธเร่งตีปี๊บส่งเสริมครอบครัวมีลูก-แก้ขาดแรงงาน/ar-AATOHx6?ocid=spartanntp