ผู้ว่ามาที่มาจากการเลือกตั้ง (10/01/2565)

เดิมที่ระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นเราค่อนข้างไม่เป็นระเบียบ ไม่ค่อยเกิดประโยชน์สูงสุด และมีการทุจริตค่อนข้างมาก แต่พอผมศึกษาไปเรื่อย ๆ กลับพบว่าเราพอจะมีวิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ จึงเชื้อเชิญเพื่อน ๆ มาถกกันครับว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และตรงจุดไหนบ้างที่จะทำให้ อปท. มีประสิทธิ์ภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน เพราะ อปท. พวกนี้มีความคล่องตัวมากในการเข้าแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน

1.กระทรวงมหาดไทยคุมผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้ง
โดยกรมส่งเสริมการปกครอง มีอำนาจตรวจสอบผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อมีการกระทำความผิด และกรมส่งเสริมหรือมหาดไทยมีอำนาจสั่งปลด ผู้ว่า(ที่มาจากการเลือกตั้ง) นายก อบต. นายกเทศมนตรี (โดยผู้ว่าราชการไม่มีสิทธิ์ปลด นายก อบต.และนายกเทศมนตรีเหมือนปัจจุบัน)

2.ยุบนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้เหลือแต่ อบต.และเทศบาลที่ไปขึ้นผู้ว่าโดยตรง(เราเคยยุบระบบมลฑณเพราะแบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว ระบบอำเภอผมว่าลดลงได้ก็ดี อาจเหลือแค่หน่วยประสานงานที่มีขนาดเล็กหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) โดย อบต.ควบอำนาจกำนัน ส.อบต ควบอำนาจผู้ใหญ่บ้านหรือจะเปลี่ยน ส.อบต.เป็นผู้ใหญ่บ้านแต่ควบตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านก็ได้ (เหมือนผมจะเคยอ่านเจอว่าสมัยก่อน ผู้ว่าก็ควบ อบจ. กำนันก็ควบ อบต.)

ดังนั้นงบประมาณจะมี 2 แบบ คือ
 2.1) งบประมาณจากส่วนกลาง(อิงจากปัจจุบันทั้งหมด ไม่ได้คิดเอง)
  2.1.1) เช่นผู้ว่าเห็นว่าควรจะมีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งทางยาวมาก งบพันล้าน ก็ส่งเรื่องไปกระทรวงเพื่อของบจากกระทรวงมาให้สำนักงานโยธาจัดการ
  2.1.2)งบประมาณจังหวัด เฉลี่ยแล้วงบจังหวัดที่บริหารโดยส่วนกลางจะมีประมาณหลักร้อยล้าน เช่น 400 ล้าน ผมคิดว่า(อันนี้คิดเอง) 400ล้านนี้น่าจะกำหนดประเภทการเบิกไว้แล้ว เช่น ทุนการศึกษา 2 ล้าน เผื่อเจอเด็กด้อยโอกาสก็ให้ผู้ว่าเบิกงบไปช่วยเหลือได้ทันที หรืองบปลอดยาเสพติดในการสร้างสนามกีฬาตามนโยบายรัฐ

2.2) งบจากภาษีท้องที่และกรมส่งเสริมนำมาเสริมให้ สามารถนำเรื่องเข้าสภาท้องที่และสร้างถนน สร้างโรงเรียนได้เองทันที ไม่ต้องประสานงานให้ยุ่งยาก แต่ทุกปีงบประมาณจะมี สตง. และกรมส่งเสริมมาตรวจสอบ
โดยปกติที่เช็คแล้ว อบต.จะมีงบหลักสิบล้าน - ร้อยล้าน ขึ้นอยู่กับภาษี ประชากร พื้นที่ ฯลฯ
ทาง อบจ. จะมีงบหลักร้อยล้าน-พันล้านต้นๆ ไล่เลี่ยกันกับทางส่วนกลาง

ทีนี้มันจะมีเรื่องนโยบาย ผู้ว่าต้องทำตามนโยบายที่ส่วนกลาง เราก็จัดง่ายๆ ส่วนกลางส่งงบอะไรมาบ้างก็ให้ทำตามนโยบายนั้น ส่วนผู้ว่าจะมีนโยบายอะไรเป็นของตัวเองก็ใช้งบท้องที่ โดยจะต้องไม่ไปขัดแย้ง/ซ้ำซ้อน กับนโยบายส่วนกลาง

ในระดับตำบลก็เช่นเดียวกัน ผู้ว่ามีนโยบายอะไรที่ต้องให้ อบต.ทำ ก็แจกงบให้โดยแยกเคส คือ ตามนโยบายส่วนกลางหรือตามนโยบายผู้ว่า ถ้าตามนโยบายส่วนกลางก็ใช้งบส่วนกลาง ตามนโยบายผู้ว่าก็ใช้งบผู้ว่า ส่วนงบตำบลเองก็ใช้พัฒนาตามนโยบายของตน

3.ผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้ง ประสานงานหรือควบคุมข้าราชการส่วนกลางได้บางส่วน

3.1)หลายประเทศ นายกประจำเมืองไม่ได้ควบคุมหน่วยงานส่วนกลางทั้งหมด อย่างเกาหลี นายกประจำเมืองก็ไม่ได้คุมตำรวจ อัยการ ศาล ทหาร
ผู้ว่าที่มาจากการเลือกตั้งของเราก็ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายเช่นกัน ทำได้แค่ประสานงานขอความร่วมมือเท่านั้น ไม่มีอำนาจตรวจสอบหน่วยงานที่มีการตรวจสอบตนเองอยู่แล้วหรือต้นสังกัดหน่วยงานเขาไม่ยินยอมมอบอำนาจให้
3.2) ผู้ว่าสามารถสั่งตรวจสอบและก้าวก่ายหน่วยงานพลเรือนบางหน่วยงานหรือหน่วยงานที่ไม่มีหน่วยภายในในการตรวจสอบตนเองได้ในกรณีที่มีการร้องเรียน อย่างปัจจุบัน ผู้ว่าสามารถสั่งย้าย ผอ. สั่งตรวจสอบ ผอ.ได้ แต่ในเคสของผม ขอเสนอให้สามารถย้ายได้แค่เพียงชั่วคราวเพื่อรอผลการตรวจสอบเท่านั้น หากไม่มีการร้องเรียน จะไม่สามารถสั่งย้ายหรือปลดตำแหน่งใครได้
3.3)สามารถประสานงาน/สั่งการ ให้มีการสร้าง/พัฒนา ได้เช่นเดียวกับอำนาจผู้ว่าในปัจจุบัน ที่สามารถสั่งแขวงทางหลวงให้ติดป้ายจราจร ตีเส้นทางม้าลาย และสร้างสะพานลอย โดยหน่วยงานนั้นๆจะทำเอกสารมอบอำนาจให้ผู้ว่าดูแล(ปัจจุบันที่ทำเช่นนี้เพราะไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมดมั้งครับ บางกรมเลยให้ผู้ว่าเป็นตัวกลางดูแล) แต่ถ้าไม่ต้องการก็ริบอำนาจตรงส่วนนี้กลับคืนไป

โดยผู้ว่าจะสามารถปลด แต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการสำนักงานตัวเองได้เท่านั้น

4.ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะสำนักงาน,กองการ ไม่สามารถเปิดรับสมัครข้าราชการด้วยตนเองได้โดยตรง แต่ต้องส่งคำขอรับข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ จากสำนักงานส่งเสริมการปกครอง (ปัจจุบันก็ใช้ระบบนี้ มีส่วนกลางเป็นคนจัดสอบทุกๆปี)

5.การตรวจสอบ ผู้ว่า นายกเทศมนตรี นายก อบต.
5.1)สามารถตรวจสอบได้โดยหน่วยงานส่วนกลางปกติอย่าง สตง. และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น/กระทรวงมหาดไทย
5.2)ประชาชนสามารถตรวจสอบ ผู้ว่า นายก อบต.และเทศบาลได้ (ปัจจุบันชาวบ้านคิดว่าส่วนกลางพัฒนาเมืองให้เขา แต่ความจริงง่ายสุดสะดวกสุดในการพัฒนาคือ ปกครองท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นเหล่านี้ไม่ได้รับแรงปะทะ เพราะคิดว่าผู้ว่ามีหน้าที่พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าเพียงผู้เดียวตามนโยบายของ นักการเมืองส่วนกลาง

6.ลดขีดความสามารถของ อส. จากกองกำลังกึ่งทหาร เป็นพลเรือนทั่วไป และให้อำนาจฝ่ายปกครองจำกุมได้แค่บางกรณี เช่นจับไพ่ ตรวจผับ ส่วนยาเสพติดและอาวุธ เหตุความรุนแรง ระงับได้แต่ต้องส่งให้ทางตำรวจดำเนินคดี เพื่อป้องกันผู้ว่าใช้อำนาจคุมฝ่ายปกครองแล้วสั่งการให้ทำงานที่ตนได้ผลประโยชน์

7.คุณสมบัติผู้สมัครนักการเมืองท้องถิ่นต้องเพิ่มคุณสมบัติ เข้มงวดและรัดกุมขึ้น ให้ไม่ต่างจาก สส. คือต้องจบ ป.ตรี ไม่มีกิจการเป็นของตัวเอง ไม่ครองวาระเกินกี่วาระก็ว่ากันไป 

หมายเหตุ
กระทรวงมหาดไทยเคยออกมาบอกเมื่อนานมากแล้ว การเลือกตั้งผู้ว่าไม่ได้เป็นการแบ่งแยกดินแดน และผู้ว่าไม่มีอำนาจขนาดนั้น

ผมว่ามันก็จริง เวลาคนพูดถึง การกระจายอำนาจ แล้วก็จะตีเลยว่ารัฐบาลจะคุมไม่ได้อย่างเดียว ต้องแบ่งให้สุด มีข้าราชการประจำจังหวัดเอง คุมตำรวจเอง
แต่ความเป็นจริง ไม่จำเป็นว่าเราต้องทำระบบสหพันธรัฐแบบ USA แต่ใช้ระบบส่วนกลางควบคุมได้เหมือนหลายๆประเทศ ให้อำนาจท้องที่ แต่ส่วนกลางแทรกแซงได้ ตรวจสอบได้ หรือบางประเทศใช้ระบบ 2 ส่วน แต่ส่วนกลางจะอยู่เงียบๆคอยประสานงานให้ตรงนโยบาย แต่ให้อำนาจท้องที่จัดการกันเองมากหน่อย

ปัจจุบันชาวบ้านยังคิดว่าผู้ว่าและนายกรัฐมนตรี เป็นคนพัฒนาบ้านเกิดเขา เวลาเดือดร้อนมักจะโจมตีส่วนกลางเป็นสำคัญ จนละเลย อปท. ที่เราเลือกเข้ามา พวกนี้เลยไม่เคยได้รับแรงกดดันจากชาวบ้าน ถ้าเกิดเป็น อปท. โดยตรงที่บริหารตำบลและจังหวัด ชาวบ้านจะไม่ต้องบ่นไกลๆไปไม่ถึง หันมายืนกดดัน อบต.ข้างบ้านกันมั่ง เพราะรับผิดชอบการพัฒนาโดยตรงแล้ว ชาวบ้านต้องเลือกมากขึ้น กรองมากขึ้น คนสมัครก็จะมากขึ้นด้วยเพราะเห็นคนเดิมๆทำงานไม่ดี

นโยบายของทาง อปท.ที่ผมเคยเห็น เช่นทุนการศึกษาให้เด็กยากไร้,นักเรียนในสังกัดเขา รักษาพยาบาลฟรีที่กองสาธารณสุข แม้จะเป็นเด็กต่างจังหวัด,ต่างเขตก็ตาม ซึ่งผมมองว่า อปท. สามารถเข้าถึงปัญหาได้เร็วแก้ปัญหาได้เร็วโดยงบตัวเอง ผ่านสภาตัวเอง หากคิดจะทำงานเพื่อประชาชน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่