ชาวนาปิดถนน ประท้วงภัยแล้ง ต้นข้าวใกล้ตาย 2 จังหวัด กว่าแสนไร่
https://www.thairath.co.th/news/local/1618920
ชาวนาเมืองกล้วยไข่และเมืองชาละวันทนเห็นข้าวเหี่ยวใกล้ตายไม่ไหว รวมตัวปิดถนนประท้วงหลังฝนทิ้งช่วงเกือบ 2 เดือน เรียกร้องให้ชลประทานเปิดประตูน้ำใส่นาข้าวกว่า 1 แสนไร่ ส่วนชาวนา จ.กาฬสินธุ์สุดช้ำเครื่องสูบน้ำพังใช้ไม่ได้กระทบนาข้าวกว่า 2,500 ไร่ ขณะที่แม่น้ำโขงใน จ.หนองคาย ลดฮวบต่ำสุดในรอบ 50 ปี ด้านพ่อเมืองบุรีรัมย์หันพึ่งเทวดานำชาวบ้านบวงสรวงขอฝน เช่นเดียวกับที่ จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านแห่นางแมวตามความเชื่อ ผอ.สสนก. เผยวิกฤติ 2 เขื่อนยักษ์มีน้ำไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ชาวนา 2 จังหวัดปิดถนนประท้วงเรียกร้องให้ชลประทานเปิดน้ำเข้านาข้าว หลังฝนทิ้งช่วงต้นข้าวกว่า 1 แสนไร่แห้งใกล้ตาย
โดยเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ก.ค. ชาวนาจาก จ.กำแพงเพชร และ จ.พิจิตร ประมาณ 150 คนไปรวมตัวกันที่ถนนหน้าประตูรับส่งน้ำ โครงการชลประทานวังบัว หมู่ 13 ต.เทพนคร อ.เมืองกำแพงเพชร เรียกร้องให้ชลประทานวังบัวเปิดน้ำไปใช้ในการเกษตร เนื่องจากนาข้าวกว่า 1 แสนไร่กำลังได้รับความเสียหาย กระทั่งกลุ่มชาวบ้านรอให้ผู้รับผิดชอบมา เจรจารับเรื่อง แต่รออยู่นานไม่มีใครมา ทั้งหมดจึงปิดถนนทำให้รถสัญจรไปมาไม่ได้
นาย
วิรุณ ศิริพันธ์ อายุ 37 ปี เป็นประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ตัวแทนชาวบ้าน เผยว่า ขณะนี้ข้าวกำลังยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ จึงขอให้ชลประทานเปิดน้ำให้สัก 1 เดือนเพื่อให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน สาเหตุที่ชลประทานวังบัวปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำปิงช่วงนี้ เนื่องจากกำลังก่อสร้างฝายคลองส่งน้ำตัวใหม่ขยับเข้ามาด้านในของสะพานเพื่อรองรับถนน 4 เลนสายกำแพงเพชร-ท่ามะเขือ ส่วนพื้นที่ที่ต้องใช้น้ำก็ให้ชลประทาน ท่อทองแดงเปิดน้ำส่งมาทางคลองส่งน้ำจาก ต.สระแก้ว มาให้ใช้ แต่มีปัญหาฝนทิ้งนานเกือบ 2 เดือน แล้วทำให้ไม่มีน้ำ ส่วนการสร้างฝายใหม่จะเสร็จตามสัญญาช่วงปลายเดือน พ.ย. จึงต้องการให้เปิด ประตูคลองวังบัวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา เพราะอีก 20 วัน หากน้ำไปไม่ถึงนา ต้นข้าวจะเสียหายหมดแน่นอน
ต่อมา พ.ต.อ.
วรชิต วงศ์จันทร์ ผกก.สภ.เมืองกำแพงเพชร เดินทางมาเจรจากับกลุ่มชาวนา พร้อมประสานผู้เกี่ยวข้องมารับหนังสือร้องเรียน กระทั่งนาย
จักรพันธ์ จารุวัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาวังบัวเดินทางมารับเรื่อง โดยนาย
จักรพันธ์ชี้แจงว่า โครงการนี้เป็นงบประมาณของชลประทานจังหวัดกำแพงเพชร จึงต้องคุยกับชลประทานจังหวัดก่อน รวมถึงต้องคุยกับผู้รับเหมาด้วย เพราะถ้าปล่อยน้ำเข้าที่ก่อสร้างจะเสียหาย
รวมทั้งระยะเวลาของสัญญาก็ต้องแก้ไขใหม่ด้วยโดยการยืดอายุสัญญาออกไป ส่วนการปล่อยน้ำต้องหาวิธีใช้ทางเบี่ยงหรืออาจเปิดประตูปล่อยน้ำทั้งหมด
ต้องพูดคุยรายละเอียดกันก่อน ถ้าคุยกันจบ ก็อาจจะเปิดน้ำได้ในวันสองวันนี้ หลังรับฟังการชี้แจง ชาวบ้านพอใจยอมเปิดถนนและแยกย้ายกลับไป
ที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา นาย
พงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร รอง ผวจ.พะเยา เป็นประธานการประชุม แก้ไขปัญหาฝนแล้ง และการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยาที่เหลือน้ำเพียง 9.45 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น โดยนาย
พงษ์พันธ์กล่าวว่า ปีนี้มีฝนตกค่าเฉลี่ยน้อยกว่าปกติ ทำให้มีแนวโน้มขาดแคลนน้ำ ที่ผ่านมาได้ทำฝนหลวงหลายครั้งแล้ว แต่ความชื้นในอากาศต่ำ มีฝนน้อย จึงให้บริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก และขอให้เกษตรกรชะลอการปลูกพืชไปก่อน ส่วนที่ จ.นครสวรรค์ เจ้าหน้าที่ชลประทานเร่งขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี ที่แห้งขอดในขณะนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำอีก 2 ล้าน ลบ.ม. รองรับน้ำฝนที่จะมาถึง จากเดิมมีความจุ 11.87 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มเป็น 13.87 ล้าน ลบ.ม.
ที่ จ.กาฬสินธุ์ อากาศร้อนและแห้งแล้งทุกพื้นที่ อ่างเก็บน้ำและลำน้ำสายต่างๆลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นาข้าวทยอยแห้งตาย โดยเฉพาะที่บ้านเชียงสา ต.บัวบาน อ.ยางตลาด ขณะนี้นาข้าว กว่า 2,500 ไร่ขาดน้ำ บางแห่งเริ่มยืนต้นตาย ด้านนาง
บุญนำ ภูแสนใบ ชาวนาที่ประสบภัยแล้ง เผยว่า นอกจากฝนไม่ตกลงมานานถึง 2 เดือนแล้ว สาเหตุหนึ่งมาจากเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่สูบน้ำมาจากลำน้ำพานพังเสียหายไม่สามารถใช้งานได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งซ่อมโดยด่วนเพื่อสูบน้ำไปใส่นาข้าว เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น นาย
ณ.เณร วัฒนกูล ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัด มหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้ระบบประปาในพื้นที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาไม่มีฝนตกลงมา ประกอบกับน้ำที่ผันจากแม่น้ำชีมาสำรองผลิตประปาถูกแย่งสูบระหว่างทางเพื่อเลี้ยงต้นข้าวที่ใกล้ตาย เคยอ้อนวอนให้เลิกสูบ แต่ก็ไม่หยุด
จากการคาดการณ์ช่วงก่อนหน้านี้ที่แม่น้ำชีลดลงวันละ 3 ซม. จะมีน้ำดิบทำประปาได้ประมาณ 20 วัน แต่วันนี้มีการสูบน้ำระหว่างทางจนแม่น้ำชีลดฮวบถึงวันละ 15 ซม. ทำให้น้ำประปามหาสารคามวิกฤติอย่างแน่นอน ด้านนาย
สรายุ วงศ์ชาชม หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมและรักษาการหัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ โครงการชลประทานบึงกาฬ รายงานสถานการณ์น้ำว่า ชลประทานบึงกาฬได้ปิดบานประตูระบายน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทั้ง 2 แห่ง คือประตูระบายน้ำห้วยบางบาด ต.ชัยพร อ.เมืองบึงกาฬ จำนวน 3 บาน และประตูระบายน้ำห้วยคาด อ.ปากคาด ปิด 5 บาน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ เนื่องจากฝนทิ้งช่วงมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว ล่าสุดเช้านี้น้ำในแม่น้ำโขงที่บ้านพันลำ ต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ วัดได้ 2.10 เมตร ถือว่าต่ำสุดใกล้วิกฤติแล้ว ส่วนแม่น้ำสงครามที่สถานีบ้านท่ากกแดง อ.เซกา ต่ำกว่าตลิ่ง 8.80 เมตร ลดจากเมื่อวาน 50 ซม.
ส่วนแม่น้ำโขงที่ไหลผ่าน จ.หนองคาย วัดได้ 85 ซม. อยู่ต่ำกว่าตลิ่ง 11.35 เมตร ต่ำสุดในรอบ 50 ปี จนเห็นสันดอนและหาดทรายหลายจุด บางจุดพบแก่งหินซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นบริเวณบ้านหาดทรายทอง ต.หาดคำ อ.เมืองหนองคาย ส่งผลกระทบต่อการสัญจรทางเรือ โดยเฉพาะเรือขนส่งสินค้าไทย-ลาวที่ด่านท่าเรือหายโศก ขณะที่นาวาโท
สุดทวิช เบญจจินดา หัวหน้าสถานีเรือหนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) นำเจ้าหน้าที่ ออกสำรวจจุดสันดอนและแก่งต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปฏิบัติหน้าที่ป้องกันขบวนการค้ายาเสพติด ที่อาศัยสันดอนลำเลียงยาเสพติดข้ามชายแดน ด้านนาย
สมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ว่า เขื่อนอุบลรัตน์ได้ระบายน้ำตามแผนระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-31 ต.ค.62 วันละ 0.50 ล้าน ลบ.ม. เพื่ออุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ยังไม่มีการส่งน้ำเพื่อการเกษตร อย่างไรก็ตามตั้งแต่ พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศแจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาปลูกพืชและการประมงทราบเป็นระยะว่าให้ชะลอการปลูกข้าวและเลี้ยงปลาออกไปก่อน และช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้ทุกอำเภอประมวลและสรุปพื้นที่ตัวเองเพื่อประกาศเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยฝนทิ้งช่วง ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจขณะที่นาย
วิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา ลงพื้นที่ประสบภัยแล้งบริเวณทุ่งนาบ้านหมัน หมู่ 3 ต.ชีวาน อ.พิมาย หลังเจอวิกฤติภัยแล้งหนักสุดในรอบ 10 ปี จากปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้น้ำในเขื่อนพิมายแห้งขอด โดยนาย
วิเชียรกล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจภัยแล้งที่ อ.ประทาย และ อ.พิมาย ได้เห็นความเดือดร้อนอย่างหนักของชาวนา ถ้าฝนยังไม่ตกลงมาภายใน 1 อาทิตย์จะประกาศภัยแล้งในอำเภอต่างๆ เพื่อให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกสำรวจความเสียหายแต่ละรายไปนำส่งเกษตรอำเภอให้การช่วยเหลือต่อไป ที่อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ นายธีรวัฒน์ วุฒิคุณ ผวจ.บุรีรัมย์ นำหัวหน้าส่วนราชการและชาวบ้านในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดและอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาร่วมพิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบุรีรัมย์
พร้อมสวดมนต์ขอพรช่วยดลบันดาลให้ฝนตกลงมาเติมน้ำในอ่างให้เต็ม เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาในเขตเศรษฐกิจของตัวเมืองบุรีรัมย์และใกล้เคียง
ส่วนชาวบ้านหนองโมง ต.ห้วยบง อ.เมืองชัยภูมิ นาย
อนุภาพ นารีรักษ์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโมงร่วมกับชาวบ้านทำพิธีแห่นางแมวขอฝน หลังประสบปัญหาฝนไม่ตกมานาน ทำให้เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยนาย
สงคราม วงศ์ศรีไข อายุ 75 ปี เผยว่าพิธีแห่นางแมวขอฝนเป็นความเชื่อคนอีสานโบราณที่สืบทอดจากปู่ย่าตายาย แต่เนื่องจากในปัจจุบันไม่สามารถนำแมวตัวจริงมาประกอบพิธีได้ เนื่องจากผิดกฎหมายในข้อหาทารุณกรรมสัตว์ จึงปรับเปลี่ยนให้ตามยุคสมัย 4.0 ด้วยการนำตุ๊กตาแมวมาประกอบพิธีแทน ที่สำคัญเป็นการส่งสัญญาณถึงหน่วยงานราชการให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้กับชาวบ้าน และหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือโดยเร่งด่วน เช้าวันเดียวกัน นาย
ประภัตร โพธสุธน ร.อ.
ธรรมนัส พรหมเผ่า และ น.ส.
มนัญญา ไทยเศรษฐ์
รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล จ.ตาก จากนั้นช่วงบ่ายไปดูน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ นายประภัตรเปิดเผยว่า ข้อมูลน้ำในขณะนี้เข้าขั้นวิกฤติและน่าเป็นห่วง ถ้าไม่มีฝนเติมลงมา ข้าวที่ปลูกไปแล้ว 2 เดือนมีความเสี่ยงจะเสียหาย แต่หากสามารถจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบจะทำให้ข้าวรอดตายได้ การระบายน้ำเขื่อนทั้ง 2 แห่ง ต้องเป็นไปในลักษณะหมุนเวียนกันใช้เพื่อให้น้ำลงไปถึงแม่น้ำ 3 สายหลักลุ่มเจ้าพระยาคือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน และคลองมโนรมย์ ต้องสลับกันและซื่อสัตย์ต่อกัน ถ้ารอบเวรกำหนดไว้ 3 วันก็ต้องรอไม่แอบสูบน้ำไปใช้ก่อน
ด้าน ร.อ.
ธรรมนัสกล่าวว่า วันที่ 22 ก.ค.นี้จะหารือกับรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลฝ่ายความมั่นคงเพื่อขอกำลังจากทหารมาช่วยเหลือดูแลการจัดรอบเวรน้ำ ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เนื่องจากภัยแล้งรุนแรง น้ำมีน้อยทำให้เกิดการขาดแคลนในทุกพื้นที่ การจัดรอบเวรเป็นทางรอดให้ทุกฝ่ายได้น้ำอย่างทั่วถึง ขณะที่นาย
วราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ลงพื้นที่ติดตามปัญหาภัยแล้งที่บ้านห้วยม้าลอย ต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี โดยนายวราวุธ กล่าวว่า ภัยแล้งเกิดจากฝนทิ้งช่วง ทำให้หลายจังหวัดภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทส.มีเป้าหมายพัฒนาน้ำบาดาลในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่เป็นพื้นที่หาน้ำยากเป็นพื้นที่เป็นชั้นหินแข็งจำนวน 5 แสนไร่ภายใน 3 ปี ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 180 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกตลอดปี
ด้านนาย
สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับนาย
สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อว. ว่าภัยแล้งรุนแรงมาก ปีนี้ไทยมีฝนน้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือฝนน้อยกว่าค่าปกติถึง 144 และ 150 มิลลิเมตรตามลำดับ ขณะที่ต้นน้ำของเขื่อนสำคัญมีฝนไม่มากพอ ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนน้อยมาก เขื่อนภูมิพลมีน้ำเหลือเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ส่วนเขื่อนสิริกิติ์เหลือเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ส่วนน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำใช้การได้เพียง 1,560 ล้าน ลบ.ม
JJNY : จัดการน้ำดี๊ดี ซี้จุกสูญ ชาวนาปิดถนนประท้วง ต้นข้าวใกล้ตายกว่าแสนไร่ฯ/'เลย'แล้งสุดในรอบ30ปี เกษตรกรเดือดร้อนหนักฯ
https://www.thairath.co.th/news/local/1618920
ชาวนาเมืองกล้วยไข่และเมืองชาละวันทนเห็นข้าวเหี่ยวใกล้ตายไม่ไหว รวมตัวปิดถนนประท้วงหลังฝนทิ้งช่วงเกือบ 2 เดือน เรียกร้องให้ชลประทานเปิดประตูน้ำใส่นาข้าวกว่า 1 แสนไร่ ส่วนชาวนา จ.กาฬสินธุ์สุดช้ำเครื่องสูบน้ำพังใช้ไม่ได้กระทบนาข้าวกว่า 2,500 ไร่ ขณะที่แม่น้ำโขงใน จ.หนองคาย ลดฮวบต่ำสุดในรอบ 50 ปี ด้านพ่อเมืองบุรีรัมย์หันพึ่งเทวดานำชาวบ้านบวงสรวงขอฝน เช่นเดียวกับที่ จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านแห่นางแมวตามความเชื่อ ผอ.สสนก. เผยวิกฤติ 2 เขื่อนยักษ์มีน้ำไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ชาวนา 2 จังหวัดปิดถนนประท้วงเรียกร้องให้ชลประทานเปิดน้ำเข้านาข้าว หลังฝนทิ้งช่วงต้นข้าวกว่า 1 แสนไร่แห้งใกล้ตาย
โดยเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 19 ก.ค. ชาวนาจาก จ.กำแพงเพชร และ จ.พิจิตร ประมาณ 150 คนไปรวมตัวกันที่ถนนหน้าประตูรับส่งน้ำ โครงการชลประทานวังบัว หมู่ 13 ต.เทพนคร อ.เมืองกำแพงเพชร เรียกร้องให้ชลประทานวังบัวเปิดน้ำไปใช้ในการเกษตร เนื่องจากนาข้าวกว่า 1 แสนไร่กำลังได้รับความเสียหาย กระทั่งกลุ่มชาวบ้านรอให้ผู้รับผิดชอบมา เจรจารับเรื่อง แต่รออยู่นานไม่มีใครมา ทั้งหมดจึงปิดถนนทำให้รถสัญจรไปมาไม่ได้
นายวิรุณ ศิริพันธ์ อายุ 37 ปี เป็นประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ตัวแทนชาวบ้าน เผยว่า ขณะนี้ข้าวกำลังยืนต้นตายเพราะขาดน้ำ จึงขอให้ชลประทานเปิดน้ำให้สัก 1 เดือนเพื่อให้ผ่านช่วงนี้ไปก่อน สาเหตุที่ชลประทานวังบัวปิดประตูส่งน้ำจากแม่น้ำปิงช่วงนี้ เนื่องจากกำลังก่อสร้างฝายคลองส่งน้ำตัวใหม่ขยับเข้ามาด้านในของสะพานเพื่อรองรับถนน 4 เลนสายกำแพงเพชร-ท่ามะเขือ ส่วนพื้นที่ที่ต้องใช้น้ำก็ให้ชลประทาน ท่อทองแดงเปิดน้ำส่งมาทางคลองส่งน้ำจาก ต.สระแก้ว มาให้ใช้ แต่มีปัญหาฝนทิ้งนานเกือบ 2 เดือน แล้วทำให้ไม่มีน้ำ ส่วนการสร้างฝายใหม่จะเสร็จตามสัญญาช่วงปลายเดือน พ.ย. จึงต้องการให้เปิด ประตูคลองวังบัวเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนา เพราะอีก 20 วัน หากน้ำไปไม่ถึงนา ต้นข้าวจะเสียหายหมดแน่นอน
ต่อมา พ.ต.อ.วรชิต วงศ์จันทร์ ผกก.สภ.เมืองกำแพงเพชร เดินทางมาเจรจากับกลุ่มชาวนา พร้อมประสานผู้เกี่ยวข้องมารับหนังสือร้องเรียน กระทั่งนายจักรพันธ์ จารุวัฒน์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาวังบัวเดินทางมารับเรื่อง โดยนายจักรพันธ์ชี้แจงว่า โครงการนี้เป็นงบประมาณของชลประทานจังหวัดกำแพงเพชร จึงต้องคุยกับชลประทานจังหวัดก่อน รวมถึงต้องคุยกับผู้รับเหมาด้วย เพราะถ้าปล่อยน้ำเข้าที่ก่อสร้างจะเสียหาย
รวมทั้งระยะเวลาของสัญญาก็ต้องแก้ไขใหม่ด้วยโดยการยืดอายุสัญญาออกไป ส่วนการปล่อยน้ำต้องหาวิธีใช้ทางเบี่ยงหรืออาจเปิดประตูปล่อยน้ำทั้งหมด
ต้องพูดคุยรายละเอียดกันก่อน ถ้าคุยกันจบ ก็อาจจะเปิดน้ำได้ในวันสองวันนี้ หลังรับฟังการชี้แจง ชาวบ้านพอใจยอมเปิดถนนและแยกย้ายกลับไป
ที่ศาลากลางจังหวัดพะเยา นายพงษ์พันธ์ วิเชียรสมุทร รอง ผวจ.พะเยา เป็นประธานการประชุม แก้ไขปัญหาฝนแล้ง และการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยาที่เหลือน้ำเพียง 9.45 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น โดยนายพงษ์พันธ์กล่าวว่า ปีนี้มีฝนตกค่าเฉลี่ยน้อยกว่าปกติ ทำให้มีแนวโน้มขาดแคลนน้ำ ที่ผ่านมาได้ทำฝนหลวงหลายครั้งแล้ว แต่ความชื้นในอากาศต่ำ มีฝนน้อย จึงให้บริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก และขอให้เกษตรกรชะลอการปลูกพืชไปก่อน ส่วนที่ จ.นครสวรรค์ เจ้าหน้าที่ชลประทานเร่งขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี ที่แห้งขอดในขณะนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำอีก 2 ล้าน ลบ.ม. รองรับน้ำฝนที่จะมาถึง จากเดิมมีความจุ 11.87 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มเป็น 13.87 ล้าน ลบ.ม.
ที่ จ.กาฬสินธุ์ อากาศร้อนและแห้งแล้งทุกพื้นที่ อ่างเก็บน้ำและลำน้ำสายต่างๆลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นาข้าวทยอยแห้งตาย โดยเฉพาะที่บ้านเชียงสา ต.บัวบาน อ.ยางตลาด ขณะนี้นาข้าว กว่า 2,500 ไร่ขาดน้ำ บางแห่งเริ่มยืนต้นตาย ด้านนางบุญนำ ภูแสนใบ ชาวนาที่ประสบภัยแล้ง เผยว่า นอกจากฝนไม่ตกลงมานานถึง 2 เดือนแล้ว สาเหตุหนึ่งมาจากเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่สูบน้ำมาจากลำน้ำพานพังเสียหายไม่สามารถใช้งานได้ จึงอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งซ่อมโดยด่วนเพื่อสูบน้ำไปใส่นาข้าว เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น นายณ.เณร วัฒนกูล ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัด มหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้ระบบประปาในพื้นที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาไม่มีฝนตกลงมา ประกอบกับน้ำที่ผันจากแม่น้ำชีมาสำรองผลิตประปาถูกแย่งสูบระหว่างทางเพื่อเลี้ยงต้นข้าวที่ใกล้ตาย เคยอ้อนวอนให้เลิกสูบ แต่ก็ไม่หยุด
จากการคาดการณ์ช่วงก่อนหน้านี้ที่แม่น้ำชีลดลงวันละ 3 ซม. จะมีน้ำดิบทำประปาได้ประมาณ 20 วัน แต่วันนี้มีการสูบน้ำระหว่างทางจนแม่น้ำชีลดฮวบถึงวันละ 15 ซม. ทำให้น้ำประปามหาสารคามวิกฤติอย่างแน่นอน ด้านนายสรายุ วงศ์ชาชม หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมและรักษาการหัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ โครงการชลประทานบึงกาฬ รายงานสถานการณ์น้ำว่า ชลประทานบึงกาฬได้ปิดบานประตูระบายน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทั้ง 2 แห่ง คือประตูระบายน้ำห้วยบางบาด ต.ชัยพร อ.เมืองบึงกาฬ จำนวน 3 บาน และประตูระบายน้ำห้วยคาด อ.ปากคาด ปิด 5 บาน เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ เนื่องจากฝนทิ้งช่วงมากว่า 2 สัปดาห์แล้ว ล่าสุดเช้านี้น้ำในแม่น้ำโขงที่บ้านพันลำ ต.วิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ วัดได้ 2.10 เมตร ถือว่าต่ำสุดใกล้วิกฤติแล้ว ส่วนแม่น้ำสงครามที่สถานีบ้านท่ากกแดง อ.เซกา ต่ำกว่าตลิ่ง 8.80 เมตร ลดจากเมื่อวาน 50 ซม.
ส่วนแม่น้ำโขงที่ไหลผ่าน จ.หนองคาย วัดได้ 85 ซม. อยู่ต่ำกว่าตลิ่ง 11.35 เมตร ต่ำสุดในรอบ 50 ปี จนเห็นสันดอนและหาดทรายหลายจุด บางจุดพบแก่งหินซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นบริเวณบ้านหาดทรายทอง ต.หาดคำ อ.เมืองหนองคาย ส่งผลกระทบต่อการสัญจรทางเรือ โดยเฉพาะเรือขนส่งสินค้าไทย-ลาวที่ด่านท่าเรือหายโศก ขณะที่นาวาโทสุดทวิช เบญจจินดา หัวหน้าสถานีเรือหนองคาย หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) นำเจ้าหน้าที่ ออกสำรวจจุดสันดอนและแก่งต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อวางแผนปฏิบัติหน้าที่ป้องกันขบวนการค้ายาเสพติด ที่อาศัยสันดอนลำเลียงยาเสพติดข้ามชายแดน ด้านนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ว่า เขื่อนอุบลรัตน์ได้ระบายน้ำตามแผนระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-31 ต.ค.62 วันละ 0.50 ล้าน ลบ.ม. เพื่ออุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ยังไม่มีการส่งน้ำเพื่อการเกษตร อย่างไรก็ตามตั้งแต่ พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศแจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำนาปลูกพืชและการประมงทราบเป็นระยะว่าให้ชะลอการปลูกข้าวและเลี้ยงปลาออกไปก่อน และช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้ทุกอำเภอประมวลและสรุปพื้นที่ตัวเองเพื่อประกาศเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยฝนทิ้งช่วง ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจขณะที่นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา ลงพื้นที่ประสบภัยแล้งบริเวณทุ่งนาบ้านหมัน หมู่ 3 ต.ชีวาน อ.พิมาย หลังเจอวิกฤติภัยแล้งหนักสุดในรอบ 10 ปี จากปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้น้ำในเขื่อนพิมายแห้งขอด โดยนายวิเชียรกล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจภัยแล้งที่ อ.ประทาย และ อ.พิมาย ได้เห็นความเดือดร้อนอย่างหนักของชาวนา ถ้าฝนยังไม่ตกลงมาภายใน 1 อาทิตย์จะประกาศภัยแล้งในอำเภอต่างๆ เพื่อให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกสำรวจความเสียหายแต่ละรายไปนำส่งเกษตรอำเภอให้การช่วยเหลือต่อไป ที่อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ นายธีรวัฒน์ วุฒิคุณ ผวจ.บุรีรัมย์ นำหัวหน้าส่วนราชการและชาวบ้านในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดและอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาร่วมพิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบุรีรัมย์
พร้อมสวดมนต์ขอพรช่วยดลบันดาลให้ฝนตกลงมาเติมน้ำในอ่างให้เต็ม เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคและเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาในเขตเศรษฐกิจของตัวเมืองบุรีรัมย์และใกล้เคียง
ส่วนชาวบ้านหนองโมง ต.ห้วยบง อ.เมืองชัยภูมิ นายอนุภาพ นารีรักษ์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโมงร่วมกับชาวบ้านทำพิธีแห่นางแมวขอฝน หลังประสบปัญหาฝนไม่ตกมานาน ทำให้เกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง โดยนายสงคราม วงศ์ศรีไข อายุ 75 ปี เผยว่าพิธีแห่นางแมวขอฝนเป็นความเชื่อคนอีสานโบราณที่สืบทอดจากปู่ย่าตายาย แต่เนื่องจากในปัจจุบันไม่สามารถนำแมวตัวจริงมาประกอบพิธีได้ เนื่องจากผิดกฎหมายในข้อหาทารุณกรรมสัตว์ จึงปรับเปลี่ยนให้ตามยุคสมัย 4.0 ด้วยการนำตุ๊กตาแมวมาประกอบพิธีแทน ที่สำคัญเป็นการส่งสัญญาณถึงหน่วยงานราชการให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้กับชาวบ้าน และหวังว่าจะได้รับการช่วยเหลือโดยเร่งด่วน เช้าวันเดียวกัน นายประภัตร โพธสุธน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า และ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์
รมช.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล จ.ตาก จากนั้นช่วงบ่ายไปดูน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ นายประภัตรเปิดเผยว่า ข้อมูลน้ำในขณะนี้เข้าขั้นวิกฤติและน่าเป็นห่วง ถ้าไม่มีฝนเติมลงมา ข้าวที่ปลูกไปแล้ว 2 เดือนมีความเสี่ยงจะเสียหาย แต่หากสามารถจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบจะทำให้ข้าวรอดตายได้ การระบายน้ำเขื่อนทั้ง 2 แห่ง ต้องเป็นไปในลักษณะหมุนเวียนกันใช้เพื่อให้น้ำลงไปถึงแม่น้ำ 3 สายหลักลุ่มเจ้าพระยาคือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน และคลองมโนรมย์ ต้องสลับกันและซื่อสัตย์ต่อกัน ถ้ารอบเวรกำหนดไว้ 3 วันก็ต้องรอไม่แอบสูบน้ำไปใช้ก่อน
ด้าน ร.อ.ธรรมนัสกล่าวว่า วันที่ 22 ก.ค.นี้จะหารือกับรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลฝ่ายความมั่นคงเพื่อขอกำลังจากทหารมาช่วยเหลือดูแลการจัดรอบเวรน้ำ ทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เนื่องจากภัยแล้งรุนแรง น้ำมีน้อยทำให้เกิดการขาดแคลนในทุกพื้นที่ การจัดรอบเวรเป็นทางรอดให้ทุกฝ่ายได้น้ำอย่างทั่วถึง ขณะที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ลงพื้นที่ติดตามปัญหาภัยแล้งที่บ้านห้วยม้าลอย ต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี โดยนายวราวุธ กล่าวว่า ภัยแล้งเกิดจากฝนทิ้งช่วง ทำให้หลายจังหวัดภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ทส.มีเป้าหมายพัฒนาน้ำบาดาลในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่เป็นพื้นที่หาน้ำยากเป็นพื้นที่เป็นชั้นหินแข็งจำนวน 5 แสนไร่ภายใน 3 ปี ทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 180 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกตลอดปี
ด้านนายสุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.อว. ว่าภัยแล้งรุนแรงมาก ปีนี้ไทยมีฝนน้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือฝนน้อยกว่าค่าปกติถึง 144 และ 150 มิลลิเมตรตามลำดับ ขณะที่ต้นน้ำของเขื่อนสำคัญมีฝนไม่มากพอ ทำให้น้ำไหลลงเขื่อนน้อยมาก เขื่อนภูมิพลมีน้ำเหลือเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ส่วนเขื่อนสิริกิติ์เหลือเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ส่วนน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำใช้การได้เพียง 1,560 ล้าน ลบ.ม