หัวใจคืออวัยวะสำคัญของชีวิต เป็นเหมือนศูนย์กลางควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายให้ทำงานต่อไปได้
ดังนั้นเราควรต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย....
วันนนี้พี่หมอฝั่งธน.... จะมาให้ความรู้ สัญญาณเตือน...ว่าคุณมีความเสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่
โรคหัวใจเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ
ของการเสียชีวิตเฉียบพลัน นอกจากนี้โรคหัวใจยังรวมถึง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ
เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกถึง 1 ใน 3 ของผู้ที่เสียชีวิต ทั้งหมดในแต่ละปี
โรคหัวใจและหลอดเลือดนับเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองมาจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ และมีแนวโน้ม สูงขึ้นเรื่อยๆ
สัญญาณเตือนว่าคนไข้มีความเสี่ยงโรคหัวใจหรือเปล่า
1.ใจสั่น
2.เหนื่อยง่าย
3.ขาบวม
4.เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
5.หน้ามืด วูบ เป็นลมบ่อย
6.ตื่นกลางดึกเพราะหายใจลำบาก
7.เมื่อนอนหงายแล้วหายใจลำบาก
8.ชอบเข้าห้องน้ำกลางดึก
การดูแลตนเองและการป้องกันโรคหัวใจ
ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน
มีปัจจัยหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก
เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
ลดความเครียด ฝึกสุขอนามัยที่ดี
โรคหัวใจรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ
ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับอาการ เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจค่ะ
8 สัญญาณเตือน...ว่าคุณมีความเสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่
ดังนั้นเราควรต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย....
วันนนี้พี่หมอฝั่งธน.... จะมาให้ความรู้ สัญญาณเตือน...ว่าคุณมีความเสี่ยงโรคหัวใจหรือไม่
โรคหัวใจเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งพบว่าเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ
ของการเสียชีวิตเฉียบพลัน นอกจากนี้โรคหัวใจยังรวมถึง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ
เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกถึง 1 ใน 3 ของผู้ที่เสียชีวิต ทั้งหมดในแต่ละปี
โรคหัวใจและหลอดเลือดนับเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 รองมาจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ และมีแนวโน้ม สูงขึ้นเรื่อยๆ
สัญญาณเตือนว่าคนไข้มีความเสี่ยงโรคหัวใจหรือเปล่า
1.ใจสั่น
2.เหนื่อยง่าย
3.ขาบวม
4.เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
5.หน้ามืด วูบ เป็นลมบ่อย
6.ตื่นกลางดึกเพราะหายใจลำบาก
7.เมื่อนอนหงายแล้วหายใจลำบาก
8.ชอบเข้าห้องน้ำกลางดึก
การดูแลตนเองและการป้องกันโรคหัวใจ
ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน
มีปัจจัยหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก
เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
ลดความเครียด ฝึกสุขอนามัยที่ดี
โรคหัวใจรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ
ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับอาการ เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจค่ะ