พ่อค้า-แม่ค้าโวย! ‘ของสด-ของแห้ง’ ขึ้นยกแผงกระทบรายได้ 40% ผวาปาล์มขวด-เนื้อวัวพุ่งต่อ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3133697
พ่อค้า-แม่ค้าโวย! ‘ของสด-ของแห้ง’ ขึ้นยกแผงกระทบรายได้ 40% ผวาปาล์มขวด-เนื้อวัวพุ่งต่อ
เมื่อวันที่ 15 มกราคม ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ราคาของแห้งของสด ภายในตลาดสด ย่านสะพานใหม่ พบว่าได้รับการยืนยันจากเกือบทุกร้านค้าว่ามีการปรับราคาขึ้นเกือบทุกรายการ ไม่เฉพาะหมู ไก่ ไข่ ที่ราคาแพงขึ้นแล้ว โดยพ่อค้าแม่ค้าบ่นเรื่องยอดขายไม่ค่อยดี หลังจากราคาสินค้าสูงขึ้นทำให้คนมาซื้อสินค้าต่างๆ ลดลง
• ราคาขยับขึ้นแทบทุกรายการ
นาย
บัญชา คำกิ่ง เจ้าของร้านบุญชูบัญชา จำหน่ายอาหารแห้ง กล่าวว่า ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา สินค้าเกือบทุกชนิดปรับราคาขึ้น อาทิ น้ำมันพืชปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นขวด (ลิตร) ละ 5 บาท จากราคา 55 บาท เป็น 60 บาท น้ำมันบัว (น้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันปาล์ม) บรรจุ (1 ลิตร) ถุงละ 70-75 บาท เป็น 80 บาท ข้าวสารเหนียว จาก 25 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เป็น 30 บาท
ส่วนกระเพาะปลาแห้งปรับขึ้นเท่าตัวจาก 450 บาท/กก. เป็น 980 บาท แป้งทอดอเนกประสงค์ถุงละ 35 บาท เป็น 38 บาท เส้นหมี่ถุงละ 27 บาท เป็น 30 บาท กะทิกล่องขึ้น 5 บาท สารกันบูดจาก 100 บาท/กก. เป็น 150-175 บาท/กก. ผงชูรสขึ้น 20 บาท จาก 75 บาท/กก. เป็น 95 บาท/กก. หากเป็นถุง (500 กรัม) จาก 40 บาท เป็น 45 บาท เป็นต้น
• พ่อค้าโวยรายได้วูบ 40%
“หลังปีใหม่ยอดขายตกลง 40% เพราะลูกค้าไม่ค่อยมาเดิน เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและการระบาดโควิดระลอกใหม่ ลูกค้าบางรายขอต่อราคา ใช้เวลาเลือกและตัดสินใจนานกว่าปกติ สินค้าใดลดได้ เราก็ลดให้เพื่อจูงใจการซื้อ” นาย
บัญชากล่าว
• น้ำมันปาล์มแตะ 60 บาท
นาง
สม เจ้าของร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไป ระบุว่า หลายสินค้าต้องปรับราคาขึ้น จากต้นทุนราคาขายส่งสูงขึ้น โดยเฉพาะตอนนี้ที่มีราคาสูงมาก คือ น้ำมันปาล์มขวดละ 52 บาท ทยอยขึ้นถึง 60 บาท น้ำมะนาวขวดละ 20 บาท เป็น 25 บาท พริกแห้งขึ้นอีก 10-20 บาท/กก. ทยอยปรับจากเดิม 130 บาท/กก. เป็น 150 บาท/กก. กระเทียมปรับขึ้น 3-5 บาท/กก. จาก 75 บาท/กก. เป็น 78 บาท/กก. ซอสปรุงรสจากขวดละ 45 บาท เป็น 48 บาท ผงชูรสจาก 60 บาท/กก. เป็น 80 บาท/กก. กลุ่มธัญพืชปรับขึ้นทุกตัวตั้งแต่ก่อนปีใหม่ตามหลังเนื้อหมู เช่น ถั่วลิสงดิบและแปรรูปจาก 75 บาท/กก. เป็น 80 บาท/กก. บางสินค้าราคาเริ่มลดลง อาทิ หอมแดง จาก 98 บาท/กก. เหลือ 58 บาท/กก.
เจ้าของร้านป้าเกตุกล่าวเสริมว่า สินค้าที่ร้านจำหน่ายต้องปรับราคาขึ้นเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มขวด 55 บาท เป็น 60 บาท น้ำมันบัวถุงละ 50 บาท เป็น 73 บาท แป้งทอดจากถุงละ 30 บาท เป็น 38 บาท ข้าวสารเหนียวจาก 27 บาท/กก. เป็น 30 บาท/กก. เป็นต้น ส่วนที่ราคาทรงตัว อาทิ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย น้ำมันถั่วเหลืองขวด (ลิตร) ละ 55 บาท แม้ราคาต้นทุนถั่วเหลืองปรับขึ้น 20 บาทแล้ว
• เนื้อสัตว์ขยับต่อเนื่องรับตรุษจีน
นาง
รำพึง สนธิเพชร แม่ค้าขายไก่ กล่าวว่า ราคาไก่โดยเฉลี่ยขึ้นมา 10 บาท/กก. เช่น เนื้ออกไก่ จาก 75 บาท/กก. เป็น 85 บาท/กก. สะโพก 65-70 บาท/กก. คาดว่าตรุษจีนราคาจะปรับขึ้นอีก ส่วนที่คนบอกว่าหมูแพงจะหันมากินไก่นั้น ยังไม่มีผลต่อยอดขาย เพราะยังขายไม่ดีเหมือนเดิม หากมีคนละครึ่งเฟส 4 อาจจะทำให้คึกคักขึ้น
นาง
กาญนา ลายน้ำเงิน แม่ค้าหมู กล่าวว่า หลังหมูราคาแพงทำให้ยอดขายตกไปถึง 70% จากวันละเป็นแสนบาทเหลือวันละ 6-7 หมื่นบาท ตอนนี้ที่ร้านพยายามไม่ปรับราคาขึ้นมาก ถ้าปรับมากก็ขายไม่ได้ สำหรับราคาขายตอนนี้ เช่น เนื้อแดงอย่างดี อยู่ที่ 200 บาท/กก. สามชั้น 240 บาท/กก. สันคอ 240 บาท/กก. ซี่โครง 220 บาท/กก. ไส้ 160 บาท/กก. ขาหมู 115 บาท/กก. ตับ 140 บาท/กก. หมูบด 160 บาท/กก.
• คาดเนื้อวัวทะลุ 300 บาท/โล
แม่ค้าร้านขายเนื้อวัวกล่าวว่า ราคาปรับขึ้นแล้ว 10 บาท/กก. มาสักระยะหนึ่งแล้ว ตอนนี้สันในอยู่ที่ 300 -350บาท/กก. เนื้อแดง/เนื้อโคขุน 250 บาท/กก. เนื้อดาวกระจายมันแทรก 300 บาท/กก. สะโพก 260 บาท/กก. เซอร์ลอยน์ 260 บาท/กก. เนื้อแดดเดียวเส้น 200 บาท/กก. แดดเดียวแผ่น 240 บาท/กก. เป็นต้น มีแนวโน้มที่เนื้อแดงราคาจะขยับไปถึง 300 บาทต่อกิโลกรัม
แม่ค้าขายไข่ไก่กล่าวว่า ปัจจุบันราคาไข่ไก่ปรับขึ้น 6 บาทต่อแผง เช่น เบอร์ 3 อยู่ที่ 105 บาทต่อแผง ซื้อ 10 ฟองอยู่ที่ 36 บาท ส่วนไข่เป็ดยังราคาเดิม ใบใหญ่ 138 บาทต่อแผง ใบเล็ก 125 บาทต่อแผง ซื้อ 10 ฟอง ใบใหญ่อยู่ที่ 48 บาท ใบเล็ก 43 บาท
• หมูสวรรค์-กุนเชียงขึ้น 50 บาท
แม่ค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์หมูกล่าวว่า หลังปีใหม่ที่ผ่านมา ได้ปรับราคาหมูสวรรค์และหมูฝอยจาก 450 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 500 บาท/กก. ส่วนเนื้อสวรรค์จาก 650 บาท/กก. เป็น 700 บาท/กก. เนื่องจากหมูและเนื้อราคาแพงขึ้น หลังปรับราคาขึ้นลูกค้าหายไปพอสมควร หวังว่ามีคนละครึ่งเฟส 4 จะทำให้คึกคักขึ้น ขณะที่ราคาขายกุนเชียงได้ปรับขึ้นแล้ว 2 ครั้ง จากถุงบรรจุครึ่งกิโลกรัม จาก 105 บาท เป็น 130 บาท ถุงบรรจุ 1 กิโลกรัม จาก 195 บาท เป็น 245 บาท ส่วนแหนมสดแท่งจาก 26-28 บาท เป็น 30-31 บาท
• โจ๊ก-กระเพาะปลาขอขึ้น 5 บาท
ขณะเดียวกันร้านอาหารภายในตลาดสดส่วนใหญ่ระบุว่า ได้แจ้งลูกค้าขอปรับเพิ่มราคาอีก 5-10 บาทต่อเมนู และพบว่าหลายร้านเปลี่ยนป้ายราคาแล้ว อาทิ ร้านกระเพาะปลาขึ้น 5 บาท ธรรมดาจาก 40 บาท เป็น 45 บาท และพิเศษ 50 บาท ข้าวหมูกรอบ-หมูแดง เป็น 50 บาท ข้าวหน้าเป็ด 50 บาท ข้าวหน้าเป็ดบวกหมูกรอบ 60 บาท ข้าวมันไก่ 40 บาท
ส่วนร้านโจ๊กดังย่านบางเขน ขอปรับราคาขึ้น 5 บาท จากโจ๊กหมูธรรมดา 30 บาท เป็น 35 บาท หากเพิ่มไข่ เป็น 40 บาท หากเพิ่มไข่ 2 ฟอง ราคา 45 บาท เนื่องจากต้นทุนราคาหมูและไข่ไก่สูงขึ้นมาก
ไร้โควตาภาษี 0%
https://www.prachachat.net/economy/news-841976
“ข้าวนุ่มกัมพูชา” ผงาดคว้าสิทธิส่งออกอียู เสรีไร้โควตาภาษี หวั่นส่งออกข้าวไทยเดี้ยง เร่งแก้เกมดึงตลาดสหรัฐ ฮ่องกง จีน ด้านสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแนะปรับรูปแบบขนส่งไม่ต้องรอค่าระวางเรือ คาดปัจจัยเสี่ยงตู้คอนเทนเนอร์ยังขาดยาวถึงไตรมาส 2
นาย
สุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด หรือข้าวตราฉัตรกล่าวว่า การแข่งขันส่งออกข้าวปี 2565 มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น เพราะขณะนี้กัมพูชาจะได้รับการผ่อนผันให้ส่งออกข้าวขาวพื้นนุ่มไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU)
โดยไม่มีภาษี และไม่จำกัดจำนวน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ส่งออกข้าวไทยเสียเปรียบด้านการแข่งขันมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาผู้ส่งออกไทยจะมีโควตาส่งออกข้าวไปตลาดอียูเป็นปกติปีละ 26,000 ตัน
ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนควรร่วมกันเร่งรัดหาทางดึงส่วนแบ่งตลาดสหรัฐ ฮ่องกง จีนกลับมาให้มากขึ้น เพื่อชดเชยไม่ให้เสียส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในตลาดโลกไป
ขณะเดียวกัน ไทยต้องการพัฒนาพันธุ์ข้าวซึ่งนับเป็นจุดอ่อนของไทย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัดปรับปรุงอย่างมาก หากมองแต่ละชนิด อาทิ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวไวแสง สามารถปลูกได้ครั้งเดียว ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 340 กิโลกรัม (กก.) ต่อไร่ ต้นทุนต่อไร่สูง นั่นทำให้ราคาส่งออกเฉลี่ยสูง 1,200 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็นเหตุที่การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยจึงนิ่งอยู่ปีละ 1.4 ล้านตัน
เทียบกับข้าวขาวพื้นนุ่มของเวียดนามที่เริ่มพัฒนาคุณภาพ มีกลิ่นหอมคล้ายหอมมะลิของไทย ราคาส่งออกเฉลี่ยเพียง 550 เหรียญสหรัฐต่อตัน ดังนั้น ภาพการแข่งขันตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เวียดนามสามารถขยายการส่งออกกลุ่มข้าวนุ่มได้มากขึ้น
สามารถแย่งตลาดส่งออกในกลุ่มแอฟริกาตะวันตก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไปได้มากขึ้น และยิ่งที่มีการผ่อนผันให้กัมพูชาส่งเข้าตลาดอียูได้ยิ่งทำให้ไทยต้องเพิ่มความระมัดระวังที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาด
โดยเฉพาะตลาดข้าวขาว เช่น แอฟริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เริ่มหันมานิยมข้าวนุ่มมากขึ้น ราคาใกล้เคียงข้าวขาวไทย แต่ความหอมคล้ายกับข้าวหอมมะลิไทย
แนวทางปรับตัวเพื่อรับมือการแข่งขัน ไทยควรเร่งพัฒนาข้าวนุ่มราคาไม่สูงมาก ส่งเสริมพันธุ์หอมพวงที่มีผลผลิตสูงมาก แต่ยังไม่ได้รับการรับรองให้สามารถได้รับการรับรองและออกมาทำตลาดเพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดข้าวนุ่มกลับมา 1.6-2 ล้านตัน จากเวียดนามที่จากเดิมไทยเคยเป็นผู้ครองตลาด
ขณะที่ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไทยต้องให้ความสำคัญอย่างมากหลังจากนี้ คือ นโยบายเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าชเรือนกระจก การผลิตที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไทยมีการทำนา
โดยวิธีการปล่อยน้ำขัง นั้นอาจมีการปล่อยก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศสูงมาก ซึ่งรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า ถ้าไทยไม่ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายก๊าซเรือนกระจกของอียูทั้งหมดใน 3-5 ปีนี้การส่งออกจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกันสายการเดินเรือที่เริ่มจ่ายเนื่องจากปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วยังมีก๊าซมีเทนที่รุนแรงกว่า คาดว่าจะส่งผลให้ไทยต้องจ่ายในส่วนของข้าวมหาศาลประมาณตันละ 200-300 เหรียญสหรัฐ ทั้งหมดนี้หากผู้นำเข้าตั้งเงื่อนไขและเกิดการเปรียบเทียบกับการทำนาของประเทศอื่นจะเป็นข้อจำกัด จึงเป็นสิ่งที่ต้องระวังและควรติดตามอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ไทยจะจัดการควบรวมแปลงใหญ่ ต้องปรับโครงสร้าง เพาะปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรับระบบชลประทานให้มีทางเข้า-ออกของน้ำที่ชัดเจน เพื่อทำนาเปียกสลับแห้ง ลดการปล่อยก๊าซในบางช่วง ป้องกันผลกระทบกับการส่งออกของไทยในทุกสินค้าอีกด้วย
ด้าน นาย
ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การส่งออกของไทยยังคงเผชิญปัญหาค่าระวางเรือซึ่งถือเป็นปัญหาระดับโลกไปแล้วไม่ใช่แค่ไทย และประเมินกรณีแย่ที่สุดน่าจะเผชิญลักษณะนี้ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม
ขณะที่แนวโน้มส่งออกปีนี้ (2565) คาดว่าจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 5% ถ้าปัญหาระวางเรือสามารถแก้ไขได้ ตลาดเปิด ไทยจะโตขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม สรท.มีข้อเสนอแนะ 5 ข้อสำหรับผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าข้าว
1. ควรวางแผนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยไม่ต้องรีรอ
2. ทำ service contract กับสายเรือและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อยืนยันการนำเข้า-ส่งออก
3. ปรับปรุงการขนส่งให้มีทางเลือกที่หลากหลาย
4. ใช้รูปแบบ incoterm ให้เหมาะสมกับธุรกิจ 5.เลือกใช้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพรวดเร็ว บริการบริหารจัดการต้นทุนขนส่งต่อเนื่อง
พร้อมทั้งขอให้ผู้ประกอบการทุกสินค้าระมัดระวัง 3 แพง 1.วัตถุดิบแพง 2.ค่าพลังงาน การขนส่งแพง 3.ค่าแรงงานแพงขาดแคลนแรงงานสูง ประกอบกับต้องเฝ้าระวังเงินเฟ้อว่าจะรุนแรงระดับใด
JJNY : 4in1 โวย!‘ของสด-ของแห้ง’ขึ้นยกแผง│ผวาข้าวนุ่มกัมพูชารุกตลาดอียู│‘ตรัง’แพงทุกอย่างแต่ค่าแรงไม่ขึ้น│จ่อเอาผิดกกต.
https://www.matichon.co.th/economy/news_3133697
พ่อค้า-แม่ค้าโวย! ‘ของสด-ของแห้ง’ ขึ้นยกแผงกระทบรายได้ 40% ผวาปาล์มขวด-เนื้อวัวพุ่งต่อ
เมื่อวันที่ 15 มกราคม ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์ราคาของแห้งของสด ภายในตลาดสด ย่านสะพานใหม่ พบว่าได้รับการยืนยันจากเกือบทุกร้านค้าว่ามีการปรับราคาขึ้นเกือบทุกรายการ ไม่เฉพาะหมู ไก่ ไข่ ที่ราคาแพงขึ้นแล้ว โดยพ่อค้าแม่ค้าบ่นเรื่องยอดขายไม่ค่อยดี หลังจากราคาสินค้าสูงขึ้นทำให้คนมาซื้อสินค้าต่างๆ ลดลง
• ราคาขยับขึ้นแทบทุกรายการ
นายบัญชา คำกิ่ง เจ้าของร้านบุญชูบัญชา จำหน่ายอาหารแห้ง กล่าวว่า ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา สินค้าเกือบทุกชนิดปรับราคาขึ้น อาทิ น้ำมันพืชปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง ปรับขึ้นขวด (ลิตร) ละ 5 บาท จากราคา 55 บาท เป็น 60 บาท น้ำมันบัว (น้ำมันมะพร้าวผสมน้ำมันปาล์ม) บรรจุ (1 ลิตร) ถุงละ 70-75 บาท เป็น 80 บาท ข้าวสารเหนียว จาก 25 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เป็น 30 บาท
ส่วนกระเพาะปลาแห้งปรับขึ้นเท่าตัวจาก 450 บาท/กก. เป็น 980 บาท แป้งทอดอเนกประสงค์ถุงละ 35 บาท เป็น 38 บาท เส้นหมี่ถุงละ 27 บาท เป็น 30 บาท กะทิกล่องขึ้น 5 บาท สารกันบูดจาก 100 บาท/กก. เป็น 150-175 บาท/กก. ผงชูรสขึ้น 20 บาท จาก 75 บาท/กก. เป็น 95 บาท/กก. หากเป็นถุง (500 กรัม) จาก 40 บาท เป็น 45 บาท เป็นต้น
• พ่อค้าโวยรายได้วูบ 40%
“หลังปีใหม่ยอดขายตกลง 40% เพราะลูกค้าไม่ค่อยมาเดิน เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและการระบาดโควิดระลอกใหม่ ลูกค้าบางรายขอต่อราคา ใช้เวลาเลือกและตัดสินใจนานกว่าปกติ สินค้าใดลดได้ เราก็ลดให้เพื่อจูงใจการซื้อ” นายบัญชากล่าว
• น้ำมันปาล์มแตะ 60 บาท
นางสม เจ้าของร้านจำหน่ายสินค้าทั่วไป ระบุว่า หลายสินค้าต้องปรับราคาขึ้น จากต้นทุนราคาขายส่งสูงขึ้น โดยเฉพาะตอนนี้ที่มีราคาสูงมาก คือ น้ำมันปาล์มขวดละ 52 บาท ทยอยขึ้นถึง 60 บาท น้ำมะนาวขวดละ 20 บาท เป็น 25 บาท พริกแห้งขึ้นอีก 10-20 บาท/กก. ทยอยปรับจากเดิม 130 บาท/กก. เป็น 150 บาท/กก. กระเทียมปรับขึ้น 3-5 บาท/กก. จาก 75 บาท/กก. เป็น 78 บาท/กก. ซอสปรุงรสจากขวดละ 45 บาท เป็น 48 บาท ผงชูรสจาก 60 บาท/กก. เป็น 80 บาท/กก. กลุ่มธัญพืชปรับขึ้นทุกตัวตั้งแต่ก่อนปีใหม่ตามหลังเนื้อหมู เช่น ถั่วลิสงดิบและแปรรูปจาก 75 บาท/กก. เป็น 80 บาท/กก. บางสินค้าราคาเริ่มลดลง อาทิ หอมแดง จาก 98 บาท/กก. เหลือ 58 บาท/กก.
เจ้าของร้านป้าเกตุกล่าวเสริมว่า สินค้าที่ร้านจำหน่ายต้องปรับราคาขึ้นเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มขวด 55 บาท เป็น 60 บาท น้ำมันบัวถุงละ 50 บาท เป็น 73 บาท แป้งทอดจากถุงละ 30 บาท เป็น 38 บาท ข้าวสารเหนียวจาก 27 บาท/กก. เป็น 30 บาท/กก. เป็นต้น ส่วนที่ราคาทรงตัว อาทิ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย น้ำมันถั่วเหลืองขวด (ลิตร) ละ 55 บาท แม้ราคาต้นทุนถั่วเหลืองปรับขึ้น 20 บาทแล้ว
• เนื้อสัตว์ขยับต่อเนื่องรับตรุษจีน
นางรำพึง สนธิเพชร แม่ค้าขายไก่ กล่าวว่า ราคาไก่โดยเฉลี่ยขึ้นมา 10 บาท/กก. เช่น เนื้ออกไก่ จาก 75 บาท/กก. เป็น 85 บาท/กก. สะโพก 65-70 บาท/กก. คาดว่าตรุษจีนราคาจะปรับขึ้นอีก ส่วนที่คนบอกว่าหมูแพงจะหันมากินไก่นั้น ยังไม่มีผลต่อยอดขาย เพราะยังขายไม่ดีเหมือนเดิม หากมีคนละครึ่งเฟส 4 อาจจะทำให้คึกคักขึ้น
นางกาญนา ลายน้ำเงิน แม่ค้าหมู กล่าวว่า หลังหมูราคาแพงทำให้ยอดขายตกไปถึง 70% จากวันละเป็นแสนบาทเหลือวันละ 6-7 หมื่นบาท ตอนนี้ที่ร้านพยายามไม่ปรับราคาขึ้นมาก ถ้าปรับมากก็ขายไม่ได้ สำหรับราคาขายตอนนี้ เช่น เนื้อแดงอย่างดี อยู่ที่ 200 บาท/กก. สามชั้น 240 บาท/กก. สันคอ 240 บาท/กก. ซี่โครง 220 บาท/กก. ไส้ 160 บาท/กก. ขาหมู 115 บาท/กก. ตับ 140 บาท/กก. หมูบด 160 บาท/กก.
• คาดเนื้อวัวทะลุ 300 บาท/โล
แม่ค้าร้านขายเนื้อวัวกล่าวว่า ราคาปรับขึ้นแล้ว 10 บาท/กก. มาสักระยะหนึ่งแล้ว ตอนนี้สันในอยู่ที่ 300 -350บาท/กก. เนื้อแดง/เนื้อโคขุน 250 บาท/กก. เนื้อดาวกระจายมันแทรก 300 บาท/กก. สะโพก 260 บาท/กก. เซอร์ลอยน์ 260 บาท/กก. เนื้อแดดเดียวเส้น 200 บาท/กก. แดดเดียวแผ่น 240 บาท/กก. เป็นต้น มีแนวโน้มที่เนื้อแดงราคาจะขยับไปถึง 300 บาทต่อกิโลกรัม
แม่ค้าขายไข่ไก่กล่าวว่า ปัจจุบันราคาไข่ไก่ปรับขึ้น 6 บาทต่อแผง เช่น เบอร์ 3 อยู่ที่ 105 บาทต่อแผง ซื้อ 10 ฟองอยู่ที่ 36 บาท ส่วนไข่เป็ดยังราคาเดิม ใบใหญ่ 138 บาทต่อแผง ใบเล็ก 125 บาทต่อแผง ซื้อ 10 ฟอง ใบใหญ่อยู่ที่ 48 บาท ใบเล็ก 43 บาท
• หมูสวรรค์-กุนเชียงขึ้น 50 บาท
แม่ค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์หมูกล่าวว่า หลังปีใหม่ที่ผ่านมา ได้ปรับราคาหมูสวรรค์และหมูฝอยจาก 450 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 500 บาท/กก. ส่วนเนื้อสวรรค์จาก 650 บาท/กก. เป็น 700 บาท/กก. เนื่องจากหมูและเนื้อราคาแพงขึ้น หลังปรับราคาขึ้นลูกค้าหายไปพอสมควร หวังว่ามีคนละครึ่งเฟส 4 จะทำให้คึกคักขึ้น ขณะที่ราคาขายกุนเชียงได้ปรับขึ้นแล้ว 2 ครั้ง จากถุงบรรจุครึ่งกิโลกรัม จาก 105 บาท เป็น 130 บาท ถุงบรรจุ 1 กิโลกรัม จาก 195 บาท เป็น 245 บาท ส่วนแหนมสดแท่งจาก 26-28 บาท เป็น 30-31 บาท
• โจ๊ก-กระเพาะปลาขอขึ้น 5 บาท
ขณะเดียวกันร้านอาหารภายในตลาดสดส่วนใหญ่ระบุว่า ได้แจ้งลูกค้าขอปรับเพิ่มราคาอีก 5-10 บาทต่อเมนู และพบว่าหลายร้านเปลี่ยนป้ายราคาแล้ว อาทิ ร้านกระเพาะปลาขึ้น 5 บาท ธรรมดาจาก 40 บาท เป็น 45 บาท และพิเศษ 50 บาท ข้าวหมูกรอบ-หมูแดง เป็น 50 บาท ข้าวหน้าเป็ด 50 บาท ข้าวหน้าเป็ดบวกหมูกรอบ 60 บาท ข้าวมันไก่ 40 บาท
ส่วนร้านโจ๊กดังย่านบางเขน ขอปรับราคาขึ้น 5 บาท จากโจ๊กหมูธรรมดา 30 บาท เป็น 35 บาท หากเพิ่มไข่ เป็น 40 บาท หากเพิ่มไข่ 2 ฟอง ราคา 45 บาท เนื่องจากต้นทุนราคาหมูและไข่ไก่สูงขึ้นมาก
ไร้โควตาภาษี 0%
https://www.prachachat.net/economy/news-841976
“ข้าวนุ่มกัมพูชา” ผงาดคว้าสิทธิส่งออกอียู เสรีไร้โควตาภาษี หวั่นส่งออกข้าวไทยเดี้ยง เร่งแก้เกมดึงตลาดสหรัฐ ฮ่องกง จีน ด้านสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแนะปรับรูปแบบขนส่งไม่ต้องรอค่าระวางเรือ คาดปัจจัยเสี่ยงตู้คอนเทนเนอร์ยังขาดยาวถึงไตรมาส 2
นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด หรือข้าวตราฉัตรกล่าวว่า การแข่งขันส่งออกข้าวปี 2565 มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น เพราะขณะนี้กัมพูชาจะได้รับการผ่อนผันให้ส่งออกข้าวขาวพื้นนุ่มไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU)
โดยไม่มีภาษี และไม่จำกัดจำนวน ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ส่งออกข้าวไทยเสียเปรียบด้านการแข่งขันมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาผู้ส่งออกไทยจะมีโควตาส่งออกข้าวไปตลาดอียูเป็นปกติปีละ 26,000 ตัน
ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนควรร่วมกันเร่งรัดหาทางดึงส่วนแบ่งตลาดสหรัฐ ฮ่องกง จีนกลับมาให้มากขึ้น เพื่อชดเชยไม่ให้เสียส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในตลาดโลกไป
ขณะเดียวกัน ไทยต้องการพัฒนาพันธุ์ข้าวซึ่งนับเป็นจุดอ่อนของไทย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัดปรับปรุงอย่างมาก หากมองแต่ละชนิด อาทิ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นข้าวไวแสง สามารถปลูกได้ครั้งเดียว ผลผลิตต่อไร่ประมาณ 340 กิโลกรัม (กก.) ต่อไร่ ต้นทุนต่อไร่สูง นั่นทำให้ราคาส่งออกเฉลี่ยสูง 1,200 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็นเหตุที่การส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยจึงนิ่งอยู่ปีละ 1.4 ล้านตัน
เทียบกับข้าวขาวพื้นนุ่มของเวียดนามที่เริ่มพัฒนาคุณภาพ มีกลิ่นหอมคล้ายหอมมะลิของไทย ราคาส่งออกเฉลี่ยเพียง 550 เหรียญสหรัฐต่อตัน ดังนั้น ภาพการแข่งขันตลอด 5 ปีที่ผ่านมา เวียดนามสามารถขยายการส่งออกกลุ่มข้าวนุ่มได้มากขึ้น
สามารถแย่งตลาดส่งออกในกลุ่มแอฟริกาตะวันตก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ไปได้มากขึ้น และยิ่งที่มีการผ่อนผันให้กัมพูชาส่งเข้าตลาดอียูได้ยิ่งทำให้ไทยต้องเพิ่มความระมัดระวังที่จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาด
โดยเฉพาะตลาดข้าวขาว เช่น แอฟริกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เริ่มหันมานิยมข้าวนุ่มมากขึ้น ราคาใกล้เคียงข้าวขาวไทย แต่ความหอมคล้ายกับข้าวหอมมะลิไทย
แนวทางปรับตัวเพื่อรับมือการแข่งขัน ไทยควรเร่งพัฒนาข้าวนุ่มราคาไม่สูงมาก ส่งเสริมพันธุ์หอมพวงที่มีผลผลิตสูงมาก แต่ยังไม่ได้รับการรับรองให้สามารถได้รับการรับรองและออกมาทำตลาดเพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดข้าวนุ่มกลับมา 1.6-2 ล้านตัน จากเวียดนามที่จากเดิมไทยเคยเป็นผู้ครองตลาด
ขณะที่ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไทยต้องให้ความสำคัญอย่างมากหลังจากนี้ คือ นโยบายเกี่ยวกับการลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าชเรือนกระจก การผลิตที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไทยมีการทำนา
โดยวิธีการปล่อยน้ำขัง นั้นอาจมีการปล่อยก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศสูงมาก ซึ่งรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า ถ้าไทยไม่ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎหมายก๊าซเรือนกระจกของอียูทั้งหมดใน 3-5 ปีนี้การส่งออกจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกันสายการเดินเรือที่เริ่มจ่ายเนื่องจากปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วยังมีก๊าซมีเทนที่รุนแรงกว่า คาดว่าจะส่งผลให้ไทยต้องจ่ายในส่วนของข้าวมหาศาลประมาณตันละ 200-300 เหรียญสหรัฐ ทั้งหมดนี้หากผู้นำเข้าตั้งเงื่อนไขและเกิดการเปรียบเทียบกับการทำนาของประเทศอื่นจะเป็นข้อจำกัด จึงเป็นสิ่งที่ต้องระวังและควรติดตามอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ไทยจะจัดการควบรวมแปลงใหญ่ ต้องปรับโครงสร้าง เพาะปลูกข้าว ไม่ว่าจะเป็นการปรับระบบชลประทานให้มีทางเข้า-ออกของน้ำที่ชัดเจน เพื่อทำนาเปียกสลับแห้ง ลดการปล่อยก๊าซในบางช่วง ป้องกันผลกระทบกับการส่งออกของไทยในทุกสินค้าอีกด้วย
ด้าน นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การส่งออกของไทยยังคงเผชิญปัญหาค่าระวางเรือซึ่งถือเป็นปัญหาระดับโลกไปแล้วไม่ใช่แค่ไทย และประเมินกรณีแย่ที่สุดน่าจะเผชิญลักษณะนี้ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม
ขณะที่แนวโน้มส่งออกปีนี้ (2565) คาดว่าจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 5% ถ้าปัญหาระวางเรือสามารถแก้ไขได้ ตลาดเปิด ไทยจะโตขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม สรท.มีข้อเสนอแนะ 5 ข้อสำหรับผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าข้าว
1. ควรวางแผนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยไม่ต้องรีรอ
2. ทำ service contract กับสายเรือและผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เพื่อยืนยันการนำเข้า-ส่งออก
3. ปรับปรุงการขนส่งให้มีทางเลือกที่หลากหลาย
4. ใช้รูปแบบ incoterm ให้เหมาะสมกับธุรกิจ 5.เลือกใช้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีศักยภาพรวดเร็ว บริการบริหารจัดการต้นทุนขนส่งต่อเนื่อง
พร้อมทั้งขอให้ผู้ประกอบการทุกสินค้าระมัดระวัง 3 แพง 1.วัตถุดิบแพง 2.ค่าพลังงาน การขนส่งแพง 3.ค่าแรงงานแพงขาดแคลนแรงงานสูง ประกอบกับต้องเฝ้าระวังเงินเฟ้อว่าจะรุนแรงระดับใด