ธุรกิจรายย่อยทุนไม่เกิน 1 ล้านเจ๊งสูงสุดก่อสร้างแชมป์
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/103140/
พาณิชย์เผยสถิติปี 64 ธุรกิจขนาดเล็กทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทเลิกกิจการสูงสุด ก่อสร้างอาคารครองแชมป์ รองลงมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ ภัตตาคาร ร้านอาหาร
นาย
ทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในปี 64 ที่ผ่านมาธุรกิจเลิกประกอบกิจการมีจำนวน 19,326 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 384,376.83 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
สำหรับประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,535 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ อสัง หาริมทรัพย์ จำนวน 1,035 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 575 ราย คิดเป็น 3%
ทั้งนี้หากแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 13,620 ราย คิดเป็น 70.48% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 4,685 ราย คิดเป็น 24.24% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 932 ราย คิดเป็น 4.82% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 89 ราย คิดเป็น 0.46%
ขณะที่จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศปี 64 จำนวน 72,958 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 9,618 ราย คิดเป็น 15% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อ ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 7,029 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 3,386 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 2,258 ราย คิดเป็น 3%
ขณะที่มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่อยู่ที่ 229,808.51 ล้านบาท ลดลง 2.32% เมื่อเทียบกับปี 2563 จำนวน 235,278.75 ล้านบาท และหากแบ่งตามช่วงทุน พบว่า ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 54,915 ราย คิดเป็น 75.27% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 16,881 ราย คิดเป็น 23.14% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 1,022 ราย คิดเป็น 1.40% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 140 ราย คิดเป็น 0.19%
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 64) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 809,110 ราย มูลค่าทุน 19.57 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 196,530 ราย คิดเป็น 24.29% บริษัทจำกัด จำนวน 611,262 ราย คิดเป็น 75.55% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,318 ราย คิดเป็น 0.16%
นอกจากนี้หากแบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 478,634 ราย คิดเป็น 59.15% รวมมูลค่าทุน 0.42 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.15% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 239,868 ราย คิดเป็น 29.65% รวมมูลค่าทุน 0.81 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.12% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 73,968 ราย คิดเป็น 9.14% รวมมูลค่าทุน 2.03 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.36% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16,640 ราย คิดเป็น 2.06% รวมมูลค่าทุน 16.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.37%
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สภาเกษตรฯ ฮึ่ม ปลุกม็อบ ค้านอาหารสัตว์ยื่น 3 เงื่อนไขรัฐ แลกตรึงราคา 2 เดือน
https://www.thansettakij.com/economy/511723
สถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ในปี 2564 ปรับตัวสูงขึ้น 20-25% และยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าด้านปศุสัตว์ เฉพาะอย่างยิ่งไก่ เป็ด หมูโดยตรง เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุน 60-70% ของการเลี้ยง
นาย
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1. สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น
2. นโยบายภาครัฐที่ต้องการดูแลราคาพืชอาหารสัตว์ในประเทศ โดยมีการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บิดเบือนกลไกตลาด
อาทิ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลีของรัฐบาลโดยผู้ประกอบการจะต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน แลกกับสิทธิในการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน การจำกัดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมาตรการด้านภาษี อาทิ ภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ซึ่งถือเป็นอุปสรรคและภาระต้นทุนแก่ธุรกิจอาหารสัตว์ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนเป็นอย่างมาก
ดังนั้นทางสมาคม จึงขอเสนอ 3 แนวทาง เพื่อผ่อนคลายภาระต้นทุนอาหารสัตว์จากมาตรการรัฐ ดังนี้
1. ยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2%
2. ยกเลิกมาตรการการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3:1
3. ให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้ตลอดทั้งปี จากปัจจุบันกำหนดช่วงเวลานำเข้าของแต่ละปีช่วงวันที่ 1 ก.พ.-31 ส.ค. และให้ยกเลิกโควตา ภาษี และค่าธรรมเนียม ในปริมาณที่ขาดแคลนในปี 2565
การยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% เป็นข้อเสนอที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุด และสมาคมยินดีที่จะตรึงราคาอาหารสัตว์ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% แล้ว ทั้งนี้แนวทางข้างต้นกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่จะให้ลดราคาอาหารสัตว์ ไม่สามารถลดได้ เนื่องจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบในไตรมาสแรกของปี 2565 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ประมาณ 5-10% (กราฟิกประกอบ) ทั้งนี้สมาคมหวังว่าราคาวัตถุดิบจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นอีกอย่างที่คาดการณ์ไว้
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว กล่าวว่า หากพิจารณาสถิติย้อนหลัง ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบนำเข้าจากอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ราคาเป็นไปตามตลาดโลก ต้นทุนสูงในอดีตก็เคยมี ต้นทุนอาหารสัตว์แพงจริง แต่ไม่ใช่เป็นประเด็นหลักที่ทำให้ราคาหมูแพง อย่างไรก็ดีในส่วนของน้ำมันถั่วเหลืองบรรจุขวดที่ขายอยู่ตามตลาดและห้างโมเดิร์นเทรดต่างๆ
ถือเป็นการสร้างสมดุลเวลาน้ำมันพืชชนิดอื่นมีปัญหาราคาสูง เป็นตัวช่วยหนึ่งที่สามารถเสริมเข้าไปในตลาดได้ เช่น ในร้านอาหารต่าง ๆ อย่างไรก็ดีหากมีการปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ก็ยังกระทบผู้บริโภค เพราะเวลานี้ราคาถั่วเหลืองทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก
“น้ำมันถั่วเหลืองในไทยขณะนี้ขวดลิตรละไม่ถึง 60 บาท ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย และเวียดนาม ลาว เมียนมา ขวดละ 80-100 บาท ไทยยังถือว่าถูกกว่า”
เช่นเดียวกับ แหล่งข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ประเทศไทยใช้เมล็ดถั่วเหลืองประมาณ 4 ล้านตันต่อปี (สัดส่วน 70% ใช้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อบริโภค) ขณะที่ผลิตได้ในประเทศไม่ถึง 1% แต่ได้ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองมาผลิตน้ำมัน ผลิตอาหารมนุษย์ หรือผลิตเป็นอาหารสัตว์ จะต้องซื้อถั่วเหลืองในประเทศให้หมดก่อนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
ส่วนที่เหลือเป็นกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นบายโปรดักส์ของอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลืองและบางส่วนจะมีการนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเด็นที่กังวลคือ เมื่อขอความร่วมมือให้ซื้อถั่วเหลืองในประเทศ และหากลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองแล้ว อุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นผู้ซื้อถั่วเหลืองหลักจะปฎิเสธการรับซื้อในประเทศ แล้วจะผลักภาระไปที่น้ำมันขวด จะกระทบกับผู้บริโภคในภาพรวม
ด้านนาย
เติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า หากทำตามเงื่อนไขของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ด่านแรกจะกระทบคือ ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองโดยตรง เพราะจะทำให้ราคากากถั่วเหลืองในประเทศตกต่ำ ประชาชนอาจต้องบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองราคา 80 บาทต่อขวด
ส่วนการขอนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งปี ไม่จำกัดช่วงเวลา มองว่าเป็นเกมต่อรอง ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติขอคัดค้านถ้านำเข้ามาจริง เกษตรกรจะลงถนนแน่นอน เพราะวันนี้มีข้าวโพดบดนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้อนุญาต แต่เมื่อนำเข้ามาแล้วกลับไม่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมแป้งข้าวโพด ตามที่ขอ แต่นำเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์โดยตรง ส่งผลกระทบกับเกษตรกร
พท.จี้รัฐ ถามความปลอดภัยทางถนน ‘อนุพงษ์’ เตรียมถอดบทเรียน บังคับใช้กม.ให้มีผลจริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3153325
ส.ส.พท จี้รัฐถามความปลอดภัยทางถนน หลังเกิดเหตุ “หมอกระต่าย” ด้าน”อนุพงษ์”แจง เตรียมถอดบทเรียนการบังคับใช้กม.ให้มีผลจริง -ติดคุกเป็นตัวอย่าง
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 27 มกราคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย
ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผูแทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของนาง
สุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) ตั้งกระทู้ถามสดถามพล.อ.
อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีอุบัติเหตุตำรวจขับรถบิ๊กไบค์ชนพญ.
วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ
“หมอกระต่าย” เสียชีวิต ระหว่างข้ามทางม้าลาย บริเวณถนนพญาไท เป็นเรื่องสะเทือนใจสังคม จากสถิติศูนย์วิจัยความปลอดภัยทางถนน พบว่า แต่ละปีมีการสูญเสียจากการข้ามถนน 800-1,000 รายต่อปี 1 ใน 3เป็นพื้นที่กทม.พอเกิดปัญหาใหม่ๆ เจ้าหน้าที่จะทำงานเข้มข้น จากนั้นขาดความจริงจัง อยากถามว่า รัฐบาลมีแนวทางอย่างไรให้คนไทยมีวินัย ปฏิบัติตามกฎจราจรเคร่งครัด และกรมการขนส่งทางบก มีการอนุญาตใบขับขี่ที่รัดกุมพอหรือไม่ โดยเฉพาะรถที่มีประเภทซีซีมาก ที่ต้องเข้มข้นในการให้ใบอนุญาต
ขณะที่พล.อ.
อนุพงษ์ ชี้แจงว่า กรณี
“หมอกระต่าย” เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ที่ไม่สามารถหาอะไรมาชดเชยได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่ให้ใช้
อภิสิทธิ์ใดๆ จะไม่ยอมให้เกิดความไม่ชอบมาพากล คนทำผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งกลไกเรื่องการใช้รถใช้ถนนและความปลอดภัยทางถนน มีการดำเนินการมานานแล้ว และการที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยทางถนน มี 2 ส่วนคือ 1. คนใช้รถใช้ถนนต้องมีวัฒนธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย และ 2. การบังคับใช้กฎหมาย แม้จะพยายามบังคับใช้กฎหมาย แต่สิ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จสูงสุดคือ คนใช้รถใช้ถนนต้องมีวัฒนธรรม
“เราจะถอดบทเรียนกรณีนี้ให้การบังคับใช้กฎหมายมีผลจริงๆ มีการติดคุกเป็นตัวอย่าง แต่ทั้งหมดทุกคนต้องมีวัฒนธรรมใช้รถใช้ถนน การจับอย่างเดียว ไม่ช่วยแก้ปัญหาได้ ดังนั้น ต้องร่วมกันสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เด็กให้ใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้อง ส่วนความเข้มข้นเรื่องการอนุญาตให้ใบขับขี่นั้น รัฐบาลพยายามแก้กฎหมายและอุปสรรค์ต่างๆกันอยู่ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ไม่ใช่แค่ทำข้อสอบได้ จอดชิดฟุตปาทได้ แล้วได้ใบขับขี่” พล.อ.
อนุพงษ์ กล่าว
JJNY : ธุรกิจรายย่อยเจ๊งสูงสุด│สภาเกษตรฯฮึ่มปลุกม็อบค้านอาหารสัตว์│พท.จี้ถามความปลอดภัยทางถนน│พีมูฟจับตาประชุมร่วมรบ.
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/103140/
พาณิชย์เผยสถิติปี 64 ธุรกิจขนาดเล็กทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทเลิกกิจการสูงสุด ก่อสร้างอาคารครองแชมป์ รองลงมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ ภัตตาคาร ร้านอาหาร
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในปี 64 ที่ผ่านมาธุรกิจเลิกประกอบกิจการมีจำนวน 19,326 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 384,376.83 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
สำหรับประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,535 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ อสัง หาริมทรัพย์ จำนวน 1,035 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 575 ราย คิดเป็น 3%
ทั้งนี้หากแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 13,620 ราย คิดเป็น 70.48% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 4,685 ราย คิดเป็น 24.24% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 932 ราย คิดเป็น 4.82% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 89 ราย คิดเป็น 0.46%
ขณะที่จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศปี 64 จำนวน 72,958 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 9,618 ราย คิดเป็น 15% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อ ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 7,029 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 3,386 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 2,258 ราย คิดเป็น 3%
ขณะที่มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่อยู่ที่ 229,808.51 ล้านบาท ลดลง 2.32% เมื่อเทียบกับปี 2563 จำนวน 235,278.75 ล้านบาท และหากแบ่งตามช่วงทุน พบว่า ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 54,915 ราย คิดเป็น 75.27% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 16,881 ราย คิดเป็น 23.14% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 1,022 ราย คิดเป็น 1.40% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 140 ราย คิดเป็น 0.19%
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 64) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 809,110 ราย มูลค่าทุน 19.57 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 196,530 ราย คิดเป็น 24.29% บริษัทจำกัด จำนวน 611,262 ราย คิดเป็น 75.55% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,318 ราย คิดเป็น 0.16%
นอกจากนี้หากแบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 478,634 ราย คิดเป็น 59.15% รวมมูลค่าทุน 0.42 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.15% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 239,868 ราย คิดเป็น 29.65% รวมมูลค่าทุน 0.81 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.12% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 73,968 ราย คิดเป็น 9.14% รวมมูลค่าทุน 2.03 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.36% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16,640 ราย คิดเป็น 2.06% รวมมูลค่าทุน 16.32 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.37%
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
สภาเกษตรฯ ฮึ่ม ปลุกม็อบ ค้านอาหารสัตว์ยื่น 3 เงื่อนไขรัฐ แลกตรึงราคา 2 เดือน
https://www.thansettakij.com/economy/511723
สถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีการปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ในปี 2564 ปรับตัวสูงขึ้น 20-25% และยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าด้านปศุสัตว์ เฉพาะอย่างยิ่งไก่ เป็ด หมูโดยตรง เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุน 60-70% ของการเลี้ยง
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประกอบด้วย 2 ส่วน
1. สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น
2. นโยบายภาครัฐที่ต้องการดูแลราคาพืชอาหารสัตว์ในประเทศ โดยมีการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่บิดเบือนกลไกตลาด
อาทิ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลีของรัฐบาลโดยผู้ประกอบการจะต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน แลกกับสิทธิในการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน การจำกัดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมาตรการด้านภาษี อาทิ ภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ซึ่งถือเป็นอุปสรรคและภาระต้นทุนแก่ธุรกิจอาหารสัตว์ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนเป็นอย่างมาก
ดังนั้นทางสมาคม จึงขอเสนอ 3 แนวทาง เพื่อผ่อนคลายภาระต้นทุนอาหารสัตว์จากมาตรการรัฐ ดังนี้
1. ยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2%
2. ยกเลิกมาตรการการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3:1
3. ให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ได้ตลอดทั้งปี จากปัจจุบันกำหนดช่วงเวลานำเข้าของแต่ละปีช่วงวันที่ 1 ก.พ.-31 ส.ค. และให้ยกเลิกโควตา ภาษี และค่าธรรมเนียม ในปริมาณที่ขาดแคลนในปี 2565
การยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% เป็นข้อเสนอที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมได้เร็วที่สุด และสมาคมยินดีที่จะตรึงราคาอาหารสัตว์ เป็นระยะเวลา 2 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% แล้ว ทั้งนี้แนวทางข้างต้นกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่จะให้ลดราคาอาหารสัตว์ ไม่สามารถลดได้ เนื่องจากแนวโน้มราคาวัตถุดิบในไตรมาสแรกของปี 2565 ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ประมาณ 5-10% (กราฟิกประกอบ) ทั้งนี้สมาคมหวังว่าราคาวัตถุดิบจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นอีกอย่างที่คาดการณ์ไว้
แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองและรำข้าว กล่าวว่า หากพิจารณาสถิติย้อนหลัง ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบนำเข้าจากอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ราคาเป็นไปตามตลาดโลก ต้นทุนสูงในอดีตก็เคยมี ต้นทุนอาหารสัตว์แพงจริง แต่ไม่ใช่เป็นประเด็นหลักที่ทำให้ราคาหมูแพง อย่างไรก็ดีในส่วนของน้ำมันถั่วเหลืองบรรจุขวดที่ขายอยู่ตามตลาดและห้างโมเดิร์นเทรดต่างๆ
ถือเป็นการสร้างสมดุลเวลาน้ำมันพืชชนิดอื่นมีปัญหาราคาสูง เป็นตัวช่วยหนึ่งที่สามารถเสริมเข้าไปในตลาดได้ เช่น ในร้านอาหารต่าง ๆ อย่างไรก็ดีหากมีการปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ก็ยังกระทบผู้บริโภค เพราะเวลานี้ราคาถั่วเหลืองทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก
“น้ำมันถั่วเหลืองในไทยขณะนี้ขวดลิตรละไม่ถึง 60 บาท ส่วนประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย และเวียดนาม ลาว เมียนมา ขวดละ 80-100 บาท ไทยยังถือว่าถูกกว่า”
เช่นเดียวกับ แหล่งข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ประเทศไทยใช้เมล็ดถั่วเหลืองประมาณ 4 ล้านตันต่อปี (สัดส่วน 70% ใช้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อบริโภค) ขณะที่ผลิตได้ในประเทศไม่ถึง 1% แต่ได้ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่นำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองมาผลิตน้ำมัน ผลิตอาหารมนุษย์ หรือผลิตเป็นอาหารสัตว์ จะต้องซื้อถั่วเหลืองในประเทศให้หมดก่อนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
ส่วนที่เหลือเป็นกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นบายโปรดักส์ของอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลืองและบางส่วนจะมีการนำเข้ามาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประเด็นที่กังวลคือ เมื่อขอความร่วมมือให้ซื้อถั่วเหลืองในประเทศ และหากลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองแล้ว อุตสาหกรรมน้ำมันซึ่งเป็นผู้ซื้อถั่วเหลืองหลักจะปฎิเสธการรับซื้อในประเทศ แล้วจะผลักภาระไปที่น้ำมันขวด จะกระทบกับผู้บริโภคในภาพรวม
ด้านนายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า หากทำตามเงื่อนไขของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ด่านแรกจะกระทบคือ ผู้ผลิตน้ำมันถั่วเหลืองโดยตรง เพราะจะทำให้ราคากากถั่วเหลืองในประเทศตกต่ำ ประชาชนอาจต้องบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองราคา 80 บาทต่อขวด
ส่วนการขอนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตลอดทั้งปี ไม่จำกัดช่วงเวลา มองว่าเป็นเกมต่อรอง ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติขอคัดค้านถ้านำเข้ามาจริง เกษตรกรจะลงถนนแน่นอน เพราะวันนี้มีข้าวโพดบดนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้อนุญาต แต่เมื่อนำเข้ามาแล้วกลับไม่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมแป้งข้าวโพด ตามที่ขอ แต่นำเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์โดยตรง ส่งผลกระทบกับเกษตรกร
พท.จี้รัฐ ถามความปลอดภัยทางถนน ‘อนุพงษ์’ เตรียมถอดบทเรียน บังคับใช้กม.ให้มีผลจริง
https://www.matichon.co.th/politics/news_3153325
ส.ส.พท จี้รัฐถามความปลอดภัยทางถนน หลังเกิดเหตุ “หมอกระต่าย” ด้าน”อนุพงษ์”แจง เตรียมถอดบทเรียนการบังคับใช้กม.ให้มีผลจริง -ติดคุกเป็นตัวอย่าง
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 27 มกราคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผูแทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม พิจารณากระทู้ถามสดด้วยวาจา ของนางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) ตั้งกระทู้ถามสดถามพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีอุบัติเหตุตำรวจขับรถบิ๊กไบค์ชนพญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ “หมอกระต่าย” เสียชีวิต ระหว่างข้ามทางม้าลาย บริเวณถนนพญาไท เป็นเรื่องสะเทือนใจสังคม จากสถิติศูนย์วิจัยความปลอดภัยทางถนน พบว่า แต่ละปีมีการสูญเสียจากการข้ามถนน 800-1,000 รายต่อปี 1 ใน 3เป็นพื้นที่กทม.พอเกิดปัญหาใหม่ๆ เจ้าหน้าที่จะทำงานเข้มข้น จากนั้นขาดความจริงจัง อยากถามว่า รัฐบาลมีแนวทางอย่างไรให้คนไทยมีวินัย ปฏิบัติตามกฎจราจรเคร่งครัด และกรมการขนส่งทางบก มีการอนุญาตใบขับขี่ที่รัดกุมพอหรือไม่ โดยเฉพาะรถที่มีประเภทซีซีมาก ที่ต้องเข้มข้นในการให้ใบอนุญาต
ขณะที่พล.อ.อนุพงษ์ ชี้แจงว่า กรณี “หมอกระต่าย” เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ที่ไม่สามารถหาอะไรมาชดเชยได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่ให้ใช้
อภิสิทธิ์ใดๆ จะไม่ยอมให้เกิดความไม่ชอบมาพากล คนทำผิดต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งกลไกเรื่องการใช้รถใช้ถนนและความปลอดภัยทางถนน มีการดำเนินการมานานแล้ว และการที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยทางถนน มี 2 ส่วนคือ 1. คนใช้รถใช้ถนนต้องมีวัฒนธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย และ 2. การบังคับใช้กฎหมาย แม้จะพยายามบังคับใช้กฎหมาย แต่สิ่งที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จสูงสุดคือ คนใช้รถใช้ถนนต้องมีวัฒนธรรม
“เราจะถอดบทเรียนกรณีนี้ให้การบังคับใช้กฎหมายมีผลจริงๆ มีการติดคุกเป็นตัวอย่าง แต่ทั้งหมดทุกคนต้องมีวัฒนธรรมใช้รถใช้ถนน การจับอย่างเดียว ไม่ช่วยแก้ปัญหาได้ ดังนั้น ต้องร่วมกันสร้างจิตสำนึกตั้งแต่เด็กให้ใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้อง ส่วนความเข้มข้นเรื่องการอนุญาตให้ใบขับขี่นั้น รัฐบาลพยายามแก้กฎหมายและอุปสรรค์ต่างๆกันอยู่ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ไม่ใช่แค่ทำข้อสอบได้ จอดชิดฟุตปาทได้ แล้วได้ใบขับขี่” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว