ทำไมต้องตรวจสุขภาพหัวใจ
เมื่อเร็วๆ นี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวที่นักฟุตบอลชาวเดนมาร์กรายหนึ่งเกือบเสียชีวิตคาสนาม เพราะมีอาการหัวใจวายกะทันหัน แต่โชคดีที่ทีมแพทย์สามารถช่วยชีวิตเขาไว้ได้ทัน ทำให้รอดมาได้ เช่นเดียวกับนักฟุตบอลชาวอาร์เจนติน่าอีกคนที่ต้องตัดสินใจเลิกเล่น ทั้งที่ยังไม่ถึงวัย เพราะตรวจพบว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพหัวใจกันมากขึ้น เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนสูงเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากบางรายก็อาจมีสัญญาณเตือนมาก่อน เช่น เหนื่อยง่ายขณะออกกำลังกาย เจ็บหน้าอกขณะออกแรง หรือหายใจลำบาก ในขณะที่คนจำนวนไม่น้อยไม่รู้ว่าหัวใจของตัวเองกำลังมีปัญหา เพราะไม่เคยมีอาการใดๆ บอกให้รู้ตัวมาก่อน
ดังนั้น วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าหัวใจของเรามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ก็คือ “การตรวจสุขภาพหัวใจ” 💗 ที่มีอยู่มากมายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งวันนี้พี่หมอขอยกตัวอย่างมา 4 ประเภทก่อนนะครับ
1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG, ECG)
เป็นการตรวจเพื่อดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและกระแสไฟฟ้าที่หัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจหดตัวและคลายตัว โดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าที่บ่งชี้ถึงความปกติและความผิดปกติของหัวใจแสดงให้เห็น วิธีนี้เป็นวิธีตรวจโรคหัวใจเบื้องต้นที่สะดวกสบาย ไม่เจ็บตัว และให้ผลรวดเร็วภายใน 10 นาทีเท่านั้น
วิธีตรวจก็ทำโดยการวางแผ่นอิเล็กโทรดขนาดเล็กบริเวณหน้าอกเพื่อจับสัญญาณไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ ผลของการตรวจจะออกมาในรูปแบบของกราฟที่แสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากคลื่นไฟฟ้าออกมาสม่ำเสมอก็แสดงว่าหัวใจทำงานปกติ แต่หากมีความผิดปกติของกราฟ นั่นหมายถึงอาจมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันระยะเริ่มต้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจให้ผลปกติได้ ดังนั้น แพทย์อาจจะต้องสั่งตรวจซ้ำด้วยวิธีอื่น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถตรวจภาวะความผิดปกติอื่นๆ ได้อีก เช่น
✔️ ตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อค้นหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
✔️ ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
✔️ ตรวจหาสิ่งผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
✔️ ตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่อาจเกิดจากความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับโพแทสเซียมสูง ระดับแคลเซียมสูงหรือต่ำ
2. การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT calcium scoring)
วิธีนี้จะใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT scan) เพื่อตรวจวัดระดับแคลเซียมหรือคราบหินปูนที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเกิดจากการสะสมและเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง เพื่อเป็นการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (CAD) ในผู้ที่ยังไม่มีอาการ และลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด รวมถึงช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยบ่งชี้ถึงโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
วิธีนี้เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูง ให้ภาพที่คมชัดแม้ว่าจะมีคราบหินปูนในปริมาณน้อย สามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว และใช้เวลาเพียงแค่ 20-30 นาทีเท่านั้น ซึ่งแพทย์สามารถนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเริ่มต้นในคนที่ยังไม่มีอาการ รวมถึงวางแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย
ซึ่งการรักษามีทั้งการปรับรูปแบบในการดำเนินชีวิต การรับประทานยา ควบคู่ไปกับการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม ในกรณีที่หลอดเลือดตีบมากหรือมีหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการสวนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดด้วยการทำบอลลูน หรือผ่าตัดเพื่อทำบายพาส
กลุ่มที่เหมาะกับการตรวจด้วยวิธี CT calcium scoring ได้แก่
✔️ ผู้ที่มีอายุ 40-45 ปี ขึ้นไป
✔️ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
✔️ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
✔️ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
✔️ ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
✔️ บุคคลทั่วไป หรือผู้ที่เคยมีความปกติบางอย่างเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ ใจสั่น มึนงงคล้ายจะเป็นลม ก็สามารถ ปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร หรือกำลังตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้รับการตรวจด้วยวิธีนี้นะครับ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
· สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
· หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
· งดสูบบุหรี่ และงดออกกำลังกายก่อนเข้ารับการตรวจ
3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST)
หรือเรียกอีกอย่างว่า “การวิ่งสายพาน” เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการวิ่งสายพาน เพื่อตรวจดูว่าขณะที่ร่างกายต้องออกแรงอย่างหนักนั้น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ โดยดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทั้งจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และการขาดเลือดของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างเต็มที่ รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นต้น
รูปแบบของการตรวจจะคล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยจะมีแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้าชุดหนึ่งแปะไว้ที่บริเวณหน้าอก เพื่อบันทึกผลในขณะที่เรากำลังวิ่งอยู่บนสายพาน ทั้งนี้ ในระหว่างที่ตรวจ แพทย์จะคอยสังเกตอาการว่า เรามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกในขณะวิ่งด้วยหรือไม่ ถือเป็นการตรวจคัดกรองโรคหัวใจขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเบื้องต้นไปในตัวด้วย
ซึ่งหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์ก็จะสามารถวางแนวการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมได้ เช่น การใช้ยา การปรับพฤติกรรม หรือการฉีดสีสวนหัวใจ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย นอกจากจะมีความแม่นยำสูงและปลอดภัยแล้ว ยังสามารถป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
กลุ่มที่เหมาะกับการตรวจด้วยวิธีนี้ ได้แก่
✔️ ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
✔️ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
✔️ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเป็นโรคเบาหวาน
✔️ ผู้ที่มีประวัติเคยมีอาการเหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก และสงสัยว่ามีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ
✔️ ผู้ที่ออกกำลังกายน้อย หรือไม่ค่อยออกกำลังกาย
✔️ ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเพื่อแข่งวิ่ง โดยเฉพาะการวิ่งระยะทางไกล (อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่)
✔️ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ
✔️ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่ก่อนแล้ว
การเตรียมตัวก่อนตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
· สามารถรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ได้ แต่ควรงดรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 3-4 ชม.ก่อนการทดสอบ
· ควรสอบถามแพทย์ประจำตัวถึงยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำว่าจำเป็นต้องงดยาก่อนการทดสอบหรือไม่ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ และยารักษาความดันโลหิต เป็นต้น
4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram: Echo)
หรือการทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ เรียกสั้นๆ ว่า “เอคโค่” ใช้หลักการการส่งคลื่นความถี่สูงไปที่บริเวณหัวใจ แล้วส่งสัญญาณกลับมา เพื่อแสดงผลเป็นเงาตามลักษณะความหนาบางของเนื้อเยื่อหัวใจที่ตกกระทบ วิธีนี้ใช้ตรวจเพื่อดูการเคลื่อนไหวของหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างและความหนาของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ว่ามีลักษณะตีบหรือรั่วหรือไม่
รวมถึงตรวจภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ภาวะหัวใจโต และภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรค อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่สามารถเห็นหลอดเลือดหัวใจได้โดยตรง หรือถ้าผู้ป่วยอ้วนหรือผอมเกินไป ก็อาจจะเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงเป็นวิธีที่แม่นยำ ปลอดภัย ไม่มีความเจ็บปวดและผลข้างเคียง โดยใช้เวลาเพียงแค่ 30-45 นาทีเท่านั้น
กลุ่มที่เหมาะกับการตรวจประเภทนี้ ได้แก่
✔️ ผู้ที่มีอาการเหนื่อยง่าย หอบ หายใจลำบาก มีอาการบวม และสงสัยว่าอาจมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ
✔️ ผู้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือใช้ตรวจเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
✔️ ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือสงสัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
✔️ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือหัวใจโต
✔️ ผู้ที่มีภาวะหัวใจบีบตัวน้อยผิดปกติ โดยเกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
✔️ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขแล้ว แต่ยังมีรอยโรคหลงเหลืออยู่
✔️ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือสงสัยว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง
· สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ต้องงดอาหารหรือยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำก่อนตรวจ
วิธีที่ง่ายที่สุดในการดูแลสุขภาพหัวใจก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โดยเน้นไปที่การออกกำลังกายแบบแอโรบิค นอกจากนี้ การควบคุมอาหารก็สำคัญเช่นกัน โดยควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่มีรสเค็มจัด หันมาดื่มน้ำเปล่าและรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้นในแต่ละวัน รวมถึงทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การตรวจสุขภาพประจำปี และสำหรับผู้ที่มีอายุ 35-40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองภาวะความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจของเรา 💓 💓 💓
ทำไมต้องตรวจสุขภาพหัวใจ
เมื่อเร็วๆ นี้หลายคนอาจจะเคยได้ยินข่าวที่นักฟุตบอลชาวเดนมาร์กรายหนึ่งเกือบเสียชีวิตคาสนาม เพราะมีอาการหัวใจวายกะทันหัน แต่โชคดีที่ทีมแพทย์สามารถช่วยชีวิตเขาไว้ได้ทัน ทำให้รอดมาได้ เช่นเดียวกับนักฟุตบอลชาวอาร์เจนติน่าอีกคนที่ต้องตัดสินใจเลิกเล่น ทั้งที่ยังไม่ถึงวัย เพราะตรวจพบว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพหัวใจกันมากขึ้น เพราะโรคหัวใจเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนสูงเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากบางรายก็อาจมีสัญญาณเตือนมาก่อน เช่น เหนื่อยง่ายขณะออกกำลังกาย เจ็บหน้าอกขณะออกแรง หรือหายใจลำบาก ในขณะที่คนจำนวนไม่น้อยไม่รู้ว่าหัวใจของตัวเองกำลังมีปัญหา เพราะไม่เคยมีอาการใดๆ บอกให้รู้ตัวมาก่อน
ดังนั้น วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าหัวใจของเรามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ก็คือ “การตรวจสุขภาพหัวใจ” 💗 ที่มีอยู่มากมายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งวันนี้พี่หมอขอยกตัวอย่างมา 4 ประเภทก่อนนะครับ
เป็นการตรวจเพื่อดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและกระแสไฟฟ้าที่หัวใจผลิตออกมาขณะที่หัวใจหดตัวและคลายตัว โดยจะมีรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าที่บ่งชี้ถึงความปกติและความผิดปกติของหัวใจแสดงให้เห็น วิธีนี้เป็นวิธีตรวจโรคหัวใจเบื้องต้นที่สะดวกสบาย ไม่เจ็บตัว และให้ผลรวดเร็วภายใน 10 นาทีเท่านั้น
วิธีตรวจก็ทำโดยการวางแผ่นอิเล็กโทรดขนาดเล็กบริเวณหน้าอกเพื่อจับสัญญาณไฟฟ้าที่ออกมาจากหัวใจ ผลของการตรวจจะออกมาในรูปแบบของกราฟที่แสดงคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากคลื่นไฟฟ้าออกมาสม่ำเสมอก็แสดงว่าหัวใจทำงานปกติ แต่หากมีความผิดปกติของกราฟ นั่นหมายถึงอาจมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น ในกรณีของผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันระยะเริ่มต้น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจให้ผลปกติได้ ดังนั้น แพทย์อาจจะต้องสั่งตรวจซ้ำด้วยวิธีอื่น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถตรวจภาวะความผิดปกติอื่นๆ ได้อีก เช่น
✔️ ตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ เพื่อค้นหาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
✔️ ตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจวาย และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
✔️ ตรวจหาสิ่งผิดปกติ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
✔️ ตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่อาจเกิดจากความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในร่างกาย เช่น ระดับโพแทสเซียมสูง ระดับแคลเซียมสูงหรือต่ำ
2. การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT calcium scoring)
วิธีนี้จะใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT scan) เพื่อตรวจวัดระดับแคลเซียมหรือคราบหินปูนที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเกิดจากการสะสมและเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง เพื่อเป็นการคัดกรองความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (CAD) ในผู้ที่ยังไม่มีอาการ และลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด รวมถึงช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยบ่งชี้ถึงโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
วิธีนี้เป็นการตรวจที่มีความแม่นยำสูง ให้ภาพที่คมชัดแม้ว่าจะมีคราบหินปูนในปริมาณน้อย สามารถจับภาพขณะที่หัวใจเต้นได้ดี ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว และใช้เวลาเพียงแค่ 20-30 นาทีเท่านั้น ซึ่งแพทย์สามารถนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเริ่มต้นในคนที่ยังไม่มีอาการ รวมถึงวางแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย
ซึ่งการรักษามีทั้งการปรับรูปแบบในการดำเนินชีวิต การรับประทานยา ควบคู่ไปกับการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม ในกรณีที่หลอดเลือดตีบมากหรือมีหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการสวนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือดด้วยการทำบอลลูน หรือผ่าตัดเพื่อทำบายพาส
กลุ่มที่เหมาะกับการตรวจด้วยวิธี CT calcium scoring ได้แก่
✔️ ผู้ที่มีอายุ 40-45 ปี ขึ้นไป
✔️ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
✔️ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือโรคอ้วน
✔️ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
✔️ ผู้ที่มีภาวะเครียด หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
✔️ บุคคลทั่วไป หรือผู้ที่เคยมีความปกติบางอย่างเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ ใจสั่น มึนงงคล้ายจะเป็นลม ก็สามารถ ปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร หรือกำลังตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้รับการตรวจด้วยวิธีนี้นะครับ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
· สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
· หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
· งดสูบบุหรี่ และงดออกกำลังกายก่อนเข้ารับการตรวจ
3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST)
หรือเรียกอีกอย่างว่า “การวิ่งสายพาน” เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการวิ่งสายพาน เพื่อตรวจดูว่าขณะที่ร่างกายต้องออกแรงอย่างหนักนั้น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่ โดยดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทั้งจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ และการขาดเลือดของหัวใจขณะออกกำลังกายอย่างเต็มที่ รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เป็นต้น
รูปแบบของการตรวจจะคล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยจะมีแผ่นขั้วสัญญาณไฟฟ้าชุดหนึ่งแปะไว้ที่บริเวณหน้าอก เพื่อบันทึกผลในขณะที่เรากำลังวิ่งอยู่บนสายพาน ทั้งนี้ ในระหว่างที่ตรวจ แพทย์จะคอยสังเกตอาการว่า เรามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกในขณะวิ่งด้วยหรือไม่ ถือเป็นการตรวจคัดกรองโรคหัวใจขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเบื้องต้นไปในตัวด้วย
ซึ่งหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์ก็จะสามารถวางแนวการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมได้ เช่น การใช้ยา การปรับพฤติกรรม หรือการฉีดสีสวนหัวใจ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย นอกจากจะมีความแม่นยำสูงและปลอดภัยแล้ว ยังสามารถป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย
กลุ่มที่เหมาะกับการตรวจด้วยวิธีนี้ ได้แก่
✔️ ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
✔️ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
✔️ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือเป็นโรคเบาหวาน
✔️ ผู้ที่มีประวัติเคยมีอาการเหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก และสงสัยว่ามีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ
✔️ ผู้ที่ออกกำลังกายน้อย หรือไม่ค่อยออกกำลังกาย
✔️ ผู้ที่กำลังเตรียมตัวเพื่อแข่งวิ่ง โดยเฉพาะการวิ่งระยะทางไกล (อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่)
✔️ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจ
✔️ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่ก่อนแล้ว
การเตรียมตัวก่อนตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
· สามารถรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ได้ แต่ควรงดรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 3-4 ชม.ก่อนการทดสอบ
· ควรสอบถามแพทย์ประจำตัวถึงยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำว่าจำเป็นต้องงดยาก่อนการทดสอบหรือไม่ เช่น ยารักษาโรคหัวใจ และยารักษาความดันโลหิต เป็นต้น
4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram: Echo)
หรือการทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ เรียกสั้นๆ ว่า “เอคโค่” ใช้หลักการการส่งคลื่นความถี่สูงไปที่บริเวณหัวใจ แล้วส่งสัญญาณกลับมา เพื่อแสดงผลเป็นเงาตามลักษณะความหนาบางของเนื้อเยื่อหัวใจที่ตกกระทบ วิธีนี้ใช้ตรวจเพื่อดูการเคลื่อนไหวของหัวใจ การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างและความหนาของหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ว่ามีลักษณะตีบหรือรั่วหรือไม่
รวมถึงตรวจภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ภาวะหัวใจโต และภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรค อย่างไรก็ตาม การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่สามารถเห็นหลอดเลือดหัวใจได้โดยตรง หรือถ้าผู้ป่วยอ้วนหรือผอมเกินไป ก็อาจจะเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงเป็นวิธีที่แม่นยำ ปลอดภัย ไม่มีความเจ็บปวดและผลข้างเคียง โดยใช้เวลาเพียงแค่ 30-45 นาทีเท่านั้น
กลุ่มที่เหมาะกับการตรวจประเภทนี้ ได้แก่
✔️ ผู้ที่มีอาการเหนื่อยง่าย หอบ หายใจลำบาก มีอาการบวม และสงสัยว่าอาจมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ
✔️ ผู้ที่มีลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือใช้ตรวจเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
✔️ ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือสงสัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
✔️ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ หรือหัวใจโต
✔️ ผู้ที่มีภาวะหัวใจบีบตัวน้อยผิดปกติ โดยเกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจ
✔️ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขแล้ว แต่ยังมีรอยโรคหลงเหลืออยู่
✔️ ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หรือสงสัยว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง
· สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ต้องงดอาหารหรือยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำก่อนตรวจ
ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การตรวจสุขภาพประจำปี และสำหรับผู้ที่มีอายุ 35-40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองภาวะความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจของเรา 💓 💓 💓