ปวดหัว อาการปวดศีรษะ เป็นโรคยอดฮิตของทุกเพศทุกวัย โดยอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อยมักเป็นชนิดไม่รุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตนเอง หรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ในบางกรณี อาจเกิดจากเนื้องอกในสมอง หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะควรรู้ คือ อาการปวดแบบไหนเป็นชนิดไม่รุนแรง และอาการปวดแบบไหนเป็นอันตรายและควรรีบพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ลองมาดูกันว่าอาการเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
อาการปวดศีรษะชนิดรุนแรง
บางกรณีอาการปวดศีรษะ อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงในสมอง เช่น เลือดออกในสมอง ติดเชื้อในสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง ถึงแม้จะพบไม่บ่อย แต่จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT-Scan หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นต้น โดยอาการปวดศีรษะที่ต้องรีบพบแพทย์มีดังนี้
- ปวดศีรษะเฉียบพลัน และรุนแรงขึ้นมาทันที โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีอาการปวดศีรษะ แบบเป็น ๆ หาย ๆ มาก่อน
- ปวดศีรษะมากขึ้นเรื่อย ๆ ปวดขึ้นทุกวัน ทานยาแก้ปวดแล้วก็ไม่ดีขึ้น
- ปวดมากจนไม่สามารถนอนหลับได้ หรือปวดมากจนตื่นกลางดึก
- มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ ตามัว เห็นภาพซ้อน ชาแขนขา แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง
- เป็นการปวดศีรษะครั้งแรก หลังอายุ 50 ปี
สำหรับผู้ที่ไม่มีลักษณะอาการตามที่ระบุมาข้างต้น ก็มักจะเป็นอาการปวดศีรษะชนิดที่ไม่รุนแรง โดยอาการที่พบได้บ่อยยกตัวอย่างเช่น
อาการปวดศีรษะชนิดไม่รุนแรง
-
ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Type Headache) พบมากที่สุดในทุกช่วงอายุ เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ ซึ่งกระตุ้นจากความเครียด พักผ่อนน้อย หรือการกระทำที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เกร็งหรือตึง มีลักษณะปวดแบบตื้อ ๆ มึน ๆ (Dull Aching) เหมือนมีอะไรมาบีบรัดบริเวณหน้าผาก ขมับ หรือท้ายทอย อาการปวดมักเป็นไม่มาก อาจปวดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงจนถึงหลายวันการรักษาเบื้องต้น อาจรับประทานยาแก้ปวดชนิดพาราเซตามอล และพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด อาการจะดีขึ้นหลังจากนั้น
-
ปวดศีรษะไมเกรน พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน อาการปวดค่อนข้างจำเพาะ มีลักษณะปวดตุ๊บ ๆ (Throbbing) บริเวณขมับ ร้าวมาที่กระบอกตา หรือร้าวไปท้ายทอย มักปวดบริเวณข้างใดข้างหนึ่ง แต่บางรายอาจปวดทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และอาจมีอาการกลัวแสงหรือกลัวเสียง (Photophobia, Phonophobia) มีอาการนำก่อนปวด เช่น เห็นแสงผิดปกติ ทั้งนี้ อาการปวดมักมีปัจจัยกระตุ้นชัดเจน เช่น อากาศร้อน ความเครียด กลิ่นบางชนิด เช่น น้ำหอม บุหรี่ อาหารบางชนิดเช่นชีส ชอกโกแลต หรือรอบประจำเดือน เป็นต้น ระดับความปวดจะปวดมากกว่าชนิดแรก ตั้งแต่ปวดปานกลางไปจนถึงรุนแรงได้ มักจะมีอาการปวดอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง
การรักษาเบื้องต้น แนะนำให้นอนพักและอยู่ในที่เงียบ สงบ แสงไม่จ้าจนเกินไป หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ อาจรับประทานยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Naproxen, Ibuprofen หรือรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน เช่นกลุ่ม Ergot, Triptans แต่ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
-
ปวดศีรษะชนิดคลัสเตอร์ (Cluster headache) พบได้รองลงมา มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และวัยกลางคนขึ้นไป เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทสมองคู่ที่ 5 และหลอดเลือดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ มีลักษณะอาการปวดศีรษะเป็นชุด ๆ มักปวดเวลาเดิม ๆ ปวดติดต่อกันระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไป อาการปวดแต่ละครั้งมักไม่นานมาก ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่จะปวดรุนแรงกว่าไมเกรน ตำแหน่งมักปวดที่รอบกระบอกตา และอาจมีอาการตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หนังตาตกร่วมด้วยได้
การรักษาเบื้องต้น เวลามีอาการปวด ผู้ป่วยมักจะกระสับกระส่าย นอนนิ่ง ๆ ไม่ได้ การดมออกซิเจน และใช้ยาแก้ปวดที่จำเพาะ จะช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดจึงควรมาพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะมีได้หลายชนิด และมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน หากไม่แน่ใจอาการ ควรปรึกษาและพบแพทย์เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจจะมีผลข้างเคียงจากยา หรือเกิดภาวะใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดจนทำให้มีอาการปวดศีรษะได้
‘ปวดหัว’ อย่างไรคืออาการทั่วไป และกรณีใดต้องรีบพบแพทย์
อาการปวดศีรษะชนิดรุนแรง
บางกรณีอาการปวดศีรษะ อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงในสมอง เช่น เลือดออกในสมอง ติดเชื้อในสมอง หรือ เนื้องอกในสมอง ถึงแม้จะพบไม่บ่อย แต่จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT-Scan หรือ ตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI เป็นต้น โดยอาการปวดศีรษะที่ต้องรีบพบแพทย์มีดังนี้
- ปวดศีรษะเฉียบพลัน และรุนแรงขึ้นมาทันที โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีอาการปวดศีรษะ แบบเป็น ๆ หาย ๆ มาก่อน
- ปวดศีรษะมากขึ้นเรื่อย ๆ ปวดขึ้นทุกวัน ทานยาแก้ปวดแล้วก็ไม่ดีขึ้น
- ปวดมากจนไม่สามารถนอนหลับได้ หรือปวดมากจนตื่นกลางดึก
- มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ ตามัว เห็นภาพซ้อน ชาแขนขา แขนขาอ่อนแรง คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง
- เป็นการปวดศีรษะครั้งแรก หลังอายุ 50 ปี
สำหรับผู้ที่ไม่มีลักษณะอาการตามที่ระบุมาข้างต้น ก็มักจะเป็นอาการปวดศีรษะชนิดที่ไม่รุนแรง โดยอาการที่พบได้บ่อยยกตัวอย่างเช่น
อาการปวดศีรษะชนิดไม่รุนแรง
- ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Type Headache) พบมากที่สุดในทุกช่วงอายุ เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ ซึ่งกระตุ้นจากความเครียด พักผ่อนน้อย หรือการกระทำที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ เกร็งหรือตึง มีลักษณะปวดแบบตื้อ ๆ มึน ๆ (Dull Aching) เหมือนมีอะไรมาบีบรัดบริเวณหน้าผาก ขมับ หรือท้ายทอย อาการปวดมักเป็นไม่มาก อาจปวดได้ตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงจนถึงหลายวันการรักษาเบื้องต้น อาจรับประทานยาแก้ปวดชนิดพาราเซตามอล และพักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด อาการจะดีขึ้นหลังจากนั้น
- ปวดศีรษะไมเกรน พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน อาการปวดค่อนข้างจำเพาะ มีลักษณะปวดตุ๊บ ๆ (Throbbing) บริเวณขมับ ร้าวมาที่กระบอกตา หรือร้าวไปท้ายทอย มักปวดบริเวณข้างใดข้างหนึ่ง แต่บางรายอาจปวดทั้ง 2 ข้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และอาจมีอาการกลัวแสงหรือกลัวเสียง (Photophobia, Phonophobia) มีอาการนำก่อนปวด เช่น เห็นแสงผิดปกติ ทั้งนี้ อาการปวดมักมีปัจจัยกระตุ้นชัดเจน เช่น อากาศร้อน ความเครียด กลิ่นบางชนิด เช่น น้ำหอม บุหรี่ อาหารบางชนิดเช่นชีส ชอกโกแลต หรือรอบประจำเดือน เป็นต้น ระดับความปวดจะปวดมากกว่าชนิดแรก ตั้งแต่ปวดปานกลางไปจนถึงรุนแรงได้ มักจะมีอาการปวดอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง
การรักษาเบื้องต้น แนะนำให้นอนพักและอยู่ในที่เงียบ สงบ แสงไม่จ้าจนเกินไป หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ อาจรับประทานยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Naproxen, Ibuprofen หรือรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน เช่นกลุ่ม Ergot, Triptans แต่ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
- ปวดศีรษะชนิดคลัสเตอร์ (Cluster headache) พบได้รองลงมา มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และวัยกลางคนขึ้นไป เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทสมองคู่ที่ 5 และหลอดเลือดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติ มีลักษณะอาการปวดศีรษะเป็นชุด ๆ มักปวดเวลาเดิม ๆ ปวดติดต่อกันระยะเวลาหนึ่งแล้วหายไป อาการปวดแต่ละครั้งมักไม่นานมาก ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่จะปวดรุนแรงกว่าไมเกรน ตำแหน่งมักปวดที่รอบกระบอกตา และอาจมีอาการตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หนังตาตกร่วมด้วยได้
การรักษาเบื้องต้น เวลามีอาการปวด ผู้ป่วยมักจะกระสับกระส่าย นอนนิ่ง ๆ ไม่ได้ การดมออกซิเจน และใช้ยาแก้ปวดที่จำเพาะ จะช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดจึงควรมาพบแพทย์
อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะมีได้หลายชนิด และมีวิธีการรักษาที่ต่างกัน หากไม่แน่ใจอาการ ควรปรึกษาและพบแพทย์เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจจะมีผลข้างเคียงจากยา หรือเกิดภาวะใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดจนทำให้มีอาการปวดศีรษะได้