เชื่อว่าหลายๆคนอาจไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินหน่วยรบพิเศษชั้น 1 (Tier 1) กองทัพบกไอร์แลนด์ (Irish Army) ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland) ที่มีนามว่า Army Ranger Wing (ARW) ด้วยความอาจที่ว่ากองทัพบกไอร์แลนด์เป็นกองทัพที่มีขนาดเล็กระดับเพียงแค่ 2 กองพลน้อยหรืออาจจะมีบางคนมักเข้าใจผิดว่าไอร์แลนด์คือไอซ์แลนด์ แล้วหากถามว่าไอ้เจ้าหน่วย Army Ranger Wing เนี่ยมันมีความน่าสนใจหรือมีชื่อเสียงโด่งดังกระฉ่อนยังไงในวงการหน่วยรบพิเศษทั่วโลก
อย่างที่รู้กันหลังจากเกิดสงครามกลางเมืองไอร์แลนด์ (Irish Civil War) ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2465 (ค.ศ.1922) - 24 พฤษภาคม พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) แล้วจบลงด้วยชัยชนะของฝั่งรัฐเสรีไอริช (Irish Free State) และนั้นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องเอกราชในไอร์แลนด์เหนือ นับตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมาได้เกิดเหตุการณ์ที่มีชื่อว่า The Troubles ซึ่งในเหตุการณ์นี้ได้สร้างความวุ่นวายให้กับทางฝั่งสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นอย่างมาก ทั้งสองประเทศต้องคอยเผชิญหน้ากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่มที่คอยปฏิบัติการหลักๆอยู่ทั้งบนเกาะไอร์แลนด์กับบริเตนใหญ่ ซึ่งสหราชอาณาจักรนั้นจะเป็นฝ่ายที่โดนก่อกวนมากกว่าสาธารณรัฐไอร์แลนด์ โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้นเน้นวิธีการไปในแนวทางก่อการร้ายเป็นหลักซึ่งมันก็ได้ผลเพียงในระยะแรกเท่านั้น
ในช่วงปลายทศววรษที่ 60 เหตุการณ์ The Trouble ได้ทวีความรุนแรงและสร้างความสั่นคลองความมั่นคงระหว่างพื้นที่ชายแดนของสาธารณรัฐไอร์แลนด์กับไอร์แลนด์เหนือมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้กองกำลังป้องกันสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish Defence Forces) ได้ทำการจัดตั้งกองจู่โจมพิเศษ (Special Assault Groups : SAG) สังกัดกองทัพบกไอร์แลนด์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น ซึ่งบุคคลากรชุดแรกนั้นถูกคัดเลือกมาจากบุคคลากรในกองทัพบก พวกเขาถูกส่งไปฝึกกับทางกองทัพบกสหรัฐที่โรงเรียนการรบแบบจู่โจมทหารบก (United States Army Ranger School) หลังจากที่บุคคลกรชุดแรกได้ทำการฝึกจบหลักสูตรพวกเขาเหล่านั้นได้หวนกลับคืนสู่กองทัพแล้วได้นำความรู้ที่ได้จากการไปฝึกที่สหรัฐมาทำการจัดตั้งหลักสูตรจู่โจม (Army Ranger) ในกองทัพบกไอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) ในช่วงแรกกองจู่โจมพิเศษมีกำลังพลเพียง 40 นายเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกนั้นกองจู่โจมพิเศษถูกฝึกอย่างหนักทั้งในด้านการใช้อาวุธ,วิศวกรรม (ในส่วนของด้านการช่างภาคสนามทางยุทธวิธี) และยุทธวิธีการรบในรูปแบบต่างๆ จนกระทั้งกลางปีพ.ศ.2513 (ค.ศ.1970) กองกำลังป้องกันสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้กำลังพลหน่วยจู่โจม (Ranger) มากกว่า 300 นาย ที่ดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติการภายใต้คำขอของหน่วยงานตำรวจ (An Garda Síochána) สาธารณรัฐไอร์แลนด์
ต่อมากองกำลังป้องกันสาธารณรัฐไอร์แลนด์ต้องการให้หน่วยจู่โจมมีกำลังพลที่มากขึ้นจึงอนุญาตให้บุคคลากรเหล่าทัพอื่นนอกเหนือจากกองทัพบกสามารถเข้ามาร่วมเรียนและฝึกหลักสูตรได้ ซึ่งบุคคลากรเหล่าทัพอื่นนั้นหมายถึงทัพเรือกับทัพอากาศ แต่มีข้อบังคับตรงที่ว่าหากผู้เข้ารับการฝึกสามารถเรียนจบหลักสูตรได้แล้วนั้นจะต้องย้ายมาอยู่สังกัดภายใต้กองทัพบก จนกระทั้งในเดือนธันวาคม พ.ศ.2520 (ค.ศ.1977) ทางหน่วยตำรวจสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้ก่อตั้งหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่มีชื่อว่า หน่วยเฉพาะกิจพิเศษ (Special Task Force : STF) เพื่อปฏิบัติการในพื้นที่แถบชายแดนระหว่างสาธารณรัฐไอร์แลนด์กับไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งต่อมาหน่วยเฉพาะกิจพิเศษจะรู้จักกันในชื่อของหน่วยตอบสนองฉุกเฉิน (Emergency Response Unit: ERU) ซึ่งหน่วยหน่วยตอบสนองฉุกเฉินนั้นเป็นหน่วยตำรวจประเภทหน่วยยุทธวิธีตำรวจ (Police Tactical Unit : PTU) หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษขึ้นมาทำให้ทางกองจู่โจมพิเศษได้เล็งเห็นถึงภัยก่อการร้ายที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มิวนิค (Munich massacre) ในปีพ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) กับ Balcombe Street siege ในช่วง 6 - 12 ธันวาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มิวนิคนั้นได้กลายเป็นบทเรียนให้หน่วยงานความมั่นคงแต่ละประเทศทั่วโลกได้รับรู้ถึงภัยก่อการร้ายสากลและการจับตัวประกันที่จำต้องมีหน่วยต่อต้านก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกันโดยเฉพาะเข้ามาคลี่คลายแก้ไขปัญหาสถานการณ์ ดังนั้นทางกองจู่โจมพิเศษจึงมีความคิดใหม่ว่าควรจะให้บุคคลากรในหน่วยมีขีดความสามารถต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันระดับสากล จึงได้เกิดแนวคิดการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษใหม่ขึ้นมาแล้วให้มีชื่อว่า Army Ranger Wing (ARW)
Army Ranger Wing ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) ภายใต้คำสั่งรัฐบาลวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) ให้สังกัดภายใต้กองทัพบกโดยที่ยังอนุญาตให้บุคคลกากรเหล่าทัพอื่นนอกเหนือจากกองทัพบกสามารถเข้ามาร่วมเรียนและฝึกหลักสูตรได้ แต่เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วต้องมาสังกัด Army Ranger Wing ทาง Army Ranger Wing นั้นได้รับสีประจำหน่วยในปีพ.ศ.2524 (ค.ศ.1981) สีที่ทางหน่วยได้รับคือ สีดำ, สีแดง และสีทอง มีความหมายว่า ความลับ ความเสี่ยง และความเป็นเลิศ และในปีพ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) Army Ranger Wing ได้รับหมวกเบเร่ต์สีเขียวอันเป็นหมวกเครื่องหมายประจำหน่วย ในด้านภารกิจของ Army Ranger Wing จะถูกแบ่งบทบาทออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ในช่วงเวลาที่มีสงครามหรือจำต้องปฏิบัติการด้านการทหาร
-บทบาทแรกถูกเรียกว่า Military tasks (Green Role) ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย ได้แก่ ปฏิบัติการรุกรานหลังแนวข้าศึก (Offensive operations behind enemy lines) และ ปฏิบัติการป้องกัน (Defensive operations)
-บทบาทที่สองถูกเรียกว่า Aid to the civil power tasks (Black Role) ซึ่งในบทบาทนี้จะเป็นในแนวของด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประตัวประกัน, การเข้าจับกุมเป้าหมายมูลค่าสูง, ปฏิบัติการจู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิตทั้งบนแผ่นดินและในทะเล, อารักขาบุคคลสำคัญ เป็นต้น
แล้ว Army Ranger Wing มีชื่อเสียงหรือไม่ หากพูดถึงหน่วยรบพิเศษในทวีปยุโรป Army Ranger Wing ถือว่าเป็นหน่วยรบพิเศษชั้นแนวหน้าหน่วยนึงเลยก็ว่าได้ ส่วนมากภารกิจที่ทำให้ Army Ranger Wing ได้สร้างชื่อเสียงส่วนมากจะเป็นในเรื่องของภารกิจรักษาสันติภาพรอบโลกที่มี UN, สหภาพยุโรป, NATO ในหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือสันติภาพ (Partnership for Peace : PfP) เป็นผู้รับรอง อย่างนึงที่ต้องรู้คือสาธารณรัฐไอร์แลนด์ไม่ได้เป็นสมาชิก NATO เพราะ เนื่องจากสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีนโยบายความเป็นกลางด้านการทหาร Army Ranger Wing เคยออกปฏิบัติการมาแล้วในหลายพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นบอสเนีย, เลบานอน, ไซปรัส, อิรัก, ติมอร์ตะวันออก, ไลบีเรีย, ชาด, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, โซมาเลีย ในปีพ.ศ.2536 (ค.ศ.1993) ภาคกิจครั้งนี้เป็นงานแรกที่ได้ออกปฏิบัติการนอกประเทศไปในนามของ UNOSOM II และภารกิจล่าสุดที่ประเทศมาลีในเดือนพฤศจิกายนปีพ.ศ.2562 (ค.ศ.2019)
Army Ranger Wing มันออลอินวันยังไง??? ต้องบอกเลยว่า Army Ranger Wing เป็นหน่วยรบพิเศษชั้น 1 ของกองทัพบกสาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่มีขีดความสามารถเป็นหน่วยรบ 3 มิติ โดย Army Ranger Wing ได้รับการฝึกปฏิบัติการทั้งทางอากาศ บนบก และน้ำ (ในส่วนของการปฏิบัติการทางน้ำได้รับการฝึกทางยุทธวิธีจาก Naval Service Diving Section (NSDS) ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำของกองทัพเรือไอร์แลนด์) ส่งให้ Army Ranger Wing มีหลายขีดความสามารถดังนี้
-การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ (Air assault)
-ลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious reconnaissance)
-ผู้ตรวจการณ์หน้าชี้เป้าให้ปืนใหญ่ (Artillery observer)
-ปฏิบัติการมืด (Black operation)
-ปฏิบัติการลับ (Clandestine operation)
-การสู้รบและต่อสู้ระยะประชิด (Close-quarters battle/Close-quarters combat : CQB/CQC)
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต (Combat search and rescue : CSAR)
-ต่อต้านการก่อความไม่สงบ (Counterinsurgency : COIN)
-ต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน (Counterterrorism and hostage rescue)
-ปฏิบัติการปกปิด (Covert operation)
-รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด (Defusing and disposal of bombs)
-การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (Direct action : DA)
-อารักขาบุคคลสำคัญอย่างใกล้ชิด (Executive protection : EP)
-รวบรวมข่าวกรองภาคสนาม (Field intelligence gathering)
-การป้องกันกำลังรบ (Force protection : FP)
-การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ (Foreign internal defense : FID)
-ผู้ควบคุมอากาศยานหน้าภาคพื้นดิน (Forward air control : FAC)
-การส่งทางอากาศแทรกซึมเบื้องสูง (HALO/HAHO)
-การแทรกซึมเข้าพื้นที่เป้าหมายจากทางอากาศ, บก และน้ำ
-การสงครามไม่ปกติ (Irregular warfare : IW)
-การเจาะระยะไกล (Long-range penetration)
-การล่าเป้าหมายมูลค่าสูง (Manhunt high-value target)
-การปฏิบัติการจิตวิทยา (Psychological operations : PsyOp)
-การเคลียร์พื้นที่ในอาคาร (Room entry and clearing)
-ลาดตระเวนพิเศษ (Special reconnaissance : SR)
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-สงครามนอกแบบ (Unconventional warfare : UW)
-รื้อถอนทำลายใต้น้ำ (Underwater demolition)
-การจัดทีมตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัย (Visit, board, search, and seizure : VBSS)
หน่วยรบพิเศษกองทัพบกสาธารณรัฐไอร์แลนด์แบบออลอินวัน Army Ranger Wing
อย่างที่รู้กันหลังจากเกิดสงครามกลางเมืองไอร์แลนด์ (Irish Civil War) ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2465 (ค.ศ.1922) - 24 พฤษภาคม พ.ศ.2466 (ค.ศ.1923) แล้วจบลงด้วยชัยชนะของฝั่งรัฐเสรีไอริช (Irish Free State) และนั้นก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องเอกราชในไอร์แลนด์เหนือ นับตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมาได้เกิดเหตุการณ์ที่มีชื่อว่า The Troubles ซึ่งในเหตุการณ์นี้ได้สร้างความวุ่นวายให้กับทางฝั่งสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นอย่างมาก ทั้งสองประเทศต้องคอยเผชิญหน้ากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหลายกลุ่มที่คอยปฏิบัติการหลักๆอยู่ทั้งบนเกาะไอร์แลนด์กับบริเตนใหญ่ ซึ่งสหราชอาณาจักรนั้นจะเป็นฝ่ายที่โดนก่อกวนมากกว่าสาธารณรัฐไอร์แลนด์ โดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้นเน้นวิธีการไปในแนวทางก่อการร้ายเป็นหลักซึ่งมันก็ได้ผลเพียงในระยะแรกเท่านั้น
ในช่วงปลายทศววรษที่ 60 เหตุการณ์ The Trouble ได้ทวีความรุนแรงและสร้างความสั่นคลองความมั่นคงระหว่างพื้นที่ชายแดนของสาธารณรัฐไอร์แลนด์กับไอร์แลนด์เหนือมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้กองกำลังป้องกันสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Irish Defence Forces) ได้ทำการจัดตั้งกองจู่โจมพิเศษ (Special Assault Groups : SAG) สังกัดกองทัพบกไอร์แลนด์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น ซึ่งบุคคลากรชุดแรกนั้นถูกคัดเลือกมาจากบุคคลากรในกองทัพบก พวกเขาถูกส่งไปฝึกกับทางกองทัพบกสหรัฐที่โรงเรียนการรบแบบจู่โจมทหารบก (United States Army Ranger School) หลังจากที่บุคคลกรชุดแรกได้ทำการฝึกจบหลักสูตรพวกเขาเหล่านั้นได้หวนกลับคืนสู่กองทัพแล้วได้นำความรู้ที่ได้จากการไปฝึกที่สหรัฐมาทำการจัดตั้งหลักสูตรจู่โจม (Army Ranger) ในกองทัพบกไอร์แลนด์ในปี พ.ศ.2512 (ค.ศ.1969) ในช่วงแรกกองจู่โจมพิเศษมีกำลังพลเพียง 40 นายเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกนั้นกองจู่โจมพิเศษถูกฝึกอย่างหนักทั้งในด้านการใช้อาวุธ,วิศวกรรม (ในส่วนของด้านการช่างภาคสนามทางยุทธวิธี) และยุทธวิธีการรบในรูปแบบต่างๆ จนกระทั้งกลางปีพ.ศ.2513 (ค.ศ.1970) กองกำลังป้องกันสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้กำลังพลหน่วยจู่โจม (Ranger) มากกว่า 300 นาย ที่ดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติการภายใต้คำขอของหน่วยงานตำรวจ (An Garda Síochána) สาธารณรัฐไอร์แลนด์
ต่อมากองกำลังป้องกันสาธารณรัฐไอร์แลนด์ต้องการให้หน่วยจู่โจมมีกำลังพลที่มากขึ้นจึงอนุญาตให้บุคคลากรเหล่าทัพอื่นนอกเหนือจากกองทัพบกสามารถเข้ามาร่วมเรียนและฝึกหลักสูตรได้ ซึ่งบุคคลากรเหล่าทัพอื่นนั้นหมายถึงทัพเรือกับทัพอากาศ แต่มีข้อบังคับตรงที่ว่าหากผู้เข้ารับการฝึกสามารถเรียนจบหลักสูตรได้แล้วนั้นจะต้องย้ายมาอยู่สังกัดภายใต้กองทัพบก จนกระทั้งในเดือนธันวาคม พ.ศ.2520 (ค.ศ.1977) ทางหน่วยตำรวจสาธารณรัฐไอร์แลนด์ได้ก่อตั้งหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายที่มีชื่อว่า หน่วยเฉพาะกิจพิเศษ (Special Task Force : STF) เพื่อปฏิบัติการในพื้นที่แถบชายแดนระหว่างสาธารณรัฐไอร์แลนด์กับไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งต่อมาหน่วยเฉพาะกิจพิเศษจะรู้จักกันในชื่อของหน่วยตอบสนองฉุกเฉิน (Emergency Response Unit: ERU) ซึ่งหน่วยหน่วยตอบสนองฉุกเฉินนั้นเป็นหน่วยตำรวจประเภทหน่วยยุทธวิธีตำรวจ (Police Tactical Unit : PTU) หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจพิเศษขึ้นมาทำให้ทางกองจู่โจมพิเศษได้เล็งเห็นถึงภัยก่อการร้ายที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มิวนิค (Munich massacre) ในปีพ.ศ.2515 (ค.ศ.1972) กับ Balcombe Street siege ในช่วง 6 - 12 ธันวาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มิวนิคนั้นได้กลายเป็นบทเรียนให้หน่วยงานความมั่นคงแต่ละประเทศทั่วโลกได้รับรู้ถึงภัยก่อการร้ายสากลและการจับตัวประกันที่จำต้องมีหน่วยต่อต้านก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกันโดยเฉพาะเข้ามาคลี่คลายแก้ไขปัญหาสถานการณ์ ดังนั้นทางกองจู่โจมพิเศษจึงมีความคิดใหม่ว่าควรจะให้บุคคลากรในหน่วยมีขีดความสามารถต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกันระดับสากล จึงได้เกิดแนวคิดการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษใหม่ขึ้นมาแล้วให้มีชื่อว่า Army Ranger Wing (ARW)
Army Ranger Wing ถูกก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) ภายใต้คำสั่งรัฐบาลวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2523 (ค.ศ.1980) ให้สังกัดภายใต้กองทัพบกโดยที่ยังอนุญาตให้บุคคลกากรเหล่าทัพอื่นนอกเหนือจากกองทัพบกสามารถเข้ามาร่วมเรียนและฝึกหลักสูตรได้ แต่เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วต้องมาสังกัด Army Ranger Wing ทาง Army Ranger Wing นั้นได้รับสีประจำหน่วยในปีพ.ศ.2524 (ค.ศ.1981) สีที่ทางหน่วยได้รับคือ สีดำ, สีแดง และสีทอง มีความหมายว่า ความลับ ความเสี่ยง และความเป็นเลิศ และในปีพ.ศ.2534 (ค.ศ.1991) Army Ranger Wing ได้รับหมวกเบเร่ต์สีเขียวอันเป็นหมวกเครื่องหมายประจำหน่วย ในด้านภารกิจของ Army Ranger Wing จะถูกแบ่งบทบาทออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ในช่วงเวลาที่มีสงครามหรือจำต้องปฏิบัติการด้านการทหาร
-บทบาทแรกถูกเรียกว่า Military tasks (Green Role) ในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบย่อย ได้แก่ ปฏิบัติการรุกรานหลังแนวข้าศึก (Offensive operations behind enemy lines) และ ปฏิบัติการป้องกัน (Defensive operations)
-บทบาทที่สองถูกเรียกว่า Aid to the civil power tasks (Black Role) ซึ่งในบทบาทนี้จะเป็นในแนวของด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประตัวประกัน, การเข้าจับกุมเป้าหมายมูลค่าสูง, ปฏิบัติการจู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิตทั้งบนแผ่นดินและในทะเล, อารักขาบุคคลสำคัญ เป็นต้น
แล้ว Army Ranger Wing มีชื่อเสียงหรือไม่ หากพูดถึงหน่วยรบพิเศษในทวีปยุโรป Army Ranger Wing ถือว่าเป็นหน่วยรบพิเศษชั้นแนวหน้าหน่วยนึงเลยก็ว่าได้ ส่วนมากภารกิจที่ทำให้ Army Ranger Wing ได้สร้างชื่อเสียงส่วนมากจะเป็นในเรื่องของภารกิจรักษาสันติภาพรอบโลกที่มี UN, สหภาพยุโรป, NATO ในหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือสันติภาพ (Partnership for Peace : PfP) เป็นผู้รับรอง อย่างนึงที่ต้องรู้คือสาธารณรัฐไอร์แลนด์ไม่ได้เป็นสมาชิก NATO เพราะ เนื่องจากสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีนโยบายความเป็นกลางด้านการทหาร Army Ranger Wing เคยออกปฏิบัติการมาแล้วในหลายพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นบอสเนีย, เลบานอน, ไซปรัส, อิรัก, ติมอร์ตะวันออก, ไลบีเรีย, ชาด, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, โซมาเลีย ในปีพ.ศ.2536 (ค.ศ.1993) ภาคกิจครั้งนี้เป็นงานแรกที่ได้ออกปฏิบัติการนอกประเทศไปในนามของ UNOSOM II และภารกิจล่าสุดที่ประเทศมาลีในเดือนพฤศจิกายนปีพ.ศ.2562 (ค.ศ.2019)
Army Ranger Wing มันออลอินวันยังไง??? ต้องบอกเลยว่า Army Ranger Wing เป็นหน่วยรบพิเศษชั้น 1 ของกองทัพบกสาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่มีขีดความสามารถเป็นหน่วยรบ 3 มิติ โดย Army Ranger Wing ได้รับการฝึกปฏิบัติการทั้งทางอากาศ บนบก และน้ำ (ในส่วนของการปฏิบัติการทางน้ำได้รับการฝึกทางยุทธวิธีจาก Naval Service Diving Section (NSDS) ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำของกองทัพเรือไอร์แลนด์) ส่งให้ Army Ranger Wing มีหลายขีดความสามารถดังนี้
-การยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ (Air assault)
-ลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious reconnaissance)
-ผู้ตรวจการณ์หน้าชี้เป้าให้ปืนใหญ่ (Artillery observer)
-ปฏิบัติการมืด (Black operation)
-ปฏิบัติการลับ (Clandestine operation)
-การสู้รบและต่อสู้ระยะประชิด (Close-quarters battle/Close-quarters combat : CQB/CQC)
-จู่โจม ค้นหา และช่วยชีวิต (Combat search and rescue : CSAR)
-ต่อต้านการก่อความไม่สงบ (Counterinsurgency : COIN)
-ต่อต้านการก่อการร้ายและชิงตัวประกัน (Counterterrorism and hostage rescue)
-ปฏิบัติการปกปิด (Covert operation)
-รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด (Defusing and disposal of bombs)
-การปฏิบัติภารกิจโดยตรง (Direct action : DA)
-อารักขาบุคคลสำคัญอย่างใกล้ชิด (Executive protection : EP)
-รวบรวมข่าวกรองภาคสนาม (Field intelligence gathering)
-การป้องกันกำลังรบ (Force protection : FP)
-การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ (Foreign internal defense : FID)
-ผู้ควบคุมอากาศยานหน้าภาคพื้นดิน (Forward air control : FAC)
-การส่งทางอากาศแทรกซึมเบื้องสูง (HALO/HAHO)
-การแทรกซึมเข้าพื้นที่เป้าหมายจากทางอากาศ, บก และน้ำ
-การสงครามไม่ปกติ (Irregular warfare : IW)
-การเจาะระยะไกล (Long-range penetration)
-การล่าเป้าหมายมูลค่าสูง (Manhunt high-value target)
-การปฏิบัติการจิตวิทยา (Psychological operations : PsyOp)
-การเคลียร์พื้นที่ในอาคาร (Room entry and clearing)
-ลาดตระเวนพิเศษ (Special reconnaissance : SR)
-การปฐมพยาบาลฉุกเฉินทางยุทธวิธี (Tactical emergency medical services : TEMS)
-สงครามนอกแบบ (Unconventional warfare : UW)
-รื้อถอนทำลายใต้น้ำ (Underwater demolition)
-การจัดทีมตรวจค้นและจับกุมเรือต้องสงสัย (Visit, board, search, and seizure : VBSS)