เมื่อโลกกำลังจะขาดแคลนแบตเตอรี่ลีเทียมไอออน (lithium - ion) ประเทศไทยขยับตัวอย่างไรบ้าง?

ผ่านปีใหม่มาเกือบ 1 เดือนแล้วประเทศไทยก้าวเข้าสู่ปีพ.ศ. ใหม่พร้อมกับราคาสินค้าข้าวของหลายๆอย่างที่พุ่งขึ้นสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ของกิน ของใช้ทั่วๆไป ราคาน้ำมัน หรือแม้แต่ของที่เราไม่เห็นราคาพุ่งสูงมาก่อนอย่างเนื้อหมู และก็เดาว่าน่าจะมีอีกหลายอย่างที่ราคาคงจะขยับขึ้นตามมาอย่างแน่นอน ในขณะที่สินค้าหลายๆ อย่างปรับราคาขึ้นสูงขึ้น มีอีกสิ่งหนึ่งที่คนในแวดวงอุตสาหกรรมคาดว่าราคาต้องมีการขยับปรับตัวขึ้นคือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า  
      ส่วนตัวแล้วผมมีความสนใจที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้ามาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ตัดสินใจอะไร ระหว่างนี้ก็รวบรวมข้อมูลรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด หลักๆ ก็รอข้อมูลอยู่ 3 อย่าง คือ 
1.         รอรัฐบาลให้นโยบายสนับสนุนอย่างจริงจัง พูดให้ง่ายขึ้นก็อยากให้ราคาพอๆ กับรถน้ำมัน ไม่ต้องถูกกว่าก็ได้แต่ถ้าราคาแรงไปก็สู้ไม่ไหว
2.         รอข้อมูลจากผู้ใช้หลายๆคนที่ซื้อไปมาพูดคุยว่าการดูแลรักษา (Service maintenance) แพงแค่ไหน
3.         รอดูทิศทางปั้มชาร์จพลังงานไฟฟ้า ในประเทศให้มีจำนวนเพียงพอ 
แต่ระหว่างนี้พอได้ยินว่าราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะปรับราคาขึ้น ผมก็สงสัยว่าเพราะอะไรกัน จากนั้นก็ได้คำตอบว่า สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้ากำลังจะขาดแคลน คือแบตเตอรี่นั่นเอง
 เนื่องจากแบตเตอรี่ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นแบตเตอรี่ที่ได้รับความนิยมมากคือ ‘ลิเธียมไอออน’ (lithium-ion) โดยหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ชนิดนี้ก็คือ ลิเธียม (lithium) 
     และเจ้าแร่ตัวนี้มันเนื้อหอมเอามากๆ จากตัวเลขความต้องการลิเธียมในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมหลายชนิด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ต้องผลิตเพื่อป้อนตลาดให้ทันความต้องการ ส่งผลทำให้ความต้องการลิเธียมเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตามไปด้วย รายงานจาก S&P Global เมื่อเดือนธันวาคม 2021 ชี้ว่า ถ้าความต้องการใช้ลิเธียมยังเพิ่มสูงขึ้นอีกในปี 2022 ย่อมหมายความถึงแนวโน้มภาวะ ‘ของขาด’ เพราะอัตราการใช้งานวัตถุดิบแซงหน้าการผลิต และใช้วัตถุดิบที่เก็บสะสมไว้จนหมดลง
       ในขณะที่ทั่วโลกจับตาสถานการณ์การผลิตแบตเตอรี่อย่างใกล้ชิด ประเทศเราเองก็ตามกระแสด้วยการเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ภายในประเทศ และเป็นโรงงานผลิตแบตเตอรี่ระดับ Giga Factory หรือไม่น้อยกว่า 1,000 Megawatt ที่แรกในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย โดยเป็นโรงงานของ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ที่บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ  EA ร่วมลงทุนกับบริษัท อมิตา เทคโนโลยี อิงก์ (ไต้หวัน) เป็นโรงงานที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 90 ไร่เพื่อเตรียมผลิตแบตเตอรี่ป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะทำให้ประเทศเรายกระดับความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน และสามารถทำให้ประเทศเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะกลายเป็นเจ้าใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ที่กำลังจะขาดแคลนได้ด้วย 
     โรงงานอมิตาเทคโนโลยี (ประเทศไทย) มีกำลังการผลิต สามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ 6 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งในกำลังการผลิตตรงนี้สามารถนำแบตเตอรี่ที่ผลิตได้ไปใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคลได้ถึง 30,000 คัน หรือ เอาไปใช้กับยานพาหนะขนส่งขนาดใหญ่ (พวกรถบัส เรือ พลังงานไฟฟ้า) ได้ถึง 4,000 คัน เลยทีเดียว ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่เป็นของตัวเอง ซึ่งในอนาคตประเทศสามารถพัฒนา และต่อยอดจากเทคโนโลยีที่มีในมือตรงนี้ ไปเป็นจุดเด่นของประเทศเพื่อการแข่งขันกับประเทศอื่นๆในอนาคตได้อีกด้วย 
       ถ้าหากว่าประเทศไทยมีโรงงานแบตที่ทันสมัยและมีความสามารถในการผลิตได้จำนวนมากขนาดนี้ อนาคตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยน่าจะเป็นไปได้สวยงาม สถานีชาร์จก็เพิ่มจะจำนวนมากขึ้นแล้วด้วย ที่เหลือก็เป็นเรื่องของราคาและคุณภาพของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละยี่ห้อ ที่จะผลิตออกมาเพื่อตอบโจทย์คนใช้งานแล้วแหละครับ สำหรับใครมีรถไฟฟ้าที่พอจะแนะนำได้ก็คอมเมนต์บอกได้เลยนะครับ อยากได้ข้อมูลมาไว้พิจารณาเพิ่มเติมจากผู้ที่สนใจด้วยกัน

ขอบคุณที่มา:
·       ราคา ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ทั่วโลกอาจแพงขึ้นตามต้นทุนแบตเตอรี่ที่ส่อพุ่งสูง หากผลิตลิเธียมมาป้อนไม่ทัน (thairath.co.th)
·       The First Gigafactory in ASEAN - AMITA Technology (Thailand) - YouTube
·       แพงอีกหนึ่ง! เผย 'น้ำอัดลม' จ่อปรับราคาขึ้น ชี้มีสัญญาณจากผู้ประกอบการค่ายหนึ่ง  | Khaosod | LINE TODAY
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่