ข้อพิจารณาที่ควรใส่ใจ...ในสัญญากู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน

“อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ การไม่มีโรคบ่งบอกถึงสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรงทำให้ “สุขกาย” ส่วนการไม่มีหนี้สินสะท้อนถึงสุขภาพการเงินที่แข็งแกร่งทำให้ “สุขใจ” การกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินควบคุมดูแลอยู่ โดย “ผู้กู้เงิน” เป็นฝ่ายขอยืมเงินจำนวนหนึ่งจาก “ผู้ให้กู้” และทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน และได้ทำหลักฐานในการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือที่มีการลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญกับผู้ให้กู้ เรียกว่า “สัญญา” การกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้ซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าหรือกู้ยืมเพื่อดำรงชีพได้ เช่น บ้าน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ก่อนตัดสินใจกู้ยืมนั้น ควรต้องเลือกกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงินที่มีความน่าเชื่อถือและมีข้อเสนอที่ดี โดยต้องข้อพิจารณา ดังนี้

     1. เลือกให้เหมาะสม สินเชื่อของสถาบันการเงินมีหลายประเภท ผู้ขอสินเชื่อควรเลือกประเภทสินเชื่อให้ตรงกับ วัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน (Home for Cash) เหมาะสำหรับผู้ที่มีหลักประกันเงินกู้เป็นบ้านที่อยู่อาศัยซึ่งปลอดภาระผูกพันและต้องการเงินทุนจำนวนมาก พอสมควร

     2. การเลือกรูปแบบการคิดดอกเบี้ยในการกู้ยืมสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยสถาบันการเงินจะมีทางเลือกของรูปแบบของการคิดดอกเบี้ยบางสถาบันการเงิน มีทางเลือกรูปแบบการคิดดอกเบี้ยให้เลือกระหว่างอัตราดอกเบี้ยลอยตัวกับดอกเบี้ยคงที่ จึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีว่าประเภทใดเหมาะกับเรา เพราะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน

     3. ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการกู้ยืมเราไม่ควรตัดสินใจจากอัตราดอกเบี้ยที่ตำ่ที่สุดเพียงปัจจัยเดียว ต้องพิจารณาจากปัจจัยค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าสำรวจและประเมินหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าธรรมเนียมการให้กู้ ค่าอากรแสตมป์ ทั้งนี้ เราควรให้สถาบันการเงิน แจ้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อมาตัดสินใจก่อนการลงนามในสัญญากู้ยืม

     อย่างไรก็ตาม สิ่งสาคัญที่สุด คือ ก่อนที่เราจะเซ็นหรือลงนามในสัญญาเงินกู้ ควรตรวจสอบ ข้อมูลและอ่านรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เช่น ยอดเงินต้น ยอดผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม กำหนดเวลาต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเอง และทำให้ผู้กู้เงินสามารถบริหาร การเงินได้อย่างไม่ติดขัด ส่งผลให้จ่ายเงินตรงเวลา ไม่เป็นผู้ผิดนัดตามสัญญากู้ยืม เมื่อเราสามารถบริหารจัดการกับเงินที่มีอยู่ได้แล้ว ก็จะสามารถทำตามเงื่อนไขการจ่ายหนี้ที่ถูกระบุเอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่