คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
มาช่วยแปะข้อมูล วิเคราะห์ไปด้วยกันนะคะ ส่วนตัวเราแรกๆก็น่าเชื่อถืออยู่หรอก หลังๆมีจุดให้ข้องใจเยอะเหมือนกันค่ะ
- ตัวอันดับแบรนด์ที่ปล่อยมา จัดทำโดย 한국기업평판연구소 แปลเป็นไทยตรงตัวให้เข้าใจง่ายก็ สถาบันวิจัยชื่อเสียงของเกาหลี
- โดยการจัดอันดับแบรนด์นั้น เริ่มจริงจังประมาณปีช่วง 2016 (ไม่แน่ใจตัวเลขปีชัดเจน) โดยเริ่มจากวงการกีฬา (เช่นอันดับแบรนด์นักกีฬาเบสบอลของเกาหลี) และวงการ IT (พวกซัมซุง LG) ซึ่งอันดับที่ปล่อยออกมา มีผลต่อค่าตัวนักกีฬาและการตัดสินใจซื้อหุ้นทางฝั่งITด้วยในตอนนั้นค่ะ
- หลังจากนั้นการจัดอันดับแบรนด์จึงเริ่มเข้ามาในวงการบันเทิง มีทั้งนักแสดง พิธีกรวาไรตี้และไอดอล เราไม่แน่ใจตัวเลขปีที่เริ่มจัดชัดเจน แต่จำได้ชัดๆก็ช่วงที่จัดอันดับของไอดอล แล้วคังแดเนียลขึ้นแรงค์ที่1โหดๆ น่าจะช่วงปี2017-2018ค่ะ
- ใช้วิธีการนับคะแนนจาก BIG DATA มากกว่า 70,000,000 ชุดข้อมูล (อ้างอิงจากข่าว)
- การจัดคะแนนจะแบ่งเป็น 4 ช่อง
ช่องแรก - แปลตรงตัวก็คือคะแนนการมีส่วนร่วม เกณฑ์มาจาก คนทั่วไปเสิร์ชหาเยอะแค่ไหน ทั้งผ่าน PC กับ Mobile ค่ะ
ช่องสอง - คะแนนจากสื่อ วัดจากพื้นที่สื่อเยอะนักข่าวเขียนข่าวให้มากมั้ย คอมเม้นต์และยอดคนอ่านข่าวด้วยค่ะ
ช่องสาม - คะแนนการสื่อสาร พูดง่ายๆก็คือคะแนนการถูกพูดถึงค่ะ เป็นคะแนนที่วัดจากกลุ่มแฟนคลับ เกณฑ์คือการพูดคุยในblog หรือ แฟนคาเฟ่
ช่องสี่ - คะแนนด้านชุมชน(community) แปลให้เข้าใจก็คือพวก SNS มีการพูดถึงมากน้อยแค่ไหน เช่น facebook , twitter ใครที่มีไวรัลที่แชร์กันเยอะ ก็จะได้คะแนนส่วนนี้ไปค่ะ
(แปลจากกระทู้เกาหลีนี้มานะคะ https://m.blog.naver.com/kdg7009/220810568146)
*เราเคยวิเคราะห์กับแปลไว้นานมากๆๆ จากกระทู้นี้ค่ะ https://ppantip.com/topic/38182356/comment16*
ประมาณช่วงปี 2019 มีประเด็นที่ถกเถียงเรื่อง ไอดอลบางคนได้คะแนนสูงเกินจะเป็น และบางคนก็ต่ำเกิน ทำให้องค์กรออกมายอมรับเรื่องการปั่นคะแนน เพื่อให้ไอดอลที่ตัวเองชอบได้อันดับสูงๆ ซึ่งทางองค์กรก็เก็บข้อมูลจาก BIG DATA มาน่ะแหละ แล้วก็ยอมรับตรงๆว่ามันปั่นกันได้ จากเกณฑ์ที่เราแปะไว้ ด้อมไหนคนเยอะ ก็ทวิต ติดแฮชแท็กรัวๆ ก็ได้คะแนนช่อง3,4 เยอะได้แล้ว ไม่ยากเลย
อีกประเด็นเรื่องทำไมคนที่มีข่าวในแง่ลบถึงได้อันดับสูง? เพราะมีคะแนนช่อง2 ช่องมีเดีย สำหรับการลงข่าวต่างๆนานา ทีนี้ก็รวมในข่าวแง่ลบด้วยเช่นกันค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนตัวเวลาดูคะแนนมักจะดูช่อง1,2 เป็นหลัก เพราะจะดูได้ถึงชื่อเสียงในเดือนนั้นของไอดอลคนนั้นได้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
ทีนี้มาพูดถึงประเด็นความน่าเชื่อถือ นักข่าวสำนักข่าวใหญ่ๆก็ใช้เกณฑ์นี้ในการอ้างอิงทำข่าวเช่นกัน แต่จุดที่เรารู้สึก ข้องใจ ในช่วงหลังๆมีเยอะมาก เช่น iKon ตอนออกรายการ Kingdom ไม่ติดอันดับแบรนด์เลย ติดอันดับท้ายไม่เป็นไร แต่ไม่ติดเลย คิดว่าประหลาดมาก เพราะแฟนคลับมีการเทรนด์แฮชแท็กอยู่ตลอดมากกว่าตอนวงคัมแบคอย่างน้อยช่อง3,4ต้องมีคะแนนแน่ๆ อีก อีกจุดคือ คิมโยฮัน ที่มีไวรัลพาน้องไปเล่นเทควันโด คนเกาหลีแชร์กันเยอะมาก ออกข่าว ออกกระทู้เพียบ แต่เดือนนั้นไม่ติดTOP100 เช่นเดียวกัน คือรู้ว่า2เคสที่เราพิมมา ไม่ใช่ตัวท็อปอันดับสูงๆ แต่การไม่ติด1ใน100 ส่วนตัวเราข้องใจกับการจัดอันดับนะ เพราะตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งแหล่งที่มาว่า BIG DATA ที่องค์กรบอกว่า70ล้านชุดข้อมูล นับเว็บไซต์ไหนบ้าง นอกจากแพลตฟอร์มฮิตๆ ยูทูป ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค ไอจี Naver Pann TheQoo แล้วมีส่วนไหนอีกบ้าง องค์กรยังไม่เคยแจ้งเช่นกันค่ะ มาลองช่วยกันวิเคราะห์ดูค่ะ
- ตัวอันดับแบรนด์ที่ปล่อยมา จัดทำโดย 한국기업평판연구소 แปลเป็นไทยตรงตัวให้เข้าใจง่ายก็ สถาบันวิจัยชื่อเสียงของเกาหลี
- โดยการจัดอันดับแบรนด์นั้น เริ่มจริงจังประมาณปีช่วง 2016 (ไม่แน่ใจตัวเลขปีชัดเจน) โดยเริ่มจากวงการกีฬา (เช่นอันดับแบรนด์นักกีฬาเบสบอลของเกาหลี) และวงการ IT (พวกซัมซุง LG) ซึ่งอันดับที่ปล่อยออกมา มีผลต่อค่าตัวนักกีฬาและการตัดสินใจซื้อหุ้นทางฝั่งITด้วยในตอนนั้นค่ะ
- หลังจากนั้นการจัดอันดับแบรนด์จึงเริ่มเข้ามาในวงการบันเทิง มีทั้งนักแสดง พิธีกรวาไรตี้และไอดอล เราไม่แน่ใจตัวเลขปีที่เริ่มจัดชัดเจน แต่จำได้ชัดๆก็ช่วงที่จัดอันดับของไอดอล แล้วคังแดเนียลขึ้นแรงค์ที่1โหดๆ น่าจะช่วงปี2017-2018ค่ะ
- ใช้วิธีการนับคะแนนจาก BIG DATA มากกว่า 70,000,000 ชุดข้อมูล (อ้างอิงจากข่าว)
- การจัดคะแนนจะแบ่งเป็น 4 ช่อง
ช่องแรก - แปลตรงตัวก็คือคะแนนการมีส่วนร่วม เกณฑ์มาจาก คนทั่วไปเสิร์ชหาเยอะแค่ไหน ทั้งผ่าน PC กับ Mobile ค่ะ
ช่องสอง - คะแนนจากสื่อ วัดจากพื้นที่สื่อเยอะนักข่าวเขียนข่าวให้มากมั้ย คอมเม้นต์และยอดคนอ่านข่าวด้วยค่ะ
ช่องสาม - คะแนนการสื่อสาร พูดง่ายๆก็คือคะแนนการถูกพูดถึงค่ะ เป็นคะแนนที่วัดจากกลุ่มแฟนคลับ เกณฑ์คือการพูดคุยในblog หรือ แฟนคาเฟ่
ช่องสี่ - คะแนนด้านชุมชน(community) แปลให้เข้าใจก็คือพวก SNS มีการพูดถึงมากน้อยแค่ไหน เช่น facebook , twitter ใครที่มีไวรัลที่แชร์กันเยอะ ก็จะได้คะแนนส่วนนี้ไปค่ะ
(แปลจากกระทู้เกาหลีนี้มานะคะ https://m.blog.naver.com/kdg7009/220810568146)
*เราเคยวิเคราะห์กับแปลไว้นานมากๆๆ จากกระทู้นี้ค่ะ https://ppantip.com/topic/38182356/comment16*
ประมาณช่วงปี 2019 มีประเด็นที่ถกเถียงเรื่อง ไอดอลบางคนได้คะแนนสูงเกินจะเป็น และบางคนก็ต่ำเกิน ทำให้องค์กรออกมายอมรับเรื่องการปั่นคะแนน เพื่อให้ไอดอลที่ตัวเองชอบได้อันดับสูงๆ ซึ่งทางองค์กรก็เก็บข้อมูลจาก BIG DATA มาน่ะแหละ แล้วก็ยอมรับตรงๆว่ามันปั่นกันได้ จากเกณฑ์ที่เราแปะไว้ ด้อมไหนคนเยอะ ก็ทวิต ติดแฮชแท็กรัวๆ ก็ได้คะแนนช่อง3,4 เยอะได้แล้ว ไม่ยากเลย
อีกประเด็นเรื่องทำไมคนที่มีข่าวในแง่ลบถึงได้อันดับสูง? เพราะมีคะแนนช่อง2 ช่องมีเดีย สำหรับการลงข่าวต่างๆนานา ทีนี้ก็รวมในข่าวแง่ลบด้วยเช่นกันค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนตัวเวลาดูคะแนนมักจะดูช่อง1,2 เป็นหลัก เพราะจะดูได้ถึงชื่อเสียงในเดือนนั้นของไอดอลคนนั้นได้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
ทีนี้มาพูดถึงประเด็นความน่าเชื่อถือ นักข่าวสำนักข่าวใหญ่ๆก็ใช้เกณฑ์นี้ในการอ้างอิงทำข่าวเช่นกัน แต่จุดที่เรารู้สึก ข้องใจ ในช่วงหลังๆมีเยอะมาก เช่น iKon ตอนออกรายการ Kingdom ไม่ติดอันดับแบรนด์เลย ติดอันดับท้ายไม่เป็นไร แต่ไม่ติดเลย คิดว่าประหลาดมาก เพราะแฟนคลับมีการเทรนด์แฮชแท็กอยู่ตลอดมากกว่าตอนวงคัมแบคอย่างน้อยช่อง3,4ต้องมีคะแนนแน่ๆ อีก อีกจุดคือ คิมโยฮัน ที่มีไวรัลพาน้องไปเล่นเทควันโด คนเกาหลีแชร์กันเยอะมาก ออกข่าว ออกกระทู้เพียบ แต่เดือนนั้นไม่ติดTOP100 เช่นเดียวกัน คือรู้ว่า2เคสที่เราพิมมา ไม่ใช่ตัวท็อปอันดับสูงๆ แต่การไม่ติด1ใน100 ส่วนตัวเราข้องใจกับการจัดอันดับนะ เพราะตอนนี้ยังไม่มีการแจ้งแหล่งที่มาว่า BIG DATA ที่องค์กรบอกว่า70ล้านชุดข้อมูล นับเว็บไซต์ไหนบ้าง นอกจากแพลตฟอร์มฮิตๆ ยูทูป ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค ไอจี Naver Pann TheQoo แล้วมีส่วนไหนอีกบ้าง องค์กรยังไม่เคยแจ้งเช่นกันค่ะ มาลองช่วยกันวิเคราะห์ดูค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่องการจัดอันดับ Brand reputation ค่ะ
*ไม่ดราม่านะคะ ขอข้อมูลจริงๆ อย่างที่บอกวงเราติดเราดีใจ แต่พอเห็นเรื่องนี้เราดีใจไม่สุด T^T
บ้านอึนจีไทยแลนด์แนบรูปนี้มาด้วย