โทนี่ วอนพ่อค้ารายใหญ่ 4-5 เจ้า ที่กักตุนหมูไว้ในห้องเย็น ระบายของมาช่วยก่อน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6841116
โทนี่ วอนพ่อค้ารายใหญ่ 4-5 เจ้า ที่กักตุนหมูในห้องเย็น ระบายของมาช่วยก่อน ในขณะที่รอหมูนำเข้า หรือรอหมูรุ่นใหม่โตขึ้นมา ขอให้คุยกัน
18 ม.ค. 2565 –
โทนี่ วู้ดซัม อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมวงสนทนาใน CareTalk x CareClubHouse หัวข้อ หมูแพง ของแพง ค่าแรงถูก : ตู่บ้งเกินคาด พินาศทั้งประเทศ
โทนี่ กล่าวในช่วงหนึ่งถึงปัญหาหมูแพงว่า วันนี้หมูเป็นโรค แม่หมูตาย ฉะนั้นไม่มีหมูที่จะขุนให้พอตามตลาดบริโภคในเมืองไทย ตอนนี้ในเมืองไทย มี 2 อย่างคือ ระยะสั้นต้องยอมนำเข้าหมูจากต่างประเทศ ระยะยาวคือเร่งเอาแม่พันธุ์หมูมา ให้รายเล็ก รายกลาง มาทำเป็นเรื่องราว ลดต้นทุน ให้เงินอุดหนุน ของเก่าที่ตายไปก็ให้เขาซะ ธุรกิจจะได้เดินต่อไปได้
ปัญหาเฉพาะหน้าอึดอัดคือ การกักตุน พอรู้ว่าหมูราคาดีขึ้น ก็มีการกักตุนโดยระบบห้องเย็น ตนทราบมาว่ามี 4-5 เจ้า ที่มีห้องเย็นเก็บหมูได้ 3-4 แสนกิโล กักเก็บหมูได้นานถึง 6 เดือนขึ้นไป ตรงนี้น่าจะมีการคุยกัน ขอให้ปล่อยของออกมา ในขณะที่เรารอนำเข้า และรอหมูรุ่นใหม่โต ซึ่งจะสรุปได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ห้ามส่งออก ให้ห้องเย็นปล่อยหมูออกมา
2. นำเข้าหมูจากต่างประเทศ
3. เอาแม่หมูมาให้รายเล็กรายย่อย ช่วยเหลือให้เขาพอใช้ ขณะเดียวกันก็ต้องลดต้นทุน เช่นภาษีอะไรที่ไม่จำเป็นก็นำออกไปก่อน
“ผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะนำข้อเสนอตรงนี้ไปจัดการ แทนที่จะนำเงิน 1,400 ล้านบาท ที่กระทรวงพาณิชย์ ไปซื้อไก่แพงมาขายถูก มันไม่ช่วยอะไร ผมว่าเสียดายตังค์เปล่า ๆ”
สินค้าแพง กระทบคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทอ่วม!
https://ch3plus.com/news/category/275059
สินค้าแพง กระทบคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทอ่วม!
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผย จากสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภคทยอยปรับราคาขึ้นในวันนี้ จึงส่งผลให้คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาแพงมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อน หรือก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ
โดยประชาชนต้องการให้ภาครัฐ ออกมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก คือ (1.) ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ราคาอาหารสดประเภทอื่นๆ เช่น อาหารทะเล ของใช้ในชีวิตประจำวัน และราคาพลังงาน (2.) เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ และ(3.) ลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาที่สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ขณะเดียวกันต้องการให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้า หรือ ใช้วิธีลดปริมาณสินค้า (Re) แทนการปรับขึ้นราคาหากจำเป็น และเพิ่มการจัดโปรโมชั่นกิจกรรมลดราคาสินค้าให้ถี่ขึ้น
อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคได้มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเลือกใช้จ่ายสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น รวมถึงหันไปใช้สินค้าทดแทนที่ราคาถูกลง เช่น กลุ่มเนื้อสัตว์ที่ถูกกว่า สินค้ามือสอง หรือ สินค้าแบรนด์รอง เป็นต้น
น้ำแล้ง ข้าวส่อแห้งตาย ชาวนาปากน้ำโพโอด ต้องซื้อน้ำทำนา ไร่ละ 500 บาท
https://www.matichon.co.th/region/news_3138292
น้ำแล้ง ข้าวส่อแห้งตาย ชาวนาปากน้ำโพโอด ต้องซื้อน้ำทำนา ไร่ละ 500 บาท
เมื่อวันที่ 18 มกราคม เกษตรกรในหลายพื้นที่ของตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จ.นครสวรรค์ แจ้งมาว่า ขณะนี้สภาพคลองชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติสภาพน้ำแห้งขอด นาข้าวหลายพันไร่กำลังยืนต้นตายเพราะปลูกไว้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง เมื่อลงพื้นที่ไปก็พบว่าสภาพพื้นดินนาข้าวกำลังแห้งเหี่ยว ดินแตกระแหง ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงข้าวที่หว่านไว้เป็นระยะเวลาหลายเดือนหลังน้ำลดที่ผ่านมา เกษตรกรกำลังติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อผันน้ำในคลองขนมจีนที่ไหลมาจากแม่น้ำปิง ในอำเภอบรรพตพิสัยที่เหลือไม่มากนัก แย่งกันนำมาใส่นาข้าวของตน จะเห็นเครื่องสูบน้ำเรียงรายจำนวนมากริมคลองชลประทาน หลังพื้นที่นาเริ่มขาดแคลนน้ำเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นาย
มังกร ชาวนาหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ บอกว่า ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาน้ำในคลองขนมจีนซึ่งเป็นคลองชลประทานรับน้ำจากแม่น้ำปิง จากอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำเริ่มลดลงเรื่อยๆ จนขณะนี้น้ำเหลือน้อยนิดไม่พอจะสูบมาเลี้ยงข้าวที่หว่านไปช่วงน้ำลดที่ผ่านมาไม่กี่เดือนได้ มีปริมาณน้ำเหลือน้อยไม่เพียงพอและไม่สามารถสูบขึ้นไปใช้ทำนาได้
“ขณะนี้ชาวบ้านต้องช่วยเหลือตัวเองรวมตัวกันเก็บเงินชาวนาที่ต้องการน้ำ เพื่อไปซื้อน้ำจากคนที่เขามีเครื่องปั่นน้ำไฟฟ้าที่ติดตั้งในอำเภอบรรพตพิสัย ให้สูบน้ำด้วยไฟฟ้าใส่ลงคลองชลประทานมาให้ชาวนาในอำเภอเมืองนครสวรรค์ได้สูบน้ำเพื่อเลี้ยงนาข้าว โดยชาวนาที่ต้องการน้ำจะต้องเสียเงินไร่ละ 500 บาท เป็นค่าจ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เมื่อน้ำมาก็ต้องสูบขึ้นมาใส่นาข้าวของตนเอง ซึ่งต้องรับภาระต้นทุนหลายต่อ ทั้งค่าซื้อน้ำ ค่าน้ำมันรถไถนา แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะเสียดายข้าวที่ปลูกไว้ แม้จะเพิ่มต้นทุนมากขึ้นแต่เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้ข้าวรอดตายช่วงหน้าแล้งนี้หากไม่ทำข้าวก็จะยืนต้นตายแล้งในที่สุด”
JJNY : 4in1 โทนี่วอนรายใหญ่ระบายของ│สินค้าแพงรายได้ต่ำกว่า15,000อ่วม!│น้ำแล้งข้าวส่อแห้งตาย│สุรชาติซัดครม.แก้ไม่ตรงจุด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6841116
โทนี่ วอนพ่อค้ารายใหญ่ 4-5 เจ้า ที่กักตุนหมูในห้องเย็น ระบายของมาช่วยก่อน ในขณะที่รอหมูนำเข้า หรือรอหมูรุ่นใหม่โตขึ้นมา ขอให้คุยกัน
18 ม.ค. 2565 – โทนี่ วู้ดซัม อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมวงสนทนาใน CareTalk x CareClubHouse หัวข้อ หมูแพง ของแพง ค่าแรงถูก : ตู่บ้งเกินคาด พินาศทั้งประเทศ
โทนี่ กล่าวในช่วงหนึ่งถึงปัญหาหมูแพงว่า วันนี้หมูเป็นโรค แม่หมูตาย ฉะนั้นไม่มีหมูที่จะขุนให้พอตามตลาดบริโภคในเมืองไทย ตอนนี้ในเมืองไทย มี 2 อย่างคือ ระยะสั้นต้องยอมนำเข้าหมูจากต่างประเทศ ระยะยาวคือเร่งเอาแม่พันธุ์หมูมา ให้รายเล็ก รายกลาง มาทำเป็นเรื่องราว ลดต้นทุน ให้เงินอุดหนุน ของเก่าที่ตายไปก็ให้เขาซะ ธุรกิจจะได้เดินต่อไปได้
ปัญหาเฉพาะหน้าอึดอัดคือ การกักตุน พอรู้ว่าหมูราคาดีขึ้น ก็มีการกักตุนโดยระบบห้องเย็น ตนทราบมาว่ามี 4-5 เจ้า ที่มีห้องเย็นเก็บหมูได้ 3-4 แสนกิโล กักเก็บหมูได้นานถึง 6 เดือนขึ้นไป ตรงนี้น่าจะมีการคุยกัน ขอให้ปล่อยของออกมา ในขณะที่เรารอนำเข้า และรอหมูรุ่นใหม่โต ซึ่งจะสรุปได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. ห้ามส่งออก ให้ห้องเย็นปล่อยหมูออกมา
2. นำเข้าหมูจากต่างประเทศ
3. เอาแม่หมูมาให้รายเล็กรายย่อย ช่วยเหลือให้เขาพอใช้ ขณะเดียวกันก็ต้องลดต้นทุน เช่นภาษีอะไรที่ไม่จำเป็นก็นำออกไปก่อน
“ผมคิดว่ารัฐบาลน่าจะนำข้อเสนอตรงนี้ไปจัดการ แทนที่จะนำเงิน 1,400 ล้านบาท ที่กระทรวงพาณิชย์ ไปซื้อไก่แพงมาขายถูก มันไม่ช่วยอะไร ผมว่าเสียดายตังค์เปล่า ๆ”
สินค้าแพง กระทบคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทอ่วม!
https://ch3plus.com/news/category/275059
สินค้าแพง กระทบคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทอ่วม!
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผย จากสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภคทยอยปรับราคาขึ้นในวันนี้ จึงส่งผลให้คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาแพงมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น ซึ่งราว 36% มองว่า มีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปีก่อน หรือก่อนที่จะมีการปรับขึ้นราคาสินค้าต่างๆ
โดยประชาชนต้องการให้ภาครัฐ ออกมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 อันดับแรก คือ (1.) ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น ราคาอาหารสดประเภทอื่นๆ เช่น อาหารทะเล ของใช้ในชีวิตประจำวัน และราคาพลังงาน (2.) เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ และ(3.) ลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาที่สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ขณะเดียวกันต้องการให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้า หรือ ใช้วิธีลดปริมาณสินค้า (Re) แทนการปรับขึ้นราคาหากจำเป็น และเพิ่มการจัดโปรโมชั่นกิจกรรมลดราคาสินค้าให้ถี่ขึ้น
อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคได้มีการปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยเลือกใช้จ่ายสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น รวมถึงหันไปใช้สินค้าทดแทนที่ราคาถูกลง เช่น กลุ่มเนื้อสัตว์ที่ถูกกว่า สินค้ามือสอง หรือ สินค้าแบรนด์รอง เป็นต้น
น้ำแล้ง ข้าวส่อแห้งตาย ชาวนาปากน้ำโพโอด ต้องซื้อน้ำทำนา ไร่ละ 500 บาท
https://www.matichon.co.th/region/news_3138292
น้ำแล้ง ข้าวส่อแห้งตาย ชาวนาปากน้ำโพโอด ต้องซื้อน้ำทำนา ไร่ละ 500 บาท
เมื่อวันที่ 18 มกราคม เกษตรกรในหลายพื้นที่ของตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จ.นครสวรรค์ แจ้งมาว่า ขณะนี้สภาพคลองชลประทาน แหล่งน้ำธรรมชาติสภาพน้ำแห้งขอด นาข้าวหลายพันไร่กำลังยืนต้นตายเพราะปลูกไว้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง เมื่อลงพื้นที่ไปก็พบว่าสภาพพื้นดินนาข้าวกำลังแห้งเหี่ยว ดินแตกระแหง ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงข้าวที่หว่านไว้เป็นระยะเวลาหลายเดือนหลังน้ำลดที่ผ่านมา เกษตรกรกำลังติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อผันน้ำในคลองขนมจีนที่ไหลมาจากแม่น้ำปิง ในอำเภอบรรพตพิสัยที่เหลือไม่มากนัก แย่งกันนำมาใส่นาข้าวของตน จะเห็นเครื่องสูบน้ำเรียงรายจำนวนมากริมคลองชลประทาน หลังพื้นที่นาเริ่มขาดแคลนน้ำเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
นายมังกร ชาวนาหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ บอกว่า ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาน้ำในคลองขนมจีนซึ่งเป็นคลองชลประทานรับน้ำจากแม่น้ำปิง จากอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำเริ่มลดลงเรื่อยๆ จนขณะนี้น้ำเหลือน้อยนิดไม่พอจะสูบมาเลี้ยงข้าวที่หว่านไปช่วงน้ำลดที่ผ่านมาไม่กี่เดือนได้ มีปริมาณน้ำเหลือน้อยไม่เพียงพอและไม่สามารถสูบขึ้นไปใช้ทำนาได้
“ขณะนี้ชาวบ้านต้องช่วยเหลือตัวเองรวมตัวกันเก็บเงินชาวนาที่ต้องการน้ำ เพื่อไปซื้อน้ำจากคนที่เขามีเครื่องปั่นน้ำไฟฟ้าที่ติดตั้งในอำเภอบรรพตพิสัย ให้สูบน้ำด้วยไฟฟ้าใส่ลงคลองชลประทานมาให้ชาวนาในอำเภอเมืองนครสวรรค์ได้สูบน้ำเพื่อเลี้ยงนาข้าว โดยชาวนาที่ต้องการน้ำจะต้องเสียเงินไร่ละ 500 บาท เป็นค่าจ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เมื่อน้ำมาก็ต้องสูบขึ้นมาใส่นาข้าวของตนเอง ซึ่งต้องรับภาระต้นทุนหลายต่อ ทั้งค่าซื้อน้ำ ค่าน้ำมันรถไถนา แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะเสียดายข้าวที่ปลูกไว้ แม้จะเพิ่มต้นทุนมากขึ้นแต่เป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้ข้าวรอดตายช่วงหน้าแล้งนี้หากไม่ทำข้าวก็จะยืนต้นตายแล้งในที่สุด”