โคราชแล้งหนัก นาข้าวในเขตและนอกเขตชลประทานเริ่มแห้งตาย เตรียมประกาศพื้นที่ประสบภัย
https://www.matichon.co.th/region/news_1602149
โคราชแล้งหนัก นาข้าวในเขตและนอกเขตชลประทานเริ่มแห้งตาย ขณะที่เขื่อนลำแชะ ปล่อยน้ำไปช่วยไม่ถึง หลายตำบลในอำเภอโชคชัยเดือดร้อน
เตรียมประกาศพื้นที่ประสบภัยเพื่อนำงบมาเยียวยาช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ตำบลละลมใหม่พัฒนาและตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งปีนี้แล้งหนักกว่าหลายปีที่ผ่านมา ทำให้นาข้าวทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานเริ่มแห้งตายหลายพื้นที่แล้ว แม้ว่าเขื่อนลำแชะ อำเภอครบุรี จะปล่อยน้ำมาช่วยเหลือ แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด ไม่มีฝนตก และปริมาณน้ำเหลือน้อย ทำให้น้ำที่ส่งมาในคลองชลประทาน ส่งไม่ถึงพื้นที่ตำบลละลมใหม่พัฒนาและตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย ล่าสุด ผู้นำท้องถิ่นได้ประกาศให้เกษตรกรในพื้นที่รีบขึ้นทะเบียนการเพราะปลูกให้เรียบร้อย เพราะกำลังเตรียมจะส่งเอกสารข้อมูลระดับพื้นที่ให้กับทางอำเภอโชคชัย เพื่อเสนอไปยังจังหวัดให้พิจารณาประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้งฝนทิ้งช่วง จะได้นำงบฉุกเฉินมาเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นาย
เรวิน เปรี่ยมกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ ได้ประสานกับนายอภิชา เลิศพชรกมล ส.ส. เขต 9 ของจังหวัดนครราชสีมา และสำนักชลประทานที่ 8 เพื่อติดต่อขอเครื่องสูบน้ำมาแก้ไขปัญหาภัยแล้ง บรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในเขตตำบลท่าอ่างและตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายเขตชลประทานของเขื่อนลำแชะ แม้ว่าทางเขื่อนจะปล่อยน้ำมาให้ตามรอบการแบ่งการใช้ แต่ขณะนี้มวลน้ำที่ปล่อยให้ กลับมาไม่ถึง จึงประสานขอเครื่องสูบน้ำ มาช่วยสูบน้ำในลำน้ำมูลที่ยังพอมีเหลือขึ้นมาใช้ ซึ่งชลประทานนำเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้วกับ ขนาด 8 นิ้ว รวม 2 เครื่องมาช่วย โดยสูบน้ำลำมูลขึ้นมาลงคลองชลประทาน แล้วต่อท่อปล่อยน้ำไปยังนาของเกษตรกร แต่ยังมีปัญหาเรื่องค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องสูบ ซึ่งช่วงแรก อบต.ท่าอ่าง ได้สนับสนุนงบประมาณ จากนั้น ตนและคณะกรรมการหมู่บ้าน จะหารือกันอีกครั้งว่า จะเก็บเงินจากกับเกษตรกรผู้ใช้น้ำที่เดือดร้อน ในอัตราไร่ละ 100 บาท เพื่อมาเป็นค่าน้ำมันที่จะสูบน้ำต่อไป หรือจะหางบประมาณจากที่ใดมาช่วยเหลือ
ซึ่งหากรัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องสูบน้ำ ก็จะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านหลายพื้นที่ ที่กำลังประสบภัยในขณะนี้ได้
JJNY : โคราชแล้งหนักนาข้าวเริ่มแห้งตายเตรียมประกาศพื้นที่ประสบภัยฯ/อำนาจเจริญยังแล้งฝนตกแต่น้ำในอ่าง4แห่งเหลือไม่ถึง10%ฯ
https://www.matichon.co.th/region/news_1602149
โคราชแล้งหนัก นาข้าวในเขตและนอกเขตชลประทานเริ่มแห้งตาย ขณะที่เขื่อนลำแชะ ปล่อยน้ำไปช่วยไม่ถึง หลายตำบลในอำเภอโชคชัยเดือดร้อน
เตรียมประกาศพื้นที่ประสบภัยเพื่อนำงบมาเยียวยาช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ตำบลละลมใหม่พัฒนาและตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ซึ่งปีนี้แล้งหนักกว่าหลายปีที่ผ่านมา ทำให้นาข้าวทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานเริ่มแห้งตายหลายพื้นที่แล้ว แม้ว่าเขื่อนลำแชะ อำเภอครบุรี จะปล่อยน้ำมาช่วยเหลือ แต่ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนจัด ไม่มีฝนตก และปริมาณน้ำเหลือน้อย ทำให้น้ำที่ส่งมาในคลองชลประทาน ส่งไม่ถึงพื้นที่ตำบลละลมใหม่พัฒนาและตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย ล่าสุด ผู้นำท้องถิ่นได้ประกาศให้เกษตรกรในพื้นที่รีบขึ้นทะเบียนการเพราะปลูกให้เรียบร้อย เพราะกำลังเตรียมจะส่งเอกสารข้อมูลระดับพื้นที่ให้กับทางอำเภอโชคชัย เพื่อเสนอไปยังจังหวัดให้พิจารณาประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้งฝนทิ้งช่วง จะได้นำงบฉุกเฉินมาเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบภัย
นายเรวิน เปรี่ยมกระโทก ผู้ใหญ่บ้าน บ้านไร่ หมู่ที่ 1 ต.ท่าอ่าง อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนและผู้นำชุมชนในพื้นที่ ได้ประสานกับนายอภิชา เลิศพชรกมล ส.ส. เขต 9 ของจังหวัดนครราชสีมา และสำนักชลประทานที่ 8 เพื่อติดต่อขอเครื่องสูบน้ำมาแก้ไขปัญหาภัยแล้ง บรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในเขตตำบลท่าอ่างและตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายเขตชลประทานของเขื่อนลำแชะ แม้ว่าทางเขื่อนจะปล่อยน้ำมาให้ตามรอบการแบ่งการใช้ แต่ขณะนี้มวลน้ำที่ปล่อยให้ กลับมาไม่ถึง จึงประสานขอเครื่องสูบน้ำ มาช่วยสูบน้ำในลำน้ำมูลที่ยังพอมีเหลือขึ้นมาใช้ ซึ่งชลประทานนำเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้วกับ ขนาด 8 นิ้ว รวม 2 เครื่องมาช่วย โดยสูบน้ำลำมูลขึ้นมาลงคลองชลประทาน แล้วต่อท่อปล่อยน้ำไปยังนาของเกษตรกร แต่ยังมีปัญหาเรื่องค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องสูบ ซึ่งช่วงแรก อบต.ท่าอ่าง ได้สนับสนุนงบประมาณ จากนั้น ตนและคณะกรรมการหมู่บ้าน จะหารือกันอีกครั้งว่า จะเก็บเงินจากกับเกษตรกรผู้ใช้น้ำที่เดือดร้อน ในอัตราไร่ละ 100 บาท เพื่อมาเป็นค่าน้ำมันที่จะสูบน้ำต่อไป หรือจะหางบประมาณจากที่ใดมาช่วยเหลือ
ซึ่งหากรัฐบาลช่วยสนับสนุนเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องสูบน้ำ ก็จะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านหลายพื้นที่ ที่กำลังประสบภัยในขณะนี้ได้