1.HRT คืออะไร?
Hostage Rescue Team หรือเรียกย่อๆว่า HRT เป็นหน่วยทางยุทธวิธีหน่วยหนึ่งของเอฟบีไอ ขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกันที่เป็นนัมเบอร์วันของทางฝ่ายหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement agency) ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา และตัวของมันจัดได้ว่าเป็น SWAT tier 1 ของทางเอฟบีไอ
2.วัตถุประสงค์การก่อตั้ง HRT?
เดิมนั้นเอฟบีไอมีความต้องการหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายเริ่มมาตั้งในช่วงปีค.ศ.1970s ซึ่งในยุคนั้นถือว่าการก่อการร้ายกำลังเริ่มแพร่ขยายไปทั่วโลก โดยเห็นได้ชัดจากการสังหารหมู่ในมิวนิก (Munich massacre) ในปีค.ศ.1972 ส่วนในสหรัฐอเมริกาเหล่าอาชญากรทั้งหลายนับวันยิ่งยกระดับความรุนแรงในการก่อเหตุมากยิ่งขึ้น
ในปีค.ศ.1978 ทางเอฟบีไอได้ไปฝึกร่วมกับทาง Delta Force อันเป็นหน่วยรบพิเศษเทียร์วันของทางทบ.สหรัฐที่เชี่ยวชาญงานในด้านต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน การฝึกร่วมกันในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เมื่อถึงคราวจำเป็นจะได้สามารถร่วมงานกันได้อย่างไม่ติดขัด ขณะเดียวกันในช่วงเวลานั้นยังไม่มีหน่วยภาคทางสนามยุทธวิธีของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสหรัฐอเมริกาที่มีศักยภาพในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกันแม้แต่หน่วยเดียว รวมไปถึง FBI SWAT ด้วย
ทว่าก่อนหน้าที่เอฟบีไอจะได้ไปฝึกร่วมกับทางเดลต้านั้น เอฟบีไอเคยมีคำถามขึ้นให้กับตัวเองว่า'เมื่อเกิดกรณีการก่อการร้ายและมีการจับตัวประกันขึ้นมาภายในประเทศจะทำอย่างไร' ซึ่งในช่วงเวลานั้นทางออกของเอฟบีไอคือต้องให้เดลต้าเข้ามาจัดการคลี่คลายสถานการณ์ หลังจากจบเรื่องเอฟบีไอจะเข้ามารับช่วงต่อ จนกระทั่งได้รับคำเชิญให้ไปฝึกร่วมกับเดลต้าในช่วงสั้นๆ 3 วัน ภายใต้ชื่อรหัวว่า Joshua Junction สถานที่ฝึกรัฐเนวาดา (Nevada) ใกล้กับสถานที่ทดสอบนิวเคลียร์เก่า
รูปแบบการฝึกที่ทางเดลต้าคิดขึ้นมาก็คือ มีกลุ่มก่อการร้ายทำการยึดฐานยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่อยู่ใต้ดินพร้อมกับจับเจ้าหน้าที่ประจำฐานไว้เป็นตัวประกัน และมีการยื่นข้อเรียกร้องมากมายรวมถึงยานพาหนะในการเดินทางกลับประเทศของตน วิธีการแก้ปัญหาสถานการณ์นี้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอได้เข้ามาดำเนินการเจรจาต่อรองกับผู้ก่อการร้ายให้ปล่อยตัวประกันออกมา และผู้ก่อการร้ายได้ยอมปล่อยตัวประกัน โดนระหว่างนี้ทางเดลต้าก็ได้เตรียมรถบัส 2 คัน ให้สำหรับผู้ก่อการร้ายกลุ่มแรกและตัวประกันเดินทางไปสนามบินที่มีเครื่องบินจอดรออยู่ เมื่อรถบัสแล่นมาถึงที่เครื่องบินจอดรออยู่ ขณะที่ผู้ก่อการร้ายกำลังขึ้นเครื่องบินก็ถูกเดลต้าเข้าชาร์จและโจมตีอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่งผู้ก่อการร้ายกลุ่มที่สองที่ยังเหลืออยู่ในฐานยิงขีปนาวุธกำลังเดินทางมาสนามบินด้วยรถบัสอีกคันก็ถูกเดลต้าอีกทีมเข้าโจมตีอย่างรวดเร็ว ผลที่ออกมาตัวประกันปลอดภัยดี จากการเข้าร่วมฝึกในครั้งนี้ทำให้ทางเอฟบีไอตระหนักดีว่ายังไม่พร้อมในเรื่องของการต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันแม้แต่น้อยเลย
ในเวลาต่อมาผลจากการฝึกกับทางเดลต้าส่งให้เอฟบีไอก่อตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาชื่อว่า Special Operations and research Section หรือเรียกย่อๆว่า SOARS และส่งจนท.ที่เคยไปฝึกร่วมกับทางเดลต้าให้ไปติดต่อประสานงานกับ GSG 9 ของเยอรมันตะวันตก, SAS กับ SBS ของยูเค, DEVGRU ของทร.สหรัฐ, GIGN ของฝรั่งเศส และ Yamam ของอิสราเอล เพื่อทำการร่วมฝึก เรียนรู้ และหาประสบการณ์กันในแต่ละโอกาส ในขณะเดียวกันก็กระชับความสัมพันธ์กับทาง Delta Force ยิ่งขึ้นไปอีก โดยส่งจนท.ไปศึกษาหาข้อมูลและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจากทางเดลต้า แล้วนำข้อมูลทั้งหมดส่งให้กับทาง SOARS นำไปศึกษาและวิเคราะห์ต่อ
ในปีค.ศ.1982 จนท.SOARS ถูกส่งไปค่ายรพศ.ทบ.ที่ฟอร์ก แบร็กก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อเข้ารับการฝึกหลักสูตรเร่งรัด 1 สัปดาห์ โดยโปรแกรมการฝึกถูกจัดโดยทาง Delta Force ซึ่งการฝึกในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาให้กับทางจนท.SOARS เป็นอย่างมาก เพราะหลักสูตรฝึกที่ทางเดลต้าจัดให้นั้นแม้แต่ FBI SWAT ก็ยังไม่เคยถูกฝึกเฉกเช่นนี้มาก่อนเลย ยกตัวอย่าง การยิงด้วยกระสุนจริงในการช่วยเหลือตัวประกัน, การใช้วัตถุระเบิดทำลายประตู, การ Killing House เป็นต้น ช่วงระหว่างฝึกมีการบันทึกวิดีโอโดยทางจนท.SOARS ซึ่งวิดีโอได้ถูกนำกลับไปให้กับทางหน่วยงาน ทำให้จนท.ระดับสูงหลายคนเห็นคุณค่าในการพัฒนาศักยภาพของทางเอฟบีไอในเรื่องต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน ทว่าในช่วงแรกก็มีจนท.ระดับสูงหลายคนไม่ให้ความสนใจในด้านนี้ แต่ก็มีจนท.คนหนึ่งนามว่าจอห์น โฮทิส (John Hotis) เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงเสนอให้วิลเลียม เอช. เว็บสเตอร์ (William H. Webster) ซึ่งเป็นผอ.เอฟบีไอในขณะนั้น ทำการพิจารณาถึงความสำคัญของการที่จะต้องมีหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันอย่างละเอียดรอบคอยและมองให้ไกล นั่นจึงทำให้ผอ.วิลเลียมและจนท.ระดับสูงลงทุนเดินทางไปดูการสาธิตวิธีการชิงตัวประกันของทาง Delta Force กับ DEVGRU หลังจากที่ชมการสาธิตแล้ว ผอ.วิลเลียมก็สั่งให้ทาง SOARS ไปประสานงานกับทาง Metropolitan Police Department of the District of Columbia หรือ MPDC ของทางวอชิงตัน ดี.ซี.ให้ทีมยุทธวิธีจากกองปฏิบัติการพิเศษ (SOD) ทำการสาธิตการชิงตัวประกันให้ดูหน่อย เมื่อชมการสาธิตจบก็พบว่ามีข้อแตกต่างในการจัดการเข้าชิงตัวประกันระหว่างทาง SWAT ของทางตร.กับหน่วยของทหารอย่างสิ้นเชิง คือ
-SWAT ของทางตร.ใช้ยุทธวิธีตามที่ทหารสอนมาในเรื่องของการชิงตัวประกัน แต่เมื่อเข้าชาร์จแล้วจะไม่ใช้การยิงเพื่อยุติปัญหา เพราะต้องการเน้นเข้าจับกุมคนร้าย
-ทางของทหารนั้นไม่ว่าจะเป็น Delta Force หรือ DEVGRU เมื่อลงมือแล้วผู้ที่จะรอดชีวิตมีเพียงตัวประกันเท่านั้น
ในข้อแตกต่างนี้เองผอ.วิลเลียมจึงสั่งให้นำมาพัฒนายุทธวิธีเข้าช่วยเหลือตัวประกันของเอฟบีไอ
3.การมาของ HRT
ในช่วงยุคบุกเบิกในปีค.ศ.1982 นั้น แดนนี โคลสัน (Danny Coulson) ผู้ซึ่งเคยเป็นอดีตพลซุ่มยิงและหัวหน้าทีม FBI SWAT ถูกเลือกให้มาเป็นผู้จัดทำแผนฝึกและจัดสร้างโครงสร้างหน่วย โดยเขากับทาง SOARS ต่างช่วยกันคิดค้นพัฒนาหน่วยใหม่ที่จะสร้างขึ้นสำหรับภารกิจต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน โดยตั้งใจว่าจะเริ่มฝึกในเดือนมกราคม ค.ศ.1983 และจะเคี่ยวกรำจนพร้อมออกปฏิบัติการได้ในช่วงปลายปี สำหรับโปรแกรมการฝึกนั้นก็พัฒนาต่อยอดมาจากการที่ไปเก็บรวบรวมข้อมูลมาในหน่วยงานที่ได้เคยกล่าวไปข้างต้น (ในข้อที่ 2 ย่อหน้าที่ 5) อันเป็นหน่วยงานที่ทาง SOARS เคยติดต่อประสานงานไป โดยได้นำแนวทางของ GIGN ที่ว่า'To save lives' นับแต่นั้นมาประโยคนี้ก็ได้กลายเป็นคติประจำหน่วย
ในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1982 มีผู้สมัครและถูกคัดเบือกเข้ามารับการฝึกเป็นสมาชิกหน่วยรุ่นแรกทั้งหมด 90 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยจะใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในการทดสอบและประเมินผล อาทิ เช่น
-การใช้อาวุธปืนรูปแบบต่างๆ
-ใช้อาวุธปืนยิงได้อย่างแม่ยำ
-การประเมินทางจิตวิทยาทั้งสภาพจิตใจและอารมณ์
-มีภาวะผู้นำที่ดี
-สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ยามคับขัน
-สุขภาพร่างกายแข็งแรง
-ชำนาญด้านยุทธวิธีต่างๆที่จำเป็นต่อสายงาน
หลังจาก 1 สัปดาห์ก็มีนักเรียนถูกคัดออก 40 คน เหลือเพียง 50 คน ซึ่งใน 50 คนนั้นมีสุภาพสตรีรวมอยู่ด้วยแต่เธอนั้นขอสละสิทธิ์ในภายหลังด้วยความสมัครใจ กำลังพลชุดแรก 50 คน นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.แบบทำงานเต็มเวลา 35 คน
2.สำรอง 15 คน
เมื่อเข้าประจำการแล้วทั้งหมดจะถูกส่งไปฝึกหลักสูตรชั้นสูงเพิ่มอีก ทว่าแดนนี โคลสัน กับ จอห์น ซีเมโอเน (John Simeone) ผู้เป็นทั้งที่ปรึกษาและควบคุมดูแลการฝึกต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องมีจนท. 15 คนเป็นตัวสำรอง พวกเขาต้องการผลักดันให้ทั้ง 50 คนเป็นทีมทำงานเต็มเวลา จนในที่สุดทางเบื้องบนก็อนุมัติให้ตัวสำรองได้รวมทีมกลายเป็นทีมเต็มเวลาโดยแบ่งเป็นออกเป็น 2 ทีมย่อย ได้แก่ Blue team กับ Gold team
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1983 ได้มีการก่อตั้งหน่วยชื่อว่าทีมชิงตัวประกันหรือเรียกสั้นๆว่า HRT ขึ้นมา โดยมีฐานที่ตั้งอยู่ FBI Academy ในเมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย ในตอนแรกเริ่มนั้นเป็นหน่วยงานยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันแบบไม่เต็มเวลา เมื่อไม่มีเหตุก็ไปปฏิบัติหน้าที่เดิมตามปกตินั่นเอง ต่อมาภายหลังถูกยกระดับให้เป็นหน่วยงานยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันแบบเต็มเวลา
4.การคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็นจนท. HRT?
-ต้องเป็นจนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายรัฐบาลกลาง และจนท.ภาคสนามของทางเอฟบีไอ ที่ผ่านการทำงานมาในสายปฏิบัติการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
เมื่อผู้สมัครผ่านการคัดเลือกมาตรฐานฟิตเนสกายภาพของเอฟบีไอแล้วจะได้สิทธิ์ในการทดสอบขั้นต่อไป 3 อย่างเบื้องต้นคือ
1.คัดเลือกพื้นฐานเพื่อกลั่นกรองขั้นแรกโดยใช้ระบบออนไลน์โดยให้ทำแบบทดสอบ
2.เมื่อทำแบบทดสอบผ่านจะเข้าสู่ขั้นตอนที่สองคือการใช้โทรศัพท์คุยสัมภาษณ์
3.เมื่อผ่านการคุยสัมภาษณ์จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกทางยุทธวิธี โดยเน้นไปทางด้านทักษะพื้นฐานอันเกี่ยวกับภาวะวิกฤต
หากผ่านทั้ง 3 อย่างนี้ไปจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่พิเศษ (Special Agent : SA) หลังจากนั้นต้องทำงานในเอฟบีไออย่างน้อย 2 ปีในด้านการสืบสวน+ภาคสนาม จึงจะมีสิทธิ์ที่จะก้าวเข้าสู่ขั้นตอนขอยื่นสมัครเข้ารับการฝึกในหลักสูตร HRT ผู้เข้ารับการสมัครจะต้องผ่านการทดสอบทางกายภาพขั้นแรก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นเกี่ยวกับด้านการใช้อาวุธ, ไหวพริบในการแก้ปัญหา, ภาวะการเป็นผู้นำ, การทำงานร่วมกับผู้อื่น, การวางแผนและตัดสินใจในด้านยุทธวิธี เป็นต้น
เมื่อผ่าน 2 สัปดาห์แรกมาแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องเผชิญอีก 14 สัปดาห์ ตามหลักสูตร New Operator Training School (NOTS) ซึ่งภายในหลักสูตรจะประกอบไปหลากหลายมากมาย อาทิ เช่น
-การสู้รบระยะประชิด (CQB)
-เทคนิคการบุกเข้าชาร์จจับกุมรูปแบบต่างๆ
-เทคนิค Shooting house รูปแบบต่างๆ
-ลาดตระเวนในเวลากลางวัน+กลางคืน
-เทคนิคชิงตัวประกันในรูปแบบต่างๆ
-การแทรกซึมสู่พื้นที่เป้าหมาย
-การเอาชีวิตรอด, การหลบหลีก, ต่อต้าน และการหลบหนี (Survival, Evasion, Resistance and Escape : SERE)
-การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน+ยานพาหนะ
-ฝึกรบและปฏิบัติการในภูมิประเทศกับภูมิอากาศรูปแบบต่างๆ
-การเดินทางไกล
-การใช้วัตถุระเบิดทำลายประตูและสิ่งกีดขวาง
-การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่ทางครูฝึกกำหนดโจทย์มาให้
หากผู้เข้ารับการฝึกผ่านไปได้จนจบ 14 สัปดาห์ ก็จะได้รับการบรรจุเข้า HRT แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้หลังจากที่ได้รับการบรรจุแล้วยังต้องไปฝึกหลักสูตรขั้นสูงเพิ่มเติมอีก อาทิ เช่น
-ส่งทางอากาศ เช่น HALO, HAHO
-ปฏิบัติการทางน้ำ เช่น ดำน้ำทางยุทธวิธี
-Killing House
-การป้องกันเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์
-อารักขาบุคคลสำคัญ
-ต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน
-พลซุ่มยิง
-ผู้ควบคุมอากาศยาน
-รื้อถอนทำลายใต้น้ำ
-รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด
-การแทรกซึมเข้าพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-ลาดตระเวนระยะไกล
*ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เข้ารับการฝึกครบทุกหลักสูตร แต่ต้องมีสกิลติดตัวไปให้ได้มากที่สุด
5.ขีดความสามารถของ HRT มีดังนี้?
-ปฏิบัติการ 3 มิติ
-ปฏิบัติการได้ทุกสภาพแวดล้อมทุกสภาพอากาศ
-ต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันทุกรูปแบบ
-ต่อต้านการซุ่มยิง
-ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร
-รื้อถอนทำลายใต้น้ำ
-รื้อถอดทำลายวัตถุระเบิด
-ลาดตระเวนพิเศษ
-ปฏิบัติการโดยตรง
-ส่งทางอากาศ
-ดำน้ำทางยุทธวิธี
-การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ
-ควบคุมอากาศยานหน้า
-อารักขาบุคคลสำคัญ
-บุกเข้าจับกุมหรือตามล่าเป้าหมายมูลค่าสูง
-การเคลื่อนย้ายส่งกลับทางสายแพทย์
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธี
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต
หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับ Hostage Rescue Team เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
มาทำความรู้จัก HRT สุดยอดหน่วยต่อต้านการก่อการสากลและชิงตัวประกันของ FBI แบบง่ายๆคร่าวๆกันเต๊อะ
Hostage Rescue Team หรือเรียกย่อๆว่า HRT เป็นหน่วยทางยุทธวิธีหน่วยหนึ่งของเอฟบีไอ ขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกันที่เป็นนัมเบอร์วันของทางฝ่ายหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement agency) ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา และตัวของมันจัดได้ว่าเป็น SWAT tier 1 ของทางเอฟบีไอ
2.วัตถุประสงค์การก่อตั้ง HRT?
เดิมนั้นเอฟบีไอมีความต้องการหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายเริ่มมาตั้งในช่วงปีค.ศ.1970s ซึ่งในยุคนั้นถือว่าการก่อการร้ายกำลังเริ่มแพร่ขยายไปทั่วโลก โดยเห็นได้ชัดจากการสังหารหมู่ในมิวนิก (Munich massacre) ในปีค.ศ.1972 ส่วนในสหรัฐอเมริกาเหล่าอาชญากรทั้งหลายนับวันยิ่งยกระดับความรุนแรงในการก่อเหตุมากยิ่งขึ้น
ในปีค.ศ.1978 ทางเอฟบีไอได้ไปฝึกร่วมกับทาง Delta Force อันเป็นหน่วยรบพิเศษเทียร์วันของทางทบ.สหรัฐที่เชี่ยวชาญงานในด้านต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน การฝึกร่วมกันในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เมื่อถึงคราวจำเป็นจะได้สามารถร่วมงานกันได้อย่างไม่ติดขัด ขณะเดียวกันในช่วงเวลานั้นยังไม่มีหน่วยภาคทางสนามยุทธวิธีของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสหรัฐอเมริกาที่มีศักยภาพในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกันแม้แต่หน่วยเดียว รวมไปถึง FBI SWAT ด้วย
ทว่าก่อนหน้าที่เอฟบีไอจะได้ไปฝึกร่วมกับทางเดลต้านั้น เอฟบีไอเคยมีคำถามขึ้นให้กับตัวเองว่า'เมื่อเกิดกรณีการก่อการร้ายและมีการจับตัวประกันขึ้นมาภายในประเทศจะทำอย่างไร' ซึ่งในช่วงเวลานั้นทางออกของเอฟบีไอคือต้องให้เดลต้าเข้ามาจัดการคลี่คลายสถานการณ์ หลังจากจบเรื่องเอฟบีไอจะเข้ามารับช่วงต่อ จนกระทั่งได้รับคำเชิญให้ไปฝึกร่วมกับเดลต้าในช่วงสั้นๆ 3 วัน ภายใต้ชื่อรหัวว่า Joshua Junction สถานที่ฝึกรัฐเนวาดา (Nevada) ใกล้กับสถานที่ทดสอบนิวเคลียร์เก่า
รูปแบบการฝึกที่ทางเดลต้าคิดขึ้นมาก็คือ มีกลุ่มก่อการร้ายทำการยึดฐานยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่อยู่ใต้ดินพร้อมกับจับเจ้าหน้าที่ประจำฐานไว้เป็นตัวประกัน และมีการยื่นข้อเรียกร้องมากมายรวมถึงยานพาหนะในการเดินทางกลับประเทศของตน วิธีการแก้ปัญหาสถานการณ์นี้เจ้าหน้าที่เอฟบีไอได้เข้ามาดำเนินการเจรจาต่อรองกับผู้ก่อการร้ายให้ปล่อยตัวประกันออกมา และผู้ก่อการร้ายได้ยอมปล่อยตัวประกัน โดนระหว่างนี้ทางเดลต้าก็ได้เตรียมรถบัส 2 คัน ให้สำหรับผู้ก่อการร้ายกลุ่มแรกและตัวประกันเดินทางไปสนามบินที่มีเครื่องบินจอดรออยู่ เมื่อรถบัสแล่นมาถึงที่เครื่องบินจอดรออยู่ ขณะที่ผู้ก่อการร้ายกำลังขึ้นเครื่องบินก็ถูกเดลต้าเข้าชาร์จและโจมตีอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่งผู้ก่อการร้ายกลุ่มที่สองที่ยังเหลืออยู่ในฐานยิงขีปนาวุธกำลังเดินทางมาสนามบินด้วยรถบัสอีกคันก็ถูกเดลต้าอีกทีมเข้าโจมตีอย่างรวดเร็ว ผลที่ออกมาตัวประกันปลอดภัยดี จากการเข้าร่วมฝึกในครั้งนี้ทำให้ทางเอฟบีไอตระหนักดีว่ายังไม่พร้อมในเรื่องของการต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันแม้แต่น้อยเลย
ในเวลาต่อมาผลจากการฝึกกับทางเดลต้าส่งให้เอฟบีไอก่อตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาชื่อว่า Special Operations and research Section หรือเรียกย่อๆว่า SOARS และส่งจนท.ที่เคยไปฝึกร่วมกับทางเดลต้าให้ไปติดต่อประสานงานกับ GSG 9 ของเยอรมันตะวันตก, SAS กับ SBS ของยูเค, DEVGRU ของทร.สหรัฐ, GIGN ของฝรั่งเศส และ Yamam ของอิสราเอล เพื่อทำการร่วมฝึก เรียนรู้ และหาประสบการณ์กันในแต่ละโอกาส ในขณะเดียวกันก็กระชับความสัมพันธ์กับทาง Delta Force ยิ่งขึ้นไปอีก โดยส่งจนท.ไปศึกษาหาข้อมูลและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจากทางเดลต้า แล้วนำข้อมูลทั้งหมดส่งให้กับทาง SOARS นำไปศึกษาและวิเคราะห์ต่อ
ในปีค.ศ.1982 จนท.SOARS ถูกส่งไปค่ายรพศ.ทบ.ที่ฟอร์ก แบร็กก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา เพื่อเข้ารับการฝึกหลักสูตรเร่งรัด 1 สัปดาห์ โดยโปรแกรมการฝึกถูกจัดโดยทาง Delta Force ซึ่งการฝึกในครั้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาให้กับทางจนท.SOARS เป็นอย่างมาก เพราะหลักสูตรฝึกที่ทางเดลต้าจัดให้นั้นแม้แต่ FBI SWAT ก็ยังไม่เคยถูกฝึกเฉกเช่นนี้มาก่อนเลย ยกตัวอย่าง การยิงด้วยกระสุนจริงในการช่วยเหลือตัวประกัน, การใช้วัตถุระเบิดทำลายประตู, การ Killing House เป็นต้น ช่วงระหว่างฝึกมีการบันทึกวิดีโอโดยทางจนท.SOARS ซึ่งวิดีโอได้ถูกนำกลับไปให้กับทางหน่วยงาน ทำให้จนท.ระดับสูงหลายคนเห็นคุณค่าในการพัฒนาศักยภาพของทางเอฟบีไอในเรื่องต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน ทว่าในช่วงแรกก็มีจนท.ระดับสูงหลายคนไม่ให้ความสนใจในด้านนี้ แต่ก็มีจนท.คนหนึ่งนามว่าจอห์น โฮทิส (John Hotis) เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงเสนอให้วิลเลียม เอช. เว็บสเตอร์ (William H. Webster) ซึ่งเป็นผอ.เอฟบีไอในขณะนั้น ทำการพิจารณาถึงความสำคัญของการที่จะต้องมีหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันอย่างละเอียดรอบคอยและมองให้ไกล นั่นจึงทำให้ผอ.วิลเลียมและจนท.ระดับสูงลงทุนเดินทางไปดูการสาธิตวิธีการชิงตัวประกันของทาง Delta Force กับ DEVGRU หลังจากที่ชมการสาธิตแล้ว ผอ.วิลเลียมก็สั่งให้ทาง SOARS ไปประสานงานกับทาง Metropolitan Police Department of the District of Columbia หรือ MPDC ของทางวอชิงตัน ดี.ซี.ให้ทีมยุทธวิธีจากกองปฏิบัติการพิเศษ (SOD) ทำการสาธิตการชิงตัวประกันให้ดูหน่อย เมื่อชมการสาธิตจบก็พบว่ามีข้อแตกต่างในการจัดการเข้าชิงตัวประกันระหว่างทาง SWAT ของทางตร.กับหน่วยของทหารอย่างสิ้นเชิง คือ
-SWAT ของทางตร.ใช้ยุทธวิธีตามที่ทหารสอนมาในเรื่องของการชิงตัวประกัน แต่เมื่อเข้าชาร์จแล้วจะไม่ใช้การยิงเพื่อยุติปัญหา เพราะต้องการเน้นเข้าจับกุมคนร้าย
-ทางของทหารนั้นไม่ว่าจะเป็น Delta Force หรือ DEVGRU เมื่อลงมือแล้วผู้ที่จะรอดชีวิตมีเพียงตัวประกันเท่านั้น
ในข้อแตกต่างนี้เองผอ.วิลเลียมจึงสั่งให้นำมาพัฒนายุทธวิธีเข้าช่วยเหลือตัวประกันของเอฟบีไอ
3.การมาของ HRT
ในช่วงยุคบุกเบิกในปีค.ศ.1982 นั้น แดนนี โคลสัน (Danny Coulson) ผู้ซึ่งเคยเป็นอดีตพลซุ่มยิงและหัวหน้าทีม FBI SWAT ถูกเลือกให้มาเป็นผู้จัดทำแผนฝึกและจัดสร้างโครงสร้างหน่วย โดยเขากับทาง SOARS ต่างช่วยกันคิดค้นพัฒนาหน่วยใหม่ที่จะสร้างขึ้นสำหรับภารกิจต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน โดยตั้งใจว่าจะเริ่มฝึกในเดือนมกราคม ค.ศ.1983 และจะเคี่ยวกรำจนพร้อมออกปฏิบัติการได้ในช่วงปลายปี สำหรับโปรแกรมการฝึกนั้นก็พัฒนาต่อยอดมาจากการที่ไปเก็บรวบรวมข้อมูลมาในหน่วยงานที่ได้เคยกล่าวไปข้างต้น (ในข้อที่ 2 ย่อหน้าที่ 5) อันเป็นหน่วยงานที่ทาง SOARS เคยติดต่อประสานงานไป โดยได้นำแนวทางของ GIGN ที่ว่า'To save lives' นับแต่นั้นมาประโยคนี้ก็ได้กลายเป็นคติประจำหน่วย
ในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ.1982 มีผู้สมัครและถูกคัดเบือกเข้ามารับการฝึกเป็นสมาชิกหน่วยรุ่นแรกทั้งหมด 90 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยจะใช้ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ในการทดสอบและประเมินผล อาทิ เช่น
-การใช้อาวุธปืนรูปแบบต่างๆ
-ใช้อาวุธปืนยิงได้อย่างแม่ยำ
-การประเมินทางจิตวิทยาทั้งสภาพจิตใจและอารมณ์
-มีภาวะผู้นำที่ดี
-สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ยามคับขัน
-สุขภาพร่างกายแข็งแรง
-ชำนาญด้านยุทธวิธีต่างๆที่จำเป็นต่อสายงาน
หลังจาก 1 สัปดาห์ก็มีนักเรียนถูกคัดออก 40 คน เหลือเพียง 50 คน ซึ่งใน 50 คนนั้นมีสุภาพสตรีรวมอยู่ด้วยแต่เธอนั้นขอสละสิทธิ์ในภายหลังด้วยความสมัครใจ กำลังพลชุดแรก 50 คน นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.แบบทำงานเต็มเวลา 35 คน
2.สำรอง 15 คน
เมื่อเข้าประจำการแล้วทั้งหมดจะถูกส่งไปฝึกหลักสูตรชั้นสูงเพิ่มอีก ทว่าแดนนี โคลสัน กับ จอห์น ซีเมโอเน (John Simeone) ผู้เป็นทั้งที่ปรึกษาและควบคุมดูแลการฝึกต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องมีจนท. 15 คนเป็นตัวสำรอง พวกเขาต้องการผลักดันให้ทั้ง 50 คนเป็นทีมทำงานเต็มเวลา จนในที่สุดทางเบื้องบนก็อนุมัติให้ตัวสำรองได้รวมทีมกลายเป็นทีมเต็มเวลาโดยแบ่งเป็นออกเป็น 2 ทีมย่อย ได้แก่ Blue team กับ Gold team
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1983 ได้มีการก่อตั้งหน่วยชื่อว่าทีมชิงตัวประกันหรือเรียกสั้นๆว่า HRT ขึ้นมา โดยมีฐานที่ตั้งอยู่ FBI Academy ในเมืองควอนติโก รัฐเวอร์จิเนีย ในตอนแรกเริ่มนั้นเป็นหน่วยงานยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันแบบไม่เต็มเวลา เมื่อไม่มีเหตุก็ไปปฏิบัติหน้าที่เดิมตามปกตินั่นเอง ต่อมาภายหลังถูกยกระดับให้เป็นหน่วยงานยุทธวิธีต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันแบบเต็มเวลา
4.การคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาเป็นจนท. HRT?
-ต้องเป็นจนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายรัฐบาลกลาง และจนท.ภาคสนามของทางเอฟบีไอ ที่ผ่านการทำงานมาในสายปฏิบัติการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี
เมื่อผู้สมัครผ่านการคัดเลือกมาตรฐานฟิตเนสกายภาพของเอฟบีไอแล้วจะได้สิทธิ์ในการทดสอบขั้นต่อไป 3 อย่างเบื้องต้นคือ
1.คัดเลือกพื้นฐานเพื่อกลั่นกรองขั้นแรกโดยใช้ระบบออนไลน์โดยให้ทำแบบทดสอบ
2.เมื่อทำแบบทดสอบผ่านจะเข้าสู่ขั้นตอนที่สองคือการใช้โทรศัพท์คุยสัมภาษณ์
3.เมื่อผ่านการคุยสัมภาษณ์จะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกทางยุทธวิธี โดยเน้นไปทางด้านทักษะพื้นฐานอันเกี่ยวกับภาวะวิกฤต
หากผ่านทั้ง 3 อย่างนี้ไปจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่พิเศษ (Special Agent : SA) หลังจากนั้นต้องทำงานในเอฟบีไออย่างน้อย 2 ปีในด้านการสืบสวน+ภาคสนาม จึงจะมีสิทธิ์ที่จะก้าวเข้าสู่ขั้นตอนขอยื่นสมัครเข้ารับการฝึกในหลักสูตร HRT ผู้เข้ารับการสมัครจะต้องผ่านการทดสอบทางกายภาพขั้นแรก 2 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นเกี่ยวกับด้านการใช้อาวุธ, ไหวพริบในการแก้ปัญหา, ภาวะการเป็นผู้นำ, การทำงานร่วมกับผู้อื่น, การวางแผนและตัดสินใจในด้านยุทธวิธี เป็นต้น
เมื่อผ่าน 2 สัปดาห์แรกมาแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกจะต้องเผชิญอีก 14 สัปดาห์ ตามหลักสูตร New Operator Training School (NOTS) ซึ่งภายในหลักสูตรจะประกอบไปหลากหลายมากมาย อาทิ เช่น
-การสู้รบระยะประชิด (CQB)
-เทคนิคการบุกเข้าชาร์จจับกุมรูปแบบต่างๆ
-เทคนิค Shooting house รูปแบบต่างๆ
-ลาดตระเวนในเวลากลางวัน+กลางคืน
-เทคนิคชิงตัวประกันในรูปแบบต่างๆ
-การแทรกซึมสู่พื้นที่เป้าหมาย
-การเอาชีวิตรอด, การหลบหลีก, ต่อต้าน และการหลบหนี (Survival, Evasion, Resistance and Escape : SERE)
-การปฏิบัติการร่วมกับอากาศยาน+ยานพาหนะ
-ฝึกรบและปฏิบัติการในภูมิประเทศกับภูมิอากาศรูปแบบต่างๆ
-การเดินทางไกล
-การใช้วัตถุระเบิดทำลายประตูและสิ่งกีดขวาง
-การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆที่ทางครูฝึกกำหนดโจทย์มาให้
หากผู้เข้ารับการฝึกผ่านไปได้จนจบ 14 สัปดาห์ ก็จะได้รับการบรรจุเข้า HRT แต่ยังไม่จบเพียงเท่านี้หลังจากที่ได้รับการบรรจุแล้วยังต้องไปฝึกหลักสูตรขั้นสูงเพิ่มเติมอีก อาทิ เช่น
-ส่งทางอากาศ เช่น HALO, HAHO
-ปฏิบัติการทางน้ำ เช่น ดำน้ำทางยุทธวิธี
-Killing House
-การป้องกันเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์
-อารักขาบุคคลสำคัญ
-ต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน
-พลซุ่มยิง
-ผู้ควบคุมอากาศยาน
-รื้อถอนทำลายใต้น้ำ
-รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด
-การแทรกซึมเข้าพื้นที่ในรูปแบบต่างๆ
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-ลาดตระเวนระยะไกล
*ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เข้ารับการฝึกครบทุกหลักสูตร แต่ต้องมีสกิลติดตัวไปให้ได้มากที่สุด
5.ขีดความสามารถของ HRT มีดังนี้?
-ปฏิบัติการ 3 มิติ
-ปฏิบัติการได้ทุกสภาพแวดล้อมทุกสภาพอากาศ
-ต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันทุกรูปแบบ
-ต่อต้านการซุ่มยิง
-ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร
-รื้อถอนทำลายใต้น้ำ
-รื้อถอดทำลายวัตถุระเบิด
-ลาดตระเวนพิเศษ
-ปฏิบัติการโดยตรง
-ส่งทางอากาศ
-ดำน้ำทางยุทธวิธี
-การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ
-ควบคุมอากาศยานหน้า
-อารักขาบุคคลสำคัญ
-บุกเข้าจับกุมหรือตามล่าเป้าหมายมูลค่าสูง
-การเคลื่อนย้ายส่งกลับทางสายแพทย์
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธี
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต
หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับ Hostage Rescue Team เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย