JJNY : 4in1 พลังงานจำใจปล่อยก๊าซหุงต้มขึ้น│อัดปล่อยสินค้าเกษตรจีนเข้าเสรี│พท.-ก้าวไกลยันมีเอกภาพ│ไพศาลชี้สะเทือนสี่ทิศ

ก.พลังงานพล่าน! หาเงินอุดหนุนแอลพีจี-น้ำมัน จำใจปล่อยราคาก๊าซหุงต้มขึ้นแบบขั้นบันใด
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6876281

กระทรวงพลังงานพล่าน! หาเงินอุดหนุนแอลพีจี-น้ำมัน จำใจปล่อยราคาก๊าซหุงต้มขึ้นแบบขั้นบันใด
   
ก.พลังงานพล่านหาเงิน – นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมหารือสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ หรือสศช.) เพื่อจัดหาแหล่งเงินเข้ามาเสริมสภาพคล่องในการดูแลโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ โดยเฉพาะในส่วนของก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือนที่กระทรวงพลังงานมีแนวทางปรับขึ้นแบบขั้นบันไดขึ้นไปอยู่ที่ 333 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม และ 363 บาท/ถัง 15 ก.ก. จากปัจจุบันอยู่ที่ 318 บาท/ถัง 15 ก.ก. ที่จะสิ้นสุดลงวันที่ 31 มี.ค. 2565
 
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะยังคงมีมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยในช่วงที่ราคาก๊าซหุงต้มทยอยขึ้นแบบขั้นบันได โดยกระทรวงการคลังยังคงอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการของรัฐ 13.5 ล้านคน เป็นเงิน 45 บาท/3 เดือนตามเดิม และเพิ่มเติมในส่วนของกระทรวงพลังงานมีแนวทางอุดหนุนอีก 55 บาท/3 เดือน รวมเป็นรัฐอุดหนุน 100 บาท/3 เดือน แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่ากระทรวงพลังงานจะหาเงินจากแหล่งใดเพื่อใช้ในการอุดหนุนส่วนนี้ คาดว่าจะมีความชัดเจนช่วงกลาง-ปลายเดือนก.พ.นี้
 
“กระทรวงการคลังเตรียมเงินช่วยเหลือแอลพีจีผ่านบัตรสวัสดิการไว้แค่เพียง 45 บาท/3 เดือน ดังนั้นหากกระทรวงพลังงานจะให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมต้องหาแหล่งเงินอื่นมาช่วย น่าจะมาจากแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน และเงินงบประมาณ จะใช้ดูแลทั้งราคาแอลพีจีและน้ำมันด้วย เพิ่มเติมจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติวงเงินให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกู้ 20,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินที่ครม. ให้ไว้ 30,000 ล้านบาท ที่คาดว่าแค่ใช้ดูแลราคาน้ำมันก็หมดแล้ว”
 
ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 จนถึงปัจจุบันใช้เงินกองทุนอุดหนุนไปแล้วกว่า 25,000 ล้านบาท จากราคาจริงปัจจุบันอยู่ที่ 432 บาท/ถัง 15 ก.ก. ซึ่งการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มทุก 1 บาท/ถัง 15 ก.ก. จะช่วยลดภาระการอุดหนุนกองทุนได้ประมาณ 270-280 ล้านบาท/เดือน
 
นายกุลิศ กล่าวถึงข้อเรียกร้องของสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ที่ต้องการให้ภาครัฐปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลงเหลือ 25 บาท/ลิตร และขอให้ปรับลดภาษีสรรพสามิต ปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ พร้อมกดดันให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รมว.พลังงาน ออกจากตำแหน่ง ว่า เรื่องนี้ขอความเห็นใจกระทรวงพลังงานด้วย เพราะรัฐคงไม่สามารถหาแหล่งเงินมาอุดหนุนราคาดีเซลให้อยู่ที่ 25 บาท/ลิตรได้
 
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันได้ใช้กลไกกองทุนเข้าไปตรึงราคาดีเซลให้อยู่ที่ 29.94 บาท/ลิตร ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ไปแล้ว 3.79 บาท/ลิตร คิดเป็นเงินไหลออกสะสมกว่า 7,000 ล้านบาท หากรัฐไม่มีมาตรการอุดหนุนราคาดีเซลจริงจะขึ้นไป 34 บาท/ลิตร ดังนั้น หากรัฐเข้าไปอุดหนุนราคาดีเซลให้อยู่ที่ 25 บาท/ลิตร ตามข้อเรียกร้อง กองทุนฯ ต้องใช้เงินอุดหนุนถึงเดือนละ 17,000 ล้านบาท/เดือน ปัจจุบันสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 6 ก.พ. 2565 ติดลบ 16,052 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมัน 9,166 ล้านบาท บัญชีแอลพีจีติดลบ 25,218 ล้านบาท
 
นายกุลิศ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิตเป็นเรื่องของกระทรวงการคลัง ซึ่งปกติการปรับเพิ่มภาษีจะไม่มีการประกาศล่วงหน้า เพราะเป็นเรื่องของนโยบาย อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานยืนยันจะทำให้ส่วนที่รับผิดชอบอย่างเต็มที่
 
สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 88-93 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากกลุ่มโอเปก พลัส ยังคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ 400,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หลังจากโควิด-19 ผ่อนคลาย ทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ประกอบกับความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ปัญหารัสเซีย-ยูเครน ค่าเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม ทีมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่ม ปตท. ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 78-80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
 


ปธ.สภาอุตฯภาคเหนือตอนล่าง อัดรัฐปล่อยสินค้าเกษตรจีนเข้ามาเสรี ชี้เคยส่งตรวจพบสารตกค้างเพียบ
https://www.matichon.co.th/region/news_3171449
 
เพชรบูรณ์-ภาคเอกชนส่งออกชี้ภาครัฐปล่อยนำเข้าสินค้าจีนเสรี สารตกค้างเพียบ-ไม่มี อย.ไร้การตรวจสอบ
 
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายสมชาย สุรเวคิน ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง และหนึ่งในฐานะคณะกรรมการภาคเอกชน กล่าวขณะร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตร จ.เพชรบูรณ์ ก่อนหน้านี้ ถึงสาเหตุราคาพืชผลการเกษตรไทยตกต่ำว่า เนื่องจากมีสินค้าเกษตรนำเข้าจากจีนมาวางจำหน่ายเกลื่อนกลาด และมีราคาถูกกว่าสินค้าไทย นอกจากนี้ ตั้งข้อสังเกตเรื่องปริมาณสารตกค้างในสินค้าเกษตรจากจีนเกินค่ามาตรฐาน แต่ประเทศไทยก็ยังปล่อยให้มีการนำเข้าอย่างเสรี ไม่มีการตรวจสอบ หรือจำกัดแต่อย่างไร เพราะนอกจากจะมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของเกษตรกรไทยแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศอีกด้วย
 
นายสมชายกล่าวอีกว่า ทุกวันนี้ไทยไม่มีมาตรการอะไรที่จำกัดสินค้าเหล่านี้เลย ปล่อยให้สินค้าผ่านเข้าประเทศได้ตลอด แถมราคายังถูก ขณะที่สินค้าไทยจะออกไปต่างประเทศต้องถูกจำกัดแทบทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องปริมาณสารตกค้าง ทั้งนี้ ตนทำธุรกิจส่งออกเช่นกัน ซึ่งกรณีสารตกค้างเกินมาตรฐาน หากพบปริมาณสารตกค้างเกินมาตรฐาน นอกจากถูกตีตกแล้วยังจะถูกเผาทิ้งทันที นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องออกค่าใช้จ่ายในการกำจัดสินค้าหล่านั้นเองด้วย
 
ผมตั้งข้อสังเกตว่าทุกวันนี้ทำไมหน่วยงานภาครัฐของเราถึงละเลย ไม่มีการตรวจสกัดสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าการเกษตรจากจีน เชื่อว่าเกือบ 100% มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน ก่อนหน้านี้ผมนำตัวอย่างพืชผักและผลไม้ส่งไปตรวจเกือบ 10 ตัวอย่าง พบปริมาณสารตกค้าง (MRLs) สูงถึง 5.00 ขณะที่การส่งออกทางยุโรปจะถูกจำกัด MRLs ห้ามเกิน 0.005 และส่งออกไปญี่ปุ่น MRLs ห้ามเกิน 0.002 หากถูกตรวจพบเกินมาตรฐาน ไม่เพียงถูกตีตกเท่านั้น แต่ยังถูกเผาทิ้งโดยทันที” นายสมชายกล่าว
 
นายสมชายกล่าวอีกว่า นอกจากสินค้าจากจีนจะผ่านทางลาวสะดวกมากขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีการนำเข้าไทยค่อนข้างเสรี และเป็นที่สังเกตด้วยว่าสินค้าเหล่านี้ไม่มี อย.รับรอง ถูกวางจำหน่ายอย่างเกลื่อนกลาด แม้กระทั่งตามแหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ อาทิ เขาค้อ ภูทับเบิก ร้านจำหน่ายสิ่งของที่ระลึก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่