แน่นอนว่าหลายๆคนมักจะคุ้นและเรียกหน่วยพิเศษของตำรวจหรือหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมายว่า SWAT แต่กลับไม่คุ้นกับคำว่า PTU เสียเท่าไร ซึ่งบางครั้งบางหน่วยที่เห็นกันออกข่าว ฝึก หรือปฏิบัติการนั้นไม่ใช่ SWAT แต่กลับเป็นหน่วยระดับ PTU ก็มี ดังนั้นจึงจะมาแยกให้เห็นว่าความต่างระหว่าง SWAT กับ PTU เป็นยังไง?
1.Special Weapons and Tactics (SWAT) คือหน่วยที่ถูกฝึกยุทธวิธีและใช้อาวุธในส่วนของทางการทหารเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่หน่วยตำรวจธรรมดาหรือจนท.พลเรือนด้านความมั่นคงบังคับใช้กฎหมายทั่วไปมิอาจทำได้ เช่น มีคนร้ายจับตัวประกัน ในกรณีแบบนี้ต้องใช้หน่วยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ถูกฝึกมาเป็นพิเศษส่งเข้าไปเพื่อจัดการกับสถานการณ์, จับกุมเป้าหมายอันตรายอย่างจำพวกพ่อค้ายา, มือปืน, ต่อต้านการก่อการร้ายได้ในระดับนึง เป็นต้น คำว่า 'SWAT' เป็นคำที่ใช้ได้กับทั้งตำรวจกับหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมาย ยกตัวอย่าง SWAT เช่น
-หนุมาน ของไทย
-สยบไพรี ของไทย
-นารายณ์ 471 ของไทย
-SSD Commando ของไทย
-Manila SWAT ของฟิลิปปินส์
-UTC ของมาเลเซีย
-SCO19 ของยูเค
-Delhi Police SWAT Commando ของอินเดีย
-FBI SWAT ของสหรัฐ
-LAPD SWAT ของสหรัฐ
-NYPD SWAT ของสหรัฐ
2.Police tactical unit (PTU) หรือ Paramilitary police units (PPUs) คือเป็นคำที่เรียกใช้หน่วยระดับท๊อปฟอร์มของตำรวจกับหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งหน่วยประเภทนี้จะมีขีดความสามารถเหนือกว่า SWAT เป็นอย่างมาก แน่นอนว่าถ้าไปหาอ่านในวิกิมันจะบอกไม่เคลียร์ ความหมายที่ให้มานั้นไม่ต่างไปจาก SWAT เลย แค่เพิ่มเสริมเนื้อหาขึ้นมาเล็กน้อยเท่านั้นเอง ทีนี้เนี่ยตัวของ PTU หรือ PPUs มันจะมีคอนเซ็ปต์ของมันอยู่คือ
1.ทำการรบ ปฏิบัติการ และยุทธวิธีทางการทหารได้ เช่น สงครามนอกแบบ, สงครามป่าภูเขา, สงครามในเมือง, โดดร่มปฏิบัติการหลังแนวข้าศึก, ล่าจับกุมหรือสังหารเป้าหมายมูลค่าสูง, ลาดตระเวนระยะไกล, ต่อต้านการก่อความไม่สงบ เป็นต้น
2.ต่อต้านการก่อการร้าย
สากลและชิงตัวประกัน (ขอเน้นย้ำว่าระดับสากล)
ยกตัวอย่าง PTU เช่น
-อรินทราช 26 ของไทย
-นเรศวร 261 ของไทย
-ลาซู ของไทย
-Detachment 88 ของอินโดนิเซีย
-HRT ของสหรัฐ
-FAST ของสหรัฐ
-BORTAC ของสหรัฐ
-JKP anti-militancy Task Force ของอินเดีย
-SAT ของญี่ปุ่น
-SST ของญี่ปุ่น
-Yasam ของอิสราเอล
-VAT 69 Commando ของมาเลเซีย
-SRG ของออสเตรเลีย
-EKO Cobra ของออสเตรีย
-RAID ของฝรั่งเศส
-GSG9 ของเยอรมัน
-CTSFO ของยูเค
-HMSU ของยูเค
-Alpha Group ของรัสเซีย
-Vympel ของรัสเซีย
-Zaslon ของรัสเซีย
-Delta ของนอร์เวย์
ถ้าหน่วยไหนเข้า 1 ใน 2 คอนเซ็ปต์นี้ถือว่าเป็น PTU แต่เกือบทั้งหมดคือครบทั้ง 2 คอนเซ็ปต์
3.อันนี้จะมาเสริมนิดนึงเกี่ยวกับคำว่า 'Commando' เชื่อว่าหลายๆคนสับสนกับคำนี้มากว่ามันความต่างจาก SWAT ยังไง?
คำว่า 'Commando' เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างมากๆ (เหมือนกับคำว่า Spetsnaz ที่มีความหมายโครตกว้างเลย) ตัวความหมายของมันหากสรุปแบบง่ายๆเลยคือหมายถึงหน่วยที่ถูกฝึกมาเป็นอย่างดีและเหนือกว่าหน่วยธรรมดาทั่วไป แล้วสามารถใช้กับทางการทหาร, ตำรวจ และหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยระดับ SWAT, PTU, SF, SOF และเหล่า elite forces (คำนี้ก็กว้างใช้ได้กับทั้ง Tier 1, 2 และ 3) ทั้งหลาย อย่างเช่นจำพวก Tier 3 สามารถใช้คำว่า 'Commando' ได้หมด ซึ่งการที่จะใช้นั้นมันก็ขึ้นอยุ่กับหน่วยงานนั้นๆ ส่วนหน่วยนั้นจะอยู่ในระดับไหนก็ว่ากันอีกเรื่อง ยกตัวอย่างเอาแบบง่ายๆเลย ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หน่วย VAT 69 Commando เป็นหน่วยระดับ PTU ซึ่งตัวของ VAT 69 Commando ได้รับการฝึกฝนให้มีขีดความสามารถไม่ต่างอะไรไปจากหน่วยซีลเลยไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำทางยุทธวิธี, ส่งทางอากาศ, ต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน, สงครามนอกแบบ, สงครามป่าภูเขา, รื้อถอนทำลายใต้น้ำ, รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด เป็นต้น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าคำว่า 'Commando' มันใช้ได้ค่อนข้างหลากหลาย
4.มันจะมีบางกรณีเป็นพิเศษที่ว่าตัวหน่วยใช้ชื่อว่า SWAT แต่ถูกยกระดับให้เป็น PTU ก็มี (ตัวหน่วยก็ต้องยกระดับขีดความสามารถตามด้วยนะ) เช่น Unit 868 ของเกาหลีใต้, Punjab Police SWAT Team ของอินเดีย เป็นต้น
หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับความต่างระหว่าง SWAT กับ PTU เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
มาทำความรู้จักความต่างระหว่าง SWAT กับ PTU แบบง่ายๆคร่าวๆกันเต๊อะ
1.Special Weapons and Tactics (SWAT) คือหน่วยที่ถูกฝึกยุทธวิธีและใช้อาวุธในส่วนของทางการทหารเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่หน่วยตำรวจธรรมดาหรือจนท.พลเรือนด้านความมั่นคงบังคับใช้กฎหมายทั่วไปมิอาจทำได้ เช่น มีคนร้ายจับตัวประกัน ในกรณีแบบนี้ต้องใช้หน่วยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ถูกฝึกมาเป็นพิเศษส่งเข้าไปเพื่อจัดการกับสถานการณ์, จับกุมเป้าหมายอันตรายอย่างจำพวกพ่อค้ายา, มือปืน, ต่อต้านการก่อการร้ายได้ในระดับนึง เป็นต้น คำว่า 'SWAT' เป็นคำที่ใช้ได้กับทั้งตำรวจกับหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมาย ยกตัวอย่าง SWAT เช่น
-หนุมาน ของไทย
-สยบไพรี ของไทย
-นารายณ์ 471 ของไทย
-SSD Commando ของไทย
-Manila SWAT ของฟิลิปปินส์
-UTC ของมาเลเซีย
-SCO19 ของยูเค
-Delhi Police SWAT Commando ของอินเดีย
-FBI SWAT ของสหรัฐ
-LAPD SWAT ของสหรัฐ
-NYPD SWAT ของสหรัฐ
2.Police tactical unit (PTU) หรือ Paramilitary police units (PPUs) คือเป็นคำที่เรียกใช้หน่วยระดับท๊อปฟอร์มของตำรวจกับหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งหน่วยประเภทนี้จะมีขีดความสามารถเหนือกว่า SWAT เป็นอย่างมาก แน่นอนว่าถ้าไปหาอ่านในวิกิมันจะบอกไม่เคลียร์ ความหมายที่ให้มานั้นไม่ต่างไปจาก SWAT เลย แค่เพิ่มเสริมเนื้อหาขึ้นมาเล็กน้อยเท่านั้นเอง ทีนี้เนี่ยตัวของ PTU หรือ PPUs มันจะมีคอนเซ็ปต์ของมันอยู่คือ
1.ทำการรบ ปฏิบัติการ และยุทธวิธีทางการทหารได้ เช่น สงครามนอกแบบ, สงครามป่าภูเขา, สงครามในเมือง, โดดร่มปฏิบัติการหลังแนวข้าศึก, ล่าจับกุมหรือสังหารเป้าหมายมูลค่าสูง, ลาดตระเวนระยะไกล, ต่อต้านการก่อความไม่สงบ เป็นต้น
2.ต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน (ขอเน้นย้ำว่าระดับสากล)
ยกตัวอย่าง PTU เช่น
-อรินทราช 26 ของไทย
-นเรศวร 261 ของไทย
-ลาซู ของไทย
-Detachment 88 ของอินโดนิเซีย
-HRT ของสหรัฐ
-FAST ของสหรัฐ
-BORTAC ของสหรัฐ
-JKP anti-militancy Task Force ของอินเดีย
-SAT ของญี่ปุ่น
-SST ของญี่ปุ่น
-Yasam ของอิสราเอล
-VAT 69 Commando ของมาเลเซีย
-SRG ของออสเตรเลีย
-EKO Cobra ของออสเตรีย
-RAID ของฝรั่งเศส
-GSG9 ของเยอรมัน
-CTSFO ของยูเค
-HMSU ของยูเค
-Alpha Group ของรัสเซีย
-Vympel ของรัสเซีย
-Zaslon ของรัสเซีย
-Delta ของนอร์เวย์
ถ้าหน่วยไหนเข้า 1 ใน 2 คอนเซ็ปต์นี้ถือว่าเป็น PTU แต่เกือบทั้งหมดคือครบทั้ง 2 คอนเซ็ปต์
3.อันนี้จะมาเสริมนิดนึงเกี่ยวกับคำว่า 'Commando' เชื่อว่าหลายๆคนสับสนกับคำนี้มากว่ามันความต่างจาก SWAT ยังไง?
คำว่า 'Commando' เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างมากๆ (เหมือนกับคำว่า Spetsnaz ที่มีความหมายโครตกว้างเลย) ตัวความหมายของมันหากสรุปแบบง่ายๆเลยคือหมายถึงหน่วยที่ถูกฝึกมาเป็นอย่างดีและเหนือกว่าหน่วยธรรมดาทั่วไป แล้วสามารถใช้กับทางการทหาร, ตำรวจ และหน่วยงานความมั่นคงบังคับใช้กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยระดับ SWAT, PTU, SF, SOF และเหล่า elite forces (คำนี้ก็กว้างใช้ได้กับทั้ง Tier 1, 2 และ 3) ทั้งหลาย อย่างเช่นจำพวก Tier 3 สามารถใช้คำว่า 'Commando' ได้หมด ซึ่งการที่จะใช้นั้นมันก็ขึ้นอยุ่กับหน่วยงานนั้นๆ ส่วนหน่วยนั้นจะอยู่ในระดับไหนก็ว่ากันอีกเรื่อง ยกตัวอย่างเอาแบบง่ายๆเลย ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หน่วย VAT 69 Commando เป็นหน่วยระดับ PTU ซึ่งตัวของ VAT 69 Commando ได้รับการฝึกฝนให้มีขีดความสามารถไม่ต่างอะไรไปจากหน่วยซีลเลยไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำทางยุทธวิธี, ส่งทางอากาศ, ต่อต้านการก่อการร้ายสากลและชิงตัวประกัน, สงครามนอกแบบ, สงครามป่าภูเขา, รื้อถอนทำลายใต้น้ำ, รื้อถอนทำลายวัตถุระเบิด เป็นต้น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าคำว่า 'Commando' มันใช้ได้ค่อนข้างหลากหลาย
4.มันจะมีบางกรณีเป็นพิเศษที่ว่าตัวหน่วยใช้ชื่อว่า SWAT แต่ถูกยกระดับให้เป็น PTU ก็มี (ตัวหน่วยก็ต้องยกระดับขีดความสามารถตามด้วยนะ) เช่น Unit 868 ของเกาหลีใต้, Punjab Police SWAT Team ของอินเดีย เป็นต้น
หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับความต่างระหว่าง SWAT กับ PTU เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย